กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำ "คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic diet)"

ไม่ใช่ทุกคนที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ได้ ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทำเพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจร้ายแรงกว่าที่คิด
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำ "คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic diet)"

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คีโตเจนิกไดเอทคือ วิธีรับประทานอาหารโดยทำให้ร่างกายรู้สึกว่า ไม่ได้รับประทานอาหารเข้าไป หรือคิดว่า กำลังอดอาหารอยู่ ด้วยการงดรับประทานแป้ง และน้ำตาล
  • คีโตเจนิกไดเอทสามารถลดน้ำหนักได้จริงโดยเฉพาะในช่วงแรก เนื่องจากระหว่างที่ร่างกายเผาผลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจะเสียน้ำตามไปด้วยจึงสามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว 
  • ระหว่างกระบวนการเผาผลาญไขมันไปเป็นพลังงานจะเกิดกรดคีโตนสะสมในกระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงานแทนกลูโคส กรดคีโตนส่งผลให้รู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานได้น้อยลงตามไปด้วย
  • ไม่ควรรับประทานอาหารรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนานเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารบางชนิดได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นอันตรายได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต ผู้มีปัญหาเรื่องการเผาผลาญไขมัน และผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการบีบตัวของลำไส้ ไม่ควรทำคีโตเจนิกไดเอท (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ปัจจุบันการรับประทานอาหารแบบคีโต หรือที่เรียกว่า “คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic Diet) หรือคีโตไดเอท (keto diet)” เป็นหนึ่งในวิธีการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ

ผู้ที่ทำคีโตเจนิกไดเอทจะรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่น้อยมาก และรับประทานไขมันดีเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ร่างกายสลายไขมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานแทนน้ำตาล ทำให้ลดไขมันสะสมในร่างกายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า การศึกษาเกี่ยวกับคีโตไดเอทจำนวนมากเกี่ยวกับการลดน้ำหนักแต่การศึกษาเหล่านั้นเป็นการเก็บข้อมูลระยะสั้นเท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลของคีโตไดเอทในระยาว

คีโตเจนิกไดเอทคืออะไร?

ในมุมมองของคนส่วนมากการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำคีโตเจนิกไดเอท คือ “การกินไขมัน เพื่อลดไขมัน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่จริงๆ แล้วก็มีรายละเอียดมากกว่านั้น

คีโตเจนิกไดเอท คือ การรับประทานอาหารโดยทำให้ร่างกายรู้สึกว่า "ไม่ได้รับประทานอาหารเข้าไป หรือคิดว่ากำลังอดอาหารอยู่"  ด้วยการงดรับประทานแป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารที่อยู่กลุ่มคาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่

เมื่อร่างกายขาดแหล่งพลังงานหลักจากน้ำตาล จึงจำเป็นต้องหาพลังงานทดแทนจากแหล่งอื่น ซึ่งก็คือ “ไขมัน” ที่สะสมอยู่ในร่างกาย หรืออาหารคีโตที่รับประทานเข้าไป จึงทำให้ลดปริมาณไขมันในร่างกายลงได้นั่นเอง

คีโตเจนิกไดเอทนั้นถูกใช้ทางการแพทย์ในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ยา

คีโตเจนิกไดเอทสามารถลดน้ำหนักได้จริงไหม?

คีโตเจนิกไดเอทสามารถลดน้ำหนักได้จริง โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรับประทานอาหาร เนื่องจากในระหว่างที่ร่างกายเผาผลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงานแทนน้ำตาลกลูโคส ร่างกายจะเสียน้ำตามไปด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 “น้ำ” เป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย คิดเป็น 60% จากองค์ประกอบทั้งหมด (องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อ กระดูก และส่วนอื่นๆ) ทำให้การทำคีโตเจนิกไดเอทในช่วงแรก สามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

นอกจากนี้ระหว่างกระบวนการเผาผลาญไขมันไปเป็นพลังงาน จะเกิดสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “คีโตน” ในกระแสเลือด ซึ่งคีโตนจะส่งผลให้ให้รู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานได้น้อยลงตามไปด้วย

ประเภทของการทำคีโตเจนิกไดเอท

ในบทความนี้ จะแบ่งประเภทของการทำคีโตเจนิกไดเอทตามสัดส่วนอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ดังนี้

  1. คีโตเจนิกไดเอทแบบทั่วไป (Standard Ketogenic Diet: SKD) การรับประทานอาหารแบ่งสัดส่วนออกเป็นไขมัน 75% โปรตีน 25% และคาร์โบไฮเดรต 5%
  2. การทำคีโตเจนิกไดเอท 5 วัน สลับกับการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง 2 วัน (Cyclical Ketogenic Diet: CKD)
  3. การทำคีโตเจนิกไดเอทที่สามารถเพิ่มปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรตได้ในช่วงออกกำลังกาย (Targeted Ketogenic Diet: TKD)
  4. การรับประทานคีโตเจนิกไดเอทแบบเน้นโปรตีน (High-protein ketogenic diet) คล้ายกับการทำคีโตเจนิกไดเอททั่วไป แต่มีสัดส่วนอาหารต่างกัน คือ ไขมัน 60% โปรตีน 35% และคาร์โบไฮเดรต 5%

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำคีโตเจนิกไดเอท

  • การทำคีโตเจนิกไดเอทจะให้ผลลัพธ์ในแง่การลดน้ำหนักดีกว่าการรับประทานอาหารรูปแบบอื่นๆ ในช่วง 6 เดือนแรก เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำจากกระบวนการเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน แต่ในระยะยาวให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน
  • การทำคีโตเจนิกไดเอท คือ การงดรับประทานแป้งและน้ำตาล ทำให้ไม่สามารถรับประทานแหล่งอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรต ผักมีหัว และผลไม้ จึงทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ ผู้ที่ทำคีโตเจนิกไดเอทจึงต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมเข้าไป
  • หลังจากที่เลิกทำคีโตเจนิกไดเอทแล้ว เมื่อคุณกลับมารับประทานคาร์โบไฮเดรตอีกครั้ง ควรค่อยๆ เพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพราะหากไม่สามารถควบคุมอาหารได้ ก็อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า “โยโย่เอฟเฟค (Yoyo effect)” 

ภาวะคีโตซิสคืออะไร ?

ภาวะคีโตซิส (Ketosis) เป็นภาวะที่ชาวคีโตเจนิกไดเอทรู้จักกันดี ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออดแป้งและน้ำตาลเป็นเวลา 12-16 ชั่วโมงขึ้นไป ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานทดแทนน้ำตาล ซึ่งก็คือ ไขมัน

กระบวนการเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานจะทำให้เกิดสารที่เป็นกรดชื่อว่า "คีโตน (Ketones)” ไปสะสมอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งร่างกายจะนำสารนั้นมาใช้เป็นพลังงานแทนน้ำตาลกลูโคสที่ขาดไปนั่นเอง 

ภาวะคีโตซิสอันตรายไหม?

ภาวะคีโตซิสนั้นจัดเป็นภาวะที่ไม่ถือว่าเป็นอันตราย แต่อาจทำให้มีผลข้างเคียงในระยะแรกของการปรับตัวได้ เช่น ไข้คีโต (Keto flu) ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรือท้องผูก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ 

อย่างไรก็ตาม คนส่วนมากมักเข้าใจผิดกับภาวะเลือดเป็นกรดด้วยคีโตนในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetic Ketoacidosis: DKA) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานคือ ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลิน (Insulin) ต่ำ และมีคีโตนในปริมาณปานกลางถึงสูง

ภาวะ DKA จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เพราะอาจทำให้หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงไม่ควรทำคีโตเจนิกไดเอทนั่นเอง

ผู้ที่ไม่ควรทำคีโตเจนิกไดเอท หรือรับประทานอาหารคีโต

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การทำคีโตเจนิกไดเอทจะทำให้เกิดภาวะคิโตซิส ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นภาวะ DKA ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของโรคเบาหวานซึ่งจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจทำให้หมดสติ หรือเสียชีวิตได้
  • ผู้ป่วยโรคตับ ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับจึงไม่ควรทำคีโตเจนิกไดเอท
  • ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น ไตวาย ไตเสื่อม ไม่ควรทำคีโตเจนิกไดเอท เพราะความผิดปกติเหล่านี้มักเกิดจากการรับประทานโปรตีนมากเกินไป ซึ่งการทำคีโตเจนิกไดเอทจำเป็นต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณที่ค่อนข้างมากนั่นเอง
  • ผู้มีปัญหาเรื่องการเผาผลาญไขมัน การทำคีโตเจนิกคือ การงดแป้งและน้ำตาล เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญไขมันแทนน้ำตาล ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเผาผลาญไขมัน มีคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง จึงไม่ควรทำคีโตเจนิกไดเอท 
  • ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการบีบตัวของลำไส้ ท้องอืดง่าย หรือเป็นกรดไหลย้อน การเน้นรับประทานไขมันอาจทำให้อาการเหล่านี้กำเริบขึ้นได้

ประโยชน์อื่นๆ ของการทำคีโตเจนิกไดเอท

  • ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การทำคีโตเจนิกจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นการลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันเลว และระดับในเลือด รวมทั้งทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปอย่างปกติ
  • ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ร่างกายชองผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์เผาผลาญกลูโคสได้ไม่ดีมากนักส่งผลต่อการทำงานของสมอง การรับประทานอาหารคีโต เพื่อให้ร่างกายใช้คีโตนเป็นพลังงานแทนกลูโคสจึงช่วยให้ความจำดีขึ้นได้นั่นเอง
  • ป้องกันการเกิดสิว การรับประทานน้ำตาล นอกจากจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินแล้วยังกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้นด้วย ฮอร์โมนดังกล่าวทำให้น้ำมันในผิวมีมากเกินไป รูขุมขนกว้าง ทำให้เกิดสิวหัวดำ และสิวอักเสบ การงดแป้ง หรือน้ำตาล จึงช่วยในการป้องกันสิวนั่นเอง

ตัวอย่างอาหารที่คีโตเจนิกไดเอทสามารถรับประทานได้

ตัวอย่างอาหารที่ผู้ทำคีโตเจนิกไดเอทไม่สามารถรับประทานได้

  • อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ ไอศกรีม ลูกอม ซอสปรุงรส
  • ธัญพืช หรือแป้ง เช่น ข้าว พาสต้า ซีเรียล ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี
  • ผลไม้ เช่น ผลไม้เกือบทุกชนิด ยกเว้นผลไม้ตระกูลเบอร์รี เลมอน อะโวคาโด เนื้อมะพร้าว
  • ผักที่มีหัว เช่น มันฝรั่ง มันหวาน เผือก แครอท ฟักทอง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในแอลกอฮอล์จะทำให้หลุดจากภาวะคีโตซิสได้
  • ผงชูรส เช่น ผงชูรสจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้

การทำคีโตเจนิกไดเอทนั้น หากทำอย่างถูกวิธี เช่น ไม่รับประทานไขมันเลวมากเกินไป เน้นไขมันดี และเสริมสารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่อย่างครบถ้วนก็ไม่เป็นอันตราย อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานอาหารในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนานเกินไปนัก การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังอย่างสม่ำเสมอถึงจะเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rudy Mawer, The Ketogenic Diet: A Detailed Beginner's Guide to Keto (https://www.healthline.com/nutrition/ketogenic-diet-101), 18 December 2019.
Isabella D’Andrea Meira et al. Ketogenic Diet and Epilepsy: What We Know So Far. Frontier in Neuroscience (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6361831/), 18 December 2019.
Blair O’Neill and Paolo Raggi. The ketogenic diet: Pros and cons ( https://www.atherosclerosis-journal.com/article/S0021-9150(19)31589-8/fulltext), 18 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ข้อดีและข้อเสียของสูตรอาหาร Atkins
ข้อดีและข้อเสียของสูตรอาหาร Atkins

ประเมินสูตรอาหาร Atkins เชิงลบและบวกก่อนที่จะเริ่ม

อ่านเพิ่ม
ความเห็นขององค์กรนักกำหนดอาหาร (dietitian) เกี่ยวกับไขมันอิ่มตัว เกลือ และคาร์โบไฮเดรต
ความเห็นขององค์กรนักกำหนดอาหาร (dietitian) เกี่ยวกับไขมันอิ่มตัว เกลือ และคาร์โบไฮเดรต

องค์กรโภชนาการและการกำหนดอาหารให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางที่ประกาศในปี 2015

อ่านเพิ่ม