อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องวิตามินและแร่ธาตุส่งผลถึงอารมณ์ของคุณอย่างไร ตลอดจนข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ต้านภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และเครียด ยาที่อาจเพิ่มปัญหาให้คุณ
และยาที่คุณไม่คาดคิดว่าอาจทําให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
วิตามินและแร่ธาตุส่งผลถึงอารมณ์ของคุณอย่างไร
การค้นพบที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกว่าโรคทางจิตใจมีส่วน เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร เกิดขึ้นเมื่อแพทย์พบว่าโรคเพลลากร้า pellagra (ซึ่งมีอาการซึมเศร้า ท้องเสีย และความจําเสื่อม) สามารถรักษาได้ ด้วยการรับประทานไนอะซิน หลังจากนั้นจึงมีการพบเพิ่มเติมว่า การรับประทาน วิตามินบีรวมทั้งหมดเสริม จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้มากกว่าไนอะซินเพียง อย่างเดียว
หลักฐานที่บ่งว่าสารเคมีในร่างกายอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ของจิตใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการทดลองที่พบว่า อาการป่วยของจิตใจอาจแย่ลง หรือดีขึ้นได้ ตามระดับของวิตามินในร่างกาย
นายแพทย์ อาร์. ชุลแมน ได้รายงานในวารสารทางการแพทย์ British Journal of Psychiatry ถึงการค้นพบของเขาว่า ผู้ป่วยด้วยโรคทางจิต 48 คนจากทั้งหมด 49 คน มีภาวะขาดกรดโฟลิกในร่างกาย อีกงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจทางใจหรือมีปัญหาทางอารมณ์ส่วนใหญ่มักขาดวิตามินบี วิตามินซี ตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งหมด และแม้ในคนปกติที่มีความสุขดีก็พบว่า หากขาดเนอะซินหรือกรดโฟลิกจะมีอาการซึมเศร้าหรือมีความผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆเกิดขึ้นได้
สารอาหารที่ต้านภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และเครียด
- วิตามินบี 1 (ไทอะมีน) ปริมาณที่มากกว่าปกติช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและการกําเริบของอาการวิตกกังวล
- วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน) ส่งเสริมการสร้างของสารต้านการซึมเศร้าที่มีอยู่ในร่างกายเรา เช่นโดปามีนและนอร์เอพิเนฟรินกรดแพนโทเทนิก ตัวช่วยบรรเทาความตึงเครียดจากธรรมชาติ
- วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก)สําคัญอย่างยิ่งยวดในการต่อสู้กับความเครียด
- วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)บรรเทาอาการหงุดหงิด ทําให้สมาธิดีขึ้น เพิ่มพลังงานและช่วยบํารุงระบบประสาท
- โคลีน ส่งสัญญาณประสาทไปยังสมอง ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย
- วิตามินอี (แบบแห้ง)ช่วยให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนที่ต้องการ
- (แอลฟา-โทโคฟีรอล)
- กรดโฟลิก (โฟลาซิน)พบว่าการขาดกรดโฟลิกมีส่วนต่อการเกิดอาการป่วยทางจิตใจได้
- สังกะสีส่งเสริมให้กระฉับกระเฉง และช่วยในการทํางานต่างๆ ของสมอง
- แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยคลายเครียด มีความจําเป็นต่อการทํางานของเส้นประสาท
- แมงกานีสช่วยลดความหงุดหงิด กังวลใจ
- ไนอะซินมีความสําคัญต่อการทํางานของระบบประสาท
- แคลเซียมบรรเทาความตึงเครียด หงุดหงิด และช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
- ไทโรซีน ช่วยเพิ่มอัตราการสร้างสารสื่อประสาทที่ลดการ ซึมเศร้า คือ โดปามีนและนอร์เอพิเนฟริน โดยเซลล์สมอง
- ทริปโตแฟนทํางานร่วมกับวิตามินบี 6 ไนอะซิน และแมกนี้ เซียม ในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท เซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารกล่อมประสาทตามธรรมชาติ
- ฟีนิลอะลานีนสมองจําเป็นต้องใช้ในการหลั่งสารสื่อประสาท ที่ลดการซึมเศร้า คือ โดปามีนและนอร์เอพิเนฟริน
ยาที่อาจเพิ่มปัญหาให้คุณ
แอลกอฮอล์เป็นสารที่ทําให้เกิดอาการซึมเศร้า หากคุณรับประทานยา กล่อมประสาทร่วมกับดื่มเหล้า อาจทําให้เกิดอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง หรือ อาจถึงแก่ชีวิตได้
หากคุณรับประทานยานอนหลับร่วมกับยาแก้แพ้กลุ่มแอนติฮิสตามีน (ซึ่ง พบได้ในยาแก้หวัดที่มีจําหน่ายตามร้ายขายยา) อาจทําให้มีอาการมือสั่นและ สับสนได้
ยาคุมกําเนิดทําให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบี 6 ปี 12 กรดโฟลิก และ วิตามินซี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด หากคุณรับประทานยาคุมกําเนิดแล้ว รู้สึกซึมเศร้า พบว่าความต้องการวิตามินบี 6 ซึ่งจําเป็นต่อการเผาผลาญ ทริปโตแฟนในผู้ที่รับประทานยาคุมกําเนิดนั้นมากเป็น 50-100 เท่าของคนปกติ เลยทีเดียว
ยาที่คุณไม่คาดคิดว่าอาจทําให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
รายชื่อยาต่อไปนี้อาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ก็ล้วนเป็นยาที่ทําให้ร่างกาย ต้องสูญเสียสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ไปไม่มากก็น้อย (ดู เพิ่มเติมในตอนที่ 331) ดังนั้น หากคุณรับประทานยาเพื่อรักษาอาการอื่นๆ และรู้สึกซึมเศร้าขึ้นมา อาจเป็นไปได้ว่าอารมณ์ที่ปรวนแปรนั้นไม่ได้เป็นเรื่อง ของจิตใจก็ได้!
- แซนแทค
- เตตราไซคลีน
- ไตรเมโทเบนซาไมด์
- ทากาเมต
- ไนโตรฟูแรนโทอิน
- บาร์บิทูเรต
- เบต้าบล็อกเกอร์ (อินเดอราล)
- แบโคลเฟน
- เพนิซิลลามีน
- เพนิซิลลิน
- โพแทสเซียม
- โพรเคนนาไมด์
- โพรพ็อกซีฟีน (ดาร์วอน)
- ไพรเมทามีน (ดาราพริม)
- ฟลูออไรด์
- ฟีในโทอิน (ไดแลนติน)
- เมโทเทรกเสต
- เมเพรดนิโซน
- ยากล่อมประสาท (ลิเบรียม, ซาแนกซ์ ฯลฯ)
- ยากันชัก
- ยาแก้ปวด
- ยาแก้ปวดกลุ่มนาร์โคติก
- ยาแก้แพ้
- กลุ่มแอนติฮิสตามีน
- ยาขับปัสสาวะ
- ยาคุมกําเนิด
- ยาต้านการซึมเศร้า (ใช่ครับ คุณอ่านไม่ผิดหรอก)
- ยาที่ใช้ในโรคข้ออักเสบ - ยานอนหลับ
- ยาปฏิชีวนะ
- ยาระบาย
- ยาลดความดันโลหิต
- สเตียรอยด์สังเคราะห์ (เพรดนิโซโลน, คอร์ติโซน ฯลฯ)
- อะดรีโนคอร์ติคอยด์
- อินโดเมทาซิน (อินโดซิน)
- แอมเฟตามีน (ยาบ้า)
- ไอโซไนอะซิด (ไอเอ็นเอช ยารักษาวัณโรค)
- ฮอร์โมน (เอสโทรเจน รวมทั้งพรีมาริน และโพรเจสตินสังเคราะห์ เช่น โพรเวรา)
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล