DNA ในอสุจิแตกหัก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก

ความสำคัญทางคลินิกและวิธีการตรวจการแตกหักของ DNA ในอสุจิ (Sperm DNA Fragmentation) แบบต่างๆ รวมถึงการเตรียมตัวก่อนตรวจ
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
DNA ในอสุจิแตกหัก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก

หลายคนน่าจะรู้จักการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen analysis) เป็นการตรวจประเมินคุณภาพของอสุจิเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย แต่การตรวจดังกล่าวไม่สามารถบอกถึงการทำงานของอสุจิ หรือใช้ในการทำนายความสำเร็จในการทำเทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ (ART) ได้ทั้งหมด เพราะการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิไม่สามารถบอกระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใน DNA ของอสุจิได้

DNA ในอสุจิสำคัญอย่างไร?

DNA (Deoxyribonucleic acid) คือสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลขนาดใหญ่ ที่บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นหาก DNA มีการแตกหักหรือเสียหาย จะส่งผลให้เซลล์มีการทำงานที่ผิดปกติ เมื่อมีการแบ่งเซลล์ ลักษณะที่ผิดปกตินี้จะถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดการกลายพันธุ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อสุจิเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายที่มีหน้าที่ในการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสู่รุ่นลูก ดังนั้นระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นใน DNA ของอสุจิ (Sperm DNA damage) ก็จะส่งผลทำให้อัตราการปฎิสนธิลดลง อัตราการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง และมีอัตราการแท้งสูงขึ้นด้วย

DNA ในอสุจิแตกหักได้อย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้ DNA ในอสุจิแตกหัก (Sperm DNA Fragmentation) มีหลายประการด้วยกัน เช่น การเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative stress) ซึ่งเป็นภาวะที่อสุจิมีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานของอสุจิ จนเกิดการแตกหักของ DNA ในที่สุด

นอกจากนี้อายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ และมลพิษในสิ่งแวดล้อม ก็สามารถทำให้ DNA เกิดความเสียหายและแตกหักได้

วิธีการตรวจวัด Sperm DNA fragmentation

การตรวจ Sperm DNA fragmentation สามารถตรวจได้หลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณงานของในแต่ละโรงพยาบาล โดยวิธีที่ใช้ในการตรวจ Sperm DNA fragmentation ในปัจจุบันมีดังนี้ 

เทคโนโลยี
วิธีการตรวจ
ข้อดี
ข้อเสีย
SCD กล้องจุลทรรศน์แบบไบรท์ฟิลด์ (Bright field microscope) - เป็นเทคนิคที่ง่าย





- มีความแม่นยำ





- ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่จำเพาะ





- ผลการทดสอบใกล้เคียงกับ SCSA
- ใช้เวลานาน (3 ชั่วโมง)





- ต้องใช้ปริมาณอสุจิมากกว่า 500 เซลล์
SCSA เทคนิค Flow cytometry - ใช้เวลาตรวจรวดเร็ว





- มีความแม่นยำ





- ค่าความไวสูง โอกาสในการตรวจแล้วเป็นผลลบลวง (False negative) มีน้อย





- ตรวจอสุจิที่แช่แข็งได้
- ต้องใช้อุปกรณ์ที่จำเพาะและราคาสูง





- การแปลผลมีความซับซ้อน ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
TUNEL - กล้องจุลทรรศน์แบบไบรท์ฟิลด์





- เทคนิค Flow cytometry





- กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์
- ตรวจผู้ที่ปริมาณอสุจิน้อยได้หรืออสุจิที่ได้จากการเก็บจากอัณฑะ





- ลดค่าใช้จ่ายโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบไบรท์ฟิลด์
- ใช้เวลานาน (3 ชั่วโมง)





- ค่าที่ได้มีความแปรปรวนสูง





- ไม่สามารถตรวจอสุจิที่ยังไม่โตเต็มที่ได้(Immature spermatozoa)
COMET กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์ (Fluorescence microscope) - สามารถบอกปริมาณ DNA ที่มีการแตกหัก





- ให้ผลการตรวจใกล้เคียงกับ TUNEL และ SCSA
- ต้องใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ที่จำเพาะในการตรวจ





-ใช้เวลานาน





- ค่าความไวต่ำ

ใครบ้างควรตรวจ Sperm DNA Fragmentation?

ผู้ชายที่ตรงกับเงื่อนไขต่อไปนี้ และอยากมีบุตร ควรเข้ารับการตรวจ

  1. มีอายุมากกว่า 40 ปี
  2. มีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุมานานกว่า 6 เดือน
  3. ชอบใส่ชุดที่รัดแน่น
  4. เคยมีประวัติเป็นมะเร็งหรือมีการรักษาด้วยการฉายรังสี หรือเคมีบำบัด  
  5. มีประวัติสัมผัสสารเคมีหรือสารที่มีพิษ 
  6. เคยติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
  7. มีการรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ บริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ หรือมีภาวะน้ำหนักเกิน
  8. คู่สมรสมีประวัติการแท้งหลายครั้ง

วิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจ Sperm DNA Fragmentation

เพื่อให้การตรวจการแตกหักของ DNA ในอสุจิมีความแม่นยำมากที่สุด ผู้รับการตรวจควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

  1. งดการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการหลั่งอสุจิด้วยวิธีการใดๆ อย่างน้อย 2-3 วัน หรือไม่ควรเกิน 7 วัน
  2. ควรงดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเก็บน้ำอสุจิ
  3. ล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง ก่อนการเก็บน้ำอสุจิ
  4. เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเอง (Masturbation) ใส่ลงในภาชนะที่ปราศจากเชื้อโรคที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ ระหว่างการเก็บหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสภายในภาชนะเก็บน้ำอสุจิ
  5. ห้ามเก็บโดยใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากถุงยางอนามัยมีสารหล่อลื่น ซึ่งสามารถทำให้อสุจิตายได้
  6. หากเก็บน้ำอสุจิจากบ้าน ให้เก็บใส่ภาชนะที่สะอาด และนำส่งโรงพยาบาลหรือคลินิกภายใน 1 ชั่วโมง ในการขนส่งน้ำอสุจิห้ามแช่เย็นเด็ดขาด เพราะจะทำให้อสุจิตาย

การตรวจการแตกหักของ DNA ในอสุจิ หรือ Sperm DNA fragmentation ร่วมกับการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen analysis) จะช่วยให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการมีบุตรยากในเพศชายและรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรงและสมบูรณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Semen analysis ตรวจความสมบูรณ์น้ำอสุจิเพื่อวิเคราะห์สาเหตุมีบุตรยาก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pourmasumi S, Sabeti P, Rahiminia T, Mangoli E, Tabibnejad N, Talebi AR. The etiologies of DNA abnormalities in male infertility: An assessment and review. Int J Reprod Biomed (Yazd). 2017 Jun;15(6):331-344.
Küçük N. Sperm DNA and detection of DNA fragmentations in sperm. Turk J Urol. 2018 Jan;44(1):1-5.
Kim GY. What should be done for men with sperm DNA fragmentation? Clin Exp Reprod Med. 2018 Sep;45(3):101-109.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป