กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย ความเสี่ยงมีมากขนาดไหน รักษาหายได้หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เป็นส่วนน้อย โดยสาเหตุส่วนมากมักมาจากภาวะเต้านมโต 
  • อาการหลักๆ ของผู้ชายที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม คือ พบก้อนแข็งในเต้านม หัวนมยุบบุ๋มลง หัวนมแข็ง หรืออักเสบ มีเหลวไหลออกมาจากหัวนม คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียอย่างหนัก
  • การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายจะคล้ายกับโรคเต้านมในผู้หญิง คือ การตรวจอัลตราซาวด์ การทำเมมโมแกรม การตรวจชิ้นเนื้อ
  • วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายมักจะใช้การผ่าตัดเป็นตัวเลือกแรกในการรักษา หลังจากนั้นค่อยเป็นการฉายรังสีรักษา การใช้ฮอร์โมนบำบัด และการให้ยาเคมีบำบัดต่อไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชาย

เชื่อว่า เกือบทุกคนต้องคิดว่า โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่เกิดขึ้นในผู้ชายเท่านั้น แต่ความจริงแล้วผู้ชายก็ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน เพียงแต่จะพบได้น้อย โดยจะพบผู้ชายเป็นโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 1 รายต่อผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม 100,000 คน

ความหมายของโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือ โรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในต่อมน้ำนม หรือท่อน้ำนม ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ดังกล่าวผิดปกติ และกลายเป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในเต้านม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับโรคมะเร็งเต้านมที่พบในผู้ชายนั้นมักเกิดจากภาวะเต้านมโต (gynaecomastia) ซึ่งเป็นความผิดปกติในส่วนของเนื้อเยื่อภายในเต้านมผู้ชายมีการขยายใหญ่มากขึ้น

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งในเพศชายได้ ได้แก่

  • อายุ โดยผู้ชายที่อายุเกิน 60 ปี จะมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้มากว่า
  • พันธุกรรม ผู้ชายที่มีประวัติคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชายเป็นโรคมะเร็งเต้านม ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ได้มากกว่า
  • เป็นโรคอ้วน หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 30 หรือมากกว่านั้น
  • ความเสี่ยงจากการทำงาน สภาพแวดล้อมในบางอาชีพสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้ โดยสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงมาก คือ สภาพแวดล้อมที่มีความร้อนมากเกินไป เพราะสามารถทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่ม และเซลล์ผลิตฮอร์โมนในอัณฑะเสียหาย

    นอกจากนี้การทำงานกับสารเคมีบางชนิดก็มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้ เช่น งานหน้าเตาหลอม งานเชื่อมโลหะ งานกลึงโลหะ งานผลิตรถยนต์ งานผลิตน้ำหอม และสบู่

อาการของโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย

อาการหลักๆ ของผู้ชายที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม จะได้แก่

  • คลำพบก้อนแข็งในเต้านม โดยจะพบมากบริเวณใต้หัวนม และฐานหัวนม แต่จะไม่มีอาการปวด
  • หัวนมยุบบุ๋มลง
  • หัวนมแข็ง อักเสบ ดูคล้ายกับมีแผลพุพอง
  • มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม

เมื่อโรคมะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น

  • ปวดกระดูก
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม มักพบบริเวณใกล้เคียงกับเต้านม เช่น บริเวณรักแร้
  • หายใจหอบถี่
  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียอย่างหนัก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ตัวเหลือง ตาเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน 

อาการที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเต้านมแล้ว ยังอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ หรือโรคร้ายบางอย่างที่คุณอาจไม่ทราบมาก่อนก็ได้ 

เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น คุณควรไปตรวจสุขภาพ หรือตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งทันทีเพื่อจะได้รู้ว่า ร่างกายมีความผิดปกติอย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย

หลังจากตรวจร่างกายในเบื้องต้นแล้วพบว่า มีก้อนแข็งบริเวณเต้านมซึ่งไม่ทำให้รู้สึกเจ็บป่วย ร่วมกับมีอาการอื่นๆ คล้ายกับโรคมะเร็งเต้านมร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม อ่อนเพลียอย่างหนัก แพทย์จะส่งผู้ป่วยไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้ง

โดยวิธีวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายจะมีดังต่อไปนี้

  1. การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound) จะเป็นการตรวจด้วยคคลื่นความถี่สูงเพื่อให้แพทย์เห็นว่า ภายในเต้านมมีก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำหรือไม่ โดยขั้นตอนตรวจ จะเป็นการวางเซนเซอร์ของเครื่องอัลตราซาวด์ไว้เหนือเต้านม เพื่อให้ตัวเครื่องสร้างภาพภายในหน้าอกออกมา

  2. การตรวจด้วยการถ่ายภาพรังสีเต้านม หรือการทำเมมโมแกรม (Mammography) โดยในระหว่างตรวจ เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพรังสี หรือแพทย์รังสีจะบีบเต้านมข้างหนึ่งด้วยแผ่นรับรังสีเอ็กซ์ 2 แผ่น การตรวจแบบนี้จะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่อาจรู้สึกอึดอัดบ้าง

    เมื่อเต้านมอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว จะมีการถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เพื่อให้แพทย์เห็นภาพภายในของเต้านมชัดยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนไปถ่ายภาพรังสีแบบเดียวกันที่เต้านมอีกข้าง

  3. การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตรวจเพิ่มเติมเมื่อทำอัลตราซาวด์ หรือทำเมมโมแกรมแล้วพบว่า ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อ หรือมีความผิดปกติในเต้านม

    วิธีเก็บชิ้นเนื้อไปตรวจในปัจจุบันนิยมใช้ท่อเข็มเจาะเข้าไปดูดเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาจากก้อนเต้านม ก่อนจะนำไปส่งตรวจ มักไม่นิยมใช้การผ่าตัดใหญ่แล้ว

    หากตรวจพบเซลล์มะเร็ง แพทย์ก็อาจตรวจเพิ่มเติมว่า บนผิวเซลล์มะเร็งมีสารตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือไม่ หากมี ผู้ป่วยก็อาจเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดได้

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย

แผนการรักษาโรคมะเร็งเต้านมจะขึ้นอยู่กับระยะการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเต้านม โดยลำดับการรักษาสำหรับผู้ป่วยชายที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม จะได้แก่

1. การผ่าตัด

โดยจะเป็นการผ่าตัดตัดเอาเต้านมทั้งหมดออก (Mastectomy) มักเป็นทางเลือกแรกสำหรับรักษาโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

นอกจากการผ่าตัดเอาเต้านมออก แพทย์อาจกำจัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณเต้านม และรักแร้ออกด้วย หากมีการลุกลามของเชื้อมะเร็งไปถึงบริเวณดังกล่าวแล้ว และอาจต้องตัดกล้ามเนื้อใต้เต้านมบางส่วนออกด้วย ขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเชื้อในเร็งในผู้ป่วยแต่ละราย

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะมีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดบริเวณที่เคยเป็นหัวนม ส่วนแผลเป็นที่เป็นรอยหยักบริเวณโดยรอบเต้านม จะหมายถึงบริเวณที่เคยเป็นเนื้อเยื่อเต้านม และมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยปกติผู้ป่วยจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้หลังการผ่าตัด 1-3 วัน และอาจรู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้าจากการรักษาอยู่ จะต้องใช้เวลาพักผ่อนถึง 2-3 สัปดาห์จึงจะสามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติ

สำหรับแผลผ่าตัด โดยปกติภายใน 2-3 สัปดาห์ก็จะเริ่มหายดี แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้ป่วต้องดูแลแผลผ่าตัดให้ดี หากแผลมีอาการบวมแดง มีหนองออก แสดงว่า แผลติดเชื้อ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ผู้ป่วยชายบางรายอาจต้องเข้าโปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และสุขภาพหลังการผ่าตัดด้วย เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติอีกครั้ง โดยในระหว่างฟื้นฟู ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากนักกายภาพบำบัด รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

2. การฉายรังสีรักษา

เป็นการรักษาโดยใช้คลื่นรังสีพลังงานสูงเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง เป็นกระบวนการรักษาที่มักเกิดขึ้นหลังจากผ่าตัดไม่กี่สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งกลับมาเติบโตอีกครั้ง

โดยปกติความถี่ในการฉายรังสีรักษาจะอยู่ที่ 2-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลา 3-6 สัปดาห์ การรักษาแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

การฉายรังสีรักษาจะไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บแผล แต่อาจได้รับผลข้างเคียงจนเกิดเป็นอาการบางอย่าง เช่น เหนื่อยล้า คลื่นไส้อาเจียน ผิวแสบแดง และระคายเคืองคล้ายถูกแดดเผา หรือไฟไหม้

นอกจากนี้การฉายรังสียังสามารถใช้บรรเทาอาการในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายด้วย โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และลดอาการปวด เป็นกระบวนการรักษาที่เรียกว่า “การรักษาด้วยรังสีแบบประคับประคอง”

3. การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด

มีจุดประสงค์ในการรักษา คือ เพื่อยับยั้งการออกฤทธิ์ของสารฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีต่อเนื้อเยื่อภายในเต้านม เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งกลับมาเติบโตซ้ำอีกครั้งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยชายเกือบ 90% มักตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้

ยายับยั้งฮอร์โมนที่นิยมใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านมกัน คือ ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) เป็นยาที่มีทั้งรูปแบบยาเม็ด และยาเหลว ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้าสู่เซลล์เนื้อเยื่อเต้านมอีกครั้ง

การใช้ยาฮอร์โมนทาม็อกซิเฟนมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่ผู้ป่วย และผู้อยู่ใกล้ควรทราบ ซึ่งหากผลข้างเคียงรุนแรงมากๆ ก็สามารถแจ้งแพทย์เพื่อขอปรับการรักษาได้ เช่น

  • ความสนใจเรื่องเพศลดลงอย่างมาก สูญเสียความใคร่
  • อวัยวะเพศชายแข็งตัวไม่ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า “ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ”
  • มีอาการปวดหัว
  • คลื่นไส้
  • อารมณ์แปรปรวนกว่าปกติ

นอกจากยาทาม็อกซิเฟน ยังมียาฮอร์โมนบำบัดอีกตัว คือ ยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ (Aromatase inhibitors) ซึ่งจะใช้ก็ต่อเมื่อการใช้ยาทาม็อกซิเฟนไม่ช่วยการรักษาประสบความสำเร็จ

โดยสารโปรตีนซึ่งเป็นตัวสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนชื่อว่า “อะโรมาเทส (Aromatase)” ดังนั้นตัวยาฮอร์โมนตัวนี้จึงจะช่วยลดปริมาณฮอร์โมนเอสโตนเจนในร่างกายผู้ป่วยให้ลดลง และลดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยาอะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ก็มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์บางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดข้อ ไม่มีแรง รู้สึกร้อนวูบวาย มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง คลื่นไส้อาเจียน ผมบางลง

4. การรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด

แพทย์จะใช้การรักษาแบบนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้วิธีฮอร์โมนบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งได้

การให้ยาเคมีบำบัดจะเริ่มขึ้นหลังการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อมะเร็งกลับมาเติบโตอีก แพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมารับยาเคมีบำบัดทุกๆ 2-3 สัปดาห์เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน

รูปแบบของยาเคมีบำบัดจะมีทั้งแบบชนิดรับประทาน และชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อีกทั้งผู้ป่วยต้องระมัดระวังเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับยาเคมีบำบัดด้วย เช่น

  • ผมร่วง
  • มีแผลในช่องปาก
  • คลื่นไส้
  • ท้องร่วง
  • ไม่อยากอาหาร
  • เป็นหมัน

หลังจากจบการให้ยาเคมีบำบัดแล้ว ผมของผู้ป่วยจะค่อยๆ ขึ้นใหม่อีกครั้งภายใน 3-6 เดือน และผู้ป่วยยังต้องระมัดระวังในการติดเชื้อให้มาก เพราะการให้ยาเคมีบำบัดสามารถส่งผลกระทบทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลงได้

ผู้ป่วยชายที่กำลังรับยาเคมีบำบัดควรหลีกเลี่ยงการพยายามมีบุตรในช่วงนี้ด้วย เนื่องจากยาเคมีบำบัดสามารถเข้าไปทำลายตัวอสุจิ และเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกทีเ่กิดมาพิการแต่กำเนิดได้

โรคมะเร็งเต้านมในเพศชายอาจไม่เกิดขึ้นมากเท่ากับเพศหญิง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่โรคนี้จะเกิดขึ้นได้อยู่ 

ดังนั้นทั้งผู้หญิง และผู้ชายจึงควรรู้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมเอาไว้ และหากมีอาการผิดปกติใดบริเวณเต้านมก็ควรรับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ เพื่อจะได้รู้ความผิดปกติ และทำการรักษาโดยเร็ว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Breast cancer in men. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/breast-cancer-in-men/)
Breast Cancer in Men: Symptoms, Causes, Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/breast-cancer/breast-cancer-men)
What Is Breast Cancer in Men?. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/breast-cancer-in-men/about/what-is-breast-cancer-in-men.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%

อ่านเพิ่ม
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง การรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจคัดกรองทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้

อ่านเพิ่ม
รักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร มีกี่วิธี
รักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร มีกี่วิธี

รวมข้อมูลการรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด และคำถามหลังการผ่าตัด การดูแลตนเอง

อ่านเพิ่ม