งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า

เกลือที่มากขึ้นดีต่อสุขภาพหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า

เกลือถูกใช้กันโดยทั่วไป ซึ่งการศึกษาเร็วๆ นี้ดูจะขัดกับคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณเกลือที่เหมาะสมในการบริโภคในแต่ละวัน เราใช้ชีวิตภายใต้แนวคิดที่ว่า "ลดเกลือลงจะดีกว่า" เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงมาหลายทศวรรษ แต่ในตอนนี้ เรากำลังถูกตีแสกหน้าว่าเกลือทีไม่เพียงพอในอาหารอาจทำให้เกิดโรคหัวใจและการเสียชีวิตได้

American journal of hypertension แสดงการศึกษาแบบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ระบุว่า "โดยปราศจากการวิเคราะห์เชิงปฐมและการวิเคราะห์เพิ่มเติม อาหารที่มีโซเดียมต่ำมีผลดีกว่าสำหรับการตายโดยไม่ระบุแยกสาเหตุ (ACM) หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด" นักวิทยาศาสตร์กำลังร่วมมือกันเพื่อจะทำให้ทุกอย่างสงบลงทาง CDC ขอให้ institute of medicine หาข้อสรุปของปริมาณโซเดียมในอาหารและผลทางสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไปก่อนที่คุณจะใส่เกลือลงในอาหารโดยไม่ทันคิด มาศึกษากันก่อนว่าวิทยาศาสตร์พูดอะไรเกี่ยวกับแร่ธาตุสำคัญนี้กันแน่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เราต้องการเกลือ

อาหารที่มีเกลือต่ำสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินและโรคหัวใจ เกลือมีโซเดียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ทำงานได้เป็นปกติ โซเดียมจะควบคุมความดันเลือด ปริมาณเลือด และมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม เกลือยังช่วยให้เกิดความสมดุลของน้ำในร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายและเสียน้ำและโซเดียมผ่านทางเหงื่อ เกลือพบได้ตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด เช่น ผัก ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ และสารปรุงแต่งหลายชนิดที่เราซื้อหาได้ กระปุกเกลือไม่ใช่ของแปลกบนโต๊ะอาหาร ซึ่งมีการเพิ่มโซเดียมในอาหารที่เค็มอยู่แล้ว คำแนะนำเดิมที่ว่าปริมาณการบริโภคเกลือต่อวันควรจะเป็น 1500 mg และไม่เกิน 2300 mg กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในขณะนี้

ยังต้องการงานวิจัยมากกว่านี้

ยังต้องใช้งานวิจัยมากกว่านี้เพื่อหาคำแนะนำที่ปลอดภัยเรื่องเกลือ งานวิจัยไม่ได้บอกว่าเกลือที่มากเกินไปดีต่อคุณ เพราะอะไรที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งนั้น สิ่งที่พวกเขากำลังหาอยู่คือ ปริมาณเกลือที่น้อยที่สุดที่บริโภคในแต่ละวันที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องความปลอดภัย สิ่งที่รู้ในตอนนี้คือ อาหารที่มีโซเดียมต่ำจะกระตุ้นการทำงานของระบบ renin-angiotensin- aldosterone และระบบประสาทซิมพาติก ซึ่งทำให้ดื้อต่ออินซูลิน นี่หมายความว่าร่างกายสร้างอินซูลินแต่ไม่รู้ว่าจะใช้งานมันอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร และสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

การลดปริมาณเกลืออย่างครอบคลุมสำหรับทุกคนอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการรับมือกับประเด็นเรื่องโซเดียมทำให้เกิดโรคหัวใจ ความจริงเกี่ยวกับปริมาณเกลือที่บริโภคคือ การได้รับมากหรือน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งคู่ ซึ่งแล้วแต่บุคคล ซึ่ง Institute of medicine ออกมากล่าวว่า "ยังต้องการศึกษาแบบทดลอง (randomized control trials) ที่มากกว่านี้ เนื่องจากเป็นการศึกษาชนิดที่มีคุณภาพสำหรับการศึกษาผลของโซเดียมต่อสุขภาพ

อ้างอิงจาก New England Journal of Medicine "การแปลผลการรักษาอย่างไม่ระมัดระวังโดยนักวิจัยอาจทำให้เกิดผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจและหัวข้อข่าว เช่น "ตอนนี้การกินเกลือเป็นเรื่องปลอดภัย" จากความสับสนเกี่ยวกับปริมาณเกลือที่ได้รับจึงต้องการงานวิจัยที่มากกว่านี้เพื่อตรวจสอบคำแนะนำเรื่องเกลือ 1500-2300 mg ต่อวันในปัจจุบันว่าเป็นประโยชน์ต่อประชากรทั่วไปจริงหรือไม่


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hrefna Palsdottir, MS, research-says-more-salt-could-be-better (https://www.healthline.com/nutrition/salt-good-or-bad), June 18, 2017
hsph.harvard.edu, research-says-more-salt-could-be-better (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/salt-and-sodium/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง

รวมเคล็ดลับการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม