กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Osteopenia (ภาวะกระดูกบาง)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ภาวะกระดูกบาง(Osteopenia เป็นภาวะที่ร่างกายมีมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกเปราะ แตกหักได้ง่าย ซึ่งภาวะกระดูกบางนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนก่อนการเป็นโรคกระดูกพรุน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคกระดูกบางแล้วจะต้องเป็นโรคกระดูกพรุนเสมอไป

กระดูกบาง vs. กระดูกพรุน

T-score จากการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก คือ ค่าวัดความแข็งแรงของกระดูก หากได้ค่า T- score ต่ำมากเท่าไหร่ แสดงว่ากระดูกไม่แข็งแรงมากเท่านั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ค่า T-score มากกว่า -1 แสดงว่าคุณมีความหนาแน่นของกระดูกที่ปกติ 
  • ค่า T-score ที่อยู่ระหว่าง -1 และ -2.5 แสดงว่ามีภาวะกระดูกบาง 
  • ค่า T-score น้อยกว่า -2.5 แสดงว่า เป็นโรคกระดูกพรุน

ทุกคนสามารถมีภาวะกระดูกบางได้ แต่ส่วนมากจะพบได้บ่อยในผู้หญิงผิวขาวที่อายุมาก เช่นเดียวกับโรคกระดูกพรุน แม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักมากกว่ากระดูกบาง แต่ผู้ป่วยส่วนมากที่มีการหักของกระดูก มักมีค่า T-score อยู่ในช่วงของกระดูกบางมากกว่า เนื่องจากมีผู้ป่วยที่เป็นกระดูกบางมากกว่ากระดูกพรุน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของภาวะกระดูกบาง

ค่าความหนาแน่นของกระดูกจะมากที่สุดเมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลง เนื่องจากร่างกายจะสลายกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ ทำให้กระดูกจะอ่อนแอและบางลงเรื่อยๆ 

ถ้าแคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนตามมาได้ 

ปกติแล้วการลดลงของมวลกระดูกจะเป็นไปตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งก็มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่ออัตราของการลดลงของมวลกระดูกด้วย ได้แก่

  • เป็นผู้หญิง
  • เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว
  • อายุมากกว่า 50 ปี
  • มีกระดูกที่เล็กและบางตั้งแต่กำเนิด
  • มีเชื้อชาติคอเคเซียนหรือเอเชีย
  • มีประวัติโรคกระดูกในครอบครัว
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • เป็นโรค anorexia, ข้ออักเสบแบบรูห์มาติกหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้มวลกระดูกลดลง
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามิน D น้อย
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น กลุ่ม glucocorticoids และ ยากันชักเป็นระยะเวลานาน
  • มีระดับฮอร์โมน estrogen ต่ำในผู้หญิง หรือมีระดับ Testosterone ต่ำในผู้ชาย

การรักษาภาวะกระดูกบาง

การรักษาภาวะกระดูกบาง มักจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อรอบข้าง และชะลอการเกิดภาวะนี้ต่อไปด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิต จะช่วยรักษาภาวะกระดูกบางได้ เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายทุกวัน ซึ่งก็ควรเลือกประเภทการออกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป และไม่เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย เช่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
  • รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
  • รับแสงแดดตอนเช้าตามความเหมาะสม

มียาหลายตัวที่อาจช่วยชะลอการสลายกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักได้ เช่น

  • Teriparatide เป็นฮอร์โมนรูปแบบสังเคราะห์ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูก
  • Selective estrogen-receptor modulators เช่น Raloxifene มีผลต่อกระดูกเช่นเดียวกับฮอร์โมน estrogen
  • Calcitonin ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
  • Bisphosphonates เช่น Alendronate, Ibandronate, Risedronic acid และ Zoledronic acid ซึ่งช่วยยับยั้งการกระบวนการสลายกระดูก

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจมวลกระดูก ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Osteopenia. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499878/)
Osteopenia: Risk factors, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318321)
What Is Osteopenia? - Osteoporosis. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/osteopenia/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
กระดูกเริ่มบาง ควรรักษาอย่างไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากถามคุณหมอเรื่อง Stem Cell ครับ คือตอนนี้ผมกำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเก็บสเต็มเซลล์ ของลูกไว้ดีมั้ย ผมเลยอยากถามว่าจำเป็นต้องเก็บมั้ยครับ มันสามารถเอามารักษาได้จริงๆใช่มั้ยครับ เช่น โรคมะเร็ง หรือ โรคอื่นๆก็ตาม รบกวนคุณหมอด้วยครับ ขอบคุณครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)