ความหมายภาวะอะนาไฟแลกซิส
เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันภายหลังจากเกิดปฏิกิริยาระหว่างสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจน (Antigen) กับแอนติบอดี (Antibody) ชนิดไอจีอี (Immunoglobulin E; IgE) ภาวะนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง และไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากทางเดินหายใจถูกอุดกั้นหรือหลอดเลือดแฟบ
สาเหตุภาวะอะนาไฟแลกซิส
เกิดจากได้รับสารโปรตีน Polysaccharide หรือ Haptane ทำให้เกิดอาการจากปฏิกิริยาเฉพาะที่หรือปฏิกิริยาทั่วร่างกาย ในรายที่เป็นลมพิษมีสาเหตุจาก
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- อาหารและสารปรุงแต่งในอาหาร เช่น นมวัว ไข่ ปลา อาหารทะเล ถั่วต่างๆ ผลไม้ สีผสมอาหาร สารปรุงแต่ในอาหาร
- ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอล (แอสไพริน)
- การติดเชื้อไวรัส
- แมลงกัดต่อย เช่น ผึ้ง ตัวต่อ
- อากาศเย็นหรือร้อน
- แสงแดด
- ความเครียด
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนในครั้งแรก เซลล์พลาสมาในเยื่อบุของระบบหายใจและทางเดินอาหารจะสร้างแอนติบอดีชนิด IgE และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นแอนติบอดีเหล่านี้จะไปยึดเกาะกับตัวรับของ IgE บนผนังของเซลล์มาสต์ (พบมากชั้นเยื่อบุและชั้นใกล้หลอดเลือด) และเบโซฟิล (พบในกระแสเลือด) เซลล์ทั้งสองชนิดนี้มีความไวต่อการกระตุ้นให้หลั่งสารเคมีหรือสารสื่อซึ่งมักถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนในครั้งต่อๆ มา แอนติเจนจะไปเกาะจับกับ IgE บนผนังเซลล์ทั้งสองชนิด กระตุ้นให้เซลล์ทั้งสองชนิดหลั่งสารสื่อทำให้ร่างกายเกิดการแพ้สารสื่อต่างๆ เช่น ฮีสตามีน ลิวโคไตรอีน (LTC, LTD, LTE) พรอสตาแกลนดิน แบรดีไคนิน แฟกเตอร์กระตุ้นเกล็ดเลือด เป็นต้น สารเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดแดงเล็กๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น สามารถซึมผ่านหลอดเลือดฝอยได้ง่ายขึ้นและทำให้หลอดลมฝอยหดตัว
ฮีสตามีน จะออกฤทธิ์ที่ตัวรับ H1 และ H2 ของอวัยวะเป้าหมาย การออกฤทธิ์ของอีสตามีนจะทำให้มีผลต่ออวัยวะเป้าหมาย ดังนี้
- หลอดเลือดแดงฝอยส่วนปลายขยายตัว ทำให้ความดันหลอดเลือดต่ำลง สารต่างๆ สามารถซึมผ่านหลอดเลือดฝอยได้ง่ายขึ้น และทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดต่ำลง สารต่างๆ สามารถซึมผ่านหลอดเลือดฝอยได้ง่ายขึ้น และทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดดำฝอยหดตัวเกิดผื่นลมพิษและบวมบริเวณหนังตา ริมฝีปาก และมือ
- ต่อมเมือกขับมูกออกมาทางจมูกและหลอดลมมากขึ้น
- กล้ามเนื้อเรียบหดตัว
- เพิ่มการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน
- กระตุ้นการสร้างอีโอชิโนฟิลเพื่อต้านการอักเสบ
- ควบคุมการกระตุ้นประสาทพาราซิมพาเทติก ซึ่งทำให้เกิดแรงต้านในหลอดลมสูงขึ้นและปอดขยายตัวได้น้อยลง
ลิวโคไตรอีน (LTC, LTD, LTE) ซึ่งสังเคราะห์มาจากฟอสโฟลิปิดของผนังเซลล์มาสและเบโซฟิลเมื่อถูกกระตุ้น การออกฤทธิ์ของลิวโคไตรอีนจะทำให้มีผลต่ออวัยวะเป้าหมาย ดังนี้
- กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดตัว
- สารต่างๆ สามารซึมผ่านหลอดเลือดได้มากขึ้น
- ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวอีโอชิโนฟิลออกมาต่อต้าน
แบรดีไคนิน การออกฤทธิ์ของแบรดีไคนินทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมและหลอดเลือดหดตัวช้าๆ แต่คงอยู่นาน สารต่างๆ สามารถซึมผ่านเข้าหลอดเลือดได้มากขึ้นและต่อมเมือกขับมูกออกมามากขึ้น
แฟกเตอร์กระตุ้นเกล็ดเลือด ออกฤทธิ์ชักนำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกัน มีการหลั่งสารซีโรโตนินอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตและเอนไซม์ไลโซโซม ทำให้หลอดลมหดตัวจนเกิดอาการในระบบหายใจ กระตุ้นการสร้างอีโอชิโนฟิลเป็นจำนวนมาก สารต่างๆ สามารถซึมผ่านเข้าหลอดเลือดได้มากขึ้น
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการภาวะอะนาไฟแลกซิส
อาการที่เกิดจากปฏิกิริยาเฉพาะที่ (Local reactions) อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ผิวหนังเป็นผื่นลมพิษซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มนูน บวมแดง คัน และอาจขยายใหญ่รวมกันเป็นปื้น คัน ร้อนซู่ซ่า ปวดแสบปวดร้อน อาการอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ หนังตาบวม และริมฝีปากบวม นอกจากนี้มีอาการอ่อนเพลีย เหงื่อออก ตาแดงและคัน เยื่อบุจมูกอักเสบทำให้เกิดอาการคัดจมูก มีน้ำมูก คันจมูก จาม สำลัก กลืนลำบาก อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสียในรายที่แพ้อาหาร
อาการที่เกิดจากปฏิกิริยาทั่วร่างกาย (Systemic reactions) จะมีอาการริมฝีปากบวม ลิ้นบวม กล่องเสียงบวม กลืนลำบาก เสียงแหบ หายใจลำบาก หลอดลมหดตัว มีน้ำท่วมปอด ไอ หายใจลำบาก หายใจแรงจนหน้าอกบุ๋ม ปอดมีเสียงหวีด เจ็บหน้าอก มึนงง ความดันเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มึนงง ปวดศีรษะ หมดสติ และมีอาการชัก
ในกรณีที่เกิดภาวะ Anaphylaxis จากการแพ้ยา ผู้ป่วยมักมีไข้ มีผื่นลมพิษ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใบหน้าและมือบวม รวมทั้งมีการทำลายเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการล้าและอ่อนเพลีย ปัสสาวะเป็นสีชมพูหรือสีดำ นอกจากนี้เกล็ดเลือดยังถูกทำลาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกตามไรฟัน เลือดหยุดยากเมื่อฉีดยา และมีประจำเดือนมากขึ้น
การวินิจฉัยโรค
จากประวัติมีอาการคันหรือมีผื่นขึ้นทันทีทันใด ประวัติการใช้ยา เช่น ยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอล (เช่น แอสไพริน อินโดเมทาซิน ไอบูโฟรเฟน) ยาลดความดันเลือดบางชนิด ยากันชัก เป็นต้น การรับประทานอาหาร การเจ็บป่วย อาจมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อย ริมฝีปากบวม ลำคอบวม พูดและกลืนลำบาก อาจมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย อาจมีอาการมึนงงหรือหมดสติ ตรวจร่างกายจะพบชีพจรเบา เร็ว ไม่สม่ำเสมอ หรือจับชีพจรไม่ได้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม หายใจแรงจนหน้าอกบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้าเขียว ฟังปอดมีเสียงเบาและมีเสียงวีชส์ เสียงแหบ กลืนลำบากเนื่องจากกล่องเสียงบวม มีผื่นลมพิษ หน้าตาบวมแดง ริมฝีปากบวม ลิ้นและคอบวม ความดันเลือดต่ำ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และไม่รู้สึกตัว ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram; EKG) พบอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ อาจพบระดับ Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine, Aspartate amino transferase (AST) หรือ Lactic acid dehydrogenase (LDH) สูงกว่าปกติ หากเกิดจากการแพ้ยา ตรวจดูจำนวนเม็ดเลือดแดง (Complete blood count; CBC) พบจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red blood cell; RBC) และเกล็ดเลือด (Platelet) ต่ำ ตรวจดูเม็ดเลือดขาว (White blood cell; WBC) พบ Eosinophil สูง ทดสอบการแพ้ของผิวหนัง (Skin test) จะได้ผลบวก
การรักษา
รักษาโดยให้ยา Epinephrine ในระยะฉุกเฉิน ให้สารน้ำ ออกซิเจน ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) และ Corticosteroids ภายหลังเกิด Anaphylaxis อาจรักษาโดย Immunotherapy ซึ่งเป็นการรักษาโดยฉีดสารละลายที่สกัดจากสารที่ก่อภูมิแพ้ให้แก่ผู้ป่วยจากปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องนาน 3-5 ปี จนผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้หลังจากได้รับสารชนิดนั้นอีก
การพยาบาล
เน้นการป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนและภาวะช็อก ลดความไม่สุขสบาย ความกลัว วิตกกังวล และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง ระวังเรื่องแพ้ยาฉีด เช่น ยา Penicillin จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูงให้ O2 cannula 5-10 ลิตร/นาที กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจช้างๆ ลึกๆ ดูดเสมหะออกจากปาก ลำคอและจมูก หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ ฉีด Epinephrine (1: 1000) 0.3 มิลลิลิตรทางชั้นใต้ผิวหนังทันที เปิดเส้นเลือดดำและให้ 5%D/W 500 มิลลิลิตร IV drip 80-100 มิลลิลิตร/ชั่วโมง วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาทีเพื่อเฝ้าระวังการเกิดภาวะช็อกจาก Anaphylaxis