ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)

ภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม มักเกิดจากการติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถหายไปได้เอง ถ้าอาการติดเชื้อนั้นดีขึ้น แต่บางครั้งการบวมของต่อมน้ำเหลือง ก็อาจมีสาเหตุจากโรคร้ายบางชนิดได้
เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ต่อมน้ำเหลืองบวม (Swollen Glands)

ต่อมน้ำเหลือง (Lymph glands หรือ Lymph Nodes) คือก้อนเนื้อเยื่อขนาดเท่าเม็ดถั่วที่เก็บรวบรวมเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น จะทำให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม พบได้ที่ใต้คาง ในลำคอ รักแร้ หรือบริเวณขาหนีบ

ภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม สามารถหายไปได้เองเมื่อร่างกายฟื้นตัวจากภาวะติดเชื้อนั้นๆ แต่ในบางครั้งภาวะนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุทางการแพทย์ที่มีความรุนแรงกว่านั้น เช่น โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (Rheumatoid Arthritis) และโรคมะเร็ง (Cancer)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของภาวะต่อมน้ำเหลืองโต

ภาวะต่อมน้ำเหลืองโต มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดไม่รุนแรง เช่น

หากต่อมน้ำเหลือง มีขนาดโตขึ้นจากภาวะเหล่านี้ มักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เจ็บคอ ไอ มีไข้ แต่ถ้าหากพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานยาแก้ปวด หรือแก้อักเสบทั่วไป อย่าง พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน การติดเชื้อเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเอง และต่อมน้ำเหลืองก็จะลดขนาดลงเป็นปกติโดยไม่ต้องไปพบแพทย์

ในบางครั้ง ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตก็อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคดังต่อไปนี้

  • โรคหัดเยอรมัน (Rubella) : การติดเชื้อที่ทำให้ผิวหนังเกิดผื่นจุดสีชมพูขนาดเล็กขึ้น
  • โรคหัด (Measles) : การติดเชื้อจากไวรัสที่ทำให้เกิดจุดสีน้ำตาลหรือสีแดงขึ้นบนผิวหนัง
  • Cytomegalovirus (CMV) : ภาวะที่เชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งของร่างกาย เช่น น้ำลายและปัสสาวะ
  • วัณโรค (Tuberculosis (TB)) : ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่แพร่เชื้อได้จากการไอ
  • ซิฟิลิส (Syphilis) : ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
  • โรคแมวข่วน (Cat Scratch Disease) : การติดเชื้อแบคทีเรียจากการข่วนของแมวที่มีเชื้อ
  • HIV : ไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันและกดความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • โรคพุ่มพวง (Lupus) : โรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีข้อต่อ ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือด และอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
  • โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (Rheumatoid Arthritis) : โรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเยื่อบุเนื้อเยื่อข้อต่อ
  • โรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) : ภาวะที่ทำให้เกิดปื้นเนื้อเยื่อสีแดง (Granulomas) บนอวัยวะของร่างกาย

บางกรณี การเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวมก็อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งที่เกิดส่วนอื่นของร่างกายแต่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองก็ได้ หรืออาจจะเกิดจากมะเร็งชนิดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอกด์กิ้น (Non-Hodgkin Lymphoma) หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีแอลแอล (Chronic Lymphocytic Leukaemia) ก็เป็นได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

หากมีภาวะต่อมน้ำเหลืองโตร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ต่อมน้ำเหลืองไม่มีทีท่าว่าจะลดขนาดลงเมื่อผ่านไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ หรือมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
  • รู้สึกว่าบริเวณที่บวมเป็นก้อนแข็งและไม่เคลื่อนที่เมื่อกดลงไป
  • มีอาการเจ็บคอจนทำให้กลืนหรือหายใจลำบาก
  • น้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้ มีอาการเหงื่อออกกลางดึก หรือมีไข้สูงต่อเนื่อง
  • ไม่ได้มีภาวะติดเชื้อที่สังเกตเห็นได้ แต่ก็ยังรู้สึกไม่สบาย

หากแพทย์คาดว่าคุณมีภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม ก็อาจมีการพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็นทั้งการตรวจเลือด (Blood Test) การสแกนอัลตราซาวด์ (Ultrasound Scan) การสแกนคอมพิวเตอร์ (Computerised Tomography (CT) Scan) หรือการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 2

มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 แม้ว่าจะจะอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองมาก แต่ก็ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มีโอกาสรักษาหายสูงเหมือนระยะที่ 1

อ่านเพิ่ม
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 การรักษาและอัตราการรอดชีวิต
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 การรักษาและอัตราการรอดชีวิต

รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ลักษณะอาการ การวินิจฉัย การรักษา และอัตราการรอดชีวิต

อ่านเพิ่ม