ปวดหลัง (Back Pain)

อาการปวดหลังเกิดจากอะไร สาเหตุ วิธีการรักษาโดยการใช้ยาและการผ่าตัด วิธีการบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตัวเอง และการป้องกันอาการปวดหลัง
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ปวดหลัง (Back Pain)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดหลังส่วนมากมักเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง โดยอาจเกิดปัญหาที่ เอ็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และกระดูกสันหลัง เพราะยกของหนักเกินไปหรือใช้งานมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อฉีดขาด สามารถหายได้เองในไม่กี่สัปดาห์
  • อาการปวดหลังที่ค่อนข้างรุนแรงและควรไปพบแพทย์ คืออาการปวดที่ไม่ดีขึ้นเลยภายใน 2 สัปดาห์ อาจปวดร้าวลงขา มีอาการชาโดยเฉพาะช่วงกลางคืน อาจมีไข้ร่วมด้วย 
  • แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะการเดิน ความรู้สึกช่วงขา ตรวจเลือด และอาจมีการตรวจกระดูกด้วยการเอ็กซเรย์ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยอาการเบื้องต้น 
  • การรักษาของแพทย์อาจใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในคนที่อาการไม่รุนแรงมากนัก แต่อาจมีการผ่าตัดหากอาการรุนแรง นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น การนวดผ่อนคลาย การฝังเข็ม เป็นต้น
  • ดูแพ็กเกจนวดผ่อนคลายได้ที่นี่

อาการปวดหลัง (Back Pain) 

เมื่อมีอาการปวดหลัง มักเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาที่ส่วนต่างๆ ของหลัง เช่น

ข้อมูลจากสมาคมประสาทศัลยแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ประมาณ 75-85% ของประชากรเคยมีอาการปวดหลัง และประมาณ 50% ของผู้ที่มีอาการปวดหลังจะมีอาการมากกว่า 1 ครั้งต่อปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประมาณ 90% ของผู้ที่มีอาการปวดหลังทั้งหมด จะมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เพราะฉะนั้นอาการปวดหลังโดยทั่วไปจึงไม่จัดอยู่ในโรคร้ายแรง หรือความผิดปกติของร่างกาย

อาการปวดหลัง เป็นอย่างไร?

อาการปวดหลัง อาจเกิดขึ้นได้หลายอาการ เช่น

  • ปวดตื้อๆ ที่บริเวณหลังส่วนล่าง

  • เจ็บปวดเหมือนถูกอะไรทิ่มแทงที่ร้าวลงมาที่ขา

  • ไม่สามารถยืนตัวตรงโดยไม่ปวดได้

  • ระยะการเคลื่อนไหวลดลง และความสามารถในการงอหลังน้อยลง

อาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีกขาดหรือใช้งานผิดปกติ มักปวดเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็สามารถปวดนานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ได้ และจะถือว่ามีอาการปวดหลังเรื้อรัง เมื่อปวดติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน

อาการปวดหลังที่อาจบ่งชี้ถึงการเป็นโรคร้ายแรง

หากอาการปวดหลังไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการ และมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการปวดหลังของคุณ อาจเกิดจากโรคร้ายแรงอื่นๆ

  • ไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้ หรือกระเพาะปัสสาวะได้

  • ชา เสียวซ่าน อ่อนแรงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง

  • มีอาการปวดหลังเกิดขึ้นหลังได้รับบาดเจ็บ เช่น หกล้ม หรือมีแรงกระแทกที่หลัง

  • มีอาการปวดมาก ต่อเนื่อง และมีอาการแย่ลงตอนกลางคืน

  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

  • มีอาการปวดร่วมกับความรู้สึกตุบๆ ในช่องท้อง

  • มีไข้ร่วมกับอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังกับการตั้งครรภ์

อาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อย โดยสาเหตุหลักๆ ของอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป : เมื่อทารกในครรภ์เติบโตขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้กระดูกสันหลังและหลังของคุณต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม : น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงกระทำที่หลังและกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จนทำให้เกิดอาการปวดหลัง
  • ฮอร์โมน : เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเพื่อคลายเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกเชิงกราน และกระดูกสันหลังระดับเอว ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้อาจทำให้กระดูกสันหลังของคุณเคลื่อนที่ จึงทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและมีอาการปวดหลังตามมา

อาการปวดหลังจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection (UTI)) มักเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นไต ท่อไต ท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะ คุณอาจรู้สึกปวดหลัง และยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • มีเลือดออกในปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขุ่น
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัสสาวะน้อย แม้จะรู้สึกปวดปัสสาวะมากก็ตาม

สาเหตุของอาการปวดหลัง

สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อย คือ

  • กล้ามเนื้อฉีก (Strain) : เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป จึงทำให้รู้สึกปวดและเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง พบได้บ่อยในผู้ที่ยกของหนักไม่ถูกท่า หรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกะทันหันซึ่งไม่ใช่ท่าทางที่ถูกต้อง

  • โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated Disks) : จะมีอาการปวดมาก ถ้าหมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทับเส้นประสาทที่วิ่งจากหลังไปยังขา (Sciatic Nerve) โดยอาการเพิ่มเติมที่พบคือ  
    • ปวดขา
    • เสียวซ่าน และชาที่ขา
  • ข้อเสื่อม (Arthritis) หรือข้อกระดูกสันหลังเสื่อม (Spinal Osteoarthritis) : เกิดจากความเสียหายหรือการลดลงของกระดูกอ่อนของข้อที่บริเวณหลังส่วนล่าง เมื่อเวลาผ่านไป ภาวะนี้จะทำให้เกิดการตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลัง (Spinal Stenosis) ได้

  • กระดูกพรุน (Osteoporosis) : การสูญเสียมวลกระดูก (Bone Density) และกระดูกบางลง ทำให้กระดูกสันหลังอาจแตกหักได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังอย่างรุนแรง

สาเหตุอื่นๆ ของอาการปวดหลัง

นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการปวดหลัง แต่เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย ได้แก่

  • โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Degenerative Spondylolisthesis)

  • สูญเสียการทำงานของเส้นประสาทที่บริเวณไขสันหลังส่วนล่าง เรียกว่า กลุ่มอาการรากประสาทหางม้า (Cauda Equina Syndrome) ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

  • การติดเชื้อราหรือติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูกสันหลัง เช่น เชื้อ Staphylococcus, E. coli หรือเชื้อวัณโรค (Tuberculosis)

  • มะเร็ง หรือก้อนเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งเกิดขึ้นในกระดูกสันหลัง

  • การติดเชื้อที่ไต หรือนิ่วในไต

การวินิจฉัยอาการปวดหลัง

การตรวจของแพทย์ ที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยอาการปวดหลัง มีดังนี้

  • ตรวจความสามารถในการยืน และเดิน
  • ตรวจระยะเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง (Spine’s Range of Motion)
  • ตรวจการตอบสนองที่เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (Reflexes)
  • ตรวจความแข็งแรงของขา
  • ตรวจความสามารถในการรับความรู้สึกที่ขา

หากแพทย์สงสัยว่าอาจเป็นโรคที่ร้ายแรง แพทย์อาจตรวจด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่

  • การตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ เพื่อหาสาเหตุจากโรคอื่นๆ
  • การตรวจเอกซเรย์กระดูกสันหลัง เพื่อดูการเรียงตัวของกระดูก และดูว่ามีการแตกหักหรือไม่
  • การตรวจซีทีสแกน (CT Scan) หรือการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI)) เพื่อประเมินหมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ เอ็น เส้นประสาท และหลอดเลือด
  • ตรวจสแกนกระดูก (Bone Scan) เพื่อดูความผิดปกติในเนื้อเยื่อกระดูก
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography (EMG)) เพื่อทดสอบการนำสัญญาณประสาท

การรักษาอาการปวดหลัง

ผู้ที่มีอาการปวดหลังทั่วไป สามารถซื้อยาแก้ปวดจากร้านขายยาทั่วไปมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ แต่ในผู้ที่มีอาการปวดหลังรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์

อาการปวดหลังส่วนใหญ่สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory medications (NSAIDs)) เช่น

ส่วนยาแก้ปวดอื่นๆ เช่น Paracetamol สามารถใช้ได้ เพียงแต่ไม่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็อาจจะกลับมาปวดเหมือนเดิม

ยาชนิดอื่นๆ สำหรับรักษาอาการปวดหลัง

  • ยาทาภายนอก : ยาหลายชนิดที่มีส่วนประกอบของ Ibuprofen และ Lidocaine ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดได้ดี

  • ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioids : เป็นยาแก้ปวดชนิดแรง ซึ่งแพทย์จะต้องเป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เช่น ยา Oxycodone เป็นต้น ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ที่สมองและร่างกายเพื่อบรรเทาอาการปวด ควรใช้ยาชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดยา

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants) : เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดหลังได้ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อร่วมกับอาการปวด ยานี้จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อบรรเทาอาการปวด

  • ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) : บางกรณี แพทย์อาจสั่งยารักษาโรคซึมเศร้าให้ เพื่อรักษาอาการปวดหลัง หากคุณมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง แพทย์อาจสั่งยา Amitriptyline ที่ออกฤทธิ์ที่กลไกการตอบสนองต่อความเจ็บปวดส่วนอื่นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะใช้ได้ผลดีกับอาการปวดที่มีสาเหตุมาจากเส้นประสาท (Nerve-Related Pain)

  • ยาฉีดสเตียรอยด์ (Steroid Injections) : ในกรณีที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยา Cortisone ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 3 เดือน

การรักษาอาการปวดหลังโดยการผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัดถือเป็นการรักษาทางเลือกสุดท้าย และมักใช้วิธีนี้ในกรณีที่มีความผิดปกติทางโครงสร้าง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการบำบัด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ผู้ที่มีอาการปวดอย่างต่อเนื่องและรุนแรง
  • มีการกดทับของเส้นประสาทซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้ออ่อนแรง

แพทย์อาจทำการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) เพื่อเชื่อมข้อกระดูกสันหลังที่มีอาการปวดตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ซึ่งจะทำให้กระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยกำจัดอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลัง

นอกจากนี้แพทย์อาจทำการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังบางส่วน เพื่อรักษาอาการปวดหลังที่เกิดจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative Bone Diseases)

การแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine)

การแพทย์ทางเลือกที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ได้แก่

  • การฝังเข็ม (Acupuncture)

  • การนวด


  • การรักษาด้วยไคโรแพรคติก หรือการจัดกระดูก (Chiropractic Adjustments)

  • การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)

  • การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย

ก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก คุณควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อนว่า สามารถทำได้หรือไม่

การบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเอง

มีวิธีการบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเองหลายวิธี ที่สามารถทำร่วมกับการรักษาจากแพทย์ เช่น

  • การประคบร้อน / ประคบเย็น : การประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบในช่วงที่มีอาการปวดเฉียบพลัน ส่วนการประคบร้อนอาจช่วยบรรเทาอาการปวดในช่วงที่การอักเสบดีขึ้นแล้ว โดยให้สลับกันประคบระหว่างความร้อนและความเย็น

  • การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายจะช่วยแก้ไขท่าทางของร่างกาย (Posture) และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง หรือเรียกว่า กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscles) โดยสามารถปรึกษานักกายภาพบำบัดซึ่งจะช่วยแนะนำวิธีการออกกำลังกายเพื่อแก้อาการปวดหลังให้แก่คุณ

  • น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) : จากงานวิจัยพบว่าน้ำมันลาเวนเดอร์ (Lavender Essential Oil) หรือ ขี้ผึ้งที่มีส่วนประกอบของสารแคปไซซิน (Capsaicin) อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้

  • การแช่ในอ่างน้ำร้อน : การแช่ในอ่างน้ำร้อนจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี

การป้องกันอาการปวดหลัง

วิธีการเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง และช่วยป้องกันไม่ให้อาการปวดหลังเพิ่มขึ้นได้

  • ไม่ถือของหนัก : กระเป๋าต่างๆ เช่น กระเป๋าใส่เอกสาร กระเป๋าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค มีส่วนเพิ่มแรงกระทำต่อลำคอและกระดูกสันหลัง จึงควรเปลี่ยนมาใช้กระเป๋าที่สามารถกระจายน้ำหนักได้ เช่น กระเป๋าสะพายหลัง หากเป็นไปได้ แนะนำให้ใช้กระเป๋าล้อลาก เพื่อไม่ให้มีน้ำหนักกระทำที่แผ่นหลังของคุณ

  • การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว : การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณนี้จะช่วยลดอาการปวด ลดโอกาสกล้ามเนื้อฉีกขาด และการบาดเจ็บที่หลัง โดยแนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

  • แก้ไขท่าทางของตนเองให้ถูกต้อง : การเคลื่อนไหวบางท่าอาจสร้างแรงกดไปที่กระดูกสันหลังโดยไม่จำเป็น จึงทำให้เกิดอาการปวดและอาการบาดเจ็บขึ้น พยายามหมุนหัวไหล่ไปด้านหลังเป็นประจำ และนั่งหลังตรงอยู่เสมอ เพื่อลดอาการปวดหลัง

  • เปลี่ยนรองเท้า : เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ส้นเตี้ย หากจำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูง ความสูงของรองเท้าสูงสุดที่แนะนำคือไม่เกิน 1 นิ้ว

  • ยืดเหยียดร่างกายเป็นประจำ การทำกิจกรรมเดิมทุกวันๆ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า และเพิ่มโอกาสฉีกขาดของกล้ามเนื้อได้ ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อ และเพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการปวดหลัง

ดูแพ็กเกจนวดผ่อนคลาย เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Verneda Lights and Marijane Leonard, What Is Back Pain? (https://www.healthline.com/health/back-pain), February 28, 2019.
William C. Shiel Jr., MD, FACP, FACR, Lower Back Pain (https://www.medicinenet.com/low_back_pain/article.htm).
Back Pain: Symptoms, Causes, Diagnosis, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/back-pain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป