กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Creatine (ครีเอทีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที

ข้อมูลภาพรวมของครีเอทีน

ครีเอทีน (Creatine) คือสารเคมีที่ประกอบขึ้นจากกรดอะมิโน 3 ตัว คือ เมทไทโอนีนม ไกลซีน และอาร์จีนีน  ครีเอทีนอยู่ในกล้ามเนื้อประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ และอีก 5 เปอร์เซ็นต์ พบในสมอง อัณฑะ และไต ครีเอทีนถูกพบในอาหารต่าง ๆ อย่างนม เนื้อแดง และปลา อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการผลิตครีเอทีนจากห้องทดลองได้ด้วย

ครีเอทีนถูกใช้ในการเพิ่มศักยภาพด้านการออกกำลังกายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อของนักกีฬาและผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้วยว่าครีเอทีนยังสามารถใช้เพิ่มศักยภาพการเล่นกีฬาประเภทที่ใช้สมรรถภาพร่างกายสูงของคนหนุ่มสาว เช่น วิ่ง อเมริกันฟุตบอล รักบี้ เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการใช้ครีเอทีนเป็นอาหารเสริมโภชนาการเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและประสิทธิภาพการเล่นของนักกีฬา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ครีเอทีนได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลของ International Olympic Committee, National Collegiate Athletic Association (NCAA)

สถาบันเวชศาสตร์และกีฬาแห่งอเมริกา (American College of Sports Medicine (ACSM)) แนะนำให้ใช้ครีเอทีนในผู้ใหญ่ที่เป็นนักกีฬาที่มีทักษะความชำนาญ  และไม่แนะนำในนักกีฬาเด็กวัยรุ่นอายุ 12-21 ปี 

นอกจากการเพิ่มศักยภาพของนักกีฬาและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแล้ว การรับประทานครีเอทีนยังช่วยรักษาโรคดังต่อไปนี้

โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

  • ภาวะพร่องครีเอทีน (creatine deficiency syndromes) ที่ส่งผลต่อสมอง, การแก่ชรา, ความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • โรคฮันติงตัน (Huntington's disease)
  • โรคกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
  • ภาวะความจำบกพร่องเรื้อรัง (long-term memory deficits)
  • โรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease)
  • โรคเส้นเลือดสมองตีบ (stroke)
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะสมองขาดออกซิเจนในทารก
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
  • โรคกล้ามเนื้อลีบ (muscle atrophy)
  • ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง(chronic musculoskeletal pain disorders)
  • สูญเสียกล้ามเนื้อในกระดูกสันหลัง (muscle breakdown)
  • ชะลอการทรุดลงของโรค  amyotrophic lateral sclerosis (ALS)
  • โรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อประสาทและการเคลื่อนไหว(osteoMcArdle's disease)

โรคทางระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ

  • โรคหัวใจวาย (congestive heart failure)
  • โรคเส้นเลือดแข็ง(atherosclerotic diseases)  

โรคทางระบบกระดูกและข้อ

โรคทางจิตเวช

โรคอื่นๆ

  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease)
  • เบาหวาน (diabetes)
  • ระดับความทนทานต่อการออกกำลังกาย
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia)
  • กลุ่มอาการเรต (Rett syndrome)
  • โรคตาที่เรียกว่า gyrate atrophy
  • ใช้กับผิวหนังเพื่อชะลอการแก่ชราของผิว

ครีเอทีนออกฤทธิ์อย่างไร?

ครีเอทีนเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อ

ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติและผู้ที่มีระดับครีเอทีนรวมต่ำที่เริ่มใช้อาหารเสริมครีเอทีนจะได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ที่เริ่มทานแต่มีระดับครีเอทีนที่สูงอยู่แล้ว โดยกล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) จะสามารถอุ้มครีเอทีนได้ปริมาณหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการรับประทานเข้าไปมากก็ไม่อาจทำให้ร่างกายกักเก็บครีเอทีนส่วนเกินได้อีก ซึ่ง “จุดอิ่มตัว” นี้มักจะพุ่งจนถึงขีดสุดภายในช่วงไม่กี่วันแรกหลังจากเริ่มทานครีเอทีนไปแล้วปริมาณหนึ่ง

วิธีใช้และประสิทธิภาพของครีเอทีน

ภาวะที่อาจใช้ครีเอทีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • สูญเสียกล้ามเนื้อจากอายุที่เพิ่มขึ้น ครีเอทีนอาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้สูงอายุที่กำลังฝึกความแข็งแรงแบบมีแรงต้าน (resistance training) เมื่อเทียบกับผู้ที่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่ประโยชน์เช่นนี้มักจะไม่เกิดกับการรับประทานเพียงครั้งเดียวหรือทานครีเอทีนโดยไม่ได้ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน
  • ศักยภาพทางกีฬา ครีเอทีนอาจช่วยเพิ่มศักยภาพในนักกีฬากระโดดสูง และนักกีฬาฟุตบอล แต่ผลกระทบเหล่านี้ยังนับว่าค่อนข้างหลากหลาย อาจเป็นผลมาจากการที่ชุดการศึกษามีขนาดเล็ก มีความแตกต่างในเรื่องปริมาณครีเอทีนที่ใช้ และความแตกต่างในเรื่องการทดสอบที่ใช้วัดศักยภาพ แต่ข้อมูลทั้งหมดเห็นพ้องกันว่าครีเอทีนไม่ได้ช่วยเพิ่มความสามารถของนักกีฬาเทนนิส
  • กลุ่มอาการที่เกิดจากปัญหาการย่อยครีเอทีน บางคนมีความผิดปรกติที่ทำให้ร่างกายไม่ผลิตครีเอทีน ซึ่งจะทำให้คนผู้นั้นมีระดับครีเอทีนในสมองต่ำ ส่งผลต่อความปกติของสภาพจิต, เกิดอาการชัก, ออทิสติก, และปัญหาการเคลื่อนไหว การรับประทานครีเอทีนทุกวันเป็นเวลานาน 3 ปี สามารถเพิ่มระดับครีเอทีนในสมองของเด็กและผู้ใหญ่อายุน้อยที่มีความผิดปรกติในเรื่องการผลิตครีเอทีนที่เรียกว่า guanidinoacetate methyltransferase (GAMT) นี่จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวและลดอาการชักเกร็งลง แต่ไม่ได้ช่วยรักษาอาการทางจิต ภาวะพร่อง Arginine-glycine amidinotransferase (AGAT) คือภาวะความผิดปกติอีกหนึ่งที่ทำให้ร่างกายไม่ผลิตครีเอทีน เด็กที่เป็นภาวะนี้และรับประทานครีเอทีนนาน 8 ปีจะช่วยเพิ่มสมาธิ ภาษา และความสามารถทางจิตใจ แต่การทานครีเอทีนไม่ได้เพิ่มระดับครีเอทีนในสมองหรือการทำงานทางจิตของเด็กที่มีปัญหาร่างกายไม่สามารถส่งถ่ายครีเอทีนได้

ภาวะที่ครีเอทีนอาจไม่สามารถรักษาได้

  • Amyotrophic lateral sclerosis (ALS, Lou Gehrig's disease) การรับประทานครีเอทีนไม่ได้ชะลอการลุกลามของโรคหรือเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ALS ได้
  • โรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่าโรคฮันติงตัน (Huntington's disease) งานวิจัยกล่าวว่าการทานครีเอทีนทุกวันนาน 2 ปีไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, การประสานงานของอวัยวะ, หรืออาการของผู้ป่วยโรคฮันติงตันได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ครีเอทีนรักษาได้หรือไม่

  • ผิวหนังแก่ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาครีมครีเอทีน, กัวรานา (guarana), และกลีเซอรอล (glycerol) ที่ใบหน้าทุกวันนาน 6 เดือนสามารถลดริ้วรอยและผิวย้อยของผู้ชายได้ อีกงานวิจัยกล่าวว่าครีมที่ประกอบด้วยครีเอทีนและกรดโฟลิกสามารถลดริ้วรอยและบรรเทาความเสียหายจากแสงอาทิตย์ที่ผิวหนังได้
  • โรคปอด (หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)) งานวิจัยในเรื่องผลกระทบของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (CORD) ยังคงไม่สอดคล้องกัน โดยงานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการทานครีเอทีนทุกวันไม่ได้ช่วยเพิ่มการทำงานของปอด กระนั้นก็มีงานวิจัยบางชิ้นที่กล่าวว่าการทานครีเอทีนสามารถเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรือการทำงานของปอดได้ดีขึ้น
  • หัวใจล้มเหลว งานวิจัยบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการทานครีเอทีนทุกวันนาน 5-10 วันจะเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ แต่ไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว การทานครีเอทีนทุกวันในปริมาณต่ำเป็นเวลา 6 เดือนไม่ได้ช่วยเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรืออาการของโรคหัวใจในผู้ชาย
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยกล่าวว่าการทานครีเอทีนขนาด 5 กรัมทุกวันนาน 8 สัปดาห์จะช่วยทำให้ภาวะซึมเศร้าดีขึ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรก
  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยพบว่าการทานครีเอทีนเป็นเวลา 5 วันจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดหลังจากรับประทานอาหารของผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมาไม่นาน อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการทานครีเอทีนนานกว่า 5 วันในผู้ป่วยเบาหวานยังคงไม่แน่ชัด
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) งานวิจัยกล่าวว่าการทานครีเอทีน 5 กรัมสี่ครั้งต่อ 5 วันตามด้วยการทาน 5 กรัมทุกวันเป็นเวลานาน 16 สัปดาห์จะเพิ่มความแข็งแรงของสตรีที่ป่วยเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้ แต่ครีเอทีนไม่ได้ช่วยในเรื่องความสามารถในการออกกำลังแอโรบิค, ความเจ็บปวด, การนอนหลับ, คุณภาพชีวิต, หรือการทำงานทางจิตในผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย
  • สูญเสียการมองเห็น (gyrate atrophy ของเนื้อเยื่อคอรอยด์กับกระจกตา) งานวิจัยแสดงให้ห็นว่าภาวะขาดครีเอทีนที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการมองเห็นสามารถแก้ไขได้ด้วยอาหารเสริมครีเอทีน โดยการทานครีเอทีนทุกวันนานหนึ่งปีอาจช่วยชะลอความเสียหายและการมองเห็นของดวงตาได้
  • โรคกล้ามเนื้ออย่างโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (polymyositis) กับโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (dermatomyositis) การศึกษากล่าวว่าการทานครีเอทีนอาจเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เล็กน้อยในผู้ป่วยภาวะดังกล่าว
  • ภาวะผิดปรกติที่กล้ามเนื้อที่เรียกว่า McArdle disease งานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการทานครีเอทีนทุกวันจะเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อในผู้ป่วย McArdle disease ได้ อย่างไรก็ตามการทานครีเอทีนในปริมาณสูงอาจทำให้อาการปวดกล้ามเนื้อทรุดลงได้
  • โรคทางกล้ามเนื้อและทางระบบประสาทที่เรียกว่า mitochondrial myopathies งานวิจัยกล่าวว่าการทานครีเอทีนไม่ได้ช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหรือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย mitochondrial myopathies หรือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่อย่างใด
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) งานวิจัยกล่าวว่าการทานครีเอทีนทุกวัยนาน 5 วันไม่ได้เพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแต่อย่างใด
  • สูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ การทานครีเอทีนทุกวันไม่ได้เพิ่มมวลหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งชายและหญิงเนื่องจากการติดเชื้อ HIV อย่างไรก็ตามการทานครีเอทีนอาจช่วยคงสภาพมวลกล้ามเนื้อและลดการสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย
  • ปวดกล้ามเนื้อ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานครีเอทีนก่อนการฟอกไตสามารถช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้บ้าง
  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular dystrophy) งานวิจัยในเรื่องการรับประทานครีเอทีนในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมยังคงไม่ชัดเจน มีบางหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการอ่อนแรงอาจดีขึ้นหลังจากทานครีเอทีนทุกวันนาน 8-16 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นอื่นกลับกล่าวว่าครีเอทีนไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมแต่อย่างใด
  • สมองบาดเจ็บ งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการทานครีเอทีนทุกวันนาน 7 วันจะเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายขึ้นด้วยการเพิ่มการทำงานของปอดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นอื่นก็ได้แสดงให้เห็นว่าครีเอทีนไม่ได้ช่วยในเรื่องบรรเทาอาการกล้ามเนื้อข้อมือหรือเพิ่มการทำงานของมือแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีข้อมูลที่ว่าการทานครีเอทีนทุกวันนาน 6 เดือนได้ช่วยลดภาวะสูญเสียความทรงจำ (amnesia) ที่เกิดจากการกระทบกระทั่งที่สมองในเด็กได้ด้วย
  • ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) งานวิจัยกล่าวว่าการทานครีเอทีนทุกวันร่วมกับการออกกำลังเสริมสร้างความแข็งแรงจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมได้
  • โรคพากินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยกล่าวว่าครีเอทีนช่วยป้องกันการสูญเสียของเซลล์สมอง การทานครีเอทีนสองครั้งต่อวันนาน 12-18 เดือนจะชะลอการลุกลามของโรคพากินสันในผู้ที่ยังไม่เคยเข้ารับการรักษาด้วยยาทางการแพทย์ตามปรกติ
  • ภาวะผิดปรกติทางระบบประสาทที่เรียกว่ากลุ่มอาการเรตต์ (Rett syndrome) การทานครีเอทีนทุกวันนาน 6 เดือนสามารถช่วยลดอาการโรคเรตต์ของผู้หญิงได้เล็กน้อย
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานครีเอทีนทุกวันจะเพิ่มมวลกล้ามเนื้อลายและอาจเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขึ้นได้ แต่ไม่อาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ สำหรับเด็ก การทานอาหารเสริมครีเอทีนกับกรดไขมันสองครั้งต่อวันนาน 30 วันอาจช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวมได้ แต่หากเป็นการทานแค่เพียงครีเอทีนนั้นยังคงไม่แน่ชัด
  • จิตเภท (Schizophrenia) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานครีเอทีนทุกวันนาน 2 เดือนไม่ได้ช่วยรักษาอาการหรือการทำงานทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทได้
  • สูญเสียกล้ามเนื้อในสันหลัง งานวิจัยกล่าวว่าเด็กที่เสียกล้ามเนื้อในสันหลังจะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ จากการทานครีเอทีน
  • การพักฟื้นจากการผ่าตัด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานครีเอทีนทุกวันไม่ได้ช่วยเร่งระยะเวลาพักฟื้นกล้ามเนื้อหลังการผ่าตัดแต่อย่างใด
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของครีเอทีนเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของครีเอทีน

ครีเอทีนถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณมากถึง 25 กรัมต่อวันนาน 14 วัน สำหรับการทานครีเอทีนที่ขนาดต่ำประมาณ 4-5 กรัมก็นับว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อทานเป็นระยะเวลา 18 เดือน โดยงานวิจัยบางชิ้นระบุว่าครีเอทีนนั้นอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่ 10 กรัมต่อวันนาน 5 ปี

ครีเอทีนอาจทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องร่วง ปวดศีรษะ และปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน

ครีเอทีนจะทำให้กล้ามเนื้อดูดน้ำจากส่วนอื่นของร่างกายมาใช้ ดังนั้นคุณต้องทำการดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อชดเชยการใช้น้ำของกล้ามเนื้อ อีกทั้งหากคุณทานครีเอทีน ห้ามออกกำลังกายในที่ร้อนเพราะอาจทำให้คุณขาดน้ำได้

มีหลายคนที่ใช้ครีเอทีนในการเพิ่มน้ำหนัก เนื่องจากว่าครีเอทีนทำให้กล้ามเนื้ออุ้มน้ำมากขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีกล้ามเนื้อมากขึ้นเมื่อทานครีเอทีน

มีข้อกังวลที่ว่าครีเอทีนอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ในบางคน ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลปัญหานี้มากขึ้นเพื่อทำการยืนยันผลข้างเคียงของครีเอทีน

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ครีเอทีนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้อาหารเสริมชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็ก: เด็กอาจสามารถใช้ครีเอทีนได้อย่างปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม โดยเด็กอายุ 5-18 ปีสามารถทานครีเอทีนได้ที่ 3-5 กรัมต่อวันนาน 2-6 เดือน เด็กอายุ 2-5 ปีสามารถทานได้ที่ 2 กรัมต่อวันนาน 6 เดือน นอกจากนี้ ครีเอทีน 0.1-0.4 กรัม/kg ทุกวันนาน 6 เดือนถูกจัดว่าปลอดภัยสำหรับทั้งเด็กเล็กและทารก

อารมณ์สองขั้ว: มีกรณีผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วที่ทานครีเอทีนทุกวันนาน 4 สัปดาห์เกิดช่วงอารมณ์ฟุ้งพล่าน (manic episodes) ขึ้น ทำให้คาดว่าครีเอทีนอาจทำให้ผู้ป่วยอารมณ์สองขั้วมีอาการทรุดลงได้

โรคไตหรือเบาหวาน: ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ควรทานครีเอทีนเด็ดขาดเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต (สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) และยังมีข้อกังขาว่าครีเอทีนอาจทำให้สภาพของโรคไตทรุดลงได้ด้วย

โรคพากินสัน: การรับประทานคาเฟอีนและครีเอทีนพร้อมกันอาจทำให้อาการของโรคพากินสันทรุดลงเร็วมากขึ้น หากคุณเป็นโรคพากินสันและกำลังใช้ครีเอทีน ควรทำการบริโภคคาเฟอีนอย่างระมัดระวัง

การผ่าตัด: 5-HTP ส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน โดยยาบางตัวที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดก็ส่งผลต่อสารเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ครีเอทีน ก่อนการผ่าตัดอาจทำให้สมองมีเซโรโทนินมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นควรแจ้งคนไข้ให้หยุดการใช้ครีเอทีนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

การใช้ครีเอทีนร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้ครีเอทีนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาที่ส่งผลเสียต่อไต (Nephrotoxic Drugs) กับครีเอทีน

การรับประทานครีเอทีนปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายที่ไตขึ้น โดยยาที่อาจส่งผลดังกล่าวมีดังนี้ cyclosporine (Neoral, Sandimmune); aminoglycosides รวมถึง amikacin (Amikin), gentamicin (Garamycin, Gentak, อื่น ๆ), และ tobramycin (Nebcin, others); nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) รวมถึง ibuprofen (Advil, Motrin, Nuprin, อื่น ๆ), indomethacin (Indocin), naproxen (Aleve, Anaprox, Naprelan, Naprosyn), piroxicam (Feldene), และยาอื่น ๆ มากมาย

ครีเอทีนมีผลต่อระดับน้ำในร่างกาย หากรับประทานครีเอทีนร่วมกับยาขับปัสสาวะอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

คอยสังเกตอาการเมื่อใช้ครีเอทีนร่วมกับยาเหล่านี้

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

ในคนทั่วไป  น้ำหนักประมาณ  70  กิโลกรัม จะมีครีเอทีนในร่างกาย 120 กรัม แต่ได้รับจากอาหารที่กินทุกวัน  วันละ  2  กรัม

  • สำหรับการสูญเสียกล้ามเนื้อจากอายุ: ควรใช้ในขนาดเริ่มต้นระยะสั้นก่อนตามมาด้วย ขนาดต่อเนื่องในระยะยาว โดยขนาดเริ่มต้น ใช้ครีเอทีน 20 กรัมต่อวันนาน 4-7 วัน ส่วนขนาดต่อเนื่อง ใช้ขนาด 2-10 กรัมต่อวัน สำหรับผู้สูงวัยอาจจะได้รับผลดีจากการใช้อาหารเสริมครีเอทีนร่วมกับการออกกำลังแบบแรงต้านจะดีที่สุด
  • สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพนักกีฬา: : ควรใช้ขนาดเริ่มต้นในระยะสั้นก่อน ตามมาด้วยขนาดต่อเนื่องในระยะยาว โดยขนาดเริ่มต้น ใช้ครีเอทีน 20 กรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานเป็น 4 เวลา นาน 5-7 วัน ส่วนขนาดต่อเนื่อง ใช้ขนาด 5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
  • สำหรับเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ: : ควรใช้ในขนาดเริ่มต้นในระยะสั้นก่อน ตามมาด้วยขนาดต่อเนื่องในระยะยาว โดยขนาดเริ่มต้น ใช้ครีเอทีน 20 กรัมต่อวัน นาน 5-7 วัน ส่วนขนาดต่อเนื่อง ใช้ขนาด 1-27 กรัมต่อวัน

เด็ก

รับประทาน:

  • สำหรับกลุ่มอาการที่เกิดจากปัญหาการสร้างและส่งถ่ายครีเอทีน: ใช้ขนาด 400-800 มิลลิกรัมของครีเอทีนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกริม และต้องให้ทุกวันนาน 8 ปี อีกทั้งคนกลุ่มนี้สามารถรับครีเอทีน 4-8 กรัมทุกวันนาน 25 เดือนได้ด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Int J Sports Physiol Perform, Side effects of creatine supplementation in athletes. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19124889/), 1 Dec 2006.
Gavin Van De Walle, MS, RD, Can You Take Too Much Creatine? (https://www.healthline.com/nutrition/too-much-creatine), 24 April 2019.
Mayo Clinic Staff, Creatine (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-creatine/art-20347591), 12 Oct 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)