กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

รักษามะเร็งเต้านมมีกี่วิธี มีผลกระทบยังไง รักษานานแค่ไหน มาดูกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ภายในท่อน้ำนม และต่อมน้ำนมที่ผิดปกติ เป็นโรคมะเร็งที่ผู้หญิงหลายคนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น อายุมากกว่า 35-40 ปี เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม อยู่ในวัยหมดประจำเดือน เคยใช้ยาคุมกำเนิดระยะยาว
  • วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกได้ 5 วิธี คือ วิธีการผ่าตัด วิธีทำเคมีบำบัด วิธีใช้รังสีรักษา วิธีใช้ฮอร์โมนบำบัด วิธีใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ
  • โดยปกติวิธีการผ่าตัดจะเป็นวิธีรักษาที่ถูกแนะนำให้ใช้มากที่สุด แต่วิธีรักษาอื่นๆ ก็สามารถช่วยให้อาการของโรคหายได้ และยังได้ผลลัพธ์ดีกว่าได้อีกด้วย เช่น วิธีการทำเคมีบำบัด หรือการทำคีโม ที่สามารถเข้าทำลายเซลล์มะเร็งได้ทั่วร่างกายมากกว่าแค่บริเวณที่ผ่าตัดเท่านั้น
  • วิธีการรักษาโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ และใช้ฮอร์โมนบำบัดก็เป็นวิธีรักษาที่น่าสนใจ เพราะส่งผลข้างเคียงน้อย แต่อาจมีข้อกำจัดในการรักษาแตกต่างกันไปตามร่างกายผู้ป่วยแต่ละราย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

โรคมะเร็งเต้านมมีวิธีรักษาอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีขั้นตอน และกระบวนการที่ซับซ้อนแตกต่างกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อบรรเทาอาการ หรือรักษาโรคมะเร็งเต้านมให้หายได้

นอกจากนี้วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมยังจะแตกต่างกันไปตามระยะของโรคด้วยว่า อยู่ในระยะร้ายแรงขนาดไหนแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมาย และระยะของโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือ โรคมะเร็งซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ภายในท่อน้ำนม และต่อมน้ำนม จนเกิดเป็นก้อนมะเร็งภายในเต้านม โรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกได้ 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1: เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งลุกลามออกมาจากเนื้อเยื่อฐานรากแล้ว แต่ยังไม่กระจายออกไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 2: เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งมีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตรแต่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร บางรายอาจมีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่บางรายก็ยังไม่มีการลุกลาม
  • ระยะที่ 3: เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่เกินกว่า 5 เซนติเมตรแล้ว และมีการกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หลายที่แล้ว
  • ระยะที่ 4: เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งได้ลุกลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ไปทั่วแล้ว เช่น สมอง ปอด ตับ กระดูก

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากระยะของโรคอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว ก็อาจยากต่อการรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปนั้นล้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทั้งนั้น 

ดังนั้นผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งทุกคน เพื่อจะได้รู้เท่าทันโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นโดยที่ยังไม่รู้ตัว

โดยกลุ่มผู้หญิงที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าปกติ ได้แก่

  • ผู้หญิงที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • อายุ โดยผู้หญิงอายุประมาณ 35-40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุน้อยกว่า 12 ปี
  • ผู้หญิงที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ผู้หญิงที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รวมถึงสูบบุหรี่เป็นประจำด้วย
  • ผู้หญิงที่เคยรักษาโดยใช้วิธีฉายแสงมาก่อน
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เคยรับฮอร์โมนเสริมเพื่อลดอาการของวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้หญิงที่เคยใช้ยาคุมกำเนิดในระยะยาว

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมบางรายอาจไม่แสดงออกมา แต่โดยหลักๆ ผู้ป่วยจะคลำพบก้อนเนื้อในเต้านม หรือใต้แขนใกล้กับรักแร้ ร่วมกับมีอาการหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือเลือดไหลออกมาจากหัวนม ผิวเต้านมมีผื่นแดง รู้สึกแสบร้อนผิว และอ่อนเพลียอย่างหนัก

วิธีวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การคลำหาก้อนมะเร็งด้วยตนเอง
  • การถ่ายภาพรังสี หรือการทำแมมโมแกรม (Diagnostic mammography)
  • การใช้คลื่นความถี่สูงสำหรับถ่ายภาพเต้านม หรือการทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
  • การผ่าตัดเพื่อนำก้อนชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)

วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกได้ 5 วิธีได้แก่

1. วิธีการผ่าตัด (Surgery)

เป็นวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดนำก้อนมะเร็งภายในเต้านม หรือเต้านมทั้งเต้าออกไป วิธีรักษาโดยการผ่าตัดแบ่งออกได้หลายวิธี ได้แก่

  • วิธีผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า (Total or Simple mastectomy) รวมถึงผิวหนังเหนือหัวนม และก้อนมะเร็งด้วย
  • วิธีผ่าตัดเต้านมออกเพียงบางส่วน (Breast-conserving surgery) โดยจะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นก้อนเนื้อมะเร็ง และเนื้อเต้านมบริเวณโดยรอบก้อนมะเร็งประมาณ 1-2 เซนติเมตรไปด้วย
  • วิธีผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด (Axillary dissection) เป็นวิธีผ่าตัดเพื่อกำจัดเชื้อมะเร็งในต่อมเหลือง ผ่านการผ่านำต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
  • วิธีผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel lymph node biopsy) เป็นวิธีผ่าตัดที่นิยมทำในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะไม่รุนแรง โดยจะเป็นการผ่าตัดเพื่อนำชิ้นเนื้อไปยืนยันว่า เชื้อมะเร็งได้มีการแพร่กระจายหรือไม่ และเพื่อตัดต่อมน้ำเหลืองที่มีเชื้อมะเร็งส่วนแรกออกไปเพื่อลดการแพร่กระจายของโรค

2. วิธีการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy)

เรียกโดยทั่วไปว่า “การทำคีโม” เป็นการรักษาโรคมะเร็งเต้านมโดยใช้ยาซึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้ง และทำลายการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งโดยเฉพาะ

ผู้ป่วยที่รักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีนี้มีโอกาสที่จะหายขาดจากโรคมะเร็งเต้านมได้ เนื่องจากตัวยาสำหรับทำเคมีบำบัดสามารถออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ทั่วร่างกาย ต่างจากวิธีการผ่าตัดที่รักษาได้เพียงบริเวณที่ผ่าตัดเท่านั้น

ยาเคมีบำบัดแบ่งออกได้หลายสูตร และมีทั้งรูปแบบฉีด หรือรูปแบบรับประทาน ส่วนมากแพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมารับยาเคมีบำบัดแล้วก็กลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด

ความถี่ในการให้ยาเคมีบำบัดแต่ละครั้งมักจะอยู่ที่ประมาณ 1-4 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจให้ยานานเป็นปี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ยาเคมีบำบัดก็สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ เช่น ผมร่วง เป็นแผลในปาก คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย รู้สึกร้อนวูบวาบ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยลง

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ในช่วงที่ต้องรับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรมีการคุมกำเนิดอย่างเคร่งครีด หรืองดมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ควรใช้วิธีรับประทานยาคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุม เพราะยาเหล่านี้สามารถส่งผลให้เซลล์มะเร็งกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

3. วิธีการใช้รังสีรักษา (Radiotherapy)

เรียกอีกอย่างว่า “การฉายแสง” เป็นการรักษาโดยการปล่อยอนุภาครังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อหยุดการลุกลามเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง เป็นวิธีการรักษาที่มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดเต้านมออกบางส่วน เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่กระจายออกไปให้หมด

การฉายแสงโดยปกติจะใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน อีก 2 วันไว้สำหรับให้ผิวหนังได้พักผ่อน และเนื้อเยื่อซึ่งได้รับผลกระทบจากรังสีที่ฉายมาได้มีการฟื้นฟู

โดยผลกระทบจากการรักษาโดยการฉายแสงนั้น มักเกิดบริเวณผิวที่ได้รับรังสี เช่น ทำให้รู้สึกแสบผิว ผิวแห้ง รู้สึกคัน ผิวคล้ำแดง ปวดแสบปวดร้อน นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวถูกแสงแดด หรือถูกความเย็นจัดๆ หากต้องการโกนขน ควรใช้เครื่องโกนไฟฟ้าแทนมีดโกน

นอกจากผลข้างเคียงเรื่องผิว การฉายแสงรักษาโรคมะเร็งเต้านมยังส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยมีอาการข้อไหล่ติด และแขนบวมได้ ผู้ป่วยจึงอาจต้องทำกายบริหาร หรือออกกำลังกายในระหว่างรักษาไปด้วย

4. วิธีการใช้ฮอร์โมนบำบัด (Hormonal therapy)

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมส่วนหนึ่งนั้นมาจากฮอร์โมนเพศในร่างกาย ดังนั้นจึงมีอาการรักษาอีกแบบที่แพทย์จะใช้ยาเข้ามายับยั้งฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม เราเรียกมันว่า “ยาต้านฮอร์โมน” ซึ่งแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม

  • ยายับยั้งการทำงานของฮอร์โมน หรือยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ใช้ได้ทั้งในผู้ป่วยหญิงที่ยังมีประจำเดือน และหมดประจำเดือนแล้ว แต่อาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการเลือดออกทางช่องคลอด
  • ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน ใช้ได้ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วเท่านั้น และอาจมีผลข้างเคียงต่อมวลกระดูก หรือทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

โดยปกติระยะเวลาในการใช้ฮอร์โมนบำบัดจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปี และมักไม่ได้มีอาการผลข้างเคียงใดๆ รุนแรงเกิดขึ้น

5. วิธีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ (Targeted Therapy)

เป็นวิธีรักษาโดยใช้ยากลุ่มใหม่ซึ่งมีกลไกสามารถรับส่งสัญญาณกับผิวเซลล์ในเต้านมได้ เมื่อใช้ยาดังกล่าว และมีการจับสัญญาณของเซลล์มะเร็งได้แล้ว ยาก็จะเข้าไปออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งให้หายไป

วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ดี มีผลข้างเคียงน้อย แต่มีข้อจำกัดตรงที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยแค่บางรายเท่านั้น และยังมีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาด้วย

นอกจากการรักษาทั้ง 5 วิธี ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมยังต้องดูแลสุขภาพตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ดี และแข็งแรงพอจะต่อสู้กับโรคได้อีกด้วย เช่น

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรขาดอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งไปทั้งนั้น และไม่ควรอดอาหารถึงแม้จะรู้สึกไม่อยากอาหารก็ตาม
  • ดื่มน้ำให้มากๆ เพราะยาบางชนิดสามารถส่งผลข้างเคียงต่อไต และกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยจึงต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้อวัยวะภายในมีสารน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอ
  • หมั่นไปตรวจความคืบหน้าของโรคถึงแม้จะเคยรักษาโรคมะเร็งเต้านมไปแล้วก็ตาม โดยบริเวณที่มักพบรอยโรคมะเร็งซ้ำได้อีก คือ บริเวณเต้านมข้างที่เคยได้รับการผ่าตัด

    นอกจากนี้ผู้ป่วยควรลองตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ปอด และกระดูก เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีการลุกลามของเชื้อมะเร็ง และตรวจดูว่า อวัยวะภายในอย่างตับ ไต ยังทำงานเป็นปกติหรือไม่ 

หรือทางที่ดี ผู้ป่วยควรกลับมาตรวจสุขภาพให้ครบถ้วน เพื่อให้มั่นใจว่า ร่างกายหลังการรักษายังคงแข็งแรง ไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ จากโรคเก่าทั้งนั้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สาขาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มะเร็งเต้านม (https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/surgery/คู่มือฉบั...doc), 22 กันยายน 2563.
ภรณี เหล่าอิทธิ และนภา ปริญญานิติกูล, มะเร็งเต้านม: ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง (http://clmjournal.org/_fileupload/journal/12-5.pdf), 22 กันยายน 2563.
พัชรภรณ์ ทองวัชระ และอนงนาฎ เรืองดำ, ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (http://hocc.medicine.psu.ac.th/files/khowledge/12december2011.pdf), 22 กันยายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง การรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจคัดกรองทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้

อ่านเพิ่ม
รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านม อาการ วิธีรักษา การป้องกัน
รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านม อาการ วิธีรักษา การป้องกัน

รวมครบจบในบทความเดียวเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย ความเสี่ยงมีมากขนาดไหน รักษาหายได้หรือไม่

อ่านเพิ่ม