โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง
โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงไทยเป็นโรคมะเร็งเต้านมประมาณปีละ 9,000-10,000 คน ซึ่งมักพบในกลุ่มผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป คนโสด ผู้ที่ไม่มีบุตรี และผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือโรคมะเร็งรังไข่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคมะเร็งเต้านม ตรวจได้อย่างไร?
โรคมะเร็งเต้านม สามารถตรวจเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยการสังเกต หรือคลำ แต่ไม่สามารถตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ที่ยังไม่แสดงอาการได้ ซึ่งการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มาก การเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมี 3 วิธี ได้แก่
- การตรวจทางรังสีด้วยเครื่องแมมโมแกรม นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตรวจแมมโมแกรม ( Mammogram)
- การตรวจแบบอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
- การใช้เข็มเจาะที่เต้านมเพื่อนำเซลล์ไปตรวจ (Fine Needle Aspiration: FNA)
โดยทั่วไปแล้ว จะนิยมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ เพราะสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก มีข้อจำกัดน้อย ไม่ต้องเจ็บตัว หรือเตรียมตัวใดๆ
การตรวจแมมโมแกรม คืออะไร?
การตรวจแมมโมแกรม คือการตรวจเต้านมด้วยเครื่องมือที่ใช้รังสีชนิดพิเศษคล้ายการเอกซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป และตรวจได้ละเอียดกว่ามาก เหมาะกับผู้มีอายุมากกว่า 40 ปี เพราะเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก
การตรวจแมมโมแกรมมักเป็นการฉายภาพเต้านมด้านละ 2 รูป และถ่ายจากด้านบนและด้านข้างรวมเป็น 4 รูป โดยแพทย์จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของเนื้อเยื่อ ต่อมน้ำนม ไขมัน หินปูน และก้อนเนื้อขนาดเล็ก ช่วยให้พบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
ข้อดีของการตรวจแมมโมแกรม
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ใช้รังสีปริมาณต่ำ และสามารถตรวจมะเร็งเต้านมพบได้ตั้งแต่ระยะแรกที่ไม่มีอาการผิดปกติจนถึงระยะที่มีอาการ แม้แต่เซลล์มะเร็งที่มีขนาดเล็กมาก คลำไม่พบ อัลตราซาวด์ไม่พบ ก็สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจแบบแมมโมแกรม ทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การตรวจอัลตราซาวด์ คืออะไร?
การตรวจอัลตราซาวด์ คือการตรวจเต้านมด้วยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเต้านม จากนั้นคลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมาที่เครื่อง แสดงความแตกต่างของเนื้อเยื่อที่พบได้ว่าปกติ หรือไม่ปกติ อีกทั้งยังสามารถบอกได้ว่า สิ่งผิดปกตินั้นเป็นถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ
ในกรณีที่ตรวจพบเป็นถุงน้ำ จะทำให้ผู้เข้ารับการตรวจโล่งใจได้ทันที เพราะไม่ใช่ก้อนมะเร็ง แต่หากเป็นก้อนเนื้อ อัลตราซาวด์จะทำให้รู้ว่า ก้อนเนื้อนั้นอยู่ในขอบเขตที่ปกติ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้อร้าย
ข้อดีของการตรวจอัลตราซาวด์
แม้ว่า การตรวจอัลตราซาวด์จะไม่สามารถตรวจหาหินปูนได้ แต่สามารถรู้ว่า สิ่งผิดปกติที่พบในเต้านมนั้นเป็นถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ ทำให้วางแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังไม่ต้องใช้รังสี ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงต่ำ เหมาะสำหรับผู้มีอายุน้อย และผู้ที่มีความหนาแน่นของเต้านมสูงกว่าปกติ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีไหนดี?
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์ หากทำควบคู่กันจะยิ่งเป็นการเสริมให้ผลการตรวจชัดเจน ถูกต้อง และแม่นยำ
อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว ส่วนจะตรวจด้วยวิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากอาการ ความผิดปกติ และอายุของผู้เข้ารับการตรวจเป็นรายบุคคลไป
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมนั้น ควรตรวจที่สถานพยาบาลเดิมในครั้งต่อไป เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบผลการตรวจจากประวัติเก่าได้อย่างต่อเนื่อง
ราคาของการตรวจแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์
ราคาตรวจแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์ในโรงพยาบาลรัฐบาล มีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500-2,500 บาท
หากเป็นผู้ที่มีบัตร 30 บาท บัตรประกันสังคม บัตรข้าราชการ จะต้องใช้ใบส่งตัวของแพทย์จากโรงพยาบาลที่ท่านใช้สิทธิ์การรักษาอยู่จึงจะใช้สิทธิได้ ส่วนสิทธิ์ข้าราชการสามารถทำการเบิกจ่ายได้ทุกโรงพยาบาลรัฐบาล
สำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000-4,000 บาท ซึ่งเป็นการประมาณราคาเพียงคร่าวๆ เท่านั้น ก่อนการเข้ารับบริการ ควรสอบถามราคาค่าใช้จ่ายกับทางโรงพยาบาลก่อน
คำถามที่พบบ่อย
ผู้ที่เสริมหน้าอก สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) ได้หรือไม่?
คำตอบ: หากเสริมหน้าอกมานานแล้ว และไม่มีแผล สามารถตรวจได้ แต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนตรวจ หรือสอบถามแพทย์เบื้องต้นก่อนว่า สามารถตรวจหาเชื้อมะเร็งเต้านมได้ หรือไม่
ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง หากพบสัญญาณผิดปกติ หรือตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีโอกาสรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเต้านมออก
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว ตรวจแมมโมแกรม รพ.พญาไท 2 เจ็บไหม รู้ผลเลยไหม? | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android