วิตามิน เป็นสารอาหารสำคัญอีกชนิดที่ร่างกายขาดไม่ได้ เหมือนกับโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เพราะมีส่วนช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
แต่ปัญหาสำคัญคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายของเรากำลังขาดวิตามิน หรือแร่ธาตุชนิดใดบ้าง เนื่องจากวิตามินบางชนิดหากรับประทานมากเกินไปก็อาจสะสมในร่างกายทำให้เกิดอันตรายตามมาได้
การตรวจระดับวิตามินในร่างกายจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้รู้ว่า วิตามินในร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ เพื่อที่จะได้เสริมวิตามินนั้นๆ ได้อย่างตรงจุด
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประเภทของวิตามิน
วิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี7 บี9 บี12 และวิตามินซี กลุ่มนี้จะอยู่ในร่างกายประมาณ 2-4 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางปัสสาวะ โอกาสที่จะสะสมในร่างกายจึงมีน้อย ไม่ค่อยก่อผลข้างเคียง
- วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค ซึ่งละลายในไขมัน หรือน้ำมันเท่านั้นเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินไปจะเก็บสะสมไว้ในร่างกาย
ทำไมจึงควรตรวจวิตามิน?
เพราะคนส่วนใหญ่มักซื้อวิตามินจากร้านสะดวกซื้อและร้านขายยาทั่วไปมารับประทานเอง โดยไม่ทราบว่า ร่างกายของเราขาดวิตามินชนิดนั้นๆ จริงหรือไม่ แต่ซื้อเพราะเข้าใจว่า ยิ่งรับประทานมากก็ยิ่งได้รับสรรพคุณที่ระบุไว้มากตามไปด้วย
แต่จริงๆ แล้วร่างกายของเราสามารถดูดซึมวิตามินในปริมาณที่จำกัด ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางปัสสาวะ การรับประทานมากเกินไปจึงไม่มีผลใดๆ กับร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นวิตามินบางชนิด หากร่างกายนำไปใช้ไม่หมดจะสะสมไว้ในร่างกายจนอาจเป็นอันตรายได้
การตรวจวิตามินในร่างกายจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ทราบว่า ร่างกายขาดวิตามินชนิดใดก่อนจะเลือกซื้อมารับประทาน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายสูงสุดและเพื่อปรับวิธีการใช้ชีวิต หรือการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะเป็นวัยที่มักจะอยู่กับความเครียดและมีโอกาสรับสารอาหารที่มีประโยชน์น้อยลง
วิตามินที่สำคัญต่อร่างกายมีอะไรบ้าง?
วิตามินเอ
- มีส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยลดการอักเสบของสิว
- ช่วยลดจุดด่างดำ
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
- ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 4,000-5,000 IU
- ถ้าร่างกายขาดวิตามินเออาจส่งผลให้ผิวหนังหยาบ แห้ง มีตุ่มสาก และอาจมีปัญหาด้านการมองเห็นในที่มืด
วิตามินบี1
- มีส่วนสำคัญในการเสริมการทำงานของระบบหัวใจและกล้ามเนื้อ
- ช่วยเพิ่มการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
- ปริมาณที่แนะนำ คือ 1–1.5 มิลลิกรัมต่อวัน
- อาการของผู้ที่ขาดวิตามินบี 1 คือ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริวบ่อย กล้ามเนื้อแขนและขาไม่มีกำลัง อาจมีอาการใจสั่นหัวใจโตและเต้นเร็ว หอบ เหนื่อย
วิตามินบี2
- ช่วยในการเผาผลาญไขมัน
- ช่วยในการทำงานของสายตา โดยเฉพาะบริเวณเรตินา
- ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 1.2-1.7 มิลลิกรัม
- ถ้าขาดวิตามินบี 2 จะทำให้เป็นโรคปากนกกระจอกนั่นคือ มุมปากเปื่อย ลิ้นมีสีแดงกว่าปกติและเจ็บ มีแผลภายในปาก ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ อาจรู้สึกคันและปวดแสบปวดร้อนที่ตา หรืออ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และหงุดหงิดง่าย
วิตามินบี6
- มีส่วนช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือด
- เผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน
- ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพดี
- ปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม
- ถ้าขาดวิตามินบี 6 อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง และโรคหลอดเลือดอุดตัน
วิตามินบี9
- เรียกอีกชื่อว่า "โฟเลต" หรือ "กรดโฟลิก" มีแร่ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม ทองแดง
- ช่วยซ่อมแซมและสังเคราะห์ DNA ในร่างกายเราให้ทำงานได้ตามปกติ
- ช่วยชะลอความชรา
- ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในร่างกาย
- ช่วยในการป้องกันภาวะโลหิตจาง โรคตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูก
- ช่วยป้องกันการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์ได้ด้วยและสามารถป้องกันภาวะสมองพิการและผิดปกติของเด็กทารกรวมถึงอาการแคระแกร็นในเด็ก วิตามินชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีมีครรภ์ โดยปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 600 ไมโครกรัม
- ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับคนปกติคือ 400 ไมโครกรัม
วิตามินบี12
- ช่วยให้ร่างกายนำคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
- ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
- ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 2.4 ไมโครกรัมต่อวัน
- อาการขาดวิตามินบี 12 ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกอ่อนล้า ท้องผูก น้ำหนักลด มึนงง ปวดศีรษะ ความจำไม่ดี ชาแปลบๆ บริเวณมือและเท้า
วิตามินซี
- มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
- มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ
- ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยให้บาดแผลหายเร็วยิ่งขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน รวมทั้งมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณด้วย
- ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน ในคนปกติ
- ในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้สูงอายุ ควรได้รับวิตามินซีมากกว่าคนปกติคือ ประมาณ 70-96 มิลลิกรัมต่อวัน
- หากขาดวิตามินซี อาจทำให้เจ็บป่วยบ่อย เนื่องจากมีความต้านทานโรคต่ำ เหงือกบวมแดง เลือดออกง่าย เลือดออกตามไรฟันง่าย ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง
วิตามินดี
- เป็นวิตามินที่คนทั่วโลกขาดเยอะมาก โดยมีส่วนช่วยเก็บแคลเซียมเข้ากระดูก บำรุงกระดูกให้แข็งแรง
- ช่วยให่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
- ป้องกันโรคกระดูกบางและกระดูกพรุนได้
- ปริมาณที่ควรได้รับคือ ไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อวัน
- หากขาดวิตามินดีจะทำให้ผมร่วง ปวดหลัง ปวดกระดูก มวลกระดูกลดลง แผลหายช้า อ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท ลดการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะกระทบการปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้
วิตามินอี
- ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและการอุดตันของเส้นเลือด
- ลดการเกิดกระบวนการอักเสบในร่างกาย
- ลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน
- ชะลอการเสื่อมของเซลล์
- กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และกล้ามเนื้อ
- ช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย
- ช่วยเกี่ยวกับการบำรุงผิวพรรณ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ
- โดยปริมาณที่ควรได้รับคือ ไม่ควรเกิน 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน
- หากขาดวิตามินอีอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง มีความผิดปกติของสมอง มือสั้น เดินเซ แต่โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยพบผู้ที่ขาดวิตามินชนิดนี้
วิตามินเค
- ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
- บรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
- ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
- ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง
- ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 65-80 ไมโครกรัม
- ผู้ที่ขาดวิตามินเคอาจมีเลือดออกมาก เขียวช้ำง่าย ปวดประจำเดือนมาก ประจำเดือนมามากกว่าปกติ มวลกระดูกลดลง หรืออาจมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้
วิตามินที่มีส่วนช่วยเรื่องผิวพรรณ
วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อผิวพรรณและการชะลอวัยนั้นมี 8 ชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี อัลฟา- คาโรทีน (alpha-Carotene) เบตา-แคโรทีน (Beta-Carotene) ไลโคปีน (Lycopene )และโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10)
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตรวจวิตามินได้ที่ไหน ใครควรตรวจวิตามิน?
ปัจจุบันโรงพยาบาลชั้นนำทั่วไปมีโปรแกรมการตรวจวิตามินให้บริการ โดยเหมาะสำหรับกลุ่มคนดังนี้
- ผู้ที่พบความผิดปกติทางร่างกายซึ่งอาจเชื่อมโยงได้ว่า มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามิน
- ผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพ
- ผู้ที่สนใจด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ต้องการให้ร่างกายและผิวพรรณแลดูอ่อนวัยขึ้น
- ผู้ที่สนใจ หรือรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริมเป็นประจำ
- ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยา (Pharmacological) เช่น การได้รับเคมีบำบัด การได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ผ่านการผ่าตัด เป็นต้น
- ผู้ที่มีความเครียดสูง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ
- ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีพิษ
- ผู้ที่มีระบบดูดซึมไม่ดี มีปัญหาลำไส้
- ผู้ที่รับประทานอาหารได้น้อย
- ผู้ที่อยู่ระหว่างลดน้ำหนัก
- ผู้ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ (Oxidative stress-related disease) เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น
ทั้งนี้หากตรวจแล้วพบว่า ระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายผิดปกติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยอาจสั่งจ่ายวิตามินที่ปรุงเฉพาะบุคคล (Personalization vitamin) ให้รับประทานเพื่อทดแทนวิตามินที่ขาดหายไปอย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล
เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีการขาดวิตามินรวมถึงแร่ธาตุที่ต่างกันไปรวมถึงปริมาณที่ไม่เท่ากันด้วย
ในการรับประทานวิตามินเสริมไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของวิตามินเม็ดเท่านั้น แต่เป็นวิตามินจากอาหาร ผัก หรือผลไม้ที่มีประโยชน์ได้เช่นกัน นอกจากจะได้วิตามินที่เหมือนวิตามินเม็ดแล้ว ยังได้สารอาหารสำคัญอื่นๆ ที่วิตามินรูปแบบเม็ดให้ไม่ได้ด้วย
สำหรับผู้ที่ตรวจไม่พบความปกติใดๆ ทางร่างกายก็ไม่จำเป็นต้องตรวจวิตามินเสริมก็ได้ เพียงแค่ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ร่วมกับตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำก็สามารถชะลอวัย ชะลอโรคได้แล้ว
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android