ฮิปโปคราตีส บิดาแห่งการแพทย์ของชาวกรีก ได้ให้แนวทางที่ใช้ในการดูแลสุขภาพไว้ว่า “Let food be thy medicine, and thy medicine be thy food” มีความหมายว่า “จงใช้อาหารเป็นยารักษาโรค” ซึ่งได้กลายเป็นปรัชญาในการใช้อาหารบำบัดโรคในยุคต่อๆมา และได้รับความนิยมมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มตื่นตัวดูแลสุขภาพ วงการโภชนศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาถึงองค์ประกอบของอาหารและปริมาณของสารออกฤทธิ์ในการใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร มาเป็นการใช้สารอาหารเพื่อช่วยให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าจะมีการบริโภคอาหารบางชนิดเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาหารฟังก์ชัน (Functional Food)
อาหารฟังก์ชัน คือ อาหารหรือองค์ประกอบของอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากที่ได้จากโภชนาการพื้นฐานที่บริโภคกันอยู่ประจำ อาหารฟังก์ชันจึงทำหน้าที่มากกว่าที่บริโภคกันตามปกติในชีวิตประจำวัน มีบทบาทในการลดความเสี่ยงของโรคและช่วยให้มีสุขภาพดี อาหารฟังก์ชันเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติในการผลิตและกำหนดให้เป็นอาหารที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับสุขภาพ (Foods for Specified Health Use: FOSHU)
องค์ประกอบหลักในอาหารที่เราบริโภคกันแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสารอาหาร (Nutrients) และส่วนที่ไม่ใช้สารอาหาร (Non-nutrients) สารอาหารหมายถึงโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ส่วนที่ไม่ใช้สารอาหารหมายถึงสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและมีฤทธิ์ต่อสรีรวิทยา ให้ผลในการผลหรือป้องกันโรค เช่น ผลไม้เบอร์รี่มีสารฟลาโวนอยด์ บิลเบอร์รี่หรือบลูเบอร์รี่มีสารโปรแอนโทไซยานิน ชามีสารคาเทซิน พรุ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระและใยอาหารสูงมาก แครอตมีสารแคโรทีนอยด์ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน มะเขือเทศมีสารไลโคปีน
องค์ประกอบหลักทั้งสองส่วนในอาหารมีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันหรือช่วยส่งเสริมการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น ดังนั้นอาหารฟังก์ชันจึงให้ประโยชน์เพิ่มเติมจากสารอาหารที่เราบริโภคกัน จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคพอใจที่จะใช้คำว่าอาหารฟังก์ชันแทนคำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งเรียกกันในชื่อต่างๆ เช่น โภชนโอสถ อาหารทางการแพทย์ เป็นต้น
สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา (American Dietetic Association ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Academy of Nutrition and Dietetics) ได้พิจารณาให้อาหารฟังก์ชันเป็น “อาหารที่คงไว้ซึ่งส่วนประกอบเดิมตามธรรมชาติ หรืออาหารที่มีการแต่งเติมสารอาหารให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ เมื่อบริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวัน และบริโภคในปริมาณที่เพียงพอต่อสุขภาพ”
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) ที่มนุษย์นำเอาความรู้ไปใช้ในด้านเกษตรกรรมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่มีองค์ประกอบของสารที่ร่างกายต้องการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น กอปรกับความสนใจต่ออาหารฟังก์ชันให้เกิดขึ้นมากมายในท้องตลาด จากข้อมูลการวิจัยที่ขัดแย้งกัน จากสรรพคุณอ้าง (Claims) ในสื่อโฆษณา บุคลากรทางการแพทย์จึงตกอยู่ในฐานะที่จะต้องตีความข้อมูลการวิจัยและให้ความรู้ที่แท้จริงกับผู้บริโภค ทั้งเรื่องชนิดและปริมาณของหารฟังก์ชันที่อาจจะให้เป็นประโยชน์เฉพาะทาง และข้อแนะนำการใช้อาหารฟังก์ชันอย่างเหมาะสมสำหรับบริโภคเพื่อป้องกันโรค
จากผลการสำรวจพบว่า มีเหตุผล 10 ประการที่ทำให้ผู้บริโภคนิยมอาหารฟังก์ชัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
- ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
- ควบคุมน้ำหนัก/ลดน้ำหนัก
- ส่งเสริมให้มีสุขภาพดี
- เพิ่มความจำ
- ลดความเสี่ยงโรคต่างๆ
- ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
- เสริมสร้างสุขภาพสมอง
- เสริมสร้างความตื่นตัวของร่างกาย
- เสริมสร้างสุขภาพของทารกในครรภ์
ประโยชน์จากการบริโภคอาหารฟังก์ชัน
ข้อมูลจากการวิจัยทางโภชนการได้แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารฟังก์ชันอย่างสม่ำเสมอช่วยส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพราะอาหารฟังก์ชันมีองค์ประกอบของสารธรรมชาติที่แตกต่างกันไป และมีฤทธิ์ส่งเสริมการทำงานของร่างกายในการป้องกันโรค ทำให้ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสนใจกับองค์ประกอบเฉพาะในอาหารและตื่นตัวกับการบริโภคอาหารธรรมชาติ (Whole Food) ที่มีองค์ประกอบดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพ เช่น ข้อมูลจากการวิจัยที่พบว่าแคลเซียมให้ประโยชน์ต่อการควบคุมน้ำหนักตัว โดยผลนี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติ
วิธีเพิ่มการบริโภคอาหารฟังก์ชันในชีวิตประจำวัน
วิธีที่ดีที่สุดในการบริโภคอาหารฟังก์ชันคือ การบริโภคอาหารอย่างสมดุลด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ โดยเจาะจงเลือกอาหารที่มีองค์ประกอบที่จะช่วยให้มีสุขภาพดี นอกจากนี้ควรให้ความสนใจกับการอ่านข้อมูลโภชนาการและคำกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์อาหารที่ซื้อ และติดตามข้อมูลข่าวสารการวิจัยเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพเสมอๆ รวมทั้งปรึกษาแพทย์และนักกำหนดอาหารหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพและอาหาร
สื่อและข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์อาหารฟังก์ชันเชื่อได้มากน้อยเพียงใด
การใช้อาหารฟังก์ชันควรพิจารณาถึงความปลอดภัยประกอบกันไปด้วย โดยดูจากระดับปริมาณที่เหมาะสมของสารอาหารและองค์ประกอบที่มีผลต่อสุขภาพในอาหารฟังก์ชันนั้นๆ
สิ่งสำคัญต้องได้รับการยืนยันถึงคุณประโยชน์ด้วยวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการทดลองทางคลินิก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับ ข้อมูลอาหารฟังก์ชันขึ้นกับแหล่งข้อมูลที่ออกมา แต่ควรระวังรายงานข้อมูลจากงานวิจัยเพียงเรื่องเดียวที่นำมาอ้างและไม่ควรยึดติดกับข้อมูลเพียงรายงานเดียวในการเปลี่ยนแปลงการบริโภคที่ดีอยู่แล้ว หากข้อมูลมาจากการสรุปผลงานวิจัยหลายเรื่อง และงานวิจัยนั้นต้องทดลองกับคนเป็นจำนวนยิ่งมากยิ่งดี ไม่ใช่งานวิจัยจากการทดลองในสัตว์หรือจากการเพาะเชื้อ ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นหากได้รับข้อมูลจากโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ก็ต้องมั่นใจได้ว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
แหล่งอาหารฟังก์ชัน
อาหารฟังก์ชันหากินได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพราะอาหารธรรมชาติก็มีคุณสมบัติเป็นอาหารฟังก์ชันอยู่แล้ว แต่การที่จะได้ประโยชน์จากอาหารฟังก์ชันมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณซึ่งเหมาะสมหรือเพียงพอที่จะให้ฤทธิ์ในการป้องกัน
ตัวอย่างอาหารฟังก์ชันที่บริโภคกัน เช่น ในถั่วเหลืองจะมีสารไอโซฟลาโวนส์ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน ช่วยลดคอเลสเตอรอล หรือในมะเขือเทศมีสารไลโคปีนที่เป็นสารแคโรทีนอยด์ตัวหนึ่ง ทำหน้าที่ลดอนุมูลอิสระให้ผลในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือซุปไก่ของชาวจีนที่ถูกแปรรูปเป็นซุปไก่สกัด จะให้โปรตีนในรูปของเพปไทด์ที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คนจีนใช้อาหารฟังก์ชันกันมานานแล้ว โดยผูกกับความเชื่อของการแพทย์โบราณว่า ซุปไก่ตุ๋นช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า คนจีนจึงตุ๋นซุปไก่เพื่อบำรุงสุขภาพ รวมถึงผู้ป่วย คนท้อง คนที่เตรียมตัวสอบจอหงวน ซึ่งปัจจุบันมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า ซุปไก่ช่วยบำรุงสุขภาพ เสริมสมาธิ และคลายความเครียดได้
ตัวอย่าง ประโยชน์ของอาหารฟังก์ชันละสารออกฤทธิ์ต่อร่างกาย
อาหาร | ประโยชน์ต่อสุขภาพ | สารออกฤทธิ์ |
ถั่วอัลมอนด์ |
| กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว โปรตีน ใยอาหาร วิตามินอี แมกนีเซียม |
บลูเบอร์รี่ |
| สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารโปรแอนโทไซยานิน ใยอาหาร |
บรอกโคลี |
| วิตามินเอ เค ซี และอี เบต้าแคโรทีน โพแทสเซียม โฟเลต ใยอาหารซัลโฟราเฟน กลูโคซิโนเลตส์ |
ชีสหรือเนยแข็ง |
| แคลเซียม วิตามินเอและดี โปรตีน ไรโบฟลาวิน ฟอสฟอรัส กรดคอนจูเกตเตดไลโนเลอิป(ซีแอลเอ) |
ดาร์กช็อคโกแลต | สารฟลาโวนอยด์ โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก กรดไขมันไม่อิ่มตัว ตำแหน่งเดียว และกรดสเตียริก | |
แคนเบอร์รี่ | ฟรักโทสและสารโปรแอนโทไซยานิน | |
เมล็กแฟลกซ์ |
| กรดโอเมก้า-3 วิตามินอี เบต้าแคโรทีน แมกนีเซียม โพแทสเซียม ลิกแนน |
| สารต้านอนุมูลอิสระ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส | |
องุ่นและน้ำองุ่น(สีแดง/ม่วง) |
| สารพฤกษเคมี พอลีฟีนอล วิตามินซี |
| แคลเซียม วิตามินเอและดี โปรตีน ไรโบฟลาวิน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม | |
| เบต้าคลูแคน(ใยอาหารละลายน้ำ) โปรตีน วิตามินบี | |
กรดโอเมก้า-3 โปรตีน วิตามินดีและอี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม | ||
| สารไอโซฟลาโวนส์ กรดโอเมก้า-3 โปรตีน วิตามินดีและอี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม | |
โปรตีนเวย์ (Whey Protein) | แล็กโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) แล็กโตเปอร์ออกซิเดส (Lactoperoxidase) แอลฟาแล็กทัลบูมิน (Alpha-lactalbumin) สฟิงโกไมเอลิน (Sphingomyelin) แคลเซียม | |
เสริมสมาธิความจำ สารต้านอนุมูลอิสระ คาร์โนซีน (Carnosine) ไดเพปไทด์ต่างๆ ปริมาณแนะนำคือวันละ 42-140 มิลลิลิตร | ||
วิตามินซี แทนนิน คาเทซิน ฟลาโวนอยด์ ทีฟลาวิน โมโนแกลเลต (ทีเอฟ-2) [Theaflavin Monogallate (TF-2)] | ||
ไลโคปีน (สารต้านอนุมูลอิสระ) วิตามินเอและซี เบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม | ||
ไวน์แดง | ฟลาโวนอยด์ ฟีนอล(สารต้านอนุมูลอิสระ) เรสเวอราทรอล (Resveratrol)
| |
ผลิตภัณฑ์นมที่เติมเชื้อจุลินทรีย์ | แคลเซียม วิตามินเอและดี โปรตีน ไบโบฟลาวิน ฟอสฟอรัส พาไบโอติกส์ |
จะเห็นได้ว่า อาหารฟังก์ชันอาจจะอยู่ในรูปธรรมชาติหรือมีการแปรรูป เพื่อให้สะดวกต่อการบริโภคในยุคไฮเทคที่ต้องแข่งขันกับเวลา และเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคนี้ ขณะเดียวกันองค์ประกอบในอาหารจะทำหน้าที่พิเศษที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคนอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการตามปกติ โดยส่งผลต่อการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและทางใจเมื่อบริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวัน
ขณะเดียวกันควรให้ความสำคัญกับการกินอาหารให้หลากหลาย ครบทุกหมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส พักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี