โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่มีความเสียหายของเซลล์ประสาทภายในสมอง ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีนมีปริมาณลดลงและเป็นสาเหตุของอาการ ได้แก่ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า ร่างกายแข็งเกร็ง

บทนำโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน คือโรคที่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับสมอง เมื่อเวลาผ่านไปความเสียหายจะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการหลักของโรคพาร์กินสันมี 3 อาการ ได้แก่:

  • อาการสั่นของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ (tremor)
  • เคลื่อนไหวร่างกายช้า
  • ร่างกายแข็งเกร็ง กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่น

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจมีอาการอื่นๆ ทางด้านร่างกายและจิตใจด้วย ได้แก่:

  • ซึมเศร้า และวิตกกังวล
  • ปัญหาด้านการทรงตัวของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อการหกล้มได้
  • สูญเสียสัมผัสด้านการดมกลิ่น
  • ปัญหาด้านการนอนหลับ (นอนไม่หลับ)
  • ปัญหาด้านความทรงจำ

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

หากคุณรู้สึกกังวลถึงอาการว่าคุณอาจเป็นโรคพาร์กินสัน ขอแนะนำให้คุณไปพบแพทย์

แพทย์จะสอบถามถึงอาการ/ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณ และอาจส่งต่อคุณไปรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเกิดขึ้นเพราะร่างกายมีการสูญเสียเซลล์ประสาทภายในสมองส่วนที่เรียกว่า substantia nigra ทำให้ปริมาณสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน (dopamine) มีปริมาณลดลง

โดปามีนเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การลดลงของสารสื่อประสาทโดปามีนทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคพาร์กินสัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของการสูญเสียเซลล์ประสาทภายในสมอง ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คิดว่าสาเหตุนั้นเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ใครบ้างที่ได้รับผลกระทบจากโรคพาร์กินสัน

พบผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้ประมาณ 1 ใน 500 คน ดังนั้นประมาณการว่าในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยพาร์กินสัน 137,000 คน

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งประมาณ 1 ใน 20 ของผู้ป่วยพาร์กินสันที่เริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 40 ปี

ผู้ชายจะมีโอกาสเป็นโรคพาร์กินสันมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย

การรักษาโรคพาร์กินสัน

แม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีวิธีรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาด แต่การรักษาที่มีในปัจจุบันจะช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

การรักษามีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การทำกายภาพบำบัด และการทำกิจกรรมบำบัด
  • การใช้ยา
  • ในบางกรณี อาจเลือกใช้การผ่าตัดสมอง

คุณอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ ในระยะแรกของโรคพาร์กินสันเพราะช่วงแรกมักมีอาการในระดับเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคุณอาจจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แพทย์ผู้ป่วยเชี่ยวชาญติดตามอาการที่คุณเป็น

ภาพอนาคตของโรคพาร์กินสัน

เนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มีการดำเนินไปของโรคอย่างต่อเนื่อง อาการของโรคพาร์กินสันจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นหากปราศจากการช่วยเหลือ

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหลาคนตอบสนองดีต่อการรักษาและมีอาการเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น แต่จะมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น

โรคพาร์กินสันไม่ได้เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยตรง แต่โรคนี้ทำให้เกิดความเครียดเกิดขึ้นกับร่างกายอย่างมาก และทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามด้วยวิวัฒนาการการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน พบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่มีชีวิตยืนยาวได้เหมือนคนทั่วไปหรือใกล้เคียงคนทั่วไป

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/parkinsons-disease


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parkinson's Disease | PD. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/parkinsonsdisease.html)
Parkinson's disease: Early signs, causes, and risk factors. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323396)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)