ยากล่อมประสาท (Sedatives)

ยากล่อมประสาทมีประโยชน์ในการรักษาอาการวิตกกังวลและอาการนอนไม่หลับ แต่การใช้ยาเหล่านี้สามารถทำให้ติดยาได้
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยากล่อมประสาท (Sedatives)

ยากล่อมประสาทเป็นยาประเภทที่ชะลอการทำงานของสมอง ยากล่อมประสาทมีผลช่วยให้สงบและสามารถทำให้นอนหลับ ยากล่อมประสาทมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ

  • ยากลุ่ม Barbiturates : ยากลุ่มนี้สามารถใช้เดี่ยวๆ หรือใช้คู่กับยาสลบ (anesthesia) บางครั้งยากลุ่มนี้ใช้เพื่อรักษาโรคลมชัก ตัวอย่างของยากลุ่ม barbiturates มี Nembutal (pentobarbital) และ phenobarbital
  • ยากลุ่ม Benzodiazepines : ยากลุ่มนี้ใช้รักษาอาการชักเช่นกัน พร้อมรักษาภาวะกล้ามเนื้อเกร็งตัว และ คลายความวิตกกังวลก่อนทำหัตการ ตัวอย่างของยากลุ่ม benzodiazepines มี Xanax (alprazolam), Valium (diazepam), Ativan (lorazepam), Librium (chlordiazepoxide), Halcion (triazolam), Serax (oxazepam) และ Klonopin (clonazepam) ส่วน Rohypnol (flunitrazepam) เป็นยา benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์ระยะสั้นซึ่งแรงกว่ายา Valium 10 เท่า  ยา Rohypnol ถูกใช้เป็นสารหรือยาสลบในการล่วงละเมิดทางเพศและยาตัวนี้ผิดกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา  
  • ยานอนหลับกลุ่ม "Z-drug" : ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ในกลุ่มตัวรับที่เฉพาะของระบบประสาทส่วนกลางชื่อ BZ1 ซึ่งทำให้การนอนหลับเป็นเรื่องเฉพาะ ตัวอย่างของยานอนหลับกลุ่ม "Z-drug" มี Ambien (zolpidem), Lunesta (eszopiclone) และ Sonata (zaleplon)

มีรายงานของอาการประสาทหลอนและวิกลจริตในบางผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้ ซึ่งไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงของยากล่อมประสาท

ผลข้างเคียงของการใช้ยากล่อมประสาทคล้ายกับฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ นอกจากจะทำให้สงบแล้ว ยากล่อมประสาทยังทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้

  • ง่วงซึม มึนงง และสับสน
  • ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและความทรงจำ
  • อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจช้าลง ซึ่งอาจจะแย่ลงถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
  • มีความเสี่ยงในการหกล้มและการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น
  • อาการซึมเศร้าและอาการแสดงของความวิตกกังวลนั้นแย่ลง
  • สมาธิและการตัดสินใจแย่ลง
  • อารมณ์แกว่งและมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ความเสี่ยงในการติดยา
  • ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

การติดยาและการพึ่งยากล่อมประสาท

การติดยาเป็นความเสี่ยงสำหรับยากล่อมประสาททั้ง 3 ประเภท การติดยา หมายถึง มีความอยากที่จะใช้ยาแม้จะรู้ถึงผลข้างเคียงที่อันตรายต่องานและชีวิตส่วนตัว ถ้าคุณติดยา คุณอาจรู้สึกไม่สามารถหยุดใช้ยาได้ การพึ่งยา คือ การที่ร่างกายของคุณเรียนรู้ที่จะพึ่งตัวยา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ติดยาแต่มักจะเกิดขึ้นพร้อมการติดยา ถ้าคุณพึ่งยา คุณอาจต้องใช้ขนาดยาที่สูงเพื่อให้ตรงกับความต้องการ (ความทนต่อยา) หรืออาจจะมีผลข้างเคียงทางกายและจิตใจเมื่อคนหยุดใช้ยา (อาการขาดยา) ถ้าคุณใช้ยาทำสงบตัวใดเป็นประจำ คุณไม่ควรหยุดใช้โดยทันทีเพราะมันอาจทำให้เกิดอาการขาดยาที่รุนแรง เช่น อาการชัก ในการที่จะหยุดใช้ยา คุณอาจจะต้องลดขนาดยาอย่างต่อเนื่อง (ค่อยๆ ลดลง) พร้อมการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์



4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
everydayhealth.com, Sedatives (https://www.everydayhealth.com/sedatives/guide/)
healthline.com, Sedatives (https://www.healthline.com/health/sedatives), April 30, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)