ALCOHOL MISUSE การติดสุรา

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 16 นาที
ALCOHOL MISUSE การติดสุรา

บทนำ 

การติดสุรา หมายถึง การดื่มสุราในปริมาณที่มากเกินไป โดยมากกว่าอัตราเสี่ยงขั้นต่ำของการดื่มสุราที่กำหนดไว้ ซึ่งการดื่มสุราจะมีการวัดปริมาณจาก “หน่วยการดื่มมาตรฐาน” ของแอลกอฮอล์ คือ ปริมาณ 10 มล.ของสุราบริสุทธิ์ที่ไม่มีการผสม โดยมีปริมาณเปรียบเทียบ 1 ดื่มมาตรฐาน ดังนี้

  • เทียบเท่าเบียร์สดครึ่งไพนต์
  • เทียบเท่าสุรากลั่นปริมาณ 25 มล.

นอกจากนี้ ไวน์ 1 แก้วเล็ก ปริมาณ 125 มล. นั้นมีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 1.5 ดื่มมาตรฐาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อัตราเสี่ยงขั้นต่ำของการดื่มสุรา 

เพื่อให้อัตราเสี่ยงจากการดื่มสุราที่ส่งผลต่อสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ แพทย์แนะนำว่า

  • ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์
  • หากดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ แนะนำว่าไม่ควรดื่มหนักในคราวเดียวแต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน
  • หากกำลังพยายามลดปริมาณการดื่มสุราลง แนะนำให้กำหนดให้มีวันปลอดสุราอย่างน้อย 2-3 วันในแต่ละสัปดาห์

การดื่มเป็นประจำ หมายถึง การดื่มสุราเป็นประจำหลายสัปดาห์ติดต่อกัน ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ไม่ว่าจะดื่มในปริมาณมากน้อยเพียงใดก็ตาม

ความเสี่ยงจากการดื่มสุราในปริมาณมากหรือการติดสุรา ความเสี่ยงระยะสั้น

ความเสี่ยงระยะสั้นจากการดื่มสุราในปริมาณมากหรือการติดสุรา ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุและเกิดอาการบาดเจ็บที่จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล อย่างการบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น
  • เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงและอาจตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงได้
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันซึ่งอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจและการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • สูญเสียทรัพย์สิน เช่น กระเป๋าเงินหาย กุญแจหรือโทรศัพท์มือถือหาย เป็นต้น
  • เกิดภาวะสุราเป็นพิษ ส่งผลทำให้อาเจียน เกิดอาการชัก และหมดสติ

สำหรับผู้ที่ดื่มแบบ “binge drinking” หรือการดื่มปริมาณมากเป็นครั้งคราวหรือการดื่มมากติดต่อกันในช่วงเวลาสั้นๆ แบบ “เมาหัวราน้ำ” อาจเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่ประมาทเลินเล่อและมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ความเสี่ยงระยะยาว 

การดื่มสุราในระยะยาวเพิ่มโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น

ทั้งยังเป็นสาเหตุของปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ และเป็นปัญหาต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการถูกเลิกจ้างงาน การหย่าร้าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และการไร้ซึ่งที่อยู่อาศัยหรือกลายเป็นคนไร้บ้าน เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากผู้ที่ดื่มสุราไม่สามารถควบคุมปริมาณการดื่มของตนเองได้และมีการดื่มในปริมาณมากในแต่ละครั้ง เรียกพฤติกรรมเช่นนี้ว่า ภาวะติดสุรา หรือ alcoholism โดยภาวะติดสุราจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและสัมพันธภาพทางสังคมของผู้ดื่มโดยตรง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่พวกเขาจะสามารเดินออกจากภาวะนี้หรือยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้นกับพวกเขาได้ ผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณมากมักจะทนต่อการรับระดับแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงมากได้จนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือแม้แต่อาจทำร้ายผู้อื่นหรือฆ่าผู้อื่นในที่สุด หากผู้ที่ติดสุราตัดสินใจเลิกดื่มสุราทันทีทันใดอาจทำให้เกิดอาการลงแดงที่ส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกายและจิตใจได้  ดังนี้

ซึ่งการค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อยจะช่วยเลี่ยงอาการลงแดงที่อาจเกิดขึ้นได้

แล้วตอนนี้คุณดื่มมากเกินไปหรือไม่?

คุณอาจติดสุราได้หากมีพฤติกรรมเหล่านี้

  • เมื่อรู้สึกว่าคุณเองควรต้องลดความถี่และปริมาณการดื่มลงเสียที
  • เมื่อเริ่มมีคนรอบข้างวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มสุราของคุณ
  • เมื่อคุณเริ่มรู้สึกผิดหรือรู้สึกแย่เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มของคุณเอง
  • เมื่อทุกเช้าคุณต้องจิบสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อกระตุ้นสมองหรือเพื่อไม่ให้เกิดอาการเมาค้าง

หรือคุณอาจสังเกตพบว่าคนที่คุณรู้จักกำลังติดสุราจากพฤติกรรมเหล่านี้

  • เขาเหล่านั้นดื่มสุราเกินกว่าระดับความเสี่ยงขั้นต่ำต่อวัน
  • บางครั้งพบว่าเขาเหล่านั้นจำไม่ได้ว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้างในคืนก่อนตอนดื่มสุรา
  • พวกเขาลืมทำกิจกรรมที่วางแผนหรือกำหนดไว้ เช่น ลืมนัด หรือลืมทำงานที่ได้รับมอบหมาย อันเป็นผลมาจากอาการมึนเมาหรืออาการเมาค้าง

การขอรับความช่วยเหลือ

หากคุณกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มของคุณเองหรือของคนในครอบครัว แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ก่อน ซึ่งแพทย์สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการรักษาและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนได้ โดยพฤติกรรมการดื่มสามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • การทดสอบ Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) เป็นวิธีการทดสอบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สามารถระบุพฤติกรรมเสี่ยงต่อการดื่มที่คุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
  • การทดสอบ Fast Alcohol Screening Test (FAST) เป็นวิธีการทดสอบที่ง่ายและรวดเร็ว เพื่อตรวจสอบว่าการดื่มของคุณอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายหรือไม่
  • แบบทดสอบ Severity of Alcohol Dependence Questionnaire (SADQ) ซึ่งจะช่วยระบุระดับความรุนแรงของการติดสุราของคุณได้

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่คอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ที่ติดสุรา ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา สายด่วน 1413 หรือ http://www.1413.in.th/
  • มูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด
  • สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี หรือ สถาบันธัญญารักษ์
  • โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

โทร. 0-2590-3342, 0-2590-3035 หรือ http://www.thaiantialcohol.com/index

โทร. 0-2343-1500 หรือ http://www.thaihealth.or.th/

โทร. 0-2807-6477 และสายด่วน 08-1921-1479 หรือ http://www.saf.or.th/

สายด่วน 1165 หรือ http://www.pmnidat.go.th

การบำบัดรักษาอาการติดสุรา

วิธีการบำบัดรักษาอาการติดสุรานั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ของแต่ละบุคคล โดยมีทางเลือกการบำบัดรักษา ดังนี้

  • การขอรับคำปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมกลุ่มบำบัดหรือการรักษาโดยการพูดคุยกับนักบำบัด อย่างการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioural therapy) หรือ CBT
  • การรักษาด้วยการใช้ยา
  • การถอนพิษ (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาโดยแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้วยยาและการดูแลสุขภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อการป้องกันหรือลดอาการลงแดง ซึ่งนับเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการบำบัดในระยะยาวต่อไป

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาผู้ติดสุรามี 2 ลักษณะ คือ ยาที่ช่วยหยุดยั้งอาการลงแดง และยาที่ลดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายภายในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งยาที่นำมาใช้ในการเลิกสุราในประเทศไทย คือ ยา disulfiram (DSF) เมื่อผู้ป่วยดื่มสุรา ยาจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสลายแอลกอฮอล์ ทำให้ระดับ acetaldehyde ในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการวูบวาบ คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออก

นอกจากนี้ ยังมียารักษาโรคอื่นๆ ที่มีหลักฐานว่าสามารถช่วยรักษาอาการติดสุราได้ ที่นิยมใช้กันคือ ยา topiramate มีชื่อทางการค้าว่า Topamax เชื่อว่าออกฤทธิ์โดยเพิ่มการทำงานของระบบสารสื่อประสาทชนิด GABA และลดการทำงานของระบบสารสื่อประสาทชนิด glutamate

สตรีมีครรภ์กับการดื่มสุรา

การดื่มสุราในระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อทารกในระยะยาวได้ และยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มสุรามากเท่าไหร่ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แพทย์เตือนว่าสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนว่าจะตั้งครรภ์จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีและเป็นการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย หากคุณกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณสามีไม่ควรดื่มสุราเกิน 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ และไม่ควรดื่มหนักในคราวเดียวแต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน นั่นเพราะการดื่มสุราในปริมาณมากส่งผลต่อการผลิตอสุจิและคุณภาพของอสุจิ

ความเสี่ยงที่เกิดจากการติดสุรา

เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสมองระบบประสาท กระดูก และหัวใจ แน่นอนที่แอลกอฮอล์ส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ผลกระทบระยะสั้นจากการดื่มสุรา

ผลกระทบระยะสั้นจากการดื่มสุราซึ่งเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์และประเมินจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อการดื่มสุราในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่ติดสุราจะดื่มสุราในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่อาจสังเกตเห็นอาการหรือผลกระทบใดๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงที่เกิดจากการดื่มสุราในแต่ละปริมาณดื่มมาตรฐาน ดังนี้

1-2 ดื่มมาตรฐาน เมื่อดื่มสุราในปริมาณ 1-2 ดื่มมาตรฐาน หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและหลอดเลือดจะขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ดื่มตัวร้อน และเริ่มคุยเก่งมากขึ้น

4-6 ดื่มมาตรฐาน

หลังจากดื่มสุราไปแล้ว 4-6 ดื่มมาตรฐาน สมองและระบบประสาทจะเริ่มได้รับผลกระทบ โดยจะส่งผลต่อระบบภายในสมองที่เกี่ยวเนื่องกับการคิด วิเคราะห์ พิจารณา และการตัดสินใจ ทำให้ผู้ดื่มมีความประมาทสะเพร่าและมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ นอกจากนี้ สุรายังส่งผลต่อการทำลายเซลล์ในระบบประสาทด้วย ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกวิงเวียนศีรษะ การตอบสนองของร่างกายช้าลงและทำงานไม่สัมพันธ์กันกับสมอง

8-9 ดื่มมาตรฐาน หลังจากดื่มสุราไปแล้ว 8-9 ดื่มมาตรฐาน การตอบสนองของร่างกายจะยิ่งช้าลงไปอีก เริ่มพูดช้าลง พูดไม่รู้เรื่อง และสายตาเริ่มมองเห็นภาพไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ตับที่มีหน้าที่กรองแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายจะไม่สามารถกรองแอลกอฮอล์ทั้งหมดที่ดื่มเข้าไปได้ภายในคืนเดียว จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ดื่มสุรามีอาการเมาค้างในเช้าวันถัดมานั่นเอง

10-12 ดื่มมาตรฐาน หลังจากดื่มสุราปริมาณ 10-12 ดื่มมาตรฐาน การตอบสนองของร่างกายจะบกพร่องทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการดื่มสุราในปริมาณมากส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกง่วงซึม

โดยปริมาณแอลกอฮอล์จะเริ่มเข้าสู่ระดับที่เป็นพิษต่อร่างกาย และร่างกายจะตอบสนองโดยการขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายทันทีผ่านการปัสสาวะ ส่งผลทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงในเช้าวันถัดมาจึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ดื่มมีอาการปวดหัวอย่างหนัก

นอกจากนี้ การดื่มสุราในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และเกิดอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย

มากกว่า 12 ดื่มมาตรฐาน หากดื่มสุรามากกว่า 12 ดื่มมาตรฐาน มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภาวะสุราเป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีพฤติกรรมการดื่มสุราในปริมาณสูงในระยะเวลาอันสั้น

โดยปกติแล้ว ตับจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการขจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย และภาวะสุราเป็นพิษเกิดขึ้นจากการดื่มสุราในปริมาณสูงจนเริ่มรบกวนระบบการทำงานของร่างกาย ดังต่อไปนี้

แน่นอนที่ภาวะสุราเป็นพิษอาจส่งผลร้ายแรงทำให้ผู้ดื่มหมดสติและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ผลกระทบและภาวะเสี่ยงอื่นๆ

ผลกระทบและภาวะเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากการดื่มสุรา ดังนี้

  • เกิดอุบัติเหตุและเกิดอาการบาดเจ็บ – จากสถิติพบว่าสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มสุรามีมากถึงร้อยละ 34.6 อ้างอิงข้อมูลจากสถิติของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน – ส่งผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนและติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • สูญเสียทรัพย์สิน – ผู้ที่เมาสุราอย่างหนักส่วนใหญ่มักเกิดเหตุการณ์อันต้องสูญเสียทรัพย์สินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเงินหาย โทรศัพท์มือถือหาย หรือกุญแจหาย เป็นต้น
  • ขาดเรียนหรือขาดงานโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนและการทำงานได้

ผลกระทบระยะยาวจากการดื่มสุรา

การดื่มสุราในปริมาณมากมาเป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจทำลายอวัยวะภายในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นสมอง ระบบประสาท หัวใจ ตับ และตับอ่อน เป็นต้น นอกจากนี้ การดื่มสุราอย่างหนักยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ หัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองอุดตัน การติดสุราและดื่มสุรามาเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคร้ายแรงได้ง่ายขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลงซึ่งง่ายต่อการแตกหรือหักด้วย

ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพที่เกิดจากการติดสุรา ดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง
  • เส้นเลือดในสมองอุดตัน
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • โรคตับ
  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งบริเวณปาก
  • มะเร็งบริเวณศีรษะและภายในลำคอ
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • เกิดภาวะสมองเสื่อม
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ เช่น ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ภาวะหลั่งเร็ว เป็นต้น
  • เกิดภาวะมีบุตรยาก

นอกจากนี้ การติดสุราไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ดื่มเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น

  • เกิดปัญหาภายในครอบครัวและการหย่าร้าง
  • การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว
  • การจกงาน ไม่มีงานทำ
  • กลายเป็นคนไร้บ้าน เร่รอน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
  • มีปัญหาทางด้านการเงิน

อาการอยากกลับไปดื่มสุราอีก

อาการอยากกลับไปดื่มสุราอีกเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการกระบวนการเลิกดื่มสุรา และความรุนแรงของอาการลงแดงจากการเลิกสุราอาจมากขึ้นทุกครั้งที่หยุดดื่มสุรา ส่งผลทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น มือสั่น ตัวสั่น รู้สึกกระสับกระส่าย และชัก เป็นต้น

แอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมื่อแอลกอฮอล์ถูกขับออกจากร่างกายแล้ว เซลล์สมองและเซลล์ประสาทจะถูกกระตุ้นให้กลับมาทำงานอย่างหนัก ส่งผลทำให้เกิดอาการตื่นตัวอย่างมาก (hyperexcitability) จนอาจนำไปสู่อาการชักได้ ในแต่ละกระบวนการเลิกดื่มสุรา สมองและระบบประสาทจะรู้สึกไวต่อการกระตุ้น ส่งผลทำให้ปรากฏอาการข้างเคียงอย่างเห็นได้ชัด

อาการอยากกลับไปดื่มสุราอีกอาจเกิดขึ้นได้จากการกระตุ้นทางเคมีไปยังสมองหรือร่างกาย อย่างการใช้ยาต้านและป้องกันอาการชัก ดังนั้นผู้ที่กำลังอยู่ในกระบวนการเลิกสุราจำเป็นต้องระมัดระวังและสังเกตอาการหรือผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด

ทำอย่างไรเมื่อตกอยู่ในภาวะสุราเป็นพิษ?

สัญญานบ่งบอกว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะสุราเป็นพิษ ดังนี้

  • รู้สึกสับสน กระวนกระวาย
  • อาเจียน
  • ชักเกร็ง
  • หายใจช้าลง
  • ผิวหนังซีดเซียว จนบางครั้งกลายเป็นม่วง
  • ผิวชื้นและเย็น
  • หมดสติ

แนะนำให้โทรสายด่วน 1669 หรือโทรฉุกเฉิน 191 หากคุณหรือผู้ใดมีอาการของภาวะสุราเป็นพิษหรือสงสัยว่าอาจเป็นอาการของภาวะสุราเป็นพิษ ไม่แนะนำให้พยายามล้วงคอเพื่อให้อาเจียนเพราะอาจเกิดอาการสำลักได้ แต่ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้างหรือนอนในท่าพักฟื้นและให้มีหมอนเล็กหนุนศีรษะไว้ เมื่อผู้ป่วยหมดสติ จำเป็นต้องพยามปลุกเขาให้ตื่น เพราะระดับของแอลกอฮอล์จะยังคงมีอยู่ในเลือดสูงประมาณ 30-40 นาทีหลังจากการดื่มครั้งสุดท้าย ส่งผลให้อาการของภาวะสุราเป็นพิษอาจเลวร้ายและรุนแรงขึ้นได้

การรักษาอาการติดสุรา

ทางเลือกของการบำบัดรักษาอาการติดสุราขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดื่มของแต่ละคน ซึ่งคุณอาจเลือกใช้วิธีค่อยๆ ลดปริมาณและความถี่ของการดื่มลง หรือใช้วิธีหักดิบ โดยมีทางเลือกของการบำบัดรักษาอาการติดสุรา ดังนี้

  • การบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการช่วยเหลือแบบกระชับ (brief intervention)
  • การบำบัดรักษาระหว่างการใช้วิธีการค่อยๆ ลดปริมาณและความถี่ของการดื่มลง และ การบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการหักดิบ (moderation vs abstinence)
  • การบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการถอนพิษและลดอาการลงแดง (detox and withdrawal symptoms)
  • การบำบัดรักษาโดยการใช้ยา (medication for alcohol dependency)
  • การรักษาโดยใช้วิธีการบำบัดในรูปแบบต่างๆ

การบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการช่วยเหลือแบบกระชับ (brief intervention)

การบำบัดรักษาวิธีนี้เป็นการรักษาที่ใช้ระยะเวลาน้อย รักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยการสนทนากันระหว่างแพทย์หรือนักบำบัดกับผู้ป่วยโดยตรงเพื่อสร้างกำลังใจและสนับสนุนช่วยเลือให้ผู้ป่วยสามารถตระหนักและวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มได้เองเพื่อให้พวกเขาสามารถลดปริมาณการดื่มลงหรือลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายที่เกิดจากการดื่มสุราได้

การบำบัดรักษาระหว่างการใช้วิธีการค่อยๆ ลดปริมาณและความถี่ของการดื่มลง และ การบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการหักดิบ (moderation vs abstinence) การบำบัดรักษาวิธีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งหากคุณมีพฤติกรรมการดื่มต่อไปนี้

  • ดื่มสุราในปริมาณเกินกว่าความเสี่ยงระดับต่ำเป็นประจำทุกวันหรือดื่มสุราถึงอัตรา 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์
  • มีปัญหาทางสุขภาพอันเกิดจากการดื่มสุรามากเกินไป
  • ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหากไม่ได้ดื่มสุรา

การเลิกดื่มสุราแบบหักดิบถือเป็นวิธีการบำบัดที่ส่งผลดีต่อต่อสุขภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อยมักทำให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จกับการเลิกสุราได้มากกว่า หรืออย่างน้อยการค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มก็เป็นหนทางหนึ่งสู่การเลิกดื่มสุราได้อย่างถาวร

แน่นอนที่วิธีการบำบัดรักษาต่างๆ เป็นทางเลือกของคุณเอง แต่ในบางสถานการณ์คุณอาจจำเป็นต้องเลือกวิธีการหักดิบ หากคุณมีสภาวะหรืออาการเหล่านี้

  • มีปัญหาหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับหรือตับแข็ง เป็นต้น
  • มีปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ เนื่องจากการดื่มสุราจะทำให้อาการของโรคหัวใจแย่ลงได้
  • กำลังทานยารักษาโรคบางชนิดที่อาจมีผลข้างเคียงหากดื่มสุรา เช่น ยาระงับอาการทางจิต ยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น
  • เมื่อกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์

นอกจากนี้ การใช้วิธีการหักดิบยังถูกแนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยที่เคยลองใช้วิธีการบำบัดแบบค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลงแต่ไม่ประสบความสำเร็จด้วย หากคุณเลือกวิธีการบำบัดแบบค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลง แพทย์จะแนะนำให้คุณเข้าพบและพูดคุยกับนักบำบัดด้วยเพื่อประเมินผลเป็นระยะ และแพทย์อาจมีการใช้วิธีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วยหากจำเป็น นอกจากนี้ แพทย์อาจขอให้คุณได้รับการตรวจเลือดเป็นปะจำเพื่อสังเกตสุขภาพตับและเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

การบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการถอนพิษและลดอาการลงแดง (detox and withdrawal symptoms) หากคุณสังเกตพบว่าตนเองไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติเมื่อไม่ได้ดื่มสุรา แนะนำให้คุณเข้ารับการบำบัดรักษาเพื่อการเลิกดื่มสุราทันที

ผู้ป่วยหลายคนถูกกำหนดให้มีการใช้ยาเพื่อการบำบัดโดยวิธีการหักดิบประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกวิธีการเข้าร่วมกลุ่มบำบัด ขอรับคำปรึกษาจากนักบำบัดหรือแพทย์ หรือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioural therapy) ก็ได้ด้วยเช่นกัน

คุณสามารถขอรับการบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการถอนพิษจากที่ใด? การจะบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการถอนพิษจากที่ใดหรืออย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการติดสุรา ในกรณีที่ความรุนแรงของอาการติดสุราอยู่ในระดับต่ำ ผู้ป่วยสามารถบำบัดรักษาได้เองที่บ้านโดยไม่ต้องใช้ยา นั่นเพราะอาการลงแดงจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หากผู้ป่วยติดสุรามากหรือดื่มสุรามากกว่า 20 ดื่มมาตรฐานต่อวันหรือเคยมีอาการลงแดงมาก่อนเมื่อเลิกดื่มสุรา ก็ยังสามารถทำการบำบัดรักษาได้เองที่บ้านร่วมกับการทานยาเลิกสุราเพื่อช่วยบรรเทาอาการลงแดง โดยการใช้ยาระงับประสาท อย่างตัวยา chlordiazepoxide ที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการวิตกกังวลและอาการอันเกิดจากการหยุดสุราเฉียบพลัน แต่หากผู้ป่วยมีอาการติดสุราอย่างรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ทำการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลหรือคลินิก นั่นเพราะอาการลงแดงจะเกิดขึ้นรุนแรงมากซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ

อาการลงแดง 

เมื่อเริ่มโปรแกรมเลิกดื่มสุรา อาการลงแดงจะรุนแรงมากที่สุดในช่วง 48 ชั่วโมงแรก และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากร่างกายเริ่มสามารถปรับสภาพสู่ภาวะไร้แอลกอฮอล์ได้บ้างแล้ว ซึ่งอาการลงแดงจะเกิดขึ้นประมาณ 3-7 วัน นับจากวันที่ดื่มครั้งสุดท้าย

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการนอนไม่หลับ ทำให้ต้องตื่นนอนบ่อยๆ หรือหลับยากกว่าเดิม  โดยอาการเหล่านี้เป็นอาการปกติของผู้ที่กำลังเลิกดื่มสุรา ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มนอนหลับได้ตามปกติภายในเวลาประมาณ 1 เดือน

ระหว่างการบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการถอนพิษ ผู้ป่วยจำเป็นต้องดื่มน้ำให้มากพอหรือดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะยิ่งทำให้คุณนอนหลับยากยิ่งขึ้น ทั้งยังอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเลือกดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ มากกว่า เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ เป็นต้น และควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา แม้คุณจะไม่รู้สึกหิวเลยก็ตาม เพราะการทานอาหารให้ได้ตามปกติหรือการเจริญอาหารจะช่วยให้อาการลงแดงดีขึ้นได้ด้วย

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักรกลต่างๆ เมื่อมีการใช้ยาบรรเทาอาการลงแดง เพราะยาจะออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงซึม ดังนั้นคุณจำเป็นต้องใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดหรือแนะนำเท่านั้น

ช่วงเวลาระหว่างการบำบัดรักษาโดยใช้วิธีการถอนพิษอาจเป็นช่วงเวลาที่เคร่งเครียดมากสำหรับผู้ป่วย แนะนำให้ลดอาการตึงเครียดด้วยการอ่านหนังสือ ฟังเพลง เดินเล่น อาบน้ำอุ่นๆ ให้สบายตัว เป็นต้น และหากคุณกำลังบำบัดรักษาอาการติดสุราเองที่บ้าน แพทย์จะขอนัดพบคุณเป็นประจำ เนื่องจากการเลิกดื่มสุราถือเป็นก้าวแรกของการเอาชนะอาการติดสุราของคุณ อย่างไรก็ตามคุณอาจไม่สามารถทำให้การเลิกดื่มสุราประสบผลสำเร็จได้ด้วยตัวเองทั้งหมด แต่การช่วยเหลือและสนับสนุนตังหากที่จะช่วยให้คุณสามารถเลิกดื่มได้อย่างถาวรในระยะยาว

การบำบัดรักษาโดยการใช้ยา (medication for alcohol dependency)

ในปัจจุบันยารักษาโรคติดสุราที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด 4 ขนาน ได้แก่

  • ยา naltrexone (NTX) มีชื่อทางการค้าว่า Revia / Depade ยาชนิดนี้ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการไปปิดกั้นตัวรับชนิดโอปิออยด์ (opioid receptors) ซึ่งมีผลทำให้สามารถลดความอยากและความพอใจจากการดื่มลงได้
  • ยา extended-release injectable naltrexone (ERIN) เป็นยาฉีดออกฤทธิ์นาน แต่ยังไม่มีใช้ในประเทศไทยเช่นกัน มีชื่อทางการค้าว่า Vivitrol ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยา naltrexone แต่จะออกฤทธิ์ได้นาน 30 วัน
  • ยา acamprosate (ACP) ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย มีชื่อทางการค้าว่า Campral ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์กับระบบสารสื่อประสาทชนิดกลูตาเมท (glutamate) และ GABA แต่ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสุรา
  • ยา disulfiram (DSF) เป็นยาที่ประเทศไทยนำมาใช้ในการเลิกสุรา เมื่อผู้ป่วยดื่มสุรา ยาจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสลายแอลกอฮอล์ ทำให้ระดับ acetaldehyde ในเลือดสูงขึ้น ส่งผลทำให้เกิดอาการวูบวาบ คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออก

นอกจากนี้ ยังมียารักษาโรคอื่นๆ ที่มีหลักฐานว่าสามารถช่วยรักษาอาการติดสุราได้ ที่นิยมใช้กันคือ ยา topiramate มีชื่อทางการค้าว่า Topamax เชื่อว่าออกฤทธิ์โดยเพิ่มการทำงานของระบบสารสื่อประสาทชนิด GABA และลดการทำงานของระบบสารสื่อประสาทชนิด glutamate

การรักษาโดยใช้วิธีการบำบัดในรูปแบบต่างๆ กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นกลุ่มช่วยเหลือกันเอง โดยมีกระบวนการให้เกิดการสร้างความหวัง และพลังใจให้กันและกัน ซึ่งถือว่ากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนมีส่วนสำคัญมากในการป้องกันการกลับไปดื่มสุราอีกครั้ง วิธีการบำบัด

เช่นนี้จะช่วยให้ผู้ติดสุราสามารถหยุดดื่มได้นานขึ้นและมีชีวิตที่ดีขึ้น ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่กำลังพยายามจัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนขึ้นมาให้มากพอเพื่อรองรับจำนวนของผู้ติดสุราที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งแบบจัดตั้งกันเองในชุมชนและแบบได้รับการผลักดันจากนโยบายของรัฐ เช่น

  • ชมรมจิตอาสา โรงพยาบาลจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยเป็นกลุ่มช่วยเหลือกันเองแบบไม่เป็นทางการเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพและการปรับตัวต่อปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้สมาชิกรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง โดยมีกระบวนการกลุ่ม 3 ระยะคือ ระยะสร้างสัมพันธภาพ ระยะดำเนินการ และระยะสิ้นสุดการทำกลุ่ม
  • กลุ่มผู้ติดสุรานิรนามตามหลัก 12 ขั้นตอนหรือกลุ่มเอเอ (AA) คือ กลุ่มผู้ติดสุรานิรนาม ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหญิงและชายที่นำประสบการณ์ พลังวังชา และความหวังมาแบ่งปันซึ่งกันและกัน มีการนำประสบการณ์ของผู้ที่เลิกสุราได้ มาพูดคุยกัน เพื่อให้สมาชิกอื่นได้รับฟัง ยอมรับในปัญหา ปฏิบัติตามหลัก 12 ขั้นตอนแนวพุทธ และมีโอกาสที่จะเลิกสุราได้อย่างยั่งยืน เพื่อให้เขาสามารถแก้ไขปัญหา และช่วยให้ผู้อื่นหายป่วยจากโรคติดสุราเรื้อรังได้

ปัจจุบันกลุ่มเอเอไทยที่มีการดำเนินกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ มีอยู่ประมาณ 12 กลุ่มทั่วประเทศ คือ กลุ่มเอเอในศูนย์บำบัดยาเสพติดขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเครือข่ายโรงพยาบาลในภาคอีสาน กลุ่มเอเอในโรงพยาบาลอำเภอกุดชุม จ.ยโสธร กลุ่มเอเอในโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ และเครือข่ายโรงพยาบาลในภาคเหนือ กลุ่มเอเอในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร และกลุ่มเอเอที่ศูนย์การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยานานาชาติ (Psychological Service International หรือ PSI) ซ.สุขุมวิท43 กรุงเทพมหานคร

คุณสามารถทดลองเข้าร่วมกลุ่มเอเอ โดยติดต่อไปยังสถานบำบัดดังกล่าวข้างต้นหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเอเอไทยได้ทางเบอร์โทรศัพท์ 08-5199-3540 หรือ [email protected] หรือ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy หรือ CBT) การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเป็นการบำบัดโดยใช้วิธีการพูดคุยเพื่อการแก้ปัญหากับผู้ที่กำลังติดสุรา เป็นการบำบัดที่คอยปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์และขัดแย้งกับความเป็นจริงที่อาจส่งผลต่อระบบความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ และเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการบำบัด พวกเขาจะ

ได้รับการกระตุ้นให้มีความคิดและมองเห็นสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงหรือเป็นประโยชน์มากขึ้น นอกจากนี้ การบำบัดวิธีนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยทราบได้ถึงตัวเร้าที่ทำให้พวกเขาต้องดื่มสุรา เช่น ความเครียด ความกังวลต่อการเข้าสังคม หรือการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้คุณต้องดื่มสุรา อย่างการไปเที่ยวสถานบันเทิง ผับ หรือร้านอาหาร เป็นต้น เมื่อเข้ารับการบำบัด นักบำบัดจะแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้คุณอยากดื่มและวิธีกการจัดการกับสถานการณ์ที่คุณอาจเลี่ยงไม่ได้

การบำบัดโดยคนในครอบครัว

การเสพติดสุราไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ดื่มเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวด้วย ดังนั้นการใช้วิธีบำบัดโดยคนในครอบครัวเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ในเรื่องต่อไปนี้

  • เรียนรู้ธรรมชาติของอาการติดสุรา
  • การช่วยเหลือและสนับสนุนสมาชิกในครอบครัวที่กำลังพยายามหยุดดื่มสุรา

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่คอยสนับสนุนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องการบำบัดผู้ป่วยติดสุรา นั่นเพราะการใช้ชีวิตร่วมกับคนที่ติดสุราอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจึงเป็นประโยชน์มาก

ปัจจุบันมีหน่วยงานที่สามารถให้คำปรึกษาหรือคอยสนับสนุนอยู่หลายหน่วยงานดังกล่าวไปแล้วบ้างข้างต้น ที่ไม่เพียงแต่ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยเองเท่านั้นแต่ยังให้คำปรึกษากับคนในครอบครัวหรือญาติของผู้ป่วยด้วย

การจดบันทึกการดื่ม

หากคุณตั้งใจว่าจะค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลง นักบำบัดอาจแนะนำให้มีการจดบันทึกการดื่มไว้ด้วย โดยการจดบันทึกการดื่มในแต่ละวันควรมีข้อมูลต่อไปนี้

  • ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณดื่ม
  • ช่วงเวลาที่คุณดื่ม
  • สถานที่ที่คุณดื่ม
  • ปริมาณการดื่มแต่ละครั้ง

การจดบันทึกจะช่วยให้คุณทราบว่าคุณควรดื่มปริมาณเท่าไหร่หรือควรลดปริมาณลงเท่าไหร่ในแต่ละครั้ง ทั้งยังทราบได้ว่าคุณควรลดปริมาณการดื่มลงอย่างไรหรือสถานการณ์ใดที่คุณควรหลีกเลี่ยง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol Use Disorder (AUD). MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/alcoholusedisorderaud.html)
Alcohol misuse. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alcohol-misuse/)
Alcohol Abuse vs. Alcohol Dependence. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/alcohol-abuse-vs-alcohol-dependence-63101)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป