กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

IBS (ลำไส้แปรปรวน)

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

นอกจากอาการผมร่วง น้ำหนักขึ้น นอนไม่หลับ ซึ่งมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีภาวะเครียดแล้ว โรคลำไส้อักเสบ ก็เป็นอีกโรคที่เกิดในผู้ที่มีภาวะเครียดด้วยเช่นกัน และเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว ทรมานระหว่างใช้ชีวิตระหว่างวัน

เรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับโรคลำไส้แปรปรวน และวิธีรักษาโรคนี้กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความหมายของโรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) เกิดจากผู้ที่มักเครียด และสะสมความเครียดอยู่บ่อยๆ สุดท้ายจนสุดท้ายก็ส่งผลกระทบไปถึงกระเพาะอาหาร ประกอบกับการกินอาหารที่ไม่เป็นเวลา รวมถึงการรับประทานอาหารรสจัด 

โรคลำไส้แปรปรวนมีอาการหลักๆ ดังต่อไปนี้ 

  • ปวดแน่นท้อง 
  • ท้องอืด 
  • แสบท้อง 
  • มีลมเยอะ 
  • ลำไส้บีบมวน 
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน 
  • มีการถ่ายแข็ง ถ่ายเหลว หรือทั้งแข็งและเหลวสลับกันไปก็ได้

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน 

สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยๆ คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงวัยกลางคน แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะคนที่มีความเครียดไม่ว่าเพศใดอายุใดก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน สำหรับโรคนี้เป็นแล้วจะไม่อันตรายถึงชีวิตแต่จะเป็นๆ หายๆ ตลอดชีวิต

คนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมักจะรู้สึกรำคาญ และก็มักจะปรับตัวทำใจกับโรคนี้ได้ในที่สุด แต่ทั้งนี้ ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นโรคนี้ได้ ต้องให้หมอทำการตรวจอย่างละเอียดเสียก่อน 

เพราะอาการของโรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการคล้ายๆ กับโรคร้ายได้หลายโรค เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งตับ

โรคลำไส้อักเสบคล้ายกับโรคหวัดลงกระเพาะหรือไม่?

มีบางคนสงสัยว่า โรคแปรปรวน มีอาการคล้ายกับโรคหวัดลงกระเพาะจะเป็นโรคเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง โรคหวัดลงกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ดังนั้นจึงถือว่า โรคหวัดลงกระเพาะอยู่ในกลุ่มอาการการติดเชื้อไวรัสใข้หวัดมากกว่า คือ เมื่อไข้หวัดหายแล้ว อาการเหล่านั้นก็จะหายตามไปด้วยเช่นกัน

วิธีการรักษา

สำหรับวิธีการรักษาโรคนี้ อย่างแรก คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการวินิจฉัยจากหมอให้แน่ชัดเสียก่อนว่า ป่วยเป็นโรคนี้แน่นอน แล้วจึงค่อยไปสร้างความคุ้นเคยกับหมอที่ทำการรักษา เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ต้องมีหมอที่เชี่ยวชาญ และเข้าใจการรักษาในระยะยาว 

หลังจากนั้นจึงให้หมอ รักษาตามอาการต่อไป เช่น หากมีอาการท้องเสียก็ควรงดกินอาหารที่จะสามารถให้เกิดการท้องเสียได้ เช่น ถั่วที่มีแก๊สเยอะๆ หรือถ้ามีอาการท้องผูกให้กินควรอาหารที่มีกากใยเยอะๆ 

และหากโรคนี้เกิดจากความเครียด ทางที่ดีควรแก้ที่ต้นเหตุ คือ 

  • พยายามไม่เครียด
  • รู้จักปล่อยวาง 
  • หมั่นออกไปเจอโลกภายนอก 
  • คบค้าสมาคมกับเพื่อนใหม่ๆ กลุ่มใหม่ๆ 
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ มีกากใยมากๆ ควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ 
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกน้ำตาล และไขมัน

การเป็นโรคลำไส้แปรปรวนหลังคลอด

หลังจากการตั้งครรภ์ และคลอดลูก ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการต่อไปนี้

  • ปวดท้องถ่าย: มีความต้องการที่จะถ่ายเกิดขึ้นทันที
  • กลั้นอุจจาระไม่ได้
  • อุจจาระเล็ด: รู้สึกปวดท้องถ่ายแต่มักมีอุจจาระเล็ดออกมาก่อนจะสามารถเข้าห้องน้ำได้ทัน
  • มีอุจจาระหลังจากถ่าย: มีอุจจาระไหลออกมาหลังจากการถ่ายเสร็จสิ้นไปแล้ว ถือเป็นรูปแบบความผิดปกติทางการกลั้นอุจจาระที่พบได้น้อยที่สุด

ปัจจัยทำให้อาการโรคลำไส้แปรปรวนหลังคลอดเกิดขึ้น

มีปัจจัยหลายอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของการมีปัญหาปวดท้องถ่าย หรือปัญหาการกลั้นอุจจาระหลังจากคลอดลูก

  • ความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ที่คลอดลูกครั้งแรก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเมื่อคลอดลูกคนถัดไป
  • มีการทำลายกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักขณะคลอด
  • เมื่อมีการตัดฝีเย็บ งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มีจำนวนจำกัดเนื่องจากมีผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยหหรือไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเภทของแผลที่เกิดขึ้นในงานวิจัยที่เคยทำมาก่อน
    แต่พบว่า มีหลักฐานบางอย่างที่ระบุว่าผู้หญิงที่มีแผลตัดฝีเย็บระดับ 4 และมีการฉีกขาดจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด โดยน่าจะเกิดจากการที่โดนกล้ามเนื้อของทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีการตัดฝีเย็บ หรือแผลฉีกขาดได้
  • เมื่อมีการใช้ Forceps ระหว่างการคลอด
  • เพิ่งผ่านการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานไม่ทำงานซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดปัญหาด้านการกลั้นอุจจาระ

จะป้องกันปัญหาระยะยาวขากได้อย่างไร?

ปัญหาด้านการกลั้นอุจจาระจากการตั้งครรภ์ และการคลอดลูกนี้อาจเกิดได้หลายปีหลังจากการคลอด แต่มีวิธีที่คุณจะสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาระยะยาว โดยคุณควร...

  • รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม
  • เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและถูกหลักโภชนาการ
  • ไม่สูบบุหรี่

จะเห็นได้ว่า โรคลำไส้แปรปรวนไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้ที่มีภาวะเครียดเท่านั้น แต่ยังสามารถก่ออันตรายได้กับผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ด้วย ทางที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นกับตนเอง คุณควรรักษาระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของตนเองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

วิธีการดูแลระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของตนเองก็แสนง่าย เพียงรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ หมั่นดื่มน้ำให้เพียงพอ สภาพจิตใจให้สดใสเสมอ เพียงเท่านี้ระบบทั้ง 2 ระบบของร่างกายก็จะทำงานได้อย่างคล่องตัว ไม่สร้างความรู้สึกสบายตัวให้กับคุณ


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Deal With an IBS Attack. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-to-deal-with-an-ibs-attack-1945092)
Tests for Irritable Bowel Syndrome: Rome Criteria, Blood Test, Colonoscopy, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/ibs/guide/ibs-when-you-should-see-doctor#1)
IBS: Symptoms, Causes, Diagnosis, Triggers, and Treatment (https://www.healthline.com/health/irritable-bowel-syndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)