หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง คุณอาจอยากตื่นตัวมากกว่าปกติ เพราะการที่รู้จักอาการเตือนของโรคมะเร็งนั้นจะป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามหรือแพร่กระจายมากขึ้นและคุณควรรู้ว่าอาการเหล่านี้สามารถเป็นอาการที่เกิดจากภาวะอื่นๆ ได้ เช่นโรคติดเชื้อหรือปัจจัยภายนอก เป็นต้น
โรคมะเร็งแต่ละชนิดและอาการที่พบ
มีอาการเตือนของโรคมะเร็งได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็งที่เป็น หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งที่ไต อาจพบเลือดออกในปัสสาวะ มีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือปัสสาวะมากกว่าปกติ อาการนี้อาจพบได้ในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- มะเร็งเต้านม คลำพบก้อน มีอาการคัน แดง หรือเจ็บบริเวณเต้านม ซึ่งไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ การให้นมบุตร หรือการมีประจำเดือน แต่ก้อนที่คลำได้อาจไม่ใช่มะเร็งก็ได้
- มะเร็งปากมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก และมดลูก พบเลือดออกระหว่างรอบประจำเดือน มีตกขาวผิดปกติ ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ หรือมีมากกว่าปกติ อาการเหล่านี้อาจพบได้ในภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือเนื้องอกพังผืดในมดลูก
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบเลือดออกทางทวารหนัก อุจจาระมีเลือดปน หรือมีท้องผูกสลับกับท้องเสีย อาการเหล่านี้เป็นอาการเตือนที่ต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างรวดเร็วและอาจเป็นอาการจากการอักเสบของลำไส้เรื้อรัง (inflammatory bowel disease หรือ IBD)
- มะเร็งกล่องเสียง มีไอเรื้อรังหรือเสียงแหบ แต่การมีติ่งเนื้อขึ้นที่กล่องเสียงหรือภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำกว่าปกติก็สามารถทำให้มีอาการนี้ได้เช่นกัน
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ติดเชื้อบ่อย เลือดกำเดาไหล ปวดกระดูกหรือข้อ หรือช้ำง่าย
- มะเร็งปอด ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือดปน รู้สึกแน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเป็นอาการของโรคปอดอักเสบได้เช่นกัน
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองโต คันผิวหนัง เหงื่อออกตอนกลางคืน ไข้ไม่ทราบสาเหตุ และน้ำหนักลด ถือเป็นอาการที่พบในโรคนี้ได้
- มะเร็งปากและลำคอ มีแผลเรื้อรังที่ปาก ลิ้น หรือคอที่รักษาไม่หาย หรือแพทย์ตรวจพบปื้นสีขาวภายในปาก แผลและปื้นเหล่านี้อาจเกิดจากการมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ความเครียด บาดแผลในปาก หรือโรคลำไส้อักเสบ (IBD)
- มะเร็งรังไข่ มักไม่มีอาการจนกระทั่งเข้าสู่ระยะท้ายของโรค อาการที่อาจพบได้คือน้ำหนักลด อ่อนเพลีย ท้องอืด และปวดท้อง
- มะเร็งตับอ่อน มักไม่มีอาการจนกระทั่งเข้าสู่ระยะท้ายของโรคเช่นกัน และเมื่อมีอาการจะพบผิวหนังเป็นสีเหลือง หรือมีการปวดท้องในระดับลึกหรือปวดหลัง
- มะเร็งผิวหนัง มะเร็งนิดนี้มักมาด้วยไฝมีการเปลี่ยน สี ขนาด รูปร่าง หรือเป็นแผลตื้นๆ (ที่ลักษณะคล้ายไฝ) อาจคลำได้ก้อนใต้ผิวหนังที่ลักษณะเหมือนหูดหรือเป็นแผลเรื้อรังไม่หาย
- มะเร็งกระเพาะอาหาร อาเจียนเป็นเลือด หรือมีอาการอาหารไม่ย่อยและปวดท้องหลังทานข้าวบ่อยๆ หรือมีน้ำหนักลด อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของการมีแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
ข้อแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็ง
หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งหรือคุณมีแนวโน้มต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด อาจจะต้องระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การตื่นตัวและใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ตัวอย่างขั้นตอนที่อาจทำได้ เช่น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : อย่างน้อยวันละ 30 นาที นักวิจัยพบว่าการออกกำลังกายระดับปานกลางสม่ำเสมอสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้อย่างน้อย 30%
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมกับโภชนาการ : การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ทานเนื้อแดงน้อย และทานผักและผลไม้สดมากๆ จะช่วยลดระดับน้ำตาลได้ สามารถรับประทานไขมันได้แต่ควรเป็นไขมันชนิดที่ดี
- เลิกบุหรี่ : การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง 30%
- จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางเป็นเรื่องที่ใช้ได้ เพราะพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้วต่อวันสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพบางอย่างได้ ซึ่งรวมถึงลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้
- ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา : การสูบบุหรี่ร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ
- มาตรวจทางนรีเวชสม่ำเสมอ : ซึ่งรวมถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและการทำ mammogram การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถช่วยลดอัตราการตายของมะเร็งได้หลายชนิด การตรวจ mammogram ควรเริ่มทำเมื่ออายุระหว่าง 35-40 ปี เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการเปรียบเทียบในอนาคต
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน : การตรวจพบก้อนตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจพบโรคมะเร็งระยะแรก ซึ่งมีอัตราการตายน้อย
- ใช้ครีมกันแดด : ควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 ขึ้นไปทุกครั้งที่ออกกลางแจ้งและหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงกลางวัน
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย : ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งยกเว้นว่าคุณมีความสัมพันธ์กับคนเดียวและเป็นความสัมพันธ์ระยะยาว
ผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจทางนรีเวชเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจร่างกายเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างชัดเจน ซึ่งมะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกจะเพิ่มขึ้นหากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันบ่อยๆ องค์การอาหารและยาได้มีการอนุมัติวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูกเพื่อใช้ในผู้หญิงก่อนที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์
แพ็กเกจตรวจสุขภาพที่เราแนะนำ
แพคเกจเดียวที่ให้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ได้ตรวจสุขภาพพร้อมกัน คัดกรองความเสี่ยงทุกโรคที่เจอบ่อยในชายหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
THB 4,500.00
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ตคลิกเพื่อสอบถามผ่าน LINE
THB 2,990.00
โรงพยาบาลบางปะกอก รังสิต 2