มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer) คือ เนื้องอกชนิดเนื้อร้าย (Malignancy) ที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้
นั่นคือ การได้รับรังสีบริเวณลำคอ หรือต่อมไทรอยด์ในช่วงอายุ 15-20 ปี ซึ่งส่งผลให้เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย และทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งในอีกราว 5 ปีต่อมา แต่ช่วงปีที่มีโอกาสเสี่ยงมากที่สุดจะอยู่ระยะ 20-40 ปีหลังจากได้รับรังสี
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกจากนี้ผู้ที่เคยเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มาก่อน เช่น คอพอก หรือเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ รวมไปถึงกลุ่มผู้ที่ขาดธาตุอาหารไอโอดีน หรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน
พยาธิสรีรภาพของโรค
พยาธิสรีรภาพของโรค หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์ จะได้แก่
- มีก้อนมะเร็งเกิดที่คอและจะโตเร็วมาก
- กลืนน้ำลายและอาหารลำบาก
- หายใจลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งไปกดทับอวัยวะใกล้เคียง
ระยะของมะเร็งต่อมไทรอยด์
มะเร็งต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1: มีก้อนมะเร็งเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อน แต่อยู่ภายในต่อมไทรอยด์
- ระยะที่ 2: เชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 3: เชื้อมะเร็งแพร่กระจายลุกลามไปภายนอกต่อมไทรอยด์และต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 4: เชื้อมะเร็งแพร่กระจายออกไปตามอวัยวะส่วนอื่นๆ
มะเร็งของต่อมไทรอยด์จะมีกลไกการเกิดแตกต่างกันตามชนิดของมะเร็ง และอาจเกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ เช่น เต้านม ปอด ตับ กระเพาะอาหาร
อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ในผู้ป่วยระยะแรกของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์อาจไม่มีอาการใดๆ แต่แพทย์อาจตรวจพบก้อนมะเร็งที่คอ ซึ่งมีการเจริญเติบโตที่เร็วและทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ลักษณะก้อนมะเร็งชนิดนี้มักจะไม่แข็ง มีขนาดทั้งสองข้างไม่เท่ากันและติดแน่นไม่เคลื่อนไหว
ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการกลืนน้ำลายและอาหารลำบาก เสียงแหบ และหายใจลำบาก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ในระยะหลัง นอกจากจะมีก้อนมะเร็งที่คอแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดกระดูก หรือมีอาการกระดูกหักเนื่องจากเชื้อมะเร็งได้กระจายไปที่กระดูก หรืออาจกระจายไปที่ปอดเรียบร้อยแล้ว
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ซึ่งหากผู้ป่วยมีประวัติและอาการต่อไปนี้ ก็เสี่ยงที่เป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้สูง
- ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเป็นโรคของต่อมไทรอยด์มาก่อน
- ผู้ป่วยเคยได้รับรังสีบริเวณคอ หรือต่อมไทรอยด์
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
- เคยมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- รู้สึกเจ็บบริเวณก้อนที่คอ
- น้ำหนักลด
- กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ
- หายใจลำบาก
- ปวดหลัง
- ตรวจร่างกายพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต
นอกจากการสอบถามประวัติแล้ว แพทย์ยังสามารถตรวจหาเชื้อมะเร็งได้จากการตรวจชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง โดยผ่านการตรวจจากทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่นๆ
การรักษา
การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์จะทำได้โดยการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด หรือตัดออกบางส่วน แต่หากเชื้อมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์ก็อาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอออกด้วย
หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยอาจได้รับฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อทดแทนต่อมน้ำเหลือง หรือต่อมไทรอยด์ส่วนที่ถูกผ่าออกไป รวมถึงมีการให้สารไอโอดีนรังสี-131 (Iodine-131) ในผู้ป่วยทุกรายที่มีการกระจายของเชื้อมะเร็ง หรือมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อมะเร็งจะกระจายออกไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้อีก
โดยสารไอโอดีนรังสี-131 จะอยู่ในรูปแบบของเม็ดยาแคปซูล หรือของเหลวให้ผู้ป่วยดื่ม
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นอกจากนี้แพทย์จะมีการให้ยา "เลโวไทรอกซิน" (Levothyroxine) กับผู้ป่วย ซึ่งยาชนิดนี้เป็นยาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) เพื่อให้ฮอร์โมนไทรอยด์มีระดับสูงขึ้น
ขณะเดียวกันก็ไปกดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์-สติมูเลติง ฮอร์โมน (Thyroid-stimulating hormone: TSH) ให้ต่ำลง
เนื่องจากเชื้อมะเร็งที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ต้องอาศัยฮอร์โมน TSH ในการกระตุ้นให้เชื้อมะเร็งเจริญเติบโตได้ หากฮอร์โมนดังกล่าวมีค่าต่ำลงก็จะลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งไปได้
ส่วนในกรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะที่ 3 หากหลังผ่าตัดแล้วยังมีเชื้อมะเร็งหลงเหลืออยู่ แพทย์จะใช้การฉายรังสีรักษาร่วมด้วย
อาหารที่ไม่ควรรับประทานระหว่างการรักษา
อาหารที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงภายหลังการผ่าตัด และอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยสารไอโอดีนรังสี-131 ควรเป็นอาหารที่มีธาตุอาหารไอโอดีนต่ำ
เพราะในระหว่างที่ทำการรักษานี้ เชื้อมะเร็งจะยังต้องการธาตุไอโอดีนเพื่อให้มีการเติบโตและแพร่กระจายมากขึ้น โดยผู้ป่วยควรงดเว้นอาหารที่มีธาตุไอโอดีนสูงเป็นเวลา 14 วันก่อนการรักษา เช่น
- อาหารที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหาร เช่น หมัก ดอง รมควัน รวมถึงอาหารกระป๋อง
- อาหารประเภทเนื้อสัตว์
- อาหารทะเล รวมไปถึงสาหร่ายทะเล น้ำมันปลา
- อาหารที่มีส่วนประกอบของไข่ โดยเฉพาะไข่แดง ส่วนไข่ขาวยังสามารถรับประทานได้
- อาหารประเภทเบเกอรี่ต่างๆ รวมถึงช็อกโกแลต
- ผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว ถั่วแดง ถั่วปินโต ถั่วลิมา รวมถึงมันฝรั่ง
ในส่วนของอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานจะเป็นอาหารที่มีธาตุไอโอดีนต่ำ เช่น
- ผักและผลไม้ต่างๆ
- อาหารประเภทเมล็ดข้าว ซีเรียล (Cereals) เส้นพาสต้า แต่ต้องตรวจสอบดูก่อนว่าผลิตภัณฑ์ยี่ห้อดังกล่าวมีส่วนผสมของไอโอดีนมากน้อยเพียงใด
- อาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร น้ำมันพืช หรือที่สกัดจากผัก
- น้ำผึ้ง
- อาหารประเภทถั่ว แต่ต้องไม่ใส่เกลือ หรือจะรับประทานเป็นเนยถั่วก็ได้
- เมเปิลไซรัป
- แยมผลไม้กวน
การพยาบาล
สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์หลังการผ่าตัดแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการปวดน้อยลง ผู้ดูแลควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องที่สงบ เย็นสบาย และให้นอนในท่าทีผู้ป่วยรู้สึกสบาย
- บันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาทีหลังผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัด และทุกๆ 1 ชั่วโมงเมื่อสัญญาณชีพคงที่ และอีก 2-4 ชั่วโมงตามลำดับ
- ไม่ให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น
- หลังผ่าตัดวันแรก ให้ผู้ป่วยใช้มือประสานกันไว้บริเวณท้ายทอย ให้ก้มเงยหันศีรษะไปทางซ้ายและขวาได้ แต่ไม่ให้แหงนคอ และในวันถัดไป ให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง ให้ศีรษะก้มเล็กน้อย
- สังเกตอาการเสียงแหบซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทในกล่องเสียงระหว่างผ่าตัด รวมถึงสังเกตอาการไทรอยด์วิกฤต (Thyroid crisis หรือ Thyroid storm) ด้วย เพราะอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น มีไข้สูง เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยอาจมีปอดบวมน้ำ กระสับกระส่าย เพ้อ ชัก และหมดสติได้ ส่วนผู้ป่วยที่รักษาด้วยไอโอดีนรังสี-131 ให้สังเกตอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน คันหรือมีผื่นขึ้น
- ให้ยาแก้ปวด ดูแลทำความสะอาดแผลผ่าตัดและท่อระบายสิ่งที่หลั่งออกมาจากแผลไม่ให้หลุด หรืออุดตัน
- แนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าโดยให้เคลื่อนไหวคอ ศีรษะ และลำตัวไปพร้อมๆ กัน เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนแผลผ่าตัด
- ดูแลความสะอาดสุขภาพปากและฟัน รวมถึงอมน้ำยาบ้วนปากทุก 2 ชั่วโมง
- งดอาหารและน้ำทางปาก หากผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหารก็ให้ดูแลสายยางให้อยู่กับที่
- สังเกตและบันทึกสิ่งที่ขับออกมาจากสายยาง
- หมั่นพลิก ตะแคงตัวผู้ป่วย และเคลื่อนไหวบ่อยๆ โดยไม่ให้กระทบกระเทือนแผล
- แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และแนะนำวิธีไอเอาเสมหะออกอย่างถูกต้อง
นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ ต้องดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อร่างกาย รวมทั้งดูแลสุขภาพจิตใจ ให้ผู้ดูแลหมั่นพูดคุยและปลอบใจผู้ป่วยไม่ให้วิตกกังวลเกี่ยวกับอาการมากจนเกินไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ไทรอยด์เป็นพิษต้องผ่าทุกเคสหรือเปล่าค่ะ