Semen analysis ตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิเพื่อวิเคราะห์สาเหตุมีบุตรยาก

Semen analysis การตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิในห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุมีบุตรยากในฝ่ายชาย
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Semen analysis ตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิเพื่อวิเคราะห์สาเหตุมีบุตรยาก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Semen analysis เป็นการเก็บตัวอย่างอสุจิ เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของน้ำอสุจิในห้องปฏิบัติการ มุ่งเน้นไปที่การหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากในเพศชาย
  • เมื่อเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิไปแล้ว สิ่งที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะตรวจสอบจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนที่ของอสุจิ โดยใช้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ การตรวจด้วยตาเปล่า (Macroscopic examination) และตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination)
  • วิธีเก็บน้ำอสุจิที่ถูกต้อง จะต้องงดเพศสัมพันธ์หรือหลั่งน้ำอสุจิก่อนการตรวจประมาณ 2-5 วัน ล้างมือให้สะอาด เก็บโดยการช่วยตัวเองใส่ภาชนะที่ปลอดเชื้อโรค และนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมง โดยห้ามใส่ตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งเด็ดขาด
  • นอกจากวิเคราะห์สาเหตุการมีบุตรยากในเพศชายแล้ว การตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของน้ำอสุจิยังใช้เป็นวิธีตรวจผลสำเร็จของการทำหมันถาวรอีกด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยาก

ผู้ที่พยายามมีลูก โดยมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 วัน ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ แต่ก็ยังไม่สมหวังเสียที เข้าข่ายผู้มีบุตรยาก วิธีที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์สาเหตุอย่างแน่ชัด เพื่อจะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด 

สำหรับฝ่ายชาย ปัญหามีบุตรยากอาจเกิดจากอสุจิ (Sperm) เช่น อาจมีจำนวนน้อย ไม่สมบูรณ์ มีการเคลื่อนที่ผิดปกติ ฯลฯ ทำให้ไม่สามารถเข้าผสมกับไข่ของเพศหญิงได้ตามปกติ ซึ่งจะสามารถทราบได้ด้วยการเก็บตัวอย่างแล้วทำการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า "Semen analysis"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Semen analysis ใช้วิธีอะไรบ้าง?

เมื่อเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิไปแล้ว สิ่งที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะตรวจสอบจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนที่ของอสุจิ โดยใช้ 2 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้

1. ตรวจด้วยตาเปล่า (Macroscopic examination) 

เป็นการตรวจดูลักษณะของน้ำอสุจิ ดังนี้

  • การละลายตัวของน้ำเชื้อ (Liquefaction) ตามปกติน้ำอสุจิลักษณะจะเป็นสารกึ่งเหลวกึ่งแข็ง (Semisolid) แต่เมื่อวางทิ้งไว้จะละลายการเป็นของเหลว การละลายของน้ำเชื้อจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะละลายภายใน 15 นาที
  • ความหนืด (Viscosity) แสดงถึงปริมาณมูก (mucous) ซึ่งปกติหลังจากทิ้งไว้ให้น้ำอสุจิละลาย แล้วนำไปทดสอบความหนืดโดยการดูดด้วยปิเปตต์ (Pipette) และปล่อยหยดลงตามแรงโน้มถ่วงโลก น้ำอสุจิจะยืดยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร
  • ปริมาณ (Volume) ปริมาณของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาควรมากกว่าหรือเท่ากับ 2-6 มิลลิลิตร ปริมาณของน้ำอสุจิที่น้อยกว่าปกติอาจเกิดเพราะการอุดตันของท่อนำอสุจิ หรือมีภาวะหลั่งอสุจิกลับสู่กระเพาะปัสสาวะ หากมากเกินไป จะสัมพันธ์กับภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณอัณฑะ หรือภายหลังจากงดร่วมเพศเป็นเวลานาน
  • ความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้ำอสุจิมีความเป็นด่างอ่อนๆ ค่า pH ปกติมักมากกว่าหรือเท่ากับ 7.2 หากน้อยกว่านี้ อาจมีการหลั่งของเหลวจากต่อมลูกหมากมากกว่าปกติ แต่ถ้าหากมากเกินไป เช่น มี pH มากกว่า 8.5 อาจมีการติดเชื้อ

2. ตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) 

ทำเพื่อตรวจหาปริมาณและคุณภาพของอสุจิอย่างละเอียด ซึ่งสิ่งที่จะตรวจมีดังนี้

  • ปริมาณอสุจิ (Sperm concentration) ค่าปกติมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 15 ล้านเซลล์/มิลลิลิตร
  • การเคลื่อนที่ของอสุจิ (Motility) เป็นการดูอสุจิที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยค่าปกติมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 40%
  • รูปร่างของอสุจิ (Morphology) เป็นการดูรูปร่างลักษณะของอสุจิ โดยการย้อมสีแล้วดูลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูลักษณะของหัว คอ และหางของอสุจิว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) อสุจิที่รูปร่างสมบูรณ์ควรมีอย่างน้อย 4% ขึ้นไป จึงนับว่าปกติ

วิธีเก็บน้ำอสุจิที่ถูกต้อง

เพื่อให้ผลการตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิ หรือ Semen analysis ออกมาอย่างถูกต้อง แม่นยำ มีการปนเปื้อนน้อยที่สุด ก่อนและระหว่างเก็บน้ำอสุจิควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. งดการมีเพศสัมพันธ์ุหรือหลั่งน้ำอสุจิก่อนการตรวจ อย่างน้อย 2-3 วัน เพราะหากมีการหลั่งอสุจิออกมาก่อนการตรวจ อาจส่งผลให้ปริมาณอสุจน้อยกว่าความเป็นจริงได้ 
  2. ไม่ควรงดหลั่งเกิน 7 วัน เพราะอสุจิที่ได้มาอาจจะพบเซลล์ที่ตายมากกว่าปกติ ทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
  3. ล้างมือและอวัยวะเพศให้ด้วยสบู่ให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ก่อนการเก็บน้ำอสุจิ
  4. เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเอง (Masturbation) ใส่ในภาชนะที่ปลอดเชื้อโรค
  5. เมื่อเก็บเสร็จนำส่งห้องปฏิบัติการทันที แต่ถ้าเก็บน้ำอสุจิมาจากบ้าน ให้นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมง โดยห้ามใส่ตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งเด็ดขาด

*ห้ามใช้ถุงยางอนามัยในการเก็บน้ำอสุจิ เนื่องจากถุงยางมีสารหล่อลื่นที่ทำให้อสุจิตายได้

ประโยชน์อย่างอื่นของการตรวจ Semen analysis

นอกจากวิเคราะห์สาเหตุการมีบุตรยากในเพศชายแล้ว การตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของน้ำอสุจิยังใช้เป็นวิธีตรวจผลสำเร็จของการทำหมันถาวรอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปริมาณอสุจิสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของฝ่ายชาย ดังนั้นหากตรวจแล้วมีความผิดปกติของค่าต่างๆ ภายใน 4-6 สัปดาห์ควรมาตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันคุณภาพของอสุจิ ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิอยู่ที่ประมาณ 900-2,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการมีบุตรยากในผู้ชายอาจลึกลงไปได้ถึงระดับ DNA

อ่านเพิ่มเติม: DNA ในอสุจิแตกหัก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจ Semen analysis

หากมีความผิดปกติ มีอัญฑะลูกเดียวแต่เกิด จะสามารถตรวจได้หรือไม่?
คำตอบ: สามารถตรวจได้ตามปกติ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยาก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO laboratory manual for the examination and processing of human semen. (2010). (http://whqlibdoc.who.int/publications/2010/9789241547789_eng.pdf)
S. S. Vasan, Semen analysis and sperm function tests: How much to test? (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3114587/), January-March 2011.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)