สมอง สามารถขโมยความสุขจากคุณได้ถึง 3 วิธี (และคุณจะหยุดการถูกขโมยความสุขนี้ได้อย่างไร?)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สมอง สามารถขโมยความสุขจากคุณได้ถึง 3 วิธี (และคุณจะหยุดการถูกขโมยความสุขนี้ได้อย่างไร?)

เมื่อพูดถึงความสุข เรามักจะมีศัตรูที่เลวร้ายคือตัวเราเอง หากคุณเคยมีอาการกระเพาะปั่นป่วนหลังการดื่มสุรา หรือกินอาหารที่ไม่มีคุณค่า(junk food) หรือเที่ยวกลางคืนแบบไร้สาระ มีการเปรียบเทียบตัวเองในเชิงลบกับคนอื่นที่ดูเหมือนจะมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบตามที่เห็นตามสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นความจริงที่คุณรู้และเข้าใจดี แต่ถ้าเราคิดว่าเรามีพฤติกรรมที่ดีที่สุดในแบบของเราแล้ว จิตใจและความรู้สึกของเราก็ควรจะรู้สึกไปในทิศทางเดียวกับพฤติกรรมของเรา

เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ที่มีการนำวิชาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์มาศึกษาถึงผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดอคติ   ความคิดอคติจะทำให้เกิดการประเมินข้อมูล การตัดสินใจที่ผิดพลาด  โดยมากมักเกิดผลลบมากกว่าบวก และมักไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด การใช้อารมณ์ทำให้เราออกนอกกรอบของการเป็นคนดี  ความคิดอคติเหล่านี้อาจเป็นเศษเสี้ยวของความคิดที่เกิดจากการปรับตัวของพัฒนาการสมองในอดีตของเรา และย้อนกลับมามีผลในโลกปัจจุบัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความคิดอคติที่เกิดขึ้นโดยมากมักจะเกิดเหนือการรับรู้ของเรา ดังนั้นหากต้องการหยุดความรู้สึกอคติเหล่านี้  เราต้องเข้าใจถึงลักษณะหลายๆแบบที่สมองของเราสามารถก่อให้เกิดความคิดอคตินี้ ความคิดอคติเหล่านี้มีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการตัดสินใจที่จะกระทบต่อชีวิตและความสุขของเราเอง

ความคิดอคติที่เกิดจากความชื่อเดิม(Confirmation Bias)

ความคิดอคติแบบนี้ก็คือความรู้สึกของสมองที่ค่อนข้างดื้อ ความคิดอคติแบบนี้มีแนวโน้มที่จะตีความข้อมูลไปในทางที่สนับสนุนสิ่งที่เราเชื่ออยู่แล้วและจะไม่สนใจกับสภาวะปัจจุบัน เป็นลักษณะเดียวกับคนที่ขับรถบนถนนที่จราจรติดขัดและมีการใช้ระบบกำหนดตำแหน่งของโลก( global positioning system(GPS))  ซึ่งให้คำแนะนำเลือกเส้นทางที่เร็วขึ้น 15 นาที แต่เขาไม่ยอมทำตามและกล่าวว่า "ไม่  เราจะไปทางนี้ และเราก็จะไปทางนี้ตลอด " วิถีชีวิตที่ชอบออกนอกคำนะนำ มักมาจากพื้นฐานความเชื่อเดิมๆแม้ว่าจะมีหลักฐานสนับสนุนน้อยมาก และหากความเชื่อดังกล่าวไม่ถูกต้อง  คุณก็ต้องใช้ชีวิตติดอยู่ในสภาวะหรือโลกจินตนาการที่เลวร้ายขึ้น

ตัวอย่างเช่น ในวันแรกของคุณในที่ทำงานใหม่ จะเป็นวันที่คุณขาดความมั่นใจ และอาจคิดว่าเพื่อนร่วมงานใหม่ของคุณจะไม่ชอบคุณ หลังจากการแนะนำตัวให้กับทีมงาน คุณอาจสังเกตว่ามีคนบางคนมองคุณแล้วพูดคุยซุบซิบกัน และจากความคาดหวังในใจว่าเพื่อนร่วมงานของคุณอาจไม่ชอบคุณ คุณจึงคิดว่าพวกเขากำลังพูดไม่ดีเกี่ยวกับคุณ  ในความเป็นจริงพวกเขาอาจกำลังคุยกันเรื่องโครงการหรืออะไรบางอย่างจากการประชุมในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ และเมื่อมีเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปรับประทานอาหารกลางวัน คุณก็ไม่ได้แสดงท่าทีเป็นมิตรเพราะคุณยังคงฝังใจกับเพื่อนอีกสองคนที่ซุบซิบคุณในช่วงเช้า เวลาผ่านไปคุณก็อาจจบลงด้วยการสร้างสิ่งที่สนับสนุนความเชื่อเดิม ทั้งที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นจริง  เหตุเพียงเพราะความคิดที่ดื้อของคุณจะหาเหตุผลมากมายที่จะโต้แย้งกันเอง

เคล็ดลับในการแก้ไขความคิดนี้: คุณควรเชื่อว่าคุณมีความคิดที่ชั่วร้ายอยู่ในตัวคุณเอง และเมื่อคุณเจอปํญหาที่ยากๆในชีวิต  พยายามค้นหาความเชื่อที่ก่อให้เกิดผลลบและเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ตั้งชื่อความเชื่ออันนี้ และถามตัวเองแบบทนายความที่พยายามจะพิสูจน์ความจริง เพื่อแก้ไขความเชื่อที่ผิดนี้

ความคิดอคติที่เกิดจากการคาดการณ์ผลกระทบที่มากเกินจริง (Impact Bias)

ในการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุแห่งความสุข  คนที่ถูกรางวัลสลากกินแบ่งเมื่อเทียบกับคนที่เพิ่งกลายเป็นอัมพาต นักวิจัยพบว่าเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ในชีวิตไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ  ทุกคนมีแนวโน้มที่จะปรับตัวให้มีความสุข ซึ่งหมายความว่าในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต มักส่งผลกระทบต่อความสุขและการเปลี่ยนแปลงมักจะไม่มีนัยสำคัญมากนักและไม่คงอยู่นานเท่าที่เราคาดหวัง

หลังอ่านข้อความข้างต้นคุณอาจคิดว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • "ถ้าฉันได้รับรางวัล $ 10 ล้าน ฉันจะเป็นคนที่มีความสุขแน่นอน!" และคุณคงจะมีความสุขมากตามแนวโน้มในความฝันภายใต้ความคิดอคติที่เกิดจากการคาดการณ์ผลกระทบที่มากเกินจริง(Impact Bias)เมื่อเราประเมินค่าสูงว่าเหตุการณ์จริงในอนาคต จะส่งผลกระทบด้านอารมณ์ด้านลบ  
  •  เราคิดมากกินไปเรื่องเพื่อนร่วมงานและทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกัน  
  •  เราหวังจะซื้อบ้านใหม่เพื่อเพิ่มความสุขมานานหลายสิบปี  ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเรามากเท่าที่เราคิด  ดังนั้นเมื่อเราวางแผนล่วงหน้าสำหรับอนาคต เรามักจะลงทุนมากเกินไปเกี่ยวกับสินค้าและวัสดุที่เราคาดว่าจะสามารสร้างความสุขที่ยั่งยืน

ตรงกันข้าม คนเรามักกลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิตจริง  เพราะเรากลัวว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทำให้มีความสุข  และมีประมาณการวิธีปรับตัวของเราที่ค่อนข้างต่ำ เคล็ดลับการแก้ไขความคิดนี้: เปิดมุมมองของคุณให้กว้างขึ้น  เตือนตัวเองทุกครั้งที่นึกถึงภาพเหตุการณ์ในอนาคตที่กระทบต่อความสุขของชีวิตคุณ ร้องเพลงด้วยความสุขและสร้างความรู้สึกท้าทาย ทั้งด้านชีวิตครอบครัว. อาชีพ เพื่อน และสุขภาพ. เมื่อเราเห็นว่าในเหตุการณ์ในอนาคตจะกระทบชีวิตเรามากแค่ไหน ควรประเมินว่าเราจะตอบสนองทางอารมณ์กับความรู้สึกเหล่านี้ได้อย่างไร

ภาวะจำทนเพราะเสียดายต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว (Sunk Cost Fallacy)

เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ คุณได้เสียเวลาอ่านมาพอสมควร  คุณคงต้องทนอ่านต่อเพราะอยากรู้เกี่ยวกับความคิดอคติแบบที่สาม หากคุณไม่ได้สนใจ คุณก็เปลี่ยนไปซักรีดเสื้อผ้าแทนได้  แต่ถ้าคุณยังอยากอ่านต่อ  คุณก็ตกเป็นเหยื่อของภาวะที่ต้องฝืนทนเพราะเสียดายต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว (Sunk Cost Fallacy) ในที่นี้คือความคิดอคติสองแบบตามเนื้อหาก่อนหน้านี้

ภาวะจำทนเพราะเสียดายต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว (Sunk Cost Fallacy) เป็นคำในทางเศรษฐศาสตร์ที่หมายถึงเงิน (หรือเวลาหรือพลังงาน) ที่คุณได้ลงทุนไปแล้วและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอากลับมาได้  คุณอาจมีทางเลือกที่จะดำเนินการต่อกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจทำไปแล้วหรือเปลี่ยนไปทำสิ่งอื่นที่แตกต่างกัน  การลงทุนที่เกิดขึ้นแล้วมักจะฉุดให้คุณเลือกที่จะอยู่ในสถานะเดิม แม้ว่าคุณจะไม่ค่อยมีความสุขมากนัก 

ภาวะจำทนเพราะเสียดายต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว (Sunk Cost Fallacy) อาจส่งผลกระทบต่อเราเล็ก ๆ น้อย ๆในรูปแบบที่แตกต่างกัน  คุณเคยดูภาพยนตร์ที่จัดให้ดูตามช่องทีวี และรู้สึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ไม่น่าสนใจเลยบ้างไหม? แต่คุณก็ทนดูจนจบเพราะคุณได้เริ่มต้นดูแล้ว  หรือคุณอาจเคยซื้อเสื้อที่คุณรู้สึกว่าเป็นตัวที่น่าเกลียดที่สุดในตู้เสื้อผ้าของคุณ  เนื่องจากไม่สามารถคืนหรือเปลี่ยนได้  คุณจึงต้องสวมใส่เสื้อตัวนี้ในที่สุด ยังมีตัวอย่างที่ส่งผลกระทบมาก เช่นเราอาจพบว่าในทศวรรษที่ผ่านมาเราต้องทำงานในสาขาอาชีพที่เราไม่ชอบ  แต่เราก็ลังเลที่จะลาออก  เนื่องจากเราได้ลงทุนเรื่องเวลาทำงานมามากแล้ว  ภาวะจำทนเพราะเสียดายต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว (Sunk Cost Fallacy) มักจะทำให้เราต้องเจอกับความทุกข์เพราะเราเลือกทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการเพียงแค่เหตุผลว่าเราได้ลงทุนไปมากแล้ว

เคล็ดลับในการแก้ไขความคิดนี้  : รู้ตัวว่าเมื่อไหร่ควรหยุด หากคุณกำลังมีปัญหากับเป้าหมายปัจจุบันหรือเส้นทางที่คุณได้ลงทุนไปแล้ว  ให้ตั้งคำถามตัวเอง  "ถ้าฉันสามารถเริ่มต้นใหม่ตอนนี้ฉันจะยังคงเลือกทางนี้หรือไม่?"  ถ้าคำตอบคือ ไม่  ลองพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า  ให้แรงบันดาลใจและทำให้คุณมีความสุขมากกว่า


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Has the 'happiness region' of the brain been discovered?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/neurology/has-the-happiness-region-of-the-brain-been-discovered/)
The Benefits of Positive Thinking and Happiness. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/accentuate-the-positive-positive-thinking-and-happiness-2224115)
Addiction and the Brain-Disease Fallacy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3939769/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป