ข้อมูลภาพรวมของโสมอินเดีย
โสมอินเดีย (Ashwagandha) คือต้นไม้ที่มีการนำรากและผลมาผลิตยา โสมอินเดียมีสรรพคุณหลายประการ แต่ ณ ปัจจุบันยังคงขาดข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลของสรรพคุณเหล่านั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โสมอินเดียถูกใช้ในการรักษาข้ออักเสบ (arthritis), ภาวะวิตกกังวล (anxiety), โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder), โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder (ADHD)), เรื่องความสมดุลร่างกาย, โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive dirorder (OCD)), ปัญหาการนอนหลับ (insomnia), เนื้องอกบางชนิด,), โรคผิวหนังที่ปรากฏปื้นสีขาว (leukoderma), ปวดหลัง, fibromyalgia, ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน, สะอึกโรคเกี่ยวกับความเสื่อมทางสมองได้แก่ Parkinson's, Huntington's และ Alzeimer's diseasesและโรคตับเรื้อรัง อีกทั้งยังใช้ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษามะเร็งและจิตเภท (schizophrenia) และถูกใช้เพื่อลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
โสมอินเดียยังถูกใช้เป็น “adaptogen” เพื่อช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดในแต่ละวันและเป็นยาบำรุงร่างกายได้ด้วย
บางคนยังใช้โสมอินเดียสำหรับพัฒนาทักษะการคิด, ลดความเจ็บปวดและการอักเสบ/บวม, และป้องกันผลเสียที่มาจากความชรา อีกทั้งโสมชนิดนี้ยังถูกใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการมีบุตรของทั้งชายและหญิง และยังใช้เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศขึ้นอีกด้วย
โสมอินเดียที่ผลิตมาเพื่อทาบนผิวหนังจะใช้เพื่อรักษาบาดแผล, ปวดหลัง, และอัมพฤกษ์ครึ่งซีก (hemiplegia)
คำว่า Ashwagandha มาจากภาษาสันสฤตที่เป็นการผสมกันของคำว่า ashva ที่มีความหมายว่า “ม้า” กับคำว่า gandha ที่มีความหมายว่า “กลิ่น” ซึ่งรากของต้นโสมชนิดนี้จะมีกีลิ่นแรงคล้ายกับกลิ่นของม้านั่นเอง
โสมอินเดียออกฤทธิ์อย่างไร?
โสมอินเดียประกอบด้วยสารที่ช่วยทำให้สมองสงบลง, ลดการบวม (อักเสบ), ลดความดันโลหิตลง, และปรับสภาพระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การใช้และประสิทธิภาพของโสมอินเดีย
ภาวะที่อาจใช้โสมอินเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความเครียด การทานสารสกัดจากรากของโสมอินเดีย 300 mg สองครั้งต่อวันหลังอาหารเป็นเวลานาน 60 วันจะช่วยลดอาการที่เกิดจากความเครียดได้จริง
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้โสมอินเดียรักษาได้หรือไม่
- ลดผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับยาโรคจิต ยาโรคจิต (Antipsychotics) ถูกใช้เพื่อรักษาจิตเภทแต่ก็เป็นยาที่ทำให้ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การทานสารสกัดสารอินเดีย 400 mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลานานหนึ่งเดือนจะช่วยลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดของผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มนี้ได้
- ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้แสดงให้เห็นว่าการทานโสมอินเดียสามารถลดอาการหรืออารมณ์วิตกกังวลบางอย่างได้
- ภาวะสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้พบว่าการผสานกันของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนประกอบเป็นโสมอินเดียจะช่วยเพิ่มระดับสมาธิและการควบคุมตนเองในเด็ก ADHD ได้ แต่สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวโสมอินเดียเพียงอย่างเดียวนั้นยังคงไม่แน่ชัด
- โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) การใช้สารสกัดจากโสมอินเดียเป็นเวลา 8 สัปดาห์ช่วยเพิ่มการทำงานของสมองของผู้ที่มีภาวะอารมณ์สองขั้ว
- ภาวะสมองที่เรียกว่า cerebellar ataxia การศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าโสมอินเดียที่ใช้ร่วมกับการบำบัดอายุรเวชอื่น ๆ จะช่วยปรับสมดุลร่างกายของผู้ที่มีภาวะ cerebellar ataxia
- อาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้กล่าวว่าการทานสารสกัดโสมอินเดีย 2,000 mg ระหว่างการทำเคมีบำบัดจะช่วยลดการเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยได้
- เบาหวาน (Diabetes) มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าโสมอินเดียสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้
- คอเลสเตอรอลสูง มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าโสมอินเดียสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของผู้ป่วยภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้
- ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย มีหลักฐานทางการแพทย์เบื้องต้นที่กล่าวว่าโสมอินเดียอาจช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำเชื้อแต่ไม่เพิ่มจำนวนสเปิร์มในผู้ชายที่มีปัญหามีบุตรยากได้ แต่ยังคงไม่แน่ชัดว่าโสมอินเดียช่วยเพิ่มความสามารถในการมีบุตรจริงหรือไม่
- ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) งานวิจัยพบว่าการทานโสมอินเดียร่วมกับ zinc complex, guggul, และ turmeric อาจช่วยบรรเทาอาการข้อเสื่อมได้ แต่สำหรับการใช้เพียงโสมอินเดียเพียงอย่างเดียวยังคงไม่ชัดเจน
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder (OCD)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากรากของโสมอินเดียอาจลดอาการของ OCD ลงได้เมื่อทานร่วมกับยาที่แพทย์จัดให้เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งจะให้ผลที่ดีกว่าการทานเพียงแค่ยาอย่างเดียว
- โรคพากินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้สมุนไพรอย่างโสมอินเดียร่วมกับยาจะช่วยให้อาการของโรคพากินสันดีขึ้น แต่สำหรับการใช้เพียงโสมอินเดียอย่างเดียวนั้นยังคงไม่ชัดเจน
- โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผงจากโสมอินเดียเป็นเวลา 3 สัปดาห์และตามด้วย sidh makardhwaj (ส่วนผสมของทอง, ปรอท, และซัลเฟอร์) จะช่วยให้ผู้ป่วย RA มีอาการดีขึ้นเล็กน้อย แต่สำหรับการใช้เพียงโสมอินเดียเพียงอย่างเดียวนั้นยังคงไม่แน่ชัด
- ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น งานวิจัยพบว่าการทานสารสกัดจากโสมอินเดียทุกวันเป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ร่วมกับการเข้ารับคำปรึกษาจะช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศของกลุ่มผู้หญิงขึ้น ซึ่งนับว่าให้ผลดีกว่าการเข้ารับคำปรึกษาเพียงอย่างเดียว
- ปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
- กระตุ้นการอาเจียน
- ปัญหาตับ
- การป้องกันสัญญาณของการแก่
- อาการบวม (อักเสบ)
- เนื้องอก
- แผลบนชั้นเยื่อบุผิว (Ulcerations)
- ภาวะสุขภาพอื่น ๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโสมอินเดีย
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโสมอินเดีย
โสมอินเดียจัดว่าปลอดภัยเมื่อต้องทานเป็นระยะสั้น ๆ ส่วนผลจากการใช้ในระยะยาวยังคงไม่แน่ชัด การบริโภคโสมอินเดียขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง, ท้องร่วง, และอาเจียนได้
ยังไม่แน่ชัดว่าการทาโสมอินเดียบนผิวหนังนั้นปลอดภัยหรือไม่
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ห้ามทานโสมอินเดียขณะตั้งครรภ์เพราะเป็นยาที่จัดว่าไม่ปลอดภัยสำหรับผู้มีครรภ์เนื่องจากมีหลักฐานว่าโสมอินเดียทำให้แท้งบุตร แต่สำหรับผู้ที่กำลังให้นมบุตรนั้นยังคงไม่มีข้อมูลใด ๆ แต่เพื่อความปลอดภัย ควรเลี่ยงการใช้โสมอินเดียจะดีที่สุด
เบาหวาน: โสมอินเดียอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลง ซึ่งนั่นเป็นการรบกวนยาที่ใช้ในการรักษาเบาหวาน หากคุณเป็นโรคเบาหวานและต้องการใช้โสมอินเดีย ควรดูแลระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองอย่างใกล้ชิด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ: โสมอินเดียอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งอาจเข้าไปรบกวนยาที่ใช้รักษาระดับความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำหรือใช้ยาควบคุมความดันโลหิตควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
แผลในกระเพาะอาหาร: โสมอินเดียสามารถสร้างความระคายเคืองแก่ระบบทางเดินอาหารได้ ดังนั้นหากคุณมีแผลในกระเพาะอาหารไม่ควรใช้โสมอินเดียจะดีที่สุด
“โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง” อย่าง multiple sclerosis (MS), โรคพุ่มพวง (lupus (systemic lupus erythematosus, SLE)), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis (RA)), หรือภาวะที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ : โสมอินเดียอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณทำงานมากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณประสบกับอาการจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมากขึ้น หากคุณป่วยเป็นโรคในกลุ่มนี้ควรเลี่ยงการใช้โสมอินเดียจะดีที่สุด
การผ่าตัด: โสมอินเดียอาจชะลอการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะกังวลว่ายาชาหรือยาอื่น ๆ ที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดจะเพิ่มโอกาสเช่นนี้ ดังนั้นควรงดใช้โสมอินเดียเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ความผิดปรกติที่ต่อมไทรอยด์: โสมอินเดียอาจเพิ่มระดับฮอร์โมนไทรอยด์ขึ้น ดังนั้นควรมีการใช้โสมอินเดียในปริมาณที่เหมาะสม หรือเลี่ยงการใช้ในกรณีที่คุณมีภาวะต่อมไทรอยด์หรือกำลังใช้ยาควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์อยู่
การใช้โสมอินเดียร่วมกับยาชนิดอื่น
ใช้โสมอินเดียร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) กับโสมอินเดีย
- ยากล่อมประสาท (Benzodiazepines) กับโสมอินเดีย
- ยากล่อมประสาท (CNS depressants) กับโสมอินเดีย
- ฮอร์โมนไทรอยด์กับโสมอินเดีย
โสมอินเดียจะเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันขึ้น ดังนั้นการใช้โสมอินเดียร่วมกับยาที่ลดระบบภูมิคุ้มกันอาจทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลง ยาที่ใช้ลดระบบภูมิคุ้มกันคือ azathioprine (Imuran), basiliximab (Simulect), cyclosporine (Neoral, Sandimmune), daclizumab (Zenapax), muromonab-CD3 (OKT3, Orthoclone OKT3), mycophenolate (CellCept), tacrolimus (FK506, Prograf), sirolimus (Rapamune), prednisone (Deltasone, Orasone), corticosteroids (glucocorticoids), และอื่น ๆ
โสมอินเดียอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ดังนั้นการทานโสมอินเดียร่วมกับยากล่อมประสาทอาจทำให้เกิดอาการง่วงมากเกินไป โดยยากล่อมประสาทกลุ่มนี้มีตัวอย่างดังนี้ clonazepam (Klonopin), diazepam (Valium), lorazepam (Ativan), และอื่น ๆ
โสมอินเดียอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ดังนั้นการทานโสมอินเดียร่วมกับยากล่อมประสาทอาจทำให้เกิดอาการง่วงมากเกินไป โดยยากล่อมประสาทกลุ่มนี้มีตัวอย่างดังนี้ clonazepam (Klonopin), lorazepam (Ativan), phenobarbital (Donnatal), zolpidem (Ambien), และอื่น ๆ
คอยสังเกตอาการเมื่อต้องใช้โสมอินเดียร่วมกับยาเหล่านี้
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งโสมอินเดียอาจเข้าไปเพิ่มปริมาณการผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ของร่างกายขึ้น การทานโสมอินเดียร่วมกับฮอร์โมนไทรอยด์อาจทำให้ร่างกายมีระดับไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงของฮอร์โมนไทรอยด์ขึ้น
ปริมาณยาที่ใช้
ขนาดโสมอินเดียที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะอื่น ๆ ของผู้ใช้ ณ ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดขอบเขตที่เหมาะสมของปริมาณยาชนิดนี้ ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้โสมอินเดียทุกครั้ง