กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Conjugated Linoleic Acid (กรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิก)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

กรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิก (Conjugated linoleic acid) หรือ CLA คือชุดสารเคมีที่พบในกรดไขมันไลโนอิก (Linoleic acid) ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อวัว น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เนย ชีส เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วย CLA สารอาหารต่อวันโดยเฉลี่ยของซีแอลเอคือ 15-174 มิลลิกรัม/วัน

ซีแอลเอใช้รับประทานเพื่อลดน้ำหนัก สามารถลดการสะสมของไขมันในร่างกาย อีกทั้งยังใช้เสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง แต่ก็ยังคงขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันประโยชน์เหล่านี้อยู่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กรดคอนจูเกเตดไลโนอิกหรือ CLA ทำงานอย่างไร?

CLA อาจช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายและเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังลดโอกาสในการเกิดมะเร็ง ชะลอการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ชะลอการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และเพื่อการสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูก

ภาวะที่อาจใช้กรดคอนจูเกเตดไลโนอิกหรือ CLA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ความดันโลหิตสูง การรับประทาน CLA พร้อมกับยารามิพริล (Ramipril) อาจช่วยลดความดันโลหิตลงได้มากกว่าการใช้ยารามิพริลเพียงตัวเดียว
  • ภาวะอ้วน (Obesity) การรับประทาน CLA ทุกวันอาจช่วยลดไขมันในร่างกายของผู้ใหญ่ อีกทั้งซีแอลเอยังอาจช่วยลดความอยากอาหารได้ด้วย ซีแอลเอไม่อาจลดน้ำหนักร่างกายหรือดัชนีมวลกาย (ฺBody mass index (BMI)) ของผู้คนส่วนมากได้ อีกทั้งการรับประทานซีแอลเอก็ไม่ได้ช่วยป้องกันน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่เพิ่งลดน้ำหนักช่วงระยะสั้น การใส่ซีแอลเอเข้ากับอาหารไขมันสูงก็ไม่ได้ช่วยในเรื่องลดน้ำหนัก แต่การเพิ่มซีแอลเอในนมอาจช่วยลดไขมันของผู้ใหญ่ที่อ้วนได้
    สำหรับเด็ก การรับประทานซีแอลเอ 3 กรัมทุกวันอาจช่วยลดไขมันร่างกายได้ ขณะเดียวกันซีแอลเออาจช่วยลดน้ำหนักในเด็กได้อีกด้วย แต่ก็มีข้อมูลวิจัยว่าการรับประทานซีแอลเอบางประเภท (The trans-10, cis-12 isomer) อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจได้ ณ ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าอาหารเสริมที่มีซีแอลเอรูปแบบต่างๆ จะมีความเสี่ยงเช่นนี้หรือไม่

ภาวะที่กรดคอนจูเกเตดไลโนอิกหรือ CLA อาจไม่สามารถรักษาได้

  • ไข้หวัด (Common cold) งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทาน CLA ไม่ได้ช่วยป้องกันหรือลดอาการของไข้หวัดได้
  • เบาหวาน (Diabetes) การรับประทานซีแอลเอไม่ได้ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรืออินซูลินทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่อย่างใด
  • ประสิทธิภาพการออกกำลังกาย การรับประทานซีแอลเอร่วมกับการฝึกแอโรบิกไม่ได้ช่วยเพิ่มความทนทานให้แก่กำลังของกล้ามเนื้อ การหายใจ หรือลดความเหนื่อยล้า แต่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความทนทานจากการออกกำลังกายแบบแรงต้าน
  • คอเลสเตอรอลสูง การดื่มนมที่มีส่วนผสมของซีแอลเอไม่ได้ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอไรด์) ของผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูงไม่รุนแรงแต่อย่างใด 

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานและยังไม่มีข้อสรุปว่าใช้กรดคอนจูเกเตดไลโนอิกหรือ CLA รักษาได้หรือไม่

  • ภูมิแพ้ (ไข้ละอองฟาง (hay fever)) การรับประทาน CLA เป็นเวลา 12 สัปดาห์อาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้ต้นเบิร์ช (และพืชอื่นๆ อาทิ แอปเปิ้ล แครอท แอปริคอต เชอรี่ กีวี ลูกพีช ลูกแพร พลัม มะเขือเทศ พริกไทยสด มันฝรั่ง ผักชีฝรั่ง (Parsley) อัลมอนด์ ฮาเซลนัท ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน (Sunflower seed) วอลนัท (Walnut) หรือคึ่นช่ายฝรั่ง (Celery) เป็นต้น) แต่อาจไม่ช่วยแก้อาการภูมิแพ้
  • หอบหืด (Asthma) การรับประทานกรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกเป็นเวลา 12 สัปดาห์อาจช่วยลดความอ่อนไหวของหลอดลมและความสามารถในการออกกำลังของผู้ป่วยหอบหืดได้ อย่างไรก็ตาม ซีแอลเออาจไม่ช่วยลดความจำเป็นของยาพ่น และไม่ได้ช่วยเพิ่มปริมาตรอากาศที่ปอดสามารถรับได้
  • มะเร็งเต้านม (Breast cancer) งานวิจัยในเรื่องผลกระทบของการใช้ซีแอลเอเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมยังคงขัดแย้งกันอยู่ บ้างก็พบว่าการบริโภคซีแอลเอจากอาหารในปริมาณสูงโดยเฉพาะจากชีสนั้นเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม แต่บ้างก็พบว่าการเพิ่มปริมาณการบริโภคซีแอลเอจากอาหารไม่ได้เชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด อีกทั้งบางงานวิจัยก็พบว่าการรับประทานซีแอลเอที่สูงขึ้นอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเสียเอง
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colon and rectal cancer) งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าอาหารที่มีซีแอลเอสูงอาจเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักของผู้หญิง แต่ยังคงไม่ชัดเจนว่าการรับประทานอาหารเสริมซีแอลเอจะให้ประโยชน์เช่นนี้หรือไม่
  • โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) การรับประทานซีแอลเอเป็นเวลา 90 วันร่วมกับการรับประทานอาหารจะช่วยลดไขมันร่างกายลงเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานของผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง อย่างไรก็ตาม ผลของยาอาจไม่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหรือความดันโลหิต
  • ความแข็งแรง งานวิจัยเรื่องผลกระทบของซีแอลเอกับความแข็งแรงยังคงขัดแย้งกันอยู่ บ้างก็แสดงให้เห็นว่าการรับประทานซีแอลเอทั้งแบบเดี่ยวหรือร่วมกับครีเอทีน (Creatine) และเวย์โปรตีน (Whey protein) จะช่วยเพิ่มระดับความแข็งแรงและเนื้อเยื่อมวลเนื้อเยื่อแดง (Lean tissue) ของผู้ที่ออกกำลังกายแบบเน้นกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าซีแอลเอไม่ได้เพิ่มความแข็งแรงของร่างกายหรือมวลร่างกายใดๆ แม้จะรับประทานร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อก็ตาม
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานซีแอลเอทั้งแบบเดี่ยวหรือพร้อมวิตามินอี (Vitamin E) จะช่วยลดความเจ็บปวดและปวดข้อตอนเช้าลงได้ อีกทั้งยังบ่งชี้อาการบวมเมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ที่ยังไม่ได้รับการรักษา

ผลข้างเคียงและหลักการใช้ CLA ให้ปลอดภัย

CLA ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานตามปริมาณที่พบในอาหาร และอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานตามที่แพทย์กำหนด (ซึ่งเป็นปริมาณมากกว่าที่จะพบในอาหาร) ซีแอลเออาจทำให้เกิดผลข้างเคียง อย่างปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดหลัง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออก ในกรณีหายาก ซีแอลเออาจทำให้ตับเป็นพิษได้ด้วย

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

เด็ก CLA สำหรับเด็กนั้นอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่ใช้ทางการแพทย์เป็นเวลานานถึง 7 เดือน ณ ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่จะมายืนยันการใช้กรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกในระยะยาวอยู่

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ซีแอลเอจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่พบในอาหาร แต่ยังคงขาดหลักฐานว่าการใช้ซีแอลเอในปริมาณที่ใช้กันทางการแพทย์ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรนั้นปลอดภัยหรือไม่ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยคนกลุ่มนี้จึงไม่ควรใช้ซีแอลเอ

ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding disorders) ซีแอลเอจะชะลอการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งทางทฤษฎีแล้วซีแอลเออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการฟกช้ำและการเลือดออกของผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะเลือดออกผิดปกติ

เบาหวาน (Diabetes) มีข้อกังวลว่าการใช้ซีแอลเอจะทำให้โรคเบาหวานทรุดลง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซีแอลเอกับผู้ป่วยเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) มีข้อกังวลว่าการใช้ซีแอลเอจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มคนที่เป็นโรคอ้วนลงพุง ดังนั้นจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การผ่าตัด ซีแอลเออาจทำให้เลือดออกภายในทั้งระหว่างและหลังจากการผ่าตัดได้ ควรหยุดใช้ซีแอลเอก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้ CLA ร่วมกับยาชนิดอื่น

เนื่องจากผลข้างเคียงสำคัญของยากลุ่มจิตเวชทำให้น้ำหนักขึ้น การใช้ CLA ร่วมกับยากลุ่มจิตเวชจะช่วยลดการเพิ่มของน้ำหนัก

การบริโภคซีแอลเอปริมาณ 3.4 กรัม/วัน ร่วมกับสารสกัดจากชาเขียวจะช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย ในกลุ่มผู้ที่ใช้ยาจิตเวชย่างมีนัยสำคัญโดยลดได้ประมาณ 5.1-8.1 %  และช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ 4.4-11 %

ปริมาณที่ควรใช้สำหรับ CLA

ผู้ใหญ่

  • สำหรับลดไขมันร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนควรใช้ที่ปริมาณ 3.4-6.8 กรัม/วัน  เป็นเวลาต่อเนื่อง 12 สัปดาห์
  • สำหรับลดความดันโลหิตสูง ควรใช้กรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิก 4.5 กรัม/วัน ร่วมกับยารามิพริล (Ramipril (Altace)) 37.5 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์

เด็ก

  • สำหรับลดไขมันร่างกาย โดยสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินที่มีอายุ 6-10 ปีควรรับประทานที่ปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลานาน 7 เดือน

7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Conjugated Linoleic Acid: Benefits, Side Effects, Dosage. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/does-cla-work-for-weight-loss-90047)
Conjugated Linoleic Acid Supplement: Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/conjugated_linoleic_acid/supplements-vitamins.htm)
Pros and cons of CLA consumption: an insight from clinical evidences. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4429457/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)