กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

วิธีตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สำรวจตัวเองอยู่เสมอว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่? ด้วยการคลำตรวจก้อนเนื้อด้วยตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่เสี่ยงในผู้หญิงอายุ 35-40 ปี รวมถึงผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ใช้ยาฮอร์โมนบำบัด ผู้หญิงที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • การตรวจโรคมะเร็งสามารถตรวจกับแพทย์ หรือตรวจเบื้องต้นด้วยตนเองก่อนได้ หากไปตรวจกับแพทย์มักจะเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การทำอัลตราซาวด์ การทำแมมโมแกรม
  • การตรวจเต้านมด้วยตนเองแบ่งเป็น 2 วิธี คือ วิธีสังเกตดูลักษณะเต้านมกับวิธีคลำเต้านม ว่ามีความผิดปกติใดๆ หรือไม่ เช่น มีก้อน มีสีผิดปกติ พื้นผิวไม่เรียบ มีของเหลวไหลออกมา 
  • วิธีคลำเต้านมสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งคลำแบบตามเข็มนาฬิกา คลำจากล่างขึ้นบนขนานไปกับลำตัว หรือคลำจากหัวนมเป็นรัศมีรอบเต้านม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

การตรวจโรคมะเร็งถือเป็นรายการตรวจสำคัญที่ผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงทุกรายไม่ควรพลาด เพราะโรคมะเร็งเต้านมจัดเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พรากชีวิตผู้หญิงทั่วโลกไปมากที่สุด

กลุ่มผู้หญิงที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านม และควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมจะมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผู้หญิงอายุประมาณ 35-40 ขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาครั้งแรกตอนอายุน้อยกว่า 12 ปี
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • ผู้หญิงที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้หญิงที่เคยเข้ารับการรักษาโรคด้วยวิธีการฉายแสงมาก่อน
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เคยเข้ารับฮอร์โมนบำบัดเพื่อลดอาการของวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้หญิงที่เคยใช้ยาคุมกำเนิดในระยะยาว

หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้และมีความกังวลว่า จะเข้าข่ายมะเร็งเต้านมหรือไม่ อาจใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เกี่ยวกับโรคมะเร็งก่อน เพื่อรับคำแนะนำเบื้องต้นโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล 

วิธีตรวจมะเร็งเต้านมโดยแพทย์

การตรวจมะเร็งเต้านมกับแพทย์มักจะใช้วิธีตรวจอยู่ 4 วิธี ได้แก่

  • การใช้คลื่นความถี่สูงสำหรับถ่ายภาพเต้านม หรือการทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
  • การถ่ายภาพรังสี หรือการทำแมมโมแกรม (Diagnostic mammography)
  • การผ่าตัดเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)

วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

แต่นอกเหนือจากวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งกับแพทย์แล้ว คุณก็สามารถตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้เช่นกัน โดยแบ่งเป็น 2 วิธี

1. วิธีสำรวจดูเต้านม

วิธีตรวจความเสี่ยงมะเร็งเต้านมด้วยการสังเกตดู จะมีขั้นตอนต่อไปนี้

  • ยืนตรงหน้ากระจก แขนแนบข้างลำตัว ลำตัวตรงอยู่กับที่
  • ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วสังเกตขนาด รูปร่างของเต้านมทั้ง 2 ข้างว่า มีความผิดปกติหรือไม่ เช่น รอยบุ๋มที่เต้านม ก้อนนูน ผิวหนังที่บวมขึ้น ปานนมที่สีต้องเสมอกันทั้ง 2 ข้าง ผิวเต้านมที่ต้องไม่มีแผลถลอก ขนาดหน้าอก 2 ข้างที่ต้องเท่ากัน
  • เอามือ 2 ข้างเท้าสะเอวให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึง
  • โน้มตัวไปข้างหน้า ระหว่างนั้นให้เกร็งตัว และกดน้ำหนักลงกับหน้าอก แล้วสังเกตรอยดึงรั้งของผิวเต้านม

2. วิธีคลำเต้านม

จะเป็นวิธีใช้มือคลึง หรือคลำกดเต้านม เพื่อหาก้อนมะเร็งที่อยู่ข้างใน โดยจะกดทั้งหมด 2 ตำแหน่ง ได้แก่

1. ตำแหน่งรักแร้กับเหนือไหปลาร้า ให้นั่งตัวตรง วางแขนข้างที่ต้องการตรวจกับโต๊ะ ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของแขนอีกข้างคลำที่รักแร้ข้างที่ต้องการตรวจ แล้วสังเกตว่า มีก้อนเนื้ออยู่ใต้เต้านมหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ตำแหน่งเต้านม สามารถทำได้หลายท่าด้วยกัน เช่น

  • ท่านอน ให้นอนหงาย หนุนหมอนเตี้ย แล้วเอาผ้าห่มหนุนใต้ไหล่ข้างที่ต้องการตรวจ จากนั้นยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดหนักไปทั่วเต้านม ห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้เข้าใจผิดว่า เนื้อเต้านมเป็นก้อนมะเร็งได้

    จากนั้นให้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้บีบที่หัวนมเพื่อตรวจว่า มีของเหลวไหลเช่น น้ำเลือด น้ำเหลืองไหลออกมาจากเต้านมหรือไม่

  • ท่ายืนขณะอาบน้ำ โดยจะอาศัยความลื่นจากสบู่มาเป็นข้อได้เปรียบในการตรวจ ให้ยกแขนข้างที่ต้องการตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางมือ กดหนักไปทั่วเต้านม รวมถึงบีบหัวนมเพื่อตรวจว่า มีของเหลวไหลออกมาหรือไม่ด้วย

นอกจากนี้วิธีคลึงเต้านมยังแบ่งออกได้หลายแบบด้วยกัน คือ

  1. วิธีคลำตามเข็มนาฬิกา โดยเริ่มจากส่วนบนของหัวนม แล้วเลื่อนนิ้วมือวนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกาขยายใหญ่ออกไปเรื่อยๆ จนถึงฐานเต้านม และรักแร้ จากนั้นให้กดสำรวจบริเวณใต้หัวนมว่า มีก้อนเนื้ออยู่ภายในหรือไม่ พร้อมกับบีบหัวนมเพื่อสังเกตดูของเหลวที่อาจไหลออกมา

  2. วิธีคลำตามแนวนอนขึ้นลงขนานไปกับลำตัว โดยให้คลำจากส่วนล่างที่ขอบราวเต้านมก่อนแล้วลากปลายนิ้วขึ้นมาบริเวณกระดูกไหปลาร้า จากนั้นกดคลำลงไปในแนวขึ้นลงเหมือนเดิมจนทั่วพื้นที่ของเต้านม

  3. วิธีคลำเป็นรัศมีรอบเต้านม หรือรูปลิ่ม โดยให้เริ่มคลำจากเส้นบวนของเต้านมลากลงไปถึงฐานเต้านม แล้วขยับปลายนิ้วมือจากฐานขึ้นมาที่หัวนมอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เป็นรัศมีรอบเต้านมถึงกระดูกไหปลาร้า และรักแร้

ความถี่ในการตรวจความเสี่ยงมะเร็งเต้านมด้วยตนเองควรอยู่ที่ 1 ครั้งต่อเดือน และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมทุกๆ 1-3 ปี

อย่าชะล่าใจว่า โรคมะเร็งเต้านมอาจไม่เกิดกับตนเอง ถึงแม้คุณจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะโรคนี้สามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนอย่างคาดเดาไม่ได้

รีบตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่วันนี้ เพื่อที่หากพบว่า ตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือพบว่า มีก้อนมะเร็ง จะได้รีบหาทางรักษาอย่างเหมาะสมได้ทันเวลา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Swartz MH. The breast. In: Textbook of Physical Diagnosis: History and Examination. 7th ed. Philadelphia, Pa.: Saunders Elsevier; 2014.
WebMD, Breast Cancer and the Breast Self-Exam (https://www.webmd.com/breast-cancer/breast-self-exam#1), 24 November 2020.
National Cancer Institute, Breast cancer screening (PDQ) (https://www.cancer.gov/types/breast/hp/breast-screening-pdq), 23 November 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%

อ่านเพิ่ม
รักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร มีกี่วิธี
รักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร มีกี่วิธี

รวมข้อมูลการรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด และคำถามหลังการผ่าตัด การดูแลตนเอง

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)

รู้เท่าทันโรคมะเร็งหายากที่เกิดขึ้นได้กับเต้านม

อ่านเพิ่ม