กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะเร็งท่อน้ำดี Bile duct cancer (cholangiocarcinoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 14 นาที
มะเร็งท่อน้ำดี Bile duct cancer (cholangiocarcinoma)

มะเร็งท่อน้ำดี คือมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรง เพราะเป็นโรคที่มักไม่มีอาการในช่วงแรก กว่าจะรู้ตัวและมีอาการคือผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งเต็มขั้นแล้ว โดยจะมีอาการดีซ่าน น้ำหนักลด ปวดท้อง ซึ่งต้องรีบรักษาอย่างทันท่วงที โรคมะเร็งนี้หากเป็นในระยะหลังๆ โอกาสหายขาดจะน้อย การรักษาในระยะหลังๆ จึงเป็นการรักษาแบบเน้นประคับประคองตามอาการเพื่อบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้

บทนำ

มะเร็งท่อน้ำดี (bile duct cancer หรือ cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อย แต่เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระบบท่อน้ำดี (bile duct system หรือ biliary system ประกอบไปด้วยท่อที่เริ่มต้นจากในตับและสิ้นสุดที่ลำไส้เล็ก น้ำดีคือของเหลวที่ระบบย่อยอาหารใช้ในการย่อยไขมันและย่อยอาหารอื่นๆ

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีจะไม่รู้ตัวและไม่มีอาการแสดงของโรคมะเร็งจนกว่ามะเร็งจะพัฒนาเต็มขั้นเข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรคแล้ว โดยอาการที่มีจะได้แก่:

  • ดีซ่าน (jaundice)-ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีอาการคันผิวหนัง อุจจาระมีสีซีด และปัสสาวะมีสีเข้ม
  • น้ำหนักลด
  • ปวดท้อง

ให้พบแพทย์หากมีอาการของดีซ่าน หรือมีความกังวลเกี่ยวกับอาการอื่นๆ แม้ว่ามีโอกาสไม่มากที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดี แต่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยคือสิ่งที่ดีที่สุด

มะเร็งท่อน้ำดีเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดียังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี หรือ กำลังเป็นโรคตับเรื้อรังที่พบได้น้อย คือ โรคท่อนํ้าดีอักเสบจนเกิดเป็นพังผืดบริเวณท่อนํ้าดีโดยไม่ทราบสาเหตุ  primary sclerosing cholangitis (PSC)

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ใด:

  • มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับ หรือเรียกว่า intrahepatic bile duct cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ)
  • มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีนอกตับ หรือเรียกว่า extrahepatic bile duct cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ)

การวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่วินิจฉัยได้ยาก ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องรับการตรวจหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การตรวจเลือด
  • การตรวจอัลตราซาวด์
  • การทำซีที สแกน/การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scans)
  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan)

ในการตรวจบางชนิดดังกล่าว คุณอาจจำเป็นต้องฉีดสีชนิดพิเศษเพื่อให้มองเห็นภาพท่อน้ำดีได้ชัดเจนขึ้น

คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยจำนำเนื้อเยื่อจำนวนเล็กน้อยไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ อย่างไรก็ตามศัลยแพทย์อาจเลือกที่จะผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งที่สงสัยออกโดยอ้างอิงจากผลการตรวจสแกนเท่านั้น

จะรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างไร

มะเร็งท่อน้ำดีจะรักษาหายขาดได้เฉพาะกรณีที่เซลล์มะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย ในกรณีนี้อาจต้องมีการผ่าตัดนำท่อน้ำดีบางส่วนหรือทั้งหมดออก

มีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนักที่จะได้รับการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีตั้งแต่ระยะต้นๆ ซึ่งสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะมีอาการให้รู้ตัวเมื่อเข้าสู่ระยะหลังๆ ของโรคแล้ว

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ก็ยังมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการที่ผู้ป่วยเป็น และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายๆ ได้

ใครบ้างที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี

มีการศึกษาสนับสนุนว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดีพบมากขึ้นในหลายๆ ประเทศ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดีจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงใกล้เคียงกัน

จะป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้หรือไม่

ยังไม่มีวิธีการใดที่จะป้องกันการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีได้ 100% แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีคือการลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จนเป็นโรคตับแข็ง (cirrhosis) คือปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของมะเร็งท่อน้ำดี และคุณต้องมั่นใจว่าคุณไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

อาการของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีมักไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการใดๆ ในระยะแรก ๆ จนกว่ามะเร็งจะปิดกั้นทางเดินของน้ำดีที่ออกจากตับ

เมื่อมีอาการเกิดขึ้นนั่นแสดงว่าผู้ป่วยเข้าสู่ระยะมะเร็งเต็มขั้น หรือมะเร็งระยะท้ายแล้ว

การอุดตันของน้ำดีที่เกิดขึ้นจะทำให้น้ำดีไหลย้อนกลับเข้าไปในเลือดและเนื้อเยื่อร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ เช่น:

  • ดีซ่าน (jaundice)-คือมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง คันตามผิวหนัง อุจจาระมีสีซีด และปัสสาวะมีสีเข้ม
  • น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
  • ปวดท้อง-ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องด้านขวาบน
  • มีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีอาการตัวสั่น
  • เบื่ออาหาร

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

เมื่อมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง คุณต้องไปพบแพทย์ทันที แม้ว่าอาการตัวเหลืองตาเหลืองอาจไม่ได้เกิดจากมะเร็งท่อน้ำดี แต่ก็ต้องไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคตับ เช่น ตับอักเสบ

สาเหตุของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สาเหตุของโรคมะเร็งท่อน้ำดียังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งเกิดขึ้นเพราะมีการกลายพันธุ์ของโครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์นั้นๆ ทำให้เซลล์เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอกขึ้นมา

หากไม่ทำการรักษา มะเร็งจะโตมากขึ้นและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อาจแพร่กระจายโดยตรงหรือแพร่กระจายผ่านระบบเลือดและระบบน้ำเหลืองก็ได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งท่อน้ำดี บางส่วนของปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นได้แก่

อายุ

ความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ของมะเร็งท่อน้ำดีมีอายุมากกว่า 65 ปี

โรคท่อนํ้าดีอักเสบจนเกิดเป็นพังผืดบริเวณท่อนํ้าดีโดยไม่ทราบสาเหตุ (Primary sclerosing cholangitis)

โรคท่อนํ้าดีอักเสบจนเกิดเป็นพังผืดบริเวณท่อนํ้าดีโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือโรค PSC คือโรคตับชนิดที่พบได้น้อย และเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรัง

มักพบโรคนี้ในผู้ที่อายุ 30-50 ปี มากถึง 10% ของผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (ulcerative colitis) จะเป็นโรค PSC ด้วย

ประมาณ 10-20% ของผู้ป่วยโรค PSC จะพัฒนาต่อเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี และความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะยิ่งสูงขึ้นหากคุณเป็นโรค PSC และยังสูบบุหรี่ด้วย

ความผิดปกติของท่อน้ำดี

ผู้ป่วยบางรายมีถุงน้ำ (ถุงซีส) อยู่ภายในท่อน้ำดี โดยถุงน้ำนี้มักมีมาตั้งแต่แรกเกิด (congenital)

ความผิดปกติของท่อน้ำดีที่พบบ่อยที่สุดคือ choledochal cysts และ Caroli's disease แต่ก็เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก

มากถึง 20% ของผู้ป่วยที่เป็น choledochal cysts ที่ไม่ได้ผ่าตัดออกจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีในอนาคต

นิ่วในทางเดินน้ำดี (Biliary stones)

นิ่วในทางเดินน้ำดีคล้ายกับนิ่วในถุงน้ำดี (gallstones) แต่ต่างกันตรงที่นิ่วชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในตับมากกว่าที่จะเป็นในถุงน้ำดี (gallbladder)

นิ่วในทางเดินน้ำดีพบได้น้อยในชาวยุโรปตะวันตก แต่พบได้บ่อยกว่าในชาวเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ประมาณการว่าประมาณ 10% ของผู้ที่มีนิ่วในทางเดินน้ำดีจะพัฒนาเป็นมะเร็งท่อน้ำดี

การติดเชื้อพยาธิ (Parasitic infection)

พยาธิใบไม้ในตับ คือการติดเชื้อที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี คุณอาจติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับจากการรับประทานปลาดิบที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ

การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับมักพบในชาวเอเชีย (โดยเฉพาะประเทศไทย) และแอฟริกา เพราะเป็นประเทศที่มีเชื้อพยาธินี้แพร่อยู่

การสัมผัสกับสารพิษ (Exposure to toxins)

การสัมผัสกับสารเคมีที่มีพิษจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสัมผัสกับสารเคมีที่ชื่อว่า thorotrast คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีมากขึ้น สาร thorotrast เป็นสารทึบรังสีชนิดหนึ่งที่มีการใช้มากในอดีต แต่ปัจจุบันถูกห้ามใช้แล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) เพราะพบว่าเป็นสารที่มีอันตราย

สารพิษอื่นๆ ที่อาจเพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี ได้แก่:

  • แร่ใยหิน (asbestos)-คือวัสดุทนไฟที่ถูกใช้ในการก่อสร้างและการผลิต
  • polychlorinated biphenyls (PCBs) คือสารเคมีที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง

ปัจจัยอื่นๆ

ปัจจัยอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี แต่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม:

  • ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี
  • ตับแข็ง ซึ่งเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • เป็นเบาหวาน
  • อ้วน
  • สูบบุหรี่

การวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี

โรคมะเร็งท่อน้ำดีคือโรคที่ยากต่อการวินิจฉัย คุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจหลายอย่างก่อนที่จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างแม่นยำ

การตรวจเลือด

ในโรคมะเร็งท่อน้ำดี เซลล์มะเร็งอาจหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาในเลือด ซึ่งสามารถตรวจพบได้ เราเรียกว่า สารบ่งชี้มะเร็ง (tumour markers)

อย่างไรก็ตาม สารบ่งชี้มะเร็งอาจสร้างมาจากโรคอื่นๆ ก็ได้ หากตรวจเลือดแล้วให้ผลบวก ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นมะเร็งท่อน้ำดี และแม้ผลตรวจเป็นลบก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี

การตรวจสแกน (scans)

มีการตรวจสแกนหลายวิธีที่ใช้สำหรับการตรวจท่อน้ำดี เพื่อให้ทราบรายละเอียดและเพื่อดูความผิดปกติในท่อน้ำดี ที่อาจเกิดจากโรคมะเร็ง การตรวจสแกนนั้นได้แก่:

  • อัลตราซาวด์ (ultrasound scan)-คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างเป็นภาพของอวัยวะภายในร่างกาย
  • ซีที สแกน/การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (CT scan)-คือการเอกซ์เรย์ตับหลาย ๆครั้ง  และคอมพิวเตอร์จะสร้างภาพที่ได้จากการเอกซ์เรย์ ทำให้เห็นรายละเอียดเป็นภาพสามมิติของอวัยวะภายในร่างกาย
  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scan)-คือการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเข้มข้นและคลื่นวิทยุร่วมกันสร้างเป็นภาพของสิ่งที่อยู่ภายในตับของคุณ

การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน Endoscopic retrograde cholangio-pancreatography (ERCP)

การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้เห็นภาพของท่อน้ำดีได้ชัดเจนขึ้นภาพผ่านเอกซ์เรย์

จะมีการฉีดสีชนิดพิเศษเข้าไประหว่างการทำร่วมกับการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ เพื่อนำทางกล้องที่ส่องเข้าไปตรวจ โดยกล่องจะถูกสอดเข้าไปทางปาก ผ่านลำคอ ไปจนถึงท่อน้ำดีของคุณ กล้องที่ส่องเข้าไปนั้นสามารถตรวจพบการอุดตันของท่อน้ำดีซึ่งอาจเป็นผลมาจากมะเร็งท่อน้ำดี

Spyglass

คือการส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น กล่าวคือ เป็นการตรวจพิเศษที่ใช้กล้องชนิดพิเศษเข้าไปตรวจท่อน้ำดีเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อได้พร้อมๆ กัน

การตรวจนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจ การตรวจด้วยเทคนิคนี้มีราคาสูงและจำเป็นต้องอาศัยแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะด้านมา และไม่สามารถทำได้ทุกโรงพยาบาล

Percutaneous transhepatic cholangiography (PTC)

เป็นการตรวจชนิดหนึ่งที่ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพเอกซ์เรย์ท่อน้ำดีได้ชัดเจนมากขึ้น

ด้านข้างของช่องท้องจะถูกทำให้ชาด้วยยาชาเฉพาะที่ และจะมีการฉีดสีชนิดพิเศษเข้าไปผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ท่อตับ ร่วมกับการใช้เครื่องเอกซ์เรย์

ทั้งเทคนิค ERCP และ PTC คือเทคนิคที่มีประโยชน์มากในการตรวจหาการอุดตันของท่อน้ำดีซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากมะเร็งท่อน้ำดี

การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

ถ้าการตรวจสแกนบ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นมะเร็งท่อน้ำดี อาจต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ในการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างจำนวนเล็กน้อยออกจากร่างกายคุณและไปส่องตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเซลล์มะเร็ง

การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจมักทำพร้อมกับการตรวจด้วยเทคนิค ERCP หรือ PTC โดยตัวอย่างที่เก็บออกมานั้นจะเก็บจากท่อน้ำดี และอาจเก็บจากต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง เพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายจากท่อน้ำดีเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองหรือไม่

ระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ระยะ 1A-มะเร็งอยู่ภายในท่อน้ำดีเท่านั้น
  • ระยะ 1B-มะเร็งเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ผนังของท่อน้ำดี แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อรอบนอกหรือต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะ 2-มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อข้างเคียง เช่น ตับ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะ 3-มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่นำเลือดมาเลี้ยงตับ
  • ระยะ 4-มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด

การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาที่ทำส่วนใหญ่เพื่อบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วย

ทีมบุคลากรทางการแพทย์รักษาโรคมะเร็ง

เนื่องจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย คุณจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการส่งต่อไปรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านโรคตับในการรักษาโรคดังกล่าว

ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลคุณประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่จะช่วยคุณวางแผนการรักษาโรค แต่ในการตัดสินใจสุดท้ายขึ้นกับการตัดสินใจของคุณ โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์นั้นอาจประกอบไปด้วย:

  • แพทย์ผ่าตัดตับ-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งตับ
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง-ซึ่งเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด เช่น การใช้รังสีรักษา และการใช้ยาเคมีบำบัด
  • แพทย์พยาธิวิทยา-ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อเยื่อของโรค
  • แพทย์รังสีวิทยา-ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยทางรังสีวิทยาและการให้การรักษา
  • พยาบาลโรคมะเร็ง-พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อพบเจอกับคุณเป็นอันดับแรกก่อนที่จะเจอกับทีมแพทย์คนอื่นๆ
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร-แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคตับและระบบน้ำดี

ก่อนที่คุณจะเดินทางไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางในการรักษา คุณควรเขียนข้อคำถามที่ต้องการทราบไว้ก่อน เพื่อสอบถามสิ่งที่ต้องการทราบกับผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของการรักษานั้นๆ

แผนการรักษาของคุณ

แผนการรักษาที่คุณจะได้รับคำแนะนำขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของคุณและระยะของโรคมะเร็งที่คุณกำลังเป็นอยู่

ในมะเร็งท่อน้ำดีระยะที่ 1 และระยะที่ 2 การรักษาอาจทำให้หายขาดได้โดยการผ่าตัดท่อน้ำดีส่วนที่เป็นมะเร็งออก และอาจต้องมีการผ่าตัดบางส่วนของตับหรือถุงน้ำดีออกด้วย

ในมะเร็งท่อน้ำดีระยะที่ 3 โอกาสที่จะรักษาหายขาดขึ้นกับจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งแพร่กระจายไปถึง ซึ่งอาจรักษาหายขาดได้หากจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งแพร่กระจายไปมีจำนวนเล็กน้อย และอาจชะลอการแพร่กระจายได้โดยการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออก

ในมะเร็งท่อน้ำดีระยะที่ 4 โอกาสที่จะรักษาหายขาดเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตามสามารถรักษาด้วยการใส่ขดลวดขยายท่อน้ำดี การใช้ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา และการผ่าตัด ซึ่งมักใช้เพื่อบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วย

แผนการรักษาของคุณอาจแตกต่างออกไปหากคุณเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ ซึ่งจะรักษาคล้ายกับการรักษาโรคมะเร็งตับ

และยังมีการรักษาอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการทดลองวิจัยทางคลินิก

การผ่าตัด

หากทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณคิดว่าคุณมีโอกาสหายขาดจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี คุณจะจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อมะเร็งออก ซึ่งขึ้นกับว่ามะเร็งเป็นมากแค่ไหน อาจมีการผ่าตัดส่วนต่างๆ ออกดังนี้:

  • ส่วนของท่อน้ำดีที่มีเซลล์มะเร็งอยู่
  • ถุงน้ำดี
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
  • ส่วนใหญ่ของตับ

ภายหลังการผ่าตัด มีโอกาสที่จะมีปรับเปลี่ยนโครงการของท่อน้ำดีที่ยังเหลืออยู่ให้น้ำดีไหลลงสู่ลำไส้เล็ก

เช่นเดียวกับตับ ภายหลังการผ่าตัดตับจะมีโอกาสกลับมาทำงานตามปกติอีกครั้ง โดยตับสามารถฟื้นฟูการทำหน้าที่ได้ด้วยตนเองภายหลังการผ่าตัด

คุณอาจจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานถึง 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดี ก่อนที่คุณจะมีอาการดีขึ้น แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้

อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดท่อน้ำดีจะขึ้นกับแต่ละบุคคล เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงมีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่ และสามารถตัดเอาเนื้อเยื่อมะเร็งออกได้ทั้งหมดระหว่างการผ่าตัดหรือไม่

การประมาณการได้ทั่วไปพบว่า 20-40% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดีจะมีชีวิตได้นาน 5 ปี หรือมากกว่านั้นหลังการผ่าตัด

การแก้ไขการอุดตันของท่อน้ำดี

ถ้าท่อน้ำดีของคุณอุดตันจากมะเร็ง การรักษาเพื่อแก้ไขการอุดตันดังกล่าวคือสิ่งที่แนะนำ เพื่อช่วยแก้ปัญหาอาการที่เกิดขึ้น เช่น

  • ดีซ่าน-ตัวเหลืองตาเหลือง
  • คันตามผิวหนัง
  • ปวดท้อง

การแก้ไขการอุดตันของท่อน้ำดีจะมีความจำเป็นถ้าการไหลเวียนของน้ำดีกลับเข้าไปในตับทำให้ตับเริ่มทำงานผิดปกติ

การแก้ไขการอุดตันของท่อน้ำดีจะทำโดยการใส่ขวดลวดขนาดเล็กเข้าไป (stent) ทำให้ท่อน้ำดีขยายออก ทำให้น้ำดีกลับมาไหลได้อีกครั้ง

การใส่ขดลวดจะทำผ่านวิธี:

  • ทำผ่านเทคนิค ERCP ซึ่งจะมีการใช้กล้องส่องเพื่อให้มองเห็น และสามารถใส่ขดลวดเข้าไปในท่อน้ำดีได้ถูกต้อง
  • ทำผ่านเทคนิค PTC ซึ่งจะมีบาดแผลเล็กน้อยที่หน้าท้อง (ทำภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่)

บางครั้งอาจมีการอุดตันของขดลวดที่ใส่เข้าไปแล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นต้องนำขดลวดเดิมออก และใส่ขดลวดอันใหม่เข้าไป

การใช้รังสีรักษา

รังสีรักษาไม่ใช่การรักษามาตรฐานในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี แต่จะช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยได้ ช่วยชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น การใช้รังสีรักษามีอยู่ 2 ชนิด เพื่อรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี:

  • การฉายรังสีภายนอกร่างกาย (external beam radiotherapy)-คือการใช้เครื่องฉายรังสีเข้าไปที่ท่อน้ำดีของคุณจากภายนอกร่างกาย
  • การฝังแร่กัมมันตรังสี (brachytherapy) หรือการฉายรังสีภายในร่างกาย-เป็นการฝังแร่กัมมันตรังสีไว้ภายในท่อน้ำดีที่ข้างๆ ก้อนมะเร็ง

รังสีรักษาจะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามรังสีรักษาสามารถทำลายเซลล์ปกติในร่างกายได้และทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ผลข้างเคียงของรังสีรักษา ได้แก่:

ยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดมีวัตถุประสงค์เหมือนกับการใช้รังสีรักษาคือเพื่อบรรเทาอาการให้ผู้ป่วย ช่วยชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งและช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น บางครั้งต้องใช้ทั้งรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดร่วมกันเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี

ข้อมูลจากการวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) พบว่าการใช้ยาเคมีบำบัด 2 ชนิด ได้แก่ cisplatin และ gemcitabine เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการช่วยชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งและช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต

ยาเคมีบำบัดสามารถทำลายเซลล์ปกติในร่างกายได้ด้วย เช่นเดียวกับเซลล์มะเร็ง และมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่:

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ผมร่วง

อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นควรค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อการรักษาสิ้นสุดลง ยาเคมีบำบัดสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายระหว่างช่วงเวลาของการรักษาดังกล่าว

การวิจัยทางคลินิกและการรักษาที่อยู่ระหว่างการศึกษา

การรักษามะเร็งท่อน้ำดีในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพดีเท่ากับการรักษามะเร็งชนิดอื่นๆ ปัจจุบันจึงยังมีการวิจัยหลายการวิจัยที่กำลังค้นหาวิธีการรักษามะเร็งท่อน้ำดีที่ดีกว่าปัจจุบัน

ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กำลังทำอยู่ ศึกษาการให้ยาเคมีบำบัด 2 ตัวใหม่ ที่อาจช่วยเพิ่มระยะเวลาการมีชีวิตรอดในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

การรักษาแบบเจาะจงเซลล์มะเร็ง (targeted therapies)

การรักษาอื่นๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างศึกษาคือการรักษาแบบให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นการให้ยาเข้าไปเจาะจงที่กระบวนการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง

ข้อมูลจากงานวิจัยในโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ พบว่ายา sorafenib เป็นยาที่มีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ตาม ยา sorafenib ยังไม่ใช่ยาที่ใช้สำหรับรักษามะเร็งท่อน้ำดีในปัจจุบัน

เนื่องจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่พบได้น้อย คุณจึงอาจได้รับการเสนอให้เข้าร่วมงานวิจัยทางคลินิกเพื่อรับการศึกษายาหรือวิธีการรักษาใหม่ๆ

การศึกษาวิจัยทางคลินิกทุกการวิจัยทำภายใต้การควบคุมเรื่องจริยธรรมอย่างเข้มงวด โดยอ้างอิงบนพื้นฐานของการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามไม่เป็นการรับประกันว่าการรักษาใหม่ที่ได้รับระหว่างการวิจัยจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาในปัจจุบัน ซึ่งคุณจะต้องรับทราบข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัยก่อนตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยเสมอ โดยการตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยเป็นเรื่องความสมัครใจ คุณจะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้

การป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี

ยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้ 100% อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดโอกาสของการเป็นโรคนี้ได้

มี 3 ขั้นตอนที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ:

  • หยุดสูบบุหรี่ (ถ้าคุณสูบ)
  • ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลง
  • ลดโอกาสที่ตนเองจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

การหยุดสูบบุหรี่

การไม่สูบบุหรี่คือวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี และยังป้องกันโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และมะเร็งปอด

ถ้าคุณเป็นโรคท่อนํ้าดีอักเสบจนเกิดเป็นพังผืดบริเวณท่อนํ้าดีโดยไม่ทราบสาเหตุ  primary sclerosing cholangitis (PSC) คุณต้องหยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นอย่างมาก

 แพทย์สามารถให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่กับคุณได้ และอาจได้รับยาเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ที่เหมาะสม คุณสามารถขอรับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ได้จากสายด่วน โทร 1600

แอลกอฮอล์

ถ้าคุณคือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การลดการดื่มแอลกอฮอล์ลงจะช่วยป้องกันตับถูกทำลาย (ตับแข็ง) ได้ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้

การลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์จะมีความสำคัญมากถ้าคุณเป็นโรคตับอยู่แล้ว เช่น โรค PSC, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี

ถ้าคุณดื่มแอลกอฮอล์บ่อยมาก คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้โดย:

  • ผู้ชายและผู้หญิงแนะนำไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 14 หน่วยต่อสัปดาห์
  • ให้กระจายวันดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ถ้าคุณดื่มมากถึง 14 หน่วยต่อสัปดาห์

1 หน่วยแอลกอฮอล์เทียบเท่าเบียร์ประมาณครึ่งไพน์ แก้วไวน์แก้วเล็ก 1 แก้วเทียบเท่า 1.5 หน่วย

หากคุณพบว่าการลดการดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องยากสำหรับคุณ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำ เพราะมีการให้คำปรึกษาและการใช้ยาเพื่อช่วยให้คุณลดการดื่มลงได้

ไวรัสตับอักเสบซี

ผู้ป่วยที่จะมีความเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบซีคือผู้ที่ใช้สารเสพติดด้วยเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการติดต่อทางเพศสัมพันธ์

วิธีในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีคือ ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์บางอย่างที่อาจมีการปนเปื้อนของเลือด เช่น มีดโกนหนวด และแปรงสีฟัน

สำหรับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่นอนของตน หรือการเปลี่ยนคู่นอนใหม่ ต้องป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบบี

ปัจจุบันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

การฉีดไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันเด็กแรกเกิดทุกคนจะได้รับการฉีดอยู่แล้ว หากคุณยังไม่เคยฉีดวัคซีนนี้ สามารถขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี แนะนำอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น:

  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดผ่านเข็มฉีดยา หรือ ผู้ที่มีคู่นอนใช้สารเสพติดผ่านเข็มฉีดยา
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไป หรือเดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบี
  • บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งปฏิบัติงานและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

หญิงตั้งครรภ์ทุกรายจะได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี หากพบการติดเชื้อ เด็กแรกเกิดจะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากแม่

พยาธิใบไม้ในตับ

พยาธิใบไม้ในตับคือสาเหตุหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในคนเอเชีย ภายหลังการติดเชื้อพยาธินี้จะทำให้เนื้อเยื่อของท่อน้ำดีเสียหาย และสามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้

พยาธิใบไม้ในตับเป็นพยาธิที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้

ประเทศอื่นๆ ที่มีการพบพยาธิใบไม้ในตับ:

  • กัมพูชา
  • ลาว
  • เวียดนาม

การติดเชื้อเกิดจากการรับประทานปลาดิบที่ปนเปื้อนไข่พยาธิ

ดังนั้นต้องแน่ใจว่าปลาที่รับประทานผ่านการปรุงสุกอย่างทั่วถึงเมื่อคุณเดินทางไปประเทศต่างๆ ข้างต้น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-adults/bile-duct-cancer-cholangiocarcinoma#introduction


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bile Duct Cancer (Cholangiocarcinoma): Causes, Symptoms, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/bile-duct-cancer)
Cholangiocarcinoma: Practice Essentials, Pathophysiology, Epidemiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/277393-overview)
Cholangiocarcinoma - Genetics Home Reference. Genetics Home Reference - NIH. (https://ghr.nlm.nih.gov/condition/cholangiocarcinoma)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป