กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร? อันตรายไหม? อาการเป็นอย่างไร?

ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? อาการเป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่? ต้องฉีดวัคซีนไหม ฉีดกี่เข็ม? ติดต่อทางน้ำลายได้จริงหรือ? ไวรัสตับอักเสบบี ควรนกินอะไร กินกาแฟได้ไหม?
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร? อันตรายไหม? อาการเป็นอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และ อี โดยไวรัสที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี ประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากร หรือประมาณ 3 ล้านคน
  • เชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย สารคัดหลั่งทางเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ 
  • อาการของไวรัสตับอักเสบคือ เม็ดเลือดขาวจะทําลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ ทำให้เกิดอาการของภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน ส่งผลให้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บใต้ชายโครงขวา มีไข้ต่ำ ตาเหลือง ตัวเหลือง และปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
  • วิธีป้องกันตับอักเสบสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยาง อาจเสี่ยงติดไวรัสได้ หรือเลือกฉีดวัคซีนไวรัสตับอีกเสบก็เป็นทางเลือกที่ดี
  • ดูแพ็กเกจฉีดวัคซันไวรัสตับอีกเสบได้ที่นี่

ตับเป็นอวัยวะภายในบริเวณช่องท้อง ทำหน้าที่ในการกรองเลือดก่อนที่จะไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ซึ่งหากมีอาการเรื้อรังจะนำไปสู่โรคตับแข็งและมะเร็งตับ อันเป็นสาเหตุให้คนทั่วโลกเสียชีวิตถึงกว่า 780,000 คนต่อปี

ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และ อี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาในบ้านเรา ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไวรัสตับอักเสบบีนั้นติดต่อผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วยโรคนี้ (เลือด น้ำลาย อสุจิ และน้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศ) เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบซีและดี 

ส่วนไวรัสตับอักเสบเอและอีนั้นจะติดต่อผ่านการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีและดีได้แล้ว

อัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบี

สถิติจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังประมาณ 300 ล้านคน และอย่างน้อย 1 ล้านคนจะกลายเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด 

โดยคาดว่าแหล่งที่มีความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมากที่สุดคือบริเวณเอเชียตะวันออก และแอฟริกาใต้ซาฮารา ซึ่งอาจมีประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 5-10% ที่เป็นผู้ติดเชื้อ

ส่วนในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากร หรือประมาณ 3 ล้านคน นอกจากนั้นยังพบว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ไวรัสตับอักเสบบี ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับไวรัสชนิดอื่น และสามารถติดต่อได้ทางเลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น และสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกาย โดยวิธีการแพร่เชื้อที่เกิดขึ้นได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การแพร่เชื้อจากมารดาไปสู่ทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์
  • การใช้เข็มร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้ หรือการใช้อุปกรณ์ฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • โดนเข็มที่ปนเปื้อนเชื้อตำ
  • การได้รับเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ผ่านทางการถ่ายเลือดหรือทางแผลเปิด
  • การใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน หรือใบมีดโกน เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายผู้ป่วย ตามข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ได้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์
  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน

เชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถแพร่ผ่านอาหารและน้ำดื่ม (เว้นแต่ว่าอาหารนั้นจะผ่านการเคี้ยวมาก่อน เช่น มารดาเคี้ยวอาหารก่อนป้อนให้แก่ทารก)  และไม่สามารถติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้

  • การใช้ช้อนส้อมร่วมกัน
  • การให้นมบุตร
  • การกอด จูบ หรือจับมือ
  • การจามหรือไอใส่

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก โดยพบว่าช่วง 10-15 ปี แรกจะมีปริมาณไวรัสสูงมาก แต่มักไม่มีอาการใดๆ เพราะเม็ดเลือดขาวยังไม่ทราบว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย 

จนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เม็ดเลือดขาวจะเริ่มตรวจพบและทําลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ ทำให้เกิดอาการของภาวะตับอักเสบเฉียบพลันได้ คือ มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บใต้ชายโครงขวา มีไข้ต่ำ ตาเหลือง ตัวเหลือง และปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการระยะเฉียบพลันนี้มีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึง 90-95%

ส่วนผู้ที่มีอาการตับอักเสบแบบเรื้อรังมักจะไม่แสดงอาการใดๆ ไม่เหมือนอาการระยะเฉียบพลัน และอาจมีผลการตรวจร่างกายปกติ จึงต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น 

ซึ่งหากเซลล์ตับของผู้ป่วยถูกทำลายมากเข้า ก็จะนำไปสู่โรคตับแข็ง ทำให้มีพังผืดในตับ และเกิดโรคมะเร็งตับตามมาได้ เหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตนั่นเอง

บุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  1. ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือติดเชื้อเอชไอวีมาก่อน
  2. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  3. บุคลากรทางการเเพทย์ซึ่งต้องทำงานสัมผัสกับเลือดหรือบาดแผลของผู้ติดเชื้อไวัรัสตับอักเสบบีโดยตรง
  4. ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีความชุกของโรคสูง
  5. ผู้ป่วยที่ฟอกไตทางหลอดเลือดดำ
  6. ผู้ป่วยเบาหวาน

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

อาการจากโรคไวรัสตับอักเสบแบบเฉียบพลันสามารถทุเลาลงไปได้เองเมื่อพักผ่อนอย่างเพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่มีผู้ป่วยบางรายเชื่อว่าการดื่มน้ำหวานมากๆ จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้ไม่ถูกต้อง และแพทย์ไม่แนะนำ เพราะน้ำตาลจากน้ำหวานนั้นจะกลายเป็นไขมันในตับ ส่งผลให้ตับโตและจุกแน่นกว่าปกติ

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งมักไม่แสดงอาการ แต่อาจตรวจพบจากการตรวจร่างกาย แพทย์จะให้การรักษาโดยฉีดยาอินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ให้ผู้ป่วย โดยต้องฉีดเป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 เดือนจึงจะเห็นผล 

ผู้ป่วยประมาณ 30-40% มีอาการอักเสบของตับและปริมาณไวรัสลดลงจากการใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวยาที่ใช้มีราคาค่อนข้างสูงและมีผลข้างเคียงมาก การใช้ยาจึงควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเท่านั้น 

นอกจากยาฉีดอินเตอร์เฟอรอนแล้ว ยาอีกชนิดหนึ่งที่แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ก็คือยาลามิวูดีน ซึ่งเป็นยาแบบรับประทาน มีประสิทธิภาพพอสมควรและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่หากใช้ไปนานๆ อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ โดยมีโอกาสเกิดเชื้อดื้อยาได้ถึง 20% ตั้งแต่ในปีแรกที่ใช้ และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ 

นอกจากนั้นยานี้จะใช้ไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับปกติ หรือเป็นกลุ่มพาหะ

ทั้งนี้ การดูแลสุภาพร่างกายให้แข็งแรงก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยต่อสู้กับโรค โดยผู้ป่วยโรคนี้ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ 

หากต้องการรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถรับประทานได้ตามปกติ และหากต้องการมีบุตร คุณก็สามารถตั้งครรภ์ได้

อาหารที่ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีควรกิน และไม่ควรกิน

การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและถูกหลักโภชนาการเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อตับ อาหารที่ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีควรรับประทานมีดังนี้ 

  • ผักและผลไม้ปริมาณมากและหลากหลายชนิด
  • ธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ควินัว ข้าวกล้อง
  • โปรตีนไร้มัน เช่น ปลา ไก่ไร้หนัง ไข่ขาว ถั่ว
  • อาหารจากนมไขมันต่ำหรือนมขาดมันเนย
  • ไขมันดีจากถั่วชนิดต่างๆ อะโวคาโด และน้ำมันมะกอก   

ส่วนอาหารที่ผู้ป่วยโรคนี้ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เกิดไขมันสะสมที่ตับ จนกลายเป็นโรคตับแข็ง หรือเกิดแผลที่ตับจนส่งผลให้อาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม ได้แก่

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนย ซาวครีม อาหารจากนมไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารจำพวกทอดทั้งหลาย
  • อาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมในปริมาณมาก
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม เค็ก คุกกี้ 
  • แอลกอฮอล์

นอกจากนี้คุณควรดื่มน้ำให้มาก ถ้าจะให้ดีควรดื่มน้ำเปล่า หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างกาแฟ ชา หรือน้ำอัดลม

เราจะป้องกันไวรัสตับอักเสบบีได้อย่างไร 

1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง 

ได้แก่ การเจาะหรือสักลายผิวหนังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้สามารถติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ทั้งสิ้น 

2. หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีควรแจ้งให้แพทย์ทราบ  

เพื่อประเมินว่ามีความจําเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อผ่านแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ 

3. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันจากการติดเชื้อทั้งไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบดี เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดีจะป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีด้วยเสมอ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ แต่ไม่มีสำหรับไวรัสตับอักเสบซี และอี

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเริ่มมีใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 และปัจจุบันยังมีวัคซีนรวมที่ป้องกันได้ทั้งไวรัสตับอักเสบเอ และตับอักเสบบี แต่วัคซีนนี้ต้องฉีดรวมทั้งหมด 3 ครั้ง ในระยะเวลา 6 เดือน กรมควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าหลังจากฉีดวัคซีนจนครบทั้ง 3 ครั้ง จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 90% 

ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีนั้นสามารถฉีดได้โดยไม่มีอันตราย และมีโอกาสเกิดอาการแพ้เพียงประมาณ 1 คน ใน 1.1 ล้านคนเท่านั้น

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


98 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ฉีดกี่เข็ม? ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/hbv-vaccine).
ตรวจค่าตับ alt และ ast คืออะไร? ตรวจยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/liver-function-program).
ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ตรวจยังไง เตรียมตัวอย่างไร? อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/hepatitis-b-test).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)