ยาสูบที่ไม่ต้องสูบ (Smokeless Tobacco)
การเคี้ยวหรือการเหน็บยาไว้ที่เหงือก: เด็กวัยรุ่นเป็นล้านๆ คนรู้จักและคุ้นเคยกับวิธีการใช้ยาสูบที่ไม่ต้องสูบ หรือ Smokeless Tobacco เป็นอย่างดี หากคุณกำลังต้องการเลิกสูบบุหรี่ ลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Smokeless Tobacco ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณไม่จำเป็นต้องสูดควันหรือกลืนมันเข้าสู่ร่างกาย เพียงป้ายผงยาสูบบริเวณเหงือกของคุณแล้วบ้วนยาสีน้ำตาลที่ละลายแล้วออกมาทุกๆ 2-3 วินาทีแค่นั้นเอง สักษณะก็จะคล้ายๆ กับการอมหมากพลูของคนแก่นั่นแหละ และยาสูบที่ไม่ต้องสูบ หรือ Smokeless Tobacco น่าจะมีผลดีมากกว่าการสูบบุหรี่แบบปกติรึเปล่า?
จริงๆ แล้ว “ไม่เลย” การไม่มีควันไม่ได้แปลว่าจะไม่มีอันตรายนะจ๊ะ เพราะยาสูบแบบเคี้ยวอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งและปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ได้ ซึ่งไม่ต่างจากการสูบบุหรี่แบบปกติเลย และแน่นอน “ไม่มีอะไรที่ปลอดภัยจากการเสพผลิตภัณฑ์จากใบยาสูบ”
ยาสูบที่ไม่ต้องสูบ คืออะไร ?
ยาสูบที่ไม่ต้องสูบถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น ยาบ้วน ยาเคี้ยว ยาแปะ ฯลฯ โดยยาสูบประเภทดังกล่าวมี 2 ลักษณะ คือ แบบผงแปะบริเวณเหงือก และยาสูบเหนียวๆ ใช้สำหรับเคี้ยว
แบบผงแปะบริเวณเหงือกจะมาในรูปแบบที่บรรจุในถุงชา เวลาใช้เพียงนำผงยาประมาณ 1 หยิบมือแปะระหว่างริมฝีปากล่างและเหงือก ส่วนยาสูบสำหรับเคี้ยว จะเป็นแบบแท่ง ชิ้นเล็กๆ หรือก้อนเล็กๆ โดยผู้ใช้จะนำชิ้นยาสูบเหน็บระหว่างกระพุ้งแก้มและเหงือก
ไม่ว่าจะเป็นยาสูบแบบแปะหรือแบบเคี้ยว คุณต้องอมยาสูบนั้นไว้ในปากเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้คุณได้ดูดเอาน้ำของยาสูบเข้าไป และบ้วนน้ำลายที่มีเศษยาสูบออกมาอยู่เสมอ โดยวิธีการดังกล่าวน้ำยาสูบจะถูกดูดซับเข้าสู่กระแสเลือดผ่านเนื้อเยื่อในช่องปาก โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องกลืนผงยาสูบเข้าไปแม้แต่น้อย
เหตุใดหลายคนนิยมใช้ยาสูบประเภทนี้
Smokeless Tobacco จริงๆ มีมานานมากแล้ว โดยเริ่มจากการที่ชนเผ่าท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกามีการเคี้ยวใบยาสูบ และในทวีปยุโรปรวมถึงแถบสแกนดิเนเวียนการสูดผงยาสูบเข้าทางจมูกหรือการเคี้ยวนั้นเป็นที่นิยมมานานแล้วเช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตามประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา การเคี้ยวใบยาสูบนั้นเกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬาเบสบอล โดยนักกีฬาจะเคี้ยวใบยาสูบไว้เพื่อให้ปากนั้นชุ่มชื่นตลอดเวลาเพราะพวกเขาต้องคอยบ้วนน้ำลายลงบนถุงมือเพื่อเพิ่มความหนืดในการรับลูกบอลหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขว้างลูกนั่นเอง
ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ยาสูบแบบเคี้ยวก็ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไปในอเมริกา และก็เหลือนักกีฬาเบสบอลอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ยังใช้เทคนิคการเคี้ยวใบยาสูบอยู่ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่หันไปสูบบุหรี่กันหมด
แต่ทว่าในช่วงทศวรรษที่ 1970 ผู้คนเริ่มตระหนักถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่แบบมวน ทำให้ความนิยมการเคี้ยวใบยาสูบกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬาเบสบอล นักกีฬาบางท่านพัฒนาการเคี้ยวใบยาสูบด้วยการผสมยาสูบกับหมากฝรั่ง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันคุณจะไม่ค่อยเห็นนักกีฬาเบสบอลอาชีพเคี้ยวยาสูบอีกต่อไปแล้ว แต่ทว่ายังมีคนทั่วไปที่ยังคงใช้ยาสูบแบบเคี้ยวและยังบ้วนน้ำลายตามท้องถนน
แล้วใครกันล่ะที่นิยมยาสูบประเภทนี้
พบว่าประมาณ 1 ใน 5 ของนักเรียนชายระดับมัธยมปลาย และอีกจำนวนเล็กน้อยของนักเรียนหญิง มีการใช้ Smokeless Tobacco นั่นเพราะพวกเขาได้รับแรงกดดันเกี่ยวกับการสูบบุหรี่แบบมวนจากเพื่อนๆ นั่นเอง เพราะเมื่อคุณเริ่มสูบบุหรี่คุณก็จะติดนิโคตินของบุหรี่ด้วย และแน่นอนเด็กๆ เหล่านี้จึงต้องหาอะไรก็ได้เพื่อทดแทนนิโคตินจากบุหรี่ ซึ่งพวกเขาก็ต้องเปลี่ยนยี่ห้อยาสูบไปเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มระดับปริมาณและความแรงของยาสูบ
ยาสูขที่ไม่ต้องสูบมีอันตรายไหม?
ก็เหมือนกับการสูบบุหรี่แบบมวนนั่นแหละ การเคี้ยวใบยาสูบอาจทำให้คุณตายได้เช่นกัน แต่อาจไม่ได้ไปเร็วขนาดนั้น…
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นตำแหน่งเอาท์ฟิลด์ Bill Tuttle รูปภาพของ Bill Tuttle จำนวนมากแสดงให้เห็นว่าเขามักเคี้ยวใบยาสูบอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเขาอายุ 38 ปีหลังจากที่เขาเลิกอาชีพนักกีฬาเบสบอลแล้ว เขาพบว่าเขาเป็นเนื้องอกบริเวณกระพุ้งแก้ม ซึ่งเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากภายนอก และแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเนื้องอกนั้นออกโดยที่เขาต้องสูญเสียเนื้อบริเวณใบหน้าไปส่วนหนึ่ง การเคี้ยวใบยาสูบมาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่วัยรุ่น ทำให้เขาต้องสูญเสียขากรรไกรข้างหนึ่ง กระดูกบริเวณแก้ม ฟันบางส่วน เหงือก และการรับรู้รสชาติ และสุดท้ายในปี 1998 มะเร็งก็ได้คร่าชีวิตของ Bill Tuttle ไป เขาใช้ระยะเวลาของชีวิตที่เหลือก่อนสิ้นลมหายใจด้วยการออกประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนรู้ถึงโทษและอันตรายของการใช้ Smokeless Tobacco
ไม่เพียง Bill Tuttle เท่านั้น แต่ยังมีนักกีฬาเบสบอลอีกหลายท่านที่มีชะตากรรมเช่นเดียวกัน เช่น Babe Ruth ที่เสียชีวิตเมื่อเขาอายุ 52 ปี ด้วยเนื้องอกและมะเร็งบริเวณลำคอ และในปี 2014 นักเบสบอลแห่งหอเกียรติยศ Tony Gwynn หนึ่งในผู้ที่ใช้ Smokeless Tobacco มาเป็นระยะเวลานาน เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในปากและต่อมน้ำลาย
ไม่เพียงแค่นักกีฬาเบสบอลเท่านั้นที่ต้องพบเจอกับชะตากรรมจากการใช้ Smokeless Tobacco ในแต่ละปีมีชาวอเมริกันกว่า 30,000 คน ป่วยเป็นมะเร็งในปากและลำคอ และกว่า 8,000 คนเสียชีวิต และน่าเสียใจที่จำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะมีชีวิตอยู่ได้เกิน 5 ปี
ยาสูบแบบเคี้ยวจะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
การเคี้ยวยาสูบทำให้เกิดกลิ่นปากและฟันเหลือง แถมยังทำให้คุณมักเป็นแผลในปาก โดย 3 ใน 4 ของผู้ใช้มีอาการดังกล่าว ไม่เพียงเท่านี้ Smokeless Tobacco ยังอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการที่รุนแรงต่อร่างกายและสุขภาพได้ เช่น
- ปากแห้งแตกและเลือดออกตามเหงือก
- เหงือกร่นอันเป็นสาเหตุทำให้ฟันหลุดร่วงได้ง่าย
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจหรืออาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือภาวะเส้นเลือดในสมองแตก
- เนื้องอกหรือโรคมะเร็ง ซึ่งมะเร็งมักเกิดขึ้นบริเวณปาก ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หรือเหงือก แต่มะเร็งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณปากเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นได้กับระบบทางเดินอาหาร หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
แล้วจะมีวิธีการเลิกใช้ Smokeless Tobacco อย่างไร
หากคุณกำลังใช้ยาสูบประเภทดังกล่าวอยู่และกำลังอยากเลิก ควรบอกคนรอบข้างของคุณไม่ว่าจะเป็นเพื่อน
หรือคนในครอบครัว เพื่อที่พวกเขาจะได้สนับสนุนและให้กำลังใจคุณ
ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อการเลิก
- เปลี่ยนมาเคี้ยวหมากฝรั่งหรือแผ่นแปะนิโคติน แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ก่อน
- พยายามหาขนมหรืออาหารต่างๆ เคี้ยวแทน เช่น ผงใบมินต์ หมากฝรั่งไร้น้ำตาล ลูกอม เนื้อหวาน เมล็ดทานตะวัน เนื้อมะพร้าวแก้ว ลูกเกด หรือผลไม้ตากแห้งต่างๆ เป็นต้น
- หันเหความสนใจของตัวเองด้วยกิจกรรมทางสุขภาพหรืองานอดิเรกต่างๆ เช่น ยกน้ำหนัก เข้าฟิตเนส เล่นปาเป้า ว่ายน้ำ ฯลฯ
แน่นอนว่าการเลิกอะไรสักอย่างนั้นเป็นเรื่องยาก! คุณอาจเผลอกลับไปใช้พฤติกรรมเดิมๆ แต่ไม่ต้องกังวล เพียงแค่พยายามให้มากขึ้น เชื่อว่าคุณจะสามารถเดินสู่เป้าหมายและความสำเร็จที่อยู่ตรงหน้าได้!
ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/smokeless.html