กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของสตรีอย่างเช่นมดลูกเพื่อดูความผิดปกตินั้น เราสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอดหรือใช้เครื่องมือแพทย์เข้าไปตรวจ หากพบความผิดปกติมาก่อนเช่นคลำพบก้อน แพทย์จะทำการตรวจแบบที่เรียกว่าการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก เพื่อให้การวินิจฉัยนั้นมีความแม่นยำถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด

การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกคืออะไร

การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกคือการตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกสามารถทำการตรวจได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้

    1. การตรวจโดยใช้เครื่องมือเคลื่อนผ่านหน้าท้อง วิธีนี้ถ้าจะให้เห็นผลดีที่สุดต้องดื่มน้ำมากๆ แล้วกลั้นปัสสาวะไว้ น้ำจะช่วยให้การมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้องรวมทั้งมดลูกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    2. การตรวจโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์สอดเข้าทางช่องคลอด ลักษณะการตรวจจะเหมือนกับการตรวจภายใน คนไข้จะนอนบนเตียงขาหยั่งหรือนอนชันเข่า เมื่อแพทย์สอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอดแล้วก็จะสามารถมองเห็นมดลูกได้ว่ามีสภาพเช่นไร ซึ่งการตรวจแบบนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและแม่นยำมากกว่าการใช้เครื่องมือเคลื่อนตรวจผ่านผิวบริเวณหน้าท้อง

    การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกป้องกันโรคอะไรได้บ้าง

      1. การตั้งครรภ์ สามารถตรวจดูการตั้งครรภ์ว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่ ตรวจดูทารกในครรภ์ พัฒนาการของทารก รวมทั้งความผิดปกติต่างๆ ของทารก ดูเพศว่าเป็นหญิงหรือชาย ประเมินน้ำหนักตัวของทารก ถ้าเป็นอวัยวะอื่นๆ จะสามารถตรวจนิ่วในถุงน้ำดี ไต และก้อนเนื้อในตับได้
      2. วินิจฉัยโรค ที่บริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น มดลูกหรือรังไข่ หัวใจ หลอดเลือด ถุงน้ำดี ตับ ม้าม ดวงตา ต่อมไทรอยด์ เพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคนิ่ว เนื้องอก ซีสต์  หรือเนื้อร้าย
      3. ดูตำแหน่ง เพื่อตัดชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง เพราะการตรวจอัลตร้าซาวด์จะช่วยให้การตัดชิ้นเนื้อตามตำแหน่งที่ถูกต้อง เนื่องจากสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
      4. รักษาโรค ใช้ตรวจและรักษาเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ

      การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกอันตรายไหม

      การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกเป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ หากเป็นการตรวจผ่านผิวหน้าท้องก็จะเป็นการใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เคลื่อนผ่านไปบนผิวหนังเท่านั้น โดยจะมีการทาเจลบนผิวหน้าท้องก่อน เพื่อทำให้เคลื่อนอุปกรณ์ตรวจได้สะดวกและไม่เจ็บ

      แต่หากเป็นวิธีที่ใช้เครื่องมือสอดผ่านเข้าทางช่องคลอดก็จะคล้ายกับการตรวจภายในทั่วไป ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวบ้างเล็กน้อย ขณะเอาเครื่องมือสอดตรวจที่มดลูกเท่านั้น แต่ก็เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ อีกทั้งการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นการใช้คลื่นเสียงตรวจจับเนื้อเยื่ออ่อนที่ได้ผลชัดเจน และยังไม่พบว่ามีอันตรายเหมือนกับการเอ็กซเรย์ทั่วไป

      ราคาของการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก

      สำหรับโรงพยาบาลเอกชนราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 3,000 บาทต่อครั้ง ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลราคาจะอยู่ที่ประมาณ 600 – 1,000 บาทต่อครั้ง และคลินิกราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 – 2,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัน เวลา สถานที่ และโปรโมชั่นที่จัดตามสถานพยาบาลนั้นๆ

      วิธีการเตรียมตัวก่อนการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก

        1. ควรดื่มน้ำเปล่ามากๆ และกลั้นปัสสาวะไว้ เพราะการมีปริมาณน้ำเต็มในกระเพาะจะช่วยดันลำไส้ไม่ให้บังมดลูก
        2. ไม่ทาโลชั่น ครีมถนอมผิว แป้ง หรือครีมระงับกลิ่นกายต่างๆ ที่บริเวณท้อง
        3. ผลัดเปลี่ยนใส่เสื้อผ้าตามที่สถานพยาบาลกำหนด โดยปกติจะเป็นเสื้อผ้าแบบหลวมๆ ใส่สบาย เอื้อต่อการตรวจง่ายยิ่งขึ้น
        4. สำหรับการตรวจอัลตร้าซาวด์ด้วยวิธีใช้เครื่องตรวจผ่านช่องคลอด คนไข้ไม่ต้องเตรียมตัวใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่ควรตรวจขณะมีประจำเดือน เนื่องจากจะไม่สะอาดและไม่สะดวกต่อการตรวจเท่าไรนัก

        วิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจอัลตราซาวด์มดลูก

        ไม่พบว่าต้องมีการดูแลพิเศษใดๆ หลังการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูก เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วสามารถกลับบ้านปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

        การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกจะช่วยให้ทราบถึงความผิดปกติของมดลูก ในลักษณะที่ค่อนข้างชัดเจนและแม่นยำในตำแหน่งที่เกิดโรค ดังนั้นเราจึงควรเข้ารับการตรวจเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง หรือหากพบโรคมะเร็งในระยะต้นๆ ก็จะได้วางแผนการรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเอง

        บทความที่เกี่ยวข้อง

        รีวิว อัลตราซาวด์ช่องคลอด ตรวจภาวะมีบุตรยาก สำหรับผู้หญิง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
        รีวิว ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ที่ รพ.พญาไท 2 | HDmall


        9 แหล่งข้อมูล
        กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
        Ultrasound: Pelvis (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/ultrasound-pelvis.html)
        Pelvic Ultrasound. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/pelvic-ultrasound/)
        Transvaginal Ultrasound: Purpose, Procedure, and Results. Healthline. (https://www.healthline.com/health/transvaginal-ultrasound)

        บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

        ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

        ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
        (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

        บทความต่อไป
        การตรวจภายใน (Pelvic Exams)
        การตรวจภายใน (Pelvic Exams)

        การตรวจภายในไม่น่ากลัวอย่างที่คิด และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน

        อ่านเพิ่ม
        ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
        ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

        ความผิดปกติที่พบบ่อยในคุณผู้หญิงที่ต้องรู้จัก อันตรายหากรักษาไม่ถูกวิธี

        อ่านเพิ่ม
        การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ
        การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

        มะเร็งเต้านมภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากเป็นอันดับต้นๆ อย่านิ่งนอนใจ ขอให้หมั่นสังเกต และตรวจหาเป็นประจำ

        อ่านเพิ่ม