ยาโซราฟฟินิบ (Nexavar) จัดเป็นยารักษาโรคมะเร็งในกลุ่มรักษาแบบมุ่งเป้าชนิดยับยั้งการทำงานของเอ็มไซด์ไทโรซีน (Targeted therapy: Tyrosine kinase inhibitors) เริ่มมีใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายโรงพยาบาลในปัจจุบัน ในปัจจุบันการศึกษาเซลล์มะเร็งเพื่อจะหาตัวรับที่พบที่มีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็งชนิดต่าง เพื่อจะพัฒนาหาตัวยาที่มีความจำเพาะในการยับยั้งตัวรับนั้น เพิ่มประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคมะเร็ง และลดผลข้างเคียงจากการักษา
Vascular endoterium growth factor receptor (VEGFR) และ Platelet derived growth factor receptor (PDGFR) เป็นหนึ่งในตัวรับที่พบได้ว่ามีการกลายพันธุ์ได้เยอะในคนไข้มะเร็งไต มะเร็งตับ และ VEGFR ในมะเร็งต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่เร็วผิดปรกติและ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ยาพาโซพานิบถูกออกแบบมาให้จับกับ VEGFR และ PDGFR ซึ่งจะนำไปสู่การยับยั้งการแบ่งเซลล์ และ ตายของเซลล์มะเร็งในที่สุด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาโซราฟฟินิบ ใช้รักษาโรคอะไร?
- มะเร็งไต (Renal cell carcinoma) ระยะลุกลาม
- มะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma) ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะลุกลาม ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยสารไอโอดีนกัมมันตรังสี
ยาโซราฟฟินิบ มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาโซราฟฟินิบ ยับยั้งการส่งสัญญานของโปรตีนในเซลล์มะเร็งผ่านการยับยั้งการทำงานของเอ็มไซด์ไทโรซีนไคเนส ได้หลายตัว โดยตัวที่ยับยั้งหลักๆคือ Vascular endoterium growth factor receptor (VEGFR) และ Platelet derived growth factor receptor (PDGFR) มีผลให้ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง และ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยตรง
ยาโซราฟฟินิบ มีสูตรการรักษาอย่างไร?
ข้อบ่งใช้
- มะเร็งไต (Renal cell carcinoma) ระยะลุกลาม และ มะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma) ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ และ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะลุกลาม ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยสารไอโอดีนกัมมันตรังสี รับประทานครั้งละ 200 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้า และ เย็น รับประทานตอนท้องว่าง (ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือ หลังอาหาร 2 ชั่วโมง )
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรเมื่อได้รับยาโซราฟฟินิบ
เมื่อมีการสั่งยาโซราฟฟินิบ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยา และ อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น
- โรคประจำตัว และ ยา อาหารเสริมที่กินเป็นประจำ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ยาออกฤทธิ์มากขึ้น หรือ ลดลง
- สุภาพสตรีต้องแจ้งบุคลลากรทางการแพทย์ทุกครั้งว่ากำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ หรือ ขับออกผ่านน้ำนม ทำให้มีผลต่อทารกได้
ทำอย่างไรเมื่อลืมกินยาโซราฟฟินิบ
หากลืมรับประทานยา หากนึกได้ก่อน 6 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาครั้งถัดไป สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากเลย 6 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาครั้งถัดไป ไม่ต้องรับประทานยาในมื้อนั้น ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาดปกติโดยห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
ผลข้างเคียงของยาโซราฟฟินิบที่พบบ่อย?
- มือและเท้าบวมแดงเจ็บ (Hand foot syndrome)
- ความดันโลหิตสูง
- มีภาวะเลือดออกง่าย
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยเพลีย
- ปวดท้อง
- ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
- ค่าการทำงานของตับสูงขึ้น
สำหรับผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อาการมือและเท้าบวมแดงเจ็บ เพื่อป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงแนะนำให้ทาครีม หรือ โลชั่นให้ความชุ่มชื้น บริเวณฝ่ามือ กับ ฝ่าเท้า บ่อย ๆ ให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา และ ไม่ควรจับของร้อน หรือ บีบนวดด้วยครีมบรรเทาอาการปวดที่ทำให้รู้สึกร้อน
มีข้อควรระวังการใช้ยาโซราฟฟินิบย่างไร?
- อาการแพ้ยา เช่น หากรับประทานแล้วมีอาการ ผื่นคัน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้รีบหยุดยาแล้วรีบกลับมาพบแพทย์
- หากต้องการรับประทานยา หรือ อาหารเสริม ระหว่างรับประทานยาโซราฟฟินิบ ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบทุกครั้ง
มีข้อควรระวัง หรือ ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงการใช้ยาโซราฟฟินิบที่ควรปรึกษาแพทย์ทันที?
ยาโซราฟฟินิบ มีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นได้มาก จึงต้องระวังอย่างมากในการรับประทานยาโซราฟฟินิบ ซึ่งจะทำให้ขนาดยาของยาโซราฟฟินิบ ในร่างการเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้น หรือ ทำให้ขนาดยาโซราฟฟินิบ ในร่างการลดลง จะทำให้ได้ผลการรักษาที่ลดลง ยาที่อันตรายเช่น กลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือ รา กลุ่มยาปรับการเต้นของหัวใจ ยาต้านไวรัส AIDS กลุ่มยาป้องกันหลอดเลือดอุดตัน หรือ กลุ่มยากันชัก เป็นต้น จึงแนะนำให้แจ้งรายการยา หรือ อาหารเสริม ที่กินเป็นประจำต่อแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกรให้ทราบทุกครั้ง
การเก็บรักษายาโซราฟฟินิบ
การเก็บรักษายาโซราฟฟินิบ คือ เก็บยาในที่แห้ง ไม่มีแสงแดดส่องถึง และในอุณหภูมิไม่ควรเกิน 25 องศาเซลเซียส และต้องเก็บยาให้มิดชิดพ้นมือเด็ก
ชื่อการค้า ขนาด รูปแบบ บริษัทผู้ผลิต หรือ ตัวแทนจำหน่ายยาโซราฟฟินิบ ในประเทศไทย
ยาโซราฟฟินิบ มีชื่อทางการค้าอื่น ๆ และบริษัทผู้ผลิตขายในประเทศไทย ตลอดจนขนาด และรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น