กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

นิ่วในถุงน้ำดี

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 14 นาที
นิ่วในถุงน้ำดี

ภาวะนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) คือก้อนขนาดเล็กที่ก่อตัวขึ้นภายในถุงน้ำดี (gallbladder) มักจะเกิดมาจากคอเลสเตอรอล นิ่วส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ และไม่จำเป็นต้องทำการรักษา

อย่างไรก็ตาม หากนิ่วเกิดเข้าไปอุดตันภายในท่อน้ำดี จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดช่องท้องรุนแรงกะทันหัน โดยอาจจะกินระยะเวลานาน  1 ถึง 5 ชั่วโมง อาการปวดท้องประเภทนี้จะเรียกกันว่าปวดเสียดท้อง (biliary colic)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่นการอักเสบของถุงน้ำดี (cholecystitis) ซึ่งจะทำให้เกิด: อาการเจ็บปวดเรื้อรัง ดีซ่าน (jaundice) ไข้ขึ้น

เมื่อนิ่วในถุงน้ำดีก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา แพทย์จะเรียกภาวะเช่นนี้ว่าโรคนิ่วในถุงน้ำดี (gallstone disease หรือ cholelithiasis)

ถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี (gallbladder) คืออวัยวะรูปร่างคล้ายถุงขนาดเล็กที่อยู่ใต้ตับ หน้าที่หลักของถุงน้ำดีคือการกักเก็บและทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น

น้ำดี (Bile) คือของเหลวที่กักเก็บอยู่ภายในถุงน้ำดี และเมื่อเก็บไปช่วงเวลาหนึ่ง น้ำดีจะเข้มข้นขึ้นจนทำให้สามารถย่อยไขมันได้ดี ถุงน้ำดีจะปล่อยน้ำดีเข้าสู่ระบบย่อยอาหารตามความจำเป็น

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะนิ่วในถุงน้ำดี?

คาดกันว่านิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีที่ใช้แต่งเติมน้ำดีภายในถุงน้ำดี กรณีส่วนมากเกิดจากการที่มีคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงเกินไปจนทำให้ก่อตัวกันกลายเป็นนิ่ว

นิ่วในถุงน้ำดีเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก คาดกันว่าผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คนจะประสบกับภาวะนี้ แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณจะมีความเสี่ยงต่อภาวะนิ่วสูงขึ้นหากว่าคุณ: มีน้ำหนักร่างกายมากเกินไปหรืออ้วน เป็นผู้หญิง โดยเฉพาะหากเคยมีบุตรมาก่อน มีอายุ 40 ปีขึ้นไป (ความเสี่ยงต่อภาวะนี้จะสูงขึ้นตามอายุ)

การรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

การรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดีจะดำเนินการตามความจำเป็น เช่นว่า: นิ่วทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่นปวดท้อง นิ่วทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ดีซ่านหรือโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

ในกรณีเช่นนี้ แพทย์มักจะดำเนินการผ่าตัดแบบรูกุญแจ (keyhole surgery) กำจัดถุงน้ำดีออก ซึ่งนับว่าเป็นหัตถกรรมง่าย ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่ำ

คุณสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติแม้จะไม่มีถุงน้ำดี โดยตับของคุณจะยังคงผลิตน้ำดีออกมาย่อยอาหารอยู่ แต่เมื่อไม่มีถุงรองรับ น้ำดีก็จะหยดเข้าสู่ลำไส้เล็กของคุณตลอดเวลาเท่านั้น

ความคาดหวังที่มีต่อโรคนิ่วในถุงน้ำดี

ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีส่วนมากจะรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการผ่าตัด สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงนั้นอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตจากโรคนิ่วในถุงน้ำดีก็ยังนับว่าเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ

อาการของภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากนิ่วเข้าไปอุดตันท่อน้ำดีท่อใดท่อหนึ่ง อาการปวดท้องรุนแรงกะทันหันก็จะเกิดขึ้นมา (biliary colic)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการอื่น ๆ จากภาวะนี้จะเกิดขึ้นตามมาหากการอุดตันเกิดขึ้นรุนแรง หรือเกิดขึ้น ณ ส่วนอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร

อาการเสียดท้องรุนแรง (biliary colic)

นิ่วในถุงน้ำดีทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลันที่มักเป็นยาวนาน 1 ถึง 5 ชั่วโมง (อาจจะสั้นเป็นไม่กี่นาทีก็ได้)

ความเจ็บปวดที่รู้สึกนั้น: เกิดขึ้น ณ ศูนย์กลางหน้าท้อง อยู่ใต้กระดูกซี่โครงด้านขวามือ และอาจจะลามจากตำแหน่งดังกล่าวไปยังด้านข้างหรือสะบักไหล่ได้

ความเจ็บปวดเกิดขึ้นต่อเนื่องและไม่หายแม้คุณจะเข้าห้องน้ำ ผายลม หรือป่วย บางครั้งอาการก็อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการรับประทานอาหารไขมันสูง และระหว่างที่คุณนอนหลับก็ได้

อาการปวดเสียดท้องเกิดขึ้นไม่บ่อย และหลังจากช่วงที่มีอาการเจ็บ อาจจะใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าที่คุณจะประสบกับช่วงเจ็บปวดอีกครั้ง

ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการรุนแรงจนทำให้เหงื่อออกมาก หรือแม้แต่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน

เมื่อนิ่วในถุงน้ำดีทำให้เกิดอาการเจ็บปวดกำเริบเช่นนี้ จะเรียกภาวะนี้ว่า “โรคนิ่วในถุงน้ำดีชนิดไม่ซับซ้อน”

อาการอื่น ๆ

มีผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีจำนวนเล็กน้อยที่ประสบกับปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา ซึ่งเกิดจากการที่นิ่วเข้าไปอุดตันการไหลของน้ำดีเป็นเวลานาน หรือนิ่วเคลื่อนไปยังอวัยวะอื่น ๆ (เช่นตับอ่อนหรือลำไส้เล็ก)

หากเกิดเช่นนี้ขึ้น คุณอาจประสบกับอาการ: มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีความเจ็บปวดเรื้อรังบ่อยขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง (ดีซ่าน) คันผิวหนัง ท้องร่วง หนาวสั่น สับสน ไม่อยากอาหาร

แพทย์จะเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “โรคนิ่วในถุงน้ำดีชนิดซับซ้อน”

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

หากคุณคาดว่าตนเองประสบกับภาวะเจ็บปวดท้องกะทันหันจากนิ่วในถุงน้ำดี คุณควรนัดพบแพทย์ในทันที

และควรติดต่อแพทย์อย่างฉุกเฉินหากว่าคุณเริ่มมี: ดีซ่าน ปวดท้องยาวนานกว่าแปดชั่วโมง ปวดท้องรุนแรงจนไม่สามารถหาท่าทางที่ช่วยบรรเทาได้เลย

สาเหตุของภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

คาดกันว่านิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีที่ใช้ในการเสริมสร้างน้ำดีภายในถุงน้ำดี โดยน้ำดีคือของเหลวที่ผลิตจากตับเพื่อใช้ช่วยกระบวนการย่อยอาหาร

ยังไม่มีใครทราบว่าเหตุใดจึงเกิดความไม่สมดุลเช่นนี้ แต่นิ่วก็สามารถเกิดขึ้นได้หากว่า: มีระดับคอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีมากเกินไป (นิ่วประมาณ 4 ใน 5 เกิดจากคอเลสเตอรอล) มีระดับของเสีย bilirubin ภายในถุงน้ำดีสูง (นิ่วประมาณ 1 ใน 5 เกิดจาก bilirubin)

ความไม่สมดุลทางเคมีทำให้เกิดผลึกขนาดเล็กขึ้นภายในน้ำดี ซึ่งจะค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ (มักใช้เวลานานหลายปี) กลายเป็นก้อนแข็ง ๆ ที่มีขนาดเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าก้อนกรวด

ในบางกรณี จะเกิดนิ่วขึ้นมาเพียง 1 ก้อน แต่ก็มักจะเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ ก้อนเสียมากกว่า

ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะนิ่วในถุงน้ำดีบ้าง?

นิ่วในถุงน้ำดีจะเกิดขึ้นได้ง่ายหากว่าคุณ: เป็นผู้หญิง โดยเฉพาะหากคุณเคยมีบุตรมาก่อน กำลังใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือกำลังบำบัดเอสโทรเจนความเข้มสูง มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักมาก มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีภาวะที่ส่งผลต่อการไหลของน้ำดี เช่นตับแข็ง (cirrhosis) ภาวะท่อน้ำดีแข็งปฐมภูมิ (primary sclerosing cholangitis) หรือ obstetric cholestasis เป็นผู้ป่วยโรคโครห์น (Crohn's disease) หรือกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome - IBS) มีญาติใกล้เคียงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีน้ำหนักร่างกายลดลงในช่วงที่ผ่านมา (ทั้งจากการลดน้ำหนักด้วยตนเองหรือจากการผ่าตัด) กำลังใช้ยาปฏิชีวนะที่ชื่อว่า ceftriaxone

การวินิจฉัยภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีสามารถตรวจพบระหว่างการทดสอบภาวะสุขภาพอื่น ๆ เพราะภาวะนิ่วมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ

แต่หากคุณมีอาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรทำการนัดพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง

การเข้าพบแพทย์

แพทย์จะสอบถามอาการของคุณอย่างละเอียด และอาจดำเนินการทดสอบ Murphy's sign เพื่อช่วยชี้ชัดการอักเสบของถุงน้ำดีของคุณ

ระหว่างการทดสอบนี้ แพทย์จะวางมือหรือนิ้วบนหน้าท้องในตำแหน่งเฉียงไปทางขวาบนและขอให้คุณหายใจเข้า หากคุณรู้สึกเจ็บปวดจะหมายความว่าถุงน้ำดีของคุณมีการอักเสบและต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อมองหาสัญญาณการติดเชื้อ หรือเพื่อตรวจดูว่าตับของคุณทำงานได้ตามปรกติหรือไม่ หากนิ่วเกิดเคลื่อนเข้าไปในท่อน้ำดี ตับของคุณอาจจะทำงานผิดปรกติได้

การทดสอบเพิ่มเติม

หากอาการและผลการทดสอบของคุณบ่งชี้ว่าคุณมีภาวะนิ่วถุงน้ำดี คุณจะถูกจัดเข้ารับการทดสอบเพิ่มเติม ซึ่งคุณอาจต้องเข้าพักในโรงพยาบาลภายในวันเดียวกันนั้นหากอาการของคุณบ่งชี้ถึงโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่รุนแรง

การสแกนอัลตราซาวด์

นิ่วในถุงน้ำดีมักจะตรวจพบได้ด้วยวิธีการสแกนอัลตราซาวด์ (ultrasound scan) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสร้างภาพภายในร่างกายออกมา

การสแกนประเภทนี้จะคล้ายกับการสแกนครรภ์ ที่ซึ่งจะมีการใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า transducer ประกบบนผิวหนังและเคลื่อนไปตามพื้นผิวหน้าท้องของคุณ

คลื่นเสียงจะถูกปล่อยออกจาก transducer ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกาย ก่อนจะสะท้อนกลับเมื่อต้องกับเนื้อเยื่อของร่างกายจนได้ออกมาเป็นภาพปรากฏบนหน้าจอ กระบวนการนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดและใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์

เมื่อทำการวินิจฉัยพบนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว ข้อมูลที่ได้ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่านิ่วได้เคลื่อนเข้าไปในท่อน้ำดีแล้วหรือไม่อยู่ดี

บางกรณีกระบวนการนี้ก็อาจจะแสดงให้เห็นนิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดี แต่หากไม่แต่ผลการทดสอบอื่น ๆ ได้บ่งชี้ว่าท่อน้ำดีของคุณก็อาจจะได้รับผลกระทบจากนิ่วด้วย แพทย์อาจต้องจัดให้คุณเข้ารับการสแกน MRI หรือการถ่ายภาพรังสีท่อน้ำดี (cholangiography) เพิ่มเติม

การสแกน MRI

การสแกนคลื่นแม่เหล็กสะท้อน (magnetic resonance imaging - MRI) สามารถใช้เพื่อมองหานิ่วในท่อน้ำดีได้ โดยการสแกนประเภทนี้จะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังสูงกับคลื่นวิทยุสร้างภาพภายในร่างกายออกมา

การถ่ายภาพรังสีท่อน้ำดี

กระบวนการถ่ายภาพรังสีท่อน้ำดี (cholangiography) จะมีการใช้สารสีที่ปรากฏบนฟิล์มเอกซเรย์ชัดเจนกับท่อน้ำดี โดยสารดังกล่าวจะถูกฉีดเข้าสู่กระแสเลือด หรือฉีดเข้าไปในท่อน้ำดีโดยตรง โดยอาจดำเนินการระหว่างการผ่าตัดหรือการสอดกล้อง (endoscope) ทางช่องปากก็ได้

หลังการฉีดสารสี แพทย์จะทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อเก็บข้อมูลความผิดปรกติในท่อน้ำดีและระบบตับอ่อนของคุณ หากถุงน้ำดีและระบบน้ำดีของคุณทำงานได้ตามปกติ สารสีจะถูกดูดซึมเข้าไปในตำแหน่งที่ควรจะเป็น (ในตับ ท่อน้ำดี ลำไส และถุงน้ำดี)

หากพบการอุดตันระหว่างการทดสอบดังกล่าว แพทย์จะพยายามแก้ไขตำแหน่งอุดตันด้วยการใช้กล้อง endoscope หรือกระบวนการ endoscopic retrograde cholangio-pancreatography (ERCP)

การสแกน CT

การสแกนคอมพิวเตอร์ (computerised tomography - CT) สามารถดำเนินการเพื่อมองหาภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดีได้ เช่นภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน การสแกนประเภทนี้จะเป็นการถ่ายชุดภาพเอกซเรย์จากหลาย ๆ มุม

การสแกนประเภทนี้สามารถดำเนินการกับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการวินิจฉัยอาการปวดท้องรุนแรงได้

การรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

แผนการรักษาของคุณจะขึ้นอยู่กับว่าอาการต่าง ๆ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร

หากคุณไม่มีอาการจากนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์มักจะแนะนำให้จับตาดูอาการต่าง ๆ ไปก่อน ซึ่งหมายความว่าคุณจะไม่ได้รับการรักษาในทันที แต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณสังเกตว่ามีอาการจากโรคขึ้นมา

โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งคุณมีช่วงที่ไม่มีอาการใด ๆ นานเท่าไร โอกาสที่ภาวะนิ่วจะทรุดลงจะมีน้อยลงเท่านั้น กระนั้นคุณอาจจำต้องเข้ารับการรักษาหากคุณมีภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น: แผลที่ตับ (ภาวะตับแข็ง) ความดันโลหิตภายในตับสูง: เรียกภาวะนี้ว่า portal hypertension และมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (alcohol-related liver disease) เบาหวาน (diabetes)

การรักษามักจะแนะนำหากผลการสแกนแสดงให้เห็นระดับแคลเซียมในถุงน้ำดีที่สูงเกินไป เพราะอาจเป็นต้นเหตุนำไปสู่โรคมะเร็งถุงน้ำดีได้

หากคุณมีอาการปวดเสียดท้อง (biliary colic) การรักษาจะขึ้นอยู่กับว่าความเจ็บปวดนั้นส่งผลอย่างไรต่อการใช้ชีวิตของคุณ หากอาการปวดเกิดขึ้นไม่รุนแรงและไม่บ่อย คุณอาจสามารถใช้ยาแก้ปวดควบคุมอาการและทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้

หากอาการมีความรุนแรงและถี่มาก อาจต้องมีการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกตามความจำเป็น

ถุงน้ำดีไม่ใช่อวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต คุณจะยังคงมีชีวิตที่ปรกติสมบูรณ์ได้แม้จะไม่มีถุงน้ำดี ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดีบางรายอาจประสบกับอาการท้องอืดกับท้องร่วงหลังทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารเผ็ดบ้าง และหากคุณสังเกตว่าอาหารบางประเภทที่ทำให้อาการเกิดขึ้น ก็ควรทำการเลี่ยงอาหารประเภทนั้น ๆ ต่อไปในอนาคต

หัตถกรรมรูกุญแจกำจัดถุงน้ำดี

หากแพทย์แนะนำให้คุณเข้ารับการผ่าตัด คุณมักจะต้องเข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบรูกุญแจ หรือที่เรียกว่า laparoscopic cholecystectomy

ระหว่างหัตถการนี้ แพทย์จะเจาะเข้าหน้าท้องขนาดเล็ก 3 ถึง 4 แผล โดยช่องที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ใกล้กับสะดือ และช่องที่เหลือจะอยู่ทางด้านขวาของหน้าท้องคุณ

หน้าท้องของคุณจะถูกทำให้เบ่งขึ้นด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งการทำเช่นนี้จะไม่เป็นอันตราย และทำให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น

จะมีการสอดกล้อง laparoscope (กล้องขนาดยาวเรียวที่มีไฟฉายและกล้องอยู่ที่ปลาย) สอดไปในช่องเปิดที่หน้าท้องเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นกระบวนการผ่าตัดต่าง ๆ จากหน้าจอ ศัลยแพทย์จะทำการนำถุงน้ำดีออกด้วยเครื่องมือผ่าตัดพิเศษ

หากคาดว่ามีนิ่วติดอยู่ในท่อน้ำดี จะมีการสแกนเอกซเรย์หรืออัลตราซาวด์ท่อน้ำดีระหว่างการผ่าตัด และหากพบนิ่วจริง แพทย์จะดำเนินการนำนิ่วออกระหว่างหัตถกรรมรูกุญแจนั้นเอง หากคุณไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้ได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น การผ่าตัดอาจจะต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดเปิดแทน

หลังจากนำถุงน้ำดีออกแล้ว แก๊สในช่องท้องคุณจะไหลออกทาง laparoscope และแพทย์จะทำการเย็บปิดรอยกรีดด้วยไหมเย็บแผลชนิดละลายได้ก่อนปิดแผลให้เรียบร้อย

หัตถกรรม laparoscopic cholecystectomy มักดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับคนไข้ ซึ่งแปลว่าคุณจะหลับไปตลอดกระบวนการโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด การผ่าตัดนี้จะใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที และคุณสามารถกลับบ้านได้หลังกระบวนการ กระนั้นคุณต้องใช้เวลาประมาณ 10 วันกว่าจะฟื้นตัวสมบูรณ์

หัตถกรรมรูกุญแจชนิดกรีดเปิดเดียว

การผ่าตัดถุงน้ำดีประเภทรูกุญแจแบบเปิดช่องเดียว (Single-incision laparoscopic cholecystectomy) เป็นหัตถกรรมรูกุญแจประเภทใหม่ที่เป็นการกรีดเปิดหน้าท้องเพียงช่องเดียวเล็ก ๆ จนทำให้คุณแทบจะไม่หลงเหลือรอยแผลเป็น

อย่างไรก็ตาม กระบวนการผ่าตัดนี้ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับหัตถกรรมรูกุญแจแบบดั้งเดิม ทำให้ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ อีกทั้งยังเป็นกระบวนการผ่าตัดที่จำกัดอยู่มากเนื่องจากต้องดำเนินการโดยศัลยแพทย์ผู้ช่ำชองเท่านั้น

หัตถกรรมถุงน้ำดีแบบเปิด

หัตถกรรม laparoscopic cholecystectomy อาจไม่เหมาะสมกับคนไข้ทุกคน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณ: กำลังตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาศที่สาม มีน้ำหนักมากเกิน มีโครงสร้างของถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดีที่ผิดปรกติที่ทำให้ดำเนินการผ่าตัดรูกุญแจยากและเป็นอันตราย

ในสถานการณ์เหล่านี้ แพทย์จะจัดการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดแทน ระหว่างหัตถกรรมนี้ แพทย์จะทำการกรีดเปิดช่องท้องขนาด 10-15cm เพื่อเข้าถึงถุงน้ำดี กระบวนการนี้ดำเนินการด้วยยาสลบ ทำให้คุณนอนหลับโดยไม่รู้สึกเจ็บปวดตลอดกระบวนการ

การผ่าตัดแบบเปิดมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการผ่าตัดรูกุญแจ แต่จะมีระยะเวลาฟื้นตัวยาวนานกว่า และมักจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ ผู้ป่วยส่วนมากต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลามากถึง 5 วัน และมักต้องใช้เวลานานกว่า 6 สัปดาห์กว่าจะฟื้นตัวสมบูรณ์

Endoscopic retrograde cholangio-pancreatography (ERCP)

หัตถกรรม Endoscopic retrograde cholangio-pancreatography (ERCP) เป็นกระบวนการผ่าตัดนิ่วออกจากท่อน้ำดี ถุงน้ำดีจะไม่ถูกนำออกมา ดังนั้นนิ่วภายในถุงน้ำดีจะยังคงอยู่นอกจากว่าแพทย์จะดำเนินการผ่าตัดข้างต้น

ERCP คล้ายกับการวินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดี จะมีการใช้ endoscope (ท่อที่มีกล้องและไฟฉายติดอยู่ที่ปลาย) สอดผ่านช่องปากลงไปยังตำแหน่งที่ท่อน้ำดีเปิดสู่ลำไส้เล็ก

อย่างไรก็ตาม กระบวนการ ERCP จะมีการขยายท่อน้ำดีด้วยการกรีดเปิดขนาดเล็ก หรือใช้ลวดความร้อนตัดเปิด นิ่วภายในท่อน้ำดีจะถูกนำออกหรือถูกปล่อยให้ไหลเข้าไปในลำไส้เล็กเพื่อขับออกจากร่างกาย

บางครั้งอาจมีการใช้ท่อขนาดเล็ก (stent) ดามท่อน้ำดีเอาไว้เพื่อช่วยให้นิ่วและน้ำดีไหลผ่านได้ง่ายขึ้น

กระบวนการ ERCP มักดำเนินการด้วยยาระงับประสาท ซึ่งหมายความว่าคุณจะรู้สึกตัวตลอดกระบวนการแต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด

กระบวนการ ERCP มักใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 30 นาที แต่ก็อาจจะทำได้ภายใน 15 นาที หรือยาวนานเป็นหนึ่งชั่วโมงก็ได้ คุณจำต้องให้แพทย์สอดส่องอาการหลังกระบวนการต่อไป ดังนั้นคุณต้องนอนพักที่โรงพยาบาล

การใช้ยาสลายนิ่ว

หากนิ่วในถุงน้ำดีของคุณมีขนาดเล็กและไม่ได้เกิดจากแคลเซียม คุณสามารถใช้ยาเม็ดกรด ursodeoxycholic เพื่อสลายนิ่วนั้น ๆ ได้

อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้ก็มักไม่จัดจ่ายกันเนื่องจาก: มักไม่ได้ผล จำต้องใช้เวลานาน (นานถึง 2 ปี) นิ่วสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้หลังยุติการรักษา

ผลข้างเคียงจากกรด ursodeoxycholic  นั้นพบได้ไม่บ่อยและมักจะไม่รุนแรง โดยผู้ใช้ยาส่วนมากจะรายงานว่าทำให้พวกเขารู้สึกคลื่นไส้และคันผิวหนังเท่านั้น

การใช้กรด ursodeoxycholic จะไม่แนะนำกับสตรีมีครรภ์หรือผู้หญิงที่ต้องให้น้ำนมบุตร อีกทั้งผู้หญิงทั่วไปต้องทำการป้องกันระหว่างการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย หรือยาคุมกำเนิดเอสโทรเจนขนาดต่ำ เพราะยาคุมกำเนิดประเภทอื่นจะได้รับผลกระทบจากกรด ursodeoxycholic

ยาเม็ดกรด ursodeoxycholic มักถูกจัดจ่ายเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดนิ่วถุงน้ำดีกับผู้ที่คาดว่ามีความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น คุณจะได้รับยาประเภทนี้หากว่าคุณมีน้ำหนักลดจากการผ่าตัด หรือมีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วจนอาจทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้น เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีจำนวนน้อยจะประสบกับปัญหาร้ายแรงตามมาหากนิ่วทำให้เกิดการอุดตันหรือเคลื่อนไปยังส่วนอื่นของระบบย่อยอาหาร

การอักเสบของถุงน้ำดี (โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน)

โรคนิ่วในถุงน้ำดีบางกรณีอาจทำให้ท่อน้ำดีเกิดการอุดตันถาวร ซึ่งทำให้น้ำดีเข้าไปสะสมอยู่ภายในถุงน้ำดีจนทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อขึ้นมา

อาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมีดังนี้: เจ็บท้องส่วนบนจนลามไปถึงสะบักไหล่ (ไม่เหมือนกับอาการปวดเสียดท้อง) มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป หัวใจเต้นเร็ว

คาดกันว่าผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน 1 ใน 7 จะประสบกับภาวะดีซ่าน

โรคนี้มักรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะเป็นขั้นตอนแรกก่อนดำเนินการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบรูกุญแจ หัตถกรรมนี้อาจดำเนินการลำบากเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงจนอาจต้องเปลี่ยนไปเป็นการผ่าตัดเปิดแทน

ในบางกรณีภาวะติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เกิดฝีขึ้นบนถุงน้ำดี ซึ่งยาปฏิชีวนะจะไม่สามารถรักษาภาวะฝีได้นอกจากต้องทำการเจาะดูดหนองออกเท่านั้น

บางครั้งอาการอักเสบรุนแรงที่ถุงน้ำดีก็อาจทำให้เกิดการฉีกขาดได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบภายในเยื่อบุช่องท้อง (peritonitis) หากเกิดเช่นนี้ขึ้น คุณจำต้องได้รับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดโดยตรง และอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดกำจัดเยื่อบุที่เสียหายรุนแรงออก

ดีซ่าน

หากนิ่วในถุงน้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าไปในท่อน้ำดีจนอุดกั้นการไหลของน้ำดี จะทำให้เกิดภาวะดีซ่านขึ้นมา โดยมีอาการดังนี้: ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้ม อุจจาระมีสีซีด คันผิวหนัง

บางครั้งนิ่วก็สามารถไหลออกจากท่อได้เอง แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น คุณจำต้องเข้ารับการผ่าตัดนำนิ่วออก

การติดเชื้อที่ท่อน้ำดี (โรคท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน)

หากท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน ท่อจะมีความอ่อนไหวต่อเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาการของโรคท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมีดังนี้: ความเจ็บปวดในช่องท้องส่วนบนจะแล่นขึ้นไปสะบักไหล่ได้ มีไข้สูง ดีซ่าน หนาวสั่น สับสน คันผิวหนัง รู้สึกไม่สู้ดี

ยาปฏิชีวนะจะช่วยรักษาภาวะติดเชื้อต่าง ๆ ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการขับน้ำดีออกจากตับให้ได้ด้วยกระบวนการ  endoscopic retrograde cholangio-pancreatography (ERCP)

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นเมื่อนิ่วจากถุงน้ำดีเคลื่อนออกจากถุงน้ำดีเข้าไปอุดตันช่องเปิดของตับอ่อนจนทำให้อวัยวะตับอ่อนเกิดการอักเสบ

อาการส่วนมากของโรคตับอ่อนอักเสบคืออาการปวดตื้อรุนแรงรอบ ๆ กลางหน้าท้องส่วนบน

อาการปวดจากโรคตับอ่อนอักเสบมักจะค่อย ๆ ทรุดลงจนกว่าจะเป็นอาการปวดต่อเนื่อง อาการปวดนี้อาจแล่นจากหน้าท้องไปตามแผ่นหลัง และคุณอาจจะรู้สึกแย่ลงหลังจากรับประทานอาหาร การเอนตัวไปข้างหน้าหรือคดตัวจะช่วยให้อาการปวดนี้ลดลง

อาการอื่น ๆ ของโรคตับอ่อนอักเสบมีดังนี้: รู้สึกคลื่นไส้ ท้องร่วง อาเจียน ไม่อยากอาหาร มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป กดเจ็บที่หน้าท้อง ดีซ่าน (พบได้ไม่บ่อย)

ยังไม่มีวิธีรักษาโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน มีเพียงการรักษาประคับประคองการทำงานของร่างกายไปจนกว่าภาวะอักเสบจะหายไป

การรักษามักจะเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อให้คุณได้รับ: ของเหลวเข้าเส้นเลือด (intravenous fluids) ยาแก้ปวด ความช่วยเหลือด้านโภชนาการ การให้ออกซิเจนผ่านสายสวนจมูก

เมื่อได้รับการรักษา ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบส่วนมากมักจะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์และจะรู้สึกดีพอจะออกจากโรงพยาบาลได้หลังจากผ่านไป 5-10 วัน

มะเร็งที่ถุงน้ำดี

มะเร็งถุงน้ำดีเป็นโรคหายากแต่ก็นับเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

การมีประวัติเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งถุงน้ำดีขึ้น คาดกันกว่ามีผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีประมาณ 4 จาก 5 คนที่เคยมีประวัติภาวะนิ่วมาก่อน

อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีจะเป็นมะเร็งถุงน้ำดีมีน้อยกว่าหนึ่งใน 10,000

หากคุณมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงอื่น ๆ เช่นมาจากครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งถุงน้ำดี หรือมีระดับแคลเซียมในถุงน้ำดีสูง แพทย์จะแนะนำให้คุณผ่าตัดถุงน้ำดีออกเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน แม้ว่านิ่วจะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ก็ตาม

อาการของมะเร็งถุงน้ำดีจะคล้ายคลึงกับอาการของโรคนิ่วชนิดซับซ้อน ดังนี้: ปวดท้อง มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ดีซ่าน

มะเร็งถุงน้ำดีสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดหลายประเภท เคมีบำบัด และรังสีบำบัด เป็นต้น

Gallstone ileus

ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและหายากอีกหนึ่งจากภาวะนิ่วในถุงน้ำดีคือ Gallstone ileus ซึ่งเป็นภาวะที่ลำไส้เกิดการอุดตันโดยนิ่ว

Gallstone ileus เกิดขึ้นเมื่อช่องที่ผิดปรกติที่เรียกว่า fistula เปิดขึ้นใกล้กับถุงน้ำดีจนทำให้นิ่วสามารถเคลื่อนตัวเข้าไปยัง fistula และเข้าไปอุดตันลำไส้ในที่สุด

อาการของ Gallstone ileus มีดังนี้: ปวดท้อง รู้สึกคลื่นไส้ ท้องบวม ท้องผูก

การอุดตันของลำไส้จำต้องได้รับการรักษาในทันที หากไม่ทำการรักษาจะมีความเสี่ยงต่อการฉีกขาดของลำไส้ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกภายในและทำให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้น

หากคุณคาดการณ์ว่าลำไส้ของคุณอุดตัน ให้รีบติดต่อแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

การผ่าตัดมักจะดำเนินการเพื่อกำจัดนิ่วถุงน้ำดีและแก้ไขการอุดตัน ประเภทของหัตถกรรมจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลำไส้ที่อุดตัน

การป้องกันภาวะนิ่วในถุงน้ำดี

จากหลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัด แพทย์ต่างแนะนำว่าคุณสามารถปรับเปลี่ยนอาหารการกินและลดน้ำหนักเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้

อาหาร

เนื่องจากบทบาทของคอเลสเตอรอลมีส่วนในการก่อตัวของนิ่ว จึงมีคำแนะนำว่าควรเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โดยอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงมีดังนี้: เนื้อสัตว์ ไส้กรอกเนื้อสัตว์ เนย ครีม ชีสแข็ง เค้กและบิสกิต อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม

อาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพเป็นที่แนะนำที่สุด ซึ่งรวมไปถึงการทานธัญพืชรวมและผักผลไม้สดเยอะ ๆ (อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน)

มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการทานถั่วเช่นถั่วลิสงหรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้จริง

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อยสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะนิ่วได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์เพราะอาจไปสร้างความเสียหายกับตับจนทำให้เกิดภาวะสุขภาพอื่น ๆ ได้

การลดน้ำหนัก

การที่คุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกินหรือมีภาวะอ้วน (obese) จะเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วขึ้นเช่นกัน คุณควรควบคุมน้ำหนักของคุณด้วยการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม ควรเลี่ยงอาหารแคลอรีต่ำเพื่อช่วยลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีหลักฐานว่าอาหารเหล่านี้จะไปขัดขวางกระบวนการทางเคมีของน้ำดีและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วขึ้น คุณควรวางแผนลดน้ำหนักลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะดีที่สุด


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gallstones: Treatments, symptoms, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/153981)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป