ยาขโมยอะไรไปจากเรา

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรับประทานยาและรายชื่อยาที่ใช้กันบ่อยซึ่งอาจก่อให้เกิดการขาดสารอาหารและรายชื่อสารอาหารที่เกี่ยวข้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาขโมยอะไรไปจากเรา

ชาวอเมริกันรับประทานยากันมากกว่าในสมัยก่อนมาก แต่คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตระหนักเลยว่า ยาหลายประเภท ทั้งยาที่แพทย์สั่งและยาสามัญที่ หาซื้อได้เองตามร้าน ต่างฉกฉวยอะไรไปจากเรา พอๆกับที่มันได้ให้เรา อย่างน้อยที่สุดก็ในแง่ของสารอาหาร บ่อยครั้งที่ยายับยั้งการดูดซึมของ สารอาหาร หรือขัดขวางการใช้สารอาหารของเซลล์ในร่างกาย

ยาส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกาย?

การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า สารประกอบที่พบได้บ่อยในยาแก้หวัด ยาลดปวด และยาแก้ภูมิแพ้ ทําให้ระดับวิตามินเอในเลือดลดลง เนื่องจากวิตามินเอทําหน้าที่ปกป้องและให้ความแข็งแรงกับเยื่อบุของจมูก ลําคอ และ ปอด การขาดวิตามินเอจึงส่งผลให้แบคทีเรียอาศัยเซลล์ของเราเป็นบ้านตากอากาศ อยู่อาศัย และแบ่งตัว ส่งผลให้โรคที่ควรจะหายด้วยยากลับเป็นนานขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • แอสไพริน ยาประจําบ้านที่แสนมหัศจรรย์ จัดเป็นสารที่พบได้บ่อยที่สุด ในยาแก้ปวด แก้หวัด และไซนัสอักเสบ เป็นตัวขโมยวิตามินซีไปจากร่างกาย แม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มอัตราการขับของวิตามินซีถึงสามเท่า ทั้งยังทําให้เกิดภาวะขาดกรดโฟลิกและวิตามินบี ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง และรบกวนระบบย่อยอาหารอีกด้วย
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (คอร์ติโซน เพรดนิโซน) ซึ่งนํามาใช้รักษาอาการ ปวดข้อ โรคผิวหนัง โรคเลือด และโรคตา รวมไปถึงหอบหืด อาจทําให้ระดับ สังกะสีในร่างกายลดลง จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Postgraduate Medical Journal พบว่า ผู้ที่รับประทานยากันชักในกลุ่มบาร์บิทูเรตจํานวนมาก ล้วนมี ระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำ
  • ยาระบายและยาลดกรด ซึ่งมีผู้รับประทานนับล้านคน มีส่วนขัดขวาง กระบวนการเผาผลาญของแคลเซียมและฟอสฟอรัส และการรับประทาน ยาระบายใดก็ตามมากเกินไป จะทําให้ร่างกายต้องสูญเสียโพแทสเซียมเป็น จํานวนมาก เช่นเดียวกับวิตามินเอ ดี อี และเค
  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมักใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและยาปฏิชีวนะต่างก็เป็นตัวขโมยโพแทสเซียมไปจากร่างกาย

ตารางแสดงชื่อยาและสารอาการที่ลดลง

ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อยาที่ใช้กันบ่อยซึ่งอาจก่อให้เกิดการขาดสารอาหารและรายชื่อสารอาหารที่เกี่ยวข้องอย่าลืมตรวจสอบรายชื่อเหล่านี้ก่อนรับประทานยาครั้งต่อไป

ยาหัวขโมย

กลูเททิไมด์

กานามัยซิน

กาเฟอีน (มียาแก้ปวดศีรษะหลายชนิด)

สารอาหารที่ถูกขโมย

กรดโฟลิก

วิตามินเอและบี 12

วิตามินบี 1 อินอซิทอลและไบโอติน

โพแทสเซียม สังกะสี วิตามินเค ไนอะซิน และยังอาจขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมและธาตุเหล็ก

คลอไฟเบรต

วิตามินเค

คอร์ติโคสเตียรอยด์

แคลเซียม วิตามินดี โพแทสเซียม ซีลีเนียม สังกะสี

คอลชิซิน

วิตามินบี 12 เอ และโพแทสเซียม

ซัลโฟนาไมด์แบบรับประทาน

กรดโฟลิก วิตามินเค และปี 12

ซัลโฟนาไมด์และสเตียรอยด์แบบทา

วิตามินเค บี 12 และกรดโฟลิก

ไดเอตทิลสติลเบสทรอล

วิตามินบี 6

เตตราไซคลีน

วิตามินเค แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก

ไตรฟลูโอเพอราซีน

วิตามินบี 12

ไตรแอมเทอรีน

กรดโฟลิก

ไนโตรฟูแรนโทอิน

กรดโฟลิก

บาร์บิทูเรต

วิตามินเอ ดี กรดโฟลิก และซี

เบต้าบล็อกเกอร์ (ยาลดความดัน)

โคเอนไซม์คิว 10

เพนิซิลลามีน

วิตามินบี 6

เพนิซิลลิน (ในทุกรูป)

วิตามินบี 6 ไนอะซิน และเค

เพรดนิโซน

วิตามินบี 6 ดี ซี สังกะสี และโพแทสเซียม

โพรแพนทีลิน

วิตามินเค

ไพรเมตทามีน

กรดโฟลิก

ฟลูออไรด์

วิตามินซี

ฟีนิลบิวทาโซน

กรดโฟลิก

ฟีไนโทอิน

วิตามินบี 12 ดี กรดโฟลิก และแคลเซีย

เมโทเทร็กเซต

กรดโฟลิก

 

 

 

 

เมเพรดนิโซน

วิตามินบี 6 ซี สังกะสี และโพแทสเซียม

ยากล่อมประสาท

วิตามินบี 2 โคเอนไซม์คิว 10

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs

วิตามินบี 1 ซี และกรดโฟลิก

ยาขับปัสสาวะ

 

วิตามินบีรวม โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และโคเอนไซม์ คิว 10

ยาคุมกําเนิด

กรดโฟลิก วิตามินซี บี 2 บี 6 ปี 12 และ อี

ยาเคมีบําบัด

สารอาหารเกือบทุกชนิด

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

วิตามินเอและเค

ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก

วิตามินบี 2 โคเอนไซม์ คิว 10

ยาต้านฮิสตามีน (ยาแก้แพ้)

วิตามินซี

ยาปฏิชีวนะ

วิตามินรวม วิตามินซี เค อะซิโดฟิลัส

ยาระบาย

วิตามินเอ ดี อี เค แคลเซียม และฟอสฟอรัส

ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร

วิตามินดี บี 12 กรดโฟลิก และสังกะสี

ยารักษาโรคเกาต์

 

เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 12 โซเดียม โพแทสเซียม

ยารักษาวัณโรค

วิตามินบี 6 ดี อี ไนอะซิน และแคลเซียม

ยาลดกรดกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั้ม

วิตามินบี 12 โปรตีน

ยาลดกรดในกระเพาะ

 

แคลเซียม ฟอสเฟต ทองแดง เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี โปรตีน

ยาลดไขมันกลุ่มสเตติน

โคเอนไซม์คิว 10

ยาลดคอเลสเตอรอล

 

วิตามินเอ ดี อี เค ปี 12 เบต้าแคโรทีน กรดโฟลิก เหล็ก และไขมัน

ยาสูบ

วิตามินซี ปี 1 กรดโฟลิก และแคลเซียม

แอมโมเนียมคลอไรด์

วิตามินซี

แอลกอฮอล์ (รวมถึงยาแก้ไอหรือยาบํารุงที่มีแอลกอฮอล์)

วิตามินเอ บี 1 บี 2 ไบโอติน โคลีน ไนอะซิน วิตามินบี 15 กรดโฟลิก และ แมกนีเซียม

 

แอสไพริน

วิตามินเอ บีรวม ซี แคลเซียม โพแทสเซียม

ไอโซไนอะซิด

ฮอร์โมนเอสโทรเจนทดแทน

วิตามินบี 6

วิตามินบี 6

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How medications can affect your balance. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-medications-can-affect-your-balance)
Drug Side Effects. Drugs.com. (https://www.drugs.com/sfx/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม