อสุจิคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อสุจิคืออะไร?

การปฏิสนธิเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการสืบพันธุ์ของมนุษย์ และการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประกอบไปด้วยไข่ของเพศหญิงและตัวอสุจิของเพศชาย ซึ่งอสุจิที่ออกมาครั้งละหลายล้านตัวนั้น จะมีเพียง 1 ตัว ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้น จึงมีโอกาสเข้าไปผสมกับไข่ได้ นับว่าเป็นความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้สรรสร้างให้มวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้จริงๆ

อสุจิคืออะไร

อสุจิ (Sperm) เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยวิธีการออสโมซิสในร่างกายของผู้ชาย ตัวอสุจิจะถูกหลั่งออกมาทางอวัยวะเพศขณะที่มีการร่วมเพศ พร้อมกับน้ำเลี้ยงก็คือน้ำอสุจิ โดยการหลั่งในแต่ละครั้งจะมีตัวอสุจิแค่เพียง 1% เท่านั้น ส่วนที่เหลือคือน้ำอสุจิและน้ำหล่อลื่น ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่างๆ ที่เป็นพลังงานให้อสุจิสามารถเดินทางไปยังไข่และเข้าปฏิสนธิกันได้ หากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นเมื่อใดจะหมายถึงมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะรูปร่างของอสุจิ

ตัวอสุจิของมนุษย์ (Spermatozoan) มีลักษณะรูปร่างเหมือนตัวอ่อนของกบ ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ส่วนหัว มีนิวเคลียสและเอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยผนังหุ้มเซลล์ไข่ ในนิวเคลียสจะมีโครโมโซมสืบพันธุ์อยู่ด้วย มีส่วนหน้าของส่วนหัวที่เรียกว่าอะโครโซม (Acrosome) ส่วนนี้จะทำหน้าที่เจาะผนังของเซลล์ไข่ สำหรับเอนไซม์ที่บรรจุไว้นั้น ได้แก่ ไฮยาลูโรนิเดส โปรทีเอส และอะโครซิน
  • ส่วนคอและตัว มีลักษณะรูปร่างเป็นแท่ง ทำหน้าที่ให้พลังงาน
  • ส่วนหาง มีไมโครทูบูลและไมโตคอนเดรีย ทำหน้าที่เป็นพลังงานเพื่อให้อสุจิเคลื่อนที่ โดยหางจะคอยแหวกว่ายโบกให้เคลื่อนตัวไปหาเซลล์ไข่

น้ำอสุจิและกระบวนการหลั่งน้ำอสุจิเป็นอย่างไร

น้ำอสุจิจะเกิดการหลั่งออกมาได้ก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศ ท่อนำอสุจิ (Vas Deferens) จะทำหน้าที่ขับอสุจิ ไปยังท่อปัสสาวะ (Urethra) จากนั้นต่อมสร้างน้ำอสุจิ (Seminal Vesicles) จะปล่อยของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิ ถ้ามีการเร้าอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น ท่อปัสสาวะจะส่งสัญญาณไปที่ไขสันหลัง เพื่อสั่งให้กล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะเพศทำงาน

เมื่อถึงจุดสุดยอดจะมีการหลั่งน้ำอสุจิ และกระบวนการหลั่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพียง 0.8 วินาที เท่านั้น น้ำอสุจิจะมีลักษณะเป็นลิ่มสีขาวหรือสีเทาคล้ายเยลลี่ และหลังจากนั้นจะมีลักษณะกลายเป็นของเหลว

หากอสุจิมีสีที่แตกต่างไปจากนี้ เช่น สีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองเขียว ถือว่าเป็นความผิดปกติที่ต้องไปพบแพทย์ ปริมาณที่หลั่งออกมาในแต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 2 – 5 มิลลิลิตร โดยไม่ควรมีปริมาณน้อยกว่า 1.5 มิลลิลิตร หรือมากกว่า 5.5 มิลลิลิตร และจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการหลั่งด้วย ถ้าเกิดการหลั่งบ่อยๆ ปริมาณน้ำอสุจิก็จะลดลง แต่ถ้าไม่มีการหลั่งเลย จะทำให้ปริมาณและความเข้มข้นของตัวอสุจิมากขึ้นตามไปด้วย

ส่วนประกอบของน้ำอสุจิและอายุของน้ำอสุจิ  

ในน้ำอสุจิจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักคือน้ำ กรดอะมิโน โปรตีน น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส อีกทั้งยังมีแร่ธาตุ กับวิตามินต่างๆ เช่น แคลเซียม ซิงค์ และวิตามินซีที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้อยู่รอดไปได้ โดยมีรสชาติตามรสชาติของอาหารที่บุคคลนั้นรับประทานเข้าไป

หลังการหลั่งน้ำอสุจิออกมา อายุของตัวอสุจิจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อย่างเช่นอยู่บนพื้นที่แห้งก็จะตาย แต่จะมีอายุมากขึ้นเมื่ออยู่ในน้ำ รวมทั้งตัวอสุจิจะมีชีวิตได้ดีในที่อุ่นและชื้นแฉะ และสามารถอยู่ในช่องคลอดของผู้หญิงได้ประมาณ 2 – 3 วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อสุจิและน้ำอสุจิจะต้องมีปริมาณเท่าใดจึงจะเกิดปฏิสนธิได้ง่าย

ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ในการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งควรจะต้องมีตัวอสุจิที่สามารถเคลื่อนไหวได้ 40% โดยมีตัวที่เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว 32% มีตัวอสุจิที่สมบูรณ์ 4%ขึ้นไป และปริมาณน้ำอสุจิก็ควรหลั่งให้อยู่ในปริมาณมากกว่า 1.5 Ml. และมีตัวอสุจิมากกว่า 15 ล้านตัว จึงจะทำให้เกิดการปฏิสนธิได้ง่าย

การมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์จะส่งผลให้ตัวอสุจิมีความแข็งแรง และมีปริมาณอสุจิมากพอที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิได้ง่าย ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิด รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่เครียด และหมั่นออกกำลังกาย ก็จะช่วยให้ผู้ชายมีอสุจิที่พร้อมต่อการปฏิสนธิแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

Semen analysis ตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิเพื่อวิเคราะห์สาเหตุมีบุตรยาก


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)