กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การตรวจแมมโมแกรมคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

มะเร็งเต้านมภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากเป็นอันดับต้นๆ อย่านิ่งนอนใจ ขอให้หมั่นสังเกต และตรวจหาเป็นประจำ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจแมมโมแกรมคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจแมมโมแกรม คือ การตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมด้วยรังสีชนิดพิเศษมีลักษณะคล้ายการเอกซเรย์เพียงแต่มีปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป โดยปกติมักตรวจควบคู่กับการทำอัลตราซาวด์
  • การตรวจแมมโมแกรม เหมาะสำหรับใช้ตรวจกับผู้ที่คลำได้ลำบาก ผู้ที่เสริมหน้าอกมาแล้ว ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่มีเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยวิธีนี้ปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง แต่หากตรวจแล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการนัดตรวจเป็นประจำทุกๆ 3–6 เดือน
  • การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม ไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหารใดๆ แต่ไม่ควรทาแป้ง ครีมถนอมผิว และสเปรย์ระงับกลิ่นกายที่บริเวณเต้านม หรือรักแร้ 
  • แพทย์มักตรวจแมมโมแกรมเต้านมควบคู่ไปกับการทำอัลตราซาวด์ ดังนั้นราคาจึงเป็นการตรวจทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,500 บาท
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

โรคมะเร็งเต้านมขึ้นชื่อว่าเป็นโรคร้ายแรงคร่าชีวิตผู้หญิงมากเป็นอันดับสองรองจากโรคมะเร็งปากมดลูก การตรวจหามะเร็งเต้านมสามารถตรวจได้จากการสังเกต การคลำด้วยตนเองเพื่อหาความผิดปกติ การตรวจด้วยแมมโมแกรม และการตรวจอัลตร้าซาวด์ 

โดยพบว่า วิธีตรวจมะเร็งเต้านมที่นิยมที่สุดในตอนนี้คือ การตรวจแมมโมแกรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจแมมโมแกรมคืออะไร?

การตรวจแมมโมแกรมคือ การตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมด้วยรังสีชนิดพิเศษมีลักษณะคล้ายการเอกซเรย์เพียงแต่มีปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป โดยจะถ่ายรูปเต้านมด้านละ 2 รูป ด้วยการบีบเนื้อเต้านมเข้าหากัน และถ่ายรูปเต้านมจากด้านบนและด้านข้าง รวมทั้งสิ้น 4 ภาพ 

แมมโมแกรม เป็นวิธีที่สามารถเห็นได้แม้แต่จุดหินปูนในเต้านมจึงสามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้แม้ในระยะเริ่มแรก ใช้เวลาการตรวจไม่นาน 

ถ้าตรวจในผู้ที่ยังไม่มีอาการก็จะเป็นการตรวจเพื่อเฝ้าระวัง แต่หากพบว่า มีอาการผิดปกติแล้ว เช่น คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม เจ็บที่เต้านม และมีของเหลวออกมาจากหัวนมแล้วจึงมาตรวจแบบนี้ การตรวจแมมโมแกรมก็จะเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค

แมมโมแกรมนั้นเหมาะสำหรับใช้ตรวจกับผู้ที่คลำได้ลำบาก ผู้ที่เสริมหน้าอกมาแล้ว ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่มีเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก  

ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยวิธีนี้ปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง แต่หากตรวจแล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการนัดตรวจเป็นประจำทุกๆ 3–6 เดือน

อ่านเพิ่มเติม: การตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์เหมาะสำหรับใคร ตรวจแบบไหนดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจแมมโมแกรมป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?

การตรวจแมมโมแกรมเป็นเพียงวิธีใช้เครื่องตรวจและถ่ายรูปให้แพทย์วินิจฉัยเหมือนการเอ็กซเรย์เท่านั้น 

วิธีการคือ แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่จะบีบเต้านมทั้งสองข้างเพื่อถ่ายรูปเต้านมทั้งด้านข้างและด้านบน ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ก็อาจมีการถ่ายรูปเพิ่ม ซึ่งการถ่ายรูปนี้จะรู้สึกเจ็บตึงๆ แบบพอทนได้

ถึงแม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะเป็นการตรวจด้วยรังสีแต่ก็ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะรังสีที่ใช้มีปริมาณน้อยกว่ารังสีจากการเอ็กซเรย์ทั่วไปหลายเท่า ดังนั้นจึงไม่มีการกระจายรังสีไปที่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย 

อีกทั้งการตรวจแมมโมแกรมตามสถานพยาบาลต่างๆ มักนิยมตรวจควบคู่ไปกับการทำอัลตราซาวด์ เพื่อประกอบการวินิจฉัยและใช้ประวัติเก่าของคนไข้ที่เคยตรวจมาประกอบการพิจารณา รวมทั้งเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติต่างๆ ของเต้านมอีกด้วย

วิธีการเตรียมตัวก่อนการทำแมมโมแกรม

วิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม มีดังนี้

  1. ไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหารใดๆ ก็สามารถตรวจได้ โดยใช้เวลาเพียง 30 นาที แต่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจช่วงใกล้ประจำเดือนมา เพราะเต้านมจะมีอาการคัดตึงมากกว่าปกติ
  2. ก่อนการตรวจไม่ควรทาแป้ง ครีมถนอมผิว และสเปรย์ระงับกลิ่นกายที่บริเวณเต้านม หรือรักแร้
  3. เปลี่ยนเสื้อผ้าตามโรงพยาบาลกำหนด โดยมักจะเป็นชุดที่สามารถเปิดตรวจเต้านมได้สะดวก หลวม และสวมใส่สบาย
  4. หากมีอาการผิดปกติใดๆ ที่เกี่ยวกับเต้านมอย่าง เช่น คลำเจอก้อน หรือเสริมหน้าอก ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนการตรวจ
  5. ควรตรวจกับสถานพยาบาลที่เคยมีประวัติมาก่อน หากย้ายสถานที่ตรวจก็ควรนำประวัติจากที่เดิมมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย
  6. ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรตรวจแมมโมแกรม

วิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

ไม่มีข้อปฏิบัติหลังการทำแมมโมแกรม แต่แพทย์อาจจะแนะนำเฉพาะบางราย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ราคาของแมมโมแกรม

แพทย์มักตรวจแมมโมแกรมเต้านมควบคู่ไปกับการทำอัลตราซาวด์ ดังนั้นราคาจึงเป็นการตรวจทั้งสองอย่าง ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,000 บาท 

ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลหากไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์ให้มาตรวจจะไม่ได้รับสิทธิเบิกจากบัตรใดๆ เช่น บัตรทอง บัตรประกันสังคม ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,500 บาท ซึ่งราคาจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัน เวลา และการจัดโปรโมชั่นของสถานพยาบาลแต่ละแห่งด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจแมมโมแกรม

หากเสริมหน้าอกมา สามารถตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) ได้หรือไม่?
คำตอบ: 
หากลูกค้าเสริมหน้าอกมานานแล้ว และไม่มีแผล สามารถตรวจได้

การตรวจแมมโมแกรมนับว่า เป็นวิธีที่ทันสมัย สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนและดีที่สุด ผู้ที่ใช้บริการจึงไม่ต้องวิตกกังวลถึงปัญหาต่างๆ อีกทั้งการตรวจก็สะดวกสบาย ใช้เวลาน้อย และไม่ต้องพักฟื้น เมื่อตรวจเสร็จก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจแมมโมแกรม รพ.พญาไท 2 เจ็บไหม รู้ผลเลยไหม? | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง คลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mammogram คืออะไร แมมโมแกรม เหมาะกับใคร?, (https://hdmall.co.th/c/breast-cancer-mammogram).
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม, (https://ww2.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/59)
กรมสุขภาพจิต, BDMS แนะตรวจ “เต้านม” ด้วยตัวเอง คัดกรองมะเร็งเบื้องต้นได้ (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27795), 9 เมษายน 2561

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์เหมาะสำหรับใคร ตรวจแบบไหนดี
การตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์เหมาะสำหรับใคร ตรวจแบบไหนดี

มะเร็งเต้านมภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากเป็นอันดับต้นๆ อย่านิ่งนอนใจ ขอให้หมั่นสังเกต และตรวจหาเป็นประจำ

อ่านเพิ่ม