กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Azelastine (อะเซลาสทีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

อะเซลาสทีน (Azelastine) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ที่วางจำหน่ายทั้งในรูปแบบของยาหยอดตา สำหรับรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และยาหยอดจมูก สำหรับรักษาโรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อะเซลาสทีนเป็นอนุพันธ์ของธาลาซิโนน (Phthalazinone) ที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งตัวรับฮิสตามีน หรือสารก่อภูมิแพ้ ชนิดที่ 1 (H1-receptor) ที่ถูกปลดปล่อยออกมาเข้าจับกับตัวรับและตอบสนองต่อการแพ้ได้ นอกจากนี้แล้วอะเซลาสทีนยังมีฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวกันของสารสื่อกลางการอักเสบ ได้แก่ ลิวโคไตรอีน (Leukotriene) PAF (Platelet activation factor: แฟกเตอร์ที่กระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด) เซโรโทนิน (Serotonin) และเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (Eosinophil)

ยาอะเซลาสทีนได้รับการอนุมัติข้อบ่งใช้ดังกล่าว มีวางจำหน่ายในประเทศไทยในรูปแบบสเปรย์พ่นจมูกในชื่อการค้า DYMISTA® (ยาผสมระหว่างอะเซลาสทีนและฟลูติคาโซน โพรพิโอเนท (Fluticasone propionate) ซึ่งเป็นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้ของ Azelastine

  • รักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic conjunctivitis)
  • รักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเป็นทั้งปี (Perennial conjunctivitis)
  • รักษาโรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)

ขนาดและวิธีการใช้ยา Azelastine 

  • ข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ยาในรูปแบบยาหยอดตา
    • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ หยอดวันละ 2 ครั้ง สามารถเพิ่มขนาดการหยอดตาได้สูงสุดวันละ 4 ครั้ง
    • ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 12-17 ปี ใช้ขนาดเดียวกันกับในผู้ใหญ่
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ชนิดเป็นทั้งปี ยาในรูปแบบยาหยอดตา
    • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ หยอดวันละ 2 ครั้ง สามารถเพิ่มขนาดการหยอดตาได้สูงสุดวันละ 4 ครั้ง โดยใช้ยาต่อเนื่องนานที่สุดไม่เกิน 6 สัปดาห์
    • ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 12-17 ปี ใช้ขนาดเดียวกันกับในผู้ใหญ่
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ยาในรูปแบบสเปรย์พ่นจมูก
    • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ พ่นสเปรย์ลงในจมูกแต่ละข้าง ข้างละ 1 สเปรย์ วันละ 2 ครั้ง
    • ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 6-17 ปี ใช้ขนาดเดียวกันกับในผู้ใหญ่

ผลข้างเคียงของยา Azelastine 

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของยาอะเซลาสทีน ได้แก่ รู้สึกขมคอ (หากพ่นจมูกผิดวิธีและยาไหลลงคอ) ระคายเคืองตา ตาอักเสบ (ยาในรูปแบบยาหยอดตา) ระคายเคืองจมูก คันจมูก จาม (ยาในรูปแบบสเปรย์พ่นจมูก) อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปากแห้ง คลื่นไส้ อ่อนแรง ปวดศีรษะ ง่วงซึม

ข้อควรระวังของยา Azelastine 

  • ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Category C (ทั้งยาชนิดยาหยอดตาและสเปรย์พ่นจมูก) ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ควรใช้ยานี้เฉพาะเมื่อแพทย์มีความเห็นว่า ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากยามากกว่าความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร และในเด็ก
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกันของตัวยากับคอนแทกเลนส์ชนิดอ่อน (Soft contact lens) หากสวมใส่คอนแทกเลนส์ แนะนำให้ใช้ยาในช่วงที่ไม่ได้ใส่คอนแทกเลนส์ หรือถอดคอนแทกเลนส์ออกก่อนหยอดยา
  • ยานี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตา และทำให้เกิดอาการง่วงได้ หากเกิดอาการดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับเครื่องจักร หรือขับขี่ยานพาหนะ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ร่วมกับแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์ในการกดประสาท
  • การใช้ยาพ่นจมูก 1 ครั้งมีปริมาณยาเทียบเท่ากับประมาณ 140 ไมโครกรัม


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Azelastine Nasal Spray Drug Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697014.html)
Astelin (Azelastine Hydrochloride): Uses, Dosage, Side Effects, Interactions, Warning. RxList. (https://www.rxlist.com/astelin-drug.htm)
Azelastine (Nasal Route) Description and Brand Names. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/azelastine-nasal-route/description/drg-20068252)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)