กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ผิวสวยด้วย “ควินัว” ซุปเปอร์ฟู้ดที่มีดีมากกว่าที่คิด

อีกด้านของควินัว อาหารซุปเปอร์ฟู้ดที่คนรักสุขภาพเลือกทาน กับสรรพคุณเสริมสร้างผิวสวยที่ต้องลอง
เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผิวสวยด้วย “ควินัว” ซุปเปอร์ฟู้ดที่มีดีมากกว่าที่คิด

ควินัวเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารที่โด่งดังไปทั่วไปโลก โดยเฉพาะในหมู่ผู้รักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากควินัวจะอุดมไปด้วยพลังงานแล้วยังเป็นแหล่งของกรดอะมิโนจำเป็นและไฟเบอร์ ด้วย มีหลายคนที่อาจยังไม่รู้ว่า ควินัวยังสามารถนำมาใช้บำรุงผิวภายนอกได้อีกด้วย 

รู้จักควินัว

ควินัว (Quinoa) เป็นธัญพืชชนิดหนึ่งที่มีตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเป็นที่รู้จักของชาวอินคาในฐานะ "แม่ของเมล็ดธัญพืช" ควินัวมีสายพันธุ์หลายร้อยชนิด แต่สายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดคือ ควินัวสีขาว สีแดง และสีดำ

ควินัว 100 กรัม ให้พลังงาน 120 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ไฟเบอร์ หรือเส้นใยอาหาร โฟเลต ฟอสฟอรัส ทองแดง แมงกานีส ธาตุเหล็ก

ประโยชน์ของควินัวที่มีต่อผิว

ควินัวมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อผิวหลายแง่มุม เช่น มีสารที่เรียกว่า ไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของอิลาสติน (Elastin) และคอลลาเจน (Collagen) คิวนัวจึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์ต้านความชราจากธรรมชาติ 100% การรับประทานควินัวเป็นประจำจึงช่วยยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผิวและช่วยให้ผิวแข็งแรงได้ 

1. ซ่อมแซมผิวที่เสียหาย

ควินัวมีความสามารถในการช่วยผลิตคอลลาเจนจึงช่วยเร่งกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่โดยจะส่งโปรตีนและสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูงเข้าไปในเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากแสงอาทิตย์และสารพิษได้

2. ช่วยฟื้นฟูผิวที่ระคายเคือง

ควินัวมีวิตามิน บี3 หรือที่เรียกว่า ไนอะซิน-อะไมด์ (Niacin-Amide) ช่วยบรรเทาการระคายเคืองและรอยแดงในผู้ที่ผิวมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือผิวมีแนวโน้มแพ้ง่าย การใช้ควินัวกับผิวจะช่วยรักษาการผลิตน้ำมันตามธรรมชาติที่ผิว หลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาผิวขาดน้ำ หรือผิวแห้ง แถมยังมีสารประเภทซาโปนิน (Saponin) ที่ทำปฏิกิริยากับคอเลสเตอรอลใต้ชั้นผิวหนังทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

3. ช่วยรับมือกับสิว

ควินัวมีสารต้านการอักเสบและสารที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวซึ่งสามารถช่วยรักษาสิวได้ การใช้ควินัวทาผิวจะช่วยลดสิ่งสกปรกในรูขุมขนและลดขนาดของสิวได้

4. ป้องกันผิวแก่ก่อนวัย

ควินัวสามารถช่วยยับยั้งผลกระทบที่เกิดจากอนุมูลอิสระ จึงทำให้ช่วยป้องกันการเกิดจุดด่างดำ ริ้วรอย และสัญญาณความชราภาพอื่นๆ ได้ นอกจากนี้สารไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) หรือที่เรียกว่า สารพฤกษาเคมี ซึ่งพบได้เฉพาะในพืชผักผลไม้ ไฟโตเคมิคอลจะช่วยสร้างเกราะป้องกันรอบๆ เซลล์ ทำให้ลดความเสียหายที่มีต่อความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ อีกทั้งยังมีสารซาโปนิน (Saponin) ปริมาณมาก ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย

5. ลดจุดด่างดำ

วิตามินบีคอมเพล็กซ์ในควินัวสามารถช่วยลดจุดด่างดำตามจุดต่างๆ บนใบหน้าได้ นอกจากนี้ยังมีตัวยับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine Kinases) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยลดจุดด่างดำ

วิธีใช้ควินัวกับใบหน้า

สามารถหาซื้อควินัวได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป หรือร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ก่อนนำคิวนัวมาใช้ให้นำไปแช่ในน้ำร้อนก่อนซึ่งจะช่วยทำความสะอาดคิวนัวและทำให้อ่อนนุ่มลง

ส่วนผสม

  • น้ำ ½ ถ้วย (125 มิลลิลิตร)
  • ควินัว 5 ช้อนโต๊ะ (60 กรัม)
  • น้ำผึ้ง 3 ช้อนโต๊ะ (75 กรัม)

วิธีเตรียม

  • อุ่นน้ำให้ร้อนแล้วใส่ควินัวบดลงไป
  • เมื่อน้ำเริ่มเดือดให้คุณใส่ควินิวลงไป และปล่อยทิ้งไว้ 20 นาที
  • หลังจากที่น้ำอุ่น หรือเย็นลงแล้ว ให้คุณเติมน้ำผึ้งลงไป
  • นำมาทาให้ทั่วใบหน้า ปล่อยทิ้งไว้ 20 นาที และนวดเป็นแนววงกลมอย่างอ่อนโยน เพื่อให้ซึมเข้าผิว
  • ล้างออกด้วยน้ำเปล่า 

ทำเช่นนี้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

ทางเลือกอื่นๆ

หากต้องการใช้ควินัวขัดผิวไม่ต้องนำไปบด เพราะวิธีนี้คือการทำเป็นบอดี้สครับ (Body scrub) เพื่อให้กำจัดเซลล์ผิวที่ตายลงและสิ่งสกปรกออกไป

ส่วนผสม

  • ควินัว 2 ช้อนโต๊ะ (24 กรัม)
  • น้ำมันอาร์แกน 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

วิธีเตรียม

  • ผสมควินัวและน้ำมันอาร์แกนจนได้เนื้อที่เหนียวและยังเป็นเมล็ด
  • นำมาทาให้ทั่วใบหน้าและนวดเป็นแนววงกลมเบาๆ
  • ปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที แล้วค่อยล้างออก
  • ทำเช่นนี้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง

ข้อควรระวัง

เนื่องจากควินัวมีสารซาโปนินที่เปลือกปริมาณมากซึ่งเอาไว้ป้องกันแมลง ดังนั้นเมื่อรับประทานในปริมาณมากอาจมีการเกิดการระเคืองกระเพาะอาหารเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ควินัวยังมีสารประเภทออกซาเลท (oxalate) มาก ซึ่งเป็นหนึ่งในสารก่อนิ่ว ถึงแม้ว่า ส่วนเมล็ดที่รับประทานจะมีสารออกซาเลทไม่มากเท่ากับส่วนของใบ แต่ก็ยังไม่แนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับนิ่วในไต หรือนิ่วทางเดินปัสสาวะรับประทานควินัว

เมื่อรู้แล้วว่า ควินัวมีประโยชน์อย่างไร อย่าลืมลองนำสูตรที่แนะนำข้างต้นไปลองทำตาม ไม่แน่ว่า คุณอาจติดใจจนลืมสกินแคร์ที่เคยใช้อยู่ก็ได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Megan Ware RDN LD. (2018). Health benefits of quinoa (https://www.medicalnewstoday.com)
IlonaJurek. (2019). Effect of saponins from quinoa on a skin-mimetic lipid monolayer containing cholesterol. Steroids Volume 147, July 2019, Pages 52-57
Jin Hwa Park, Yun Jin Lee, Yeon Ho Kim. (2017). Antioxidant and Antimicrobial Activities of Quinoa (Chenopodium quinoa Willd.) Seeds Cultivated in Korea. Prev Nutr Food Sci. 2017 Sep; 22(3): 195–202.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป