กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความหมายของภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ความหมายของภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน

การมีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง  ๆ  ตามมามากมาย จังได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนไว้ดังนี้

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน  (overweight)  หมายถึง  การมีปริมาณเนื้อเยื่อไขมันมากเกินกว่าที่ ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักมาตรฐาน  สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารมากหรือขาด การออกกำลังกาย  หรือทั้งสองอย่าง  การมีน้ำหนักตัวมากกว่าน้ำหนักที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบ กับน้ำหนักตัวมาตรฐานเกินร้อยละ  10  แต่ไม่เกินร้อยละ  19  ของนักหนักตัวมาตรฐาน  (ศิริลักษณ์,  2544)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน  (overweight)  หมายถึง  ภาวะน้ำหนักเกินซึ่งจะมีน้ำหนักตัวมากกว่า น้ำหนักเฉลี่ยประมาณร้อยละ  10-20  (นิธิยา  และวิบูลย์,  2551)

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน  (overweight)  หมายถึง  ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมอาหารเข้าไปมาก เกินความจำเป็นของการนำพลังงานที่เกิดจากอาหารไปใช้ประโยชน์ในร่างกายแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้พลังงานที่เหลือใช้ถูกเก็บสะสมไว้ในอวัยวะต่าง  ๆ  ของร่างกายในรูปของไขมัน  ทำให้ ร่างกายมีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัวมาตรฐาน  (เทวี  และนิตยา,  2549)

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน  (overweight)  หมายถึง  ภาวะที่บุคคลมีน้ำหนักตัวเมื่อเปรียบเทียบ กับน้ำหนักตัวมาตรฐานเกินกว่าร้อยละ  10-20  หรือมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง  23-24.9  กิโลกรัม ต่อตารางเมตร  ซึ่งบุคคลนั้นถ้ายังไม่มีการควบคุมน้ำหนักจะทำให้เป็นโรคอ้วนต่อไปได้ในอนาคต  (พัทธนันท์,  2555)

โรคอ้วน  (obesity)  หมายถึง  สภาวะของร่างกายที่มีการสะสมไขมันในประมาณที่ผิดปกติ หรือมากกว่าปกติจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ  (WHO,  2013)

โรคอ้วน  (obesity)  หมายถึง  สภาวะที่ร่างกายมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ  โดยมีการสะสม ของไขมันใต้ผิวหนัง  ซึ่งวัดได้โดยน้ำหนักเกินจากมาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ  20  ขึ้นไป  โดยใช้น้ำหนักมาตรฐานซึ่งอยู่ในส่วนสูงระดับเดียวกัน  หรือน้ำหนัก  ส่วนสูง  เทียบค่ามาตรฐานน้ำหนักส่วนสูง ของประชาชนไทย  อายุ  1-19  ปี  อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่  90-97  จัดเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนัก มากกว่าปกติ  (เริ่มอ้วน)  และเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่  97  ขึ้นไป  ถือว่าเป็นโรคอ้วน  (แสงโสม,  2541)

โรคอ้วน  (obesity)  หมายถึง  สภาวะร่างกายที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ  เกิดจากการสะสม ของไขมันใต้ผิวหนังมากกว่าปกติจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ  (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ,  2548)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคอ้วน  (obesity)  หมายถึง  ภาวะที่บุคคลมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ  เนื่องจากมีไขมัน สะสมอยู่ใต้ผิวหนังเป็นจำนวนมาก  โดยมีน้ำหนักตัวมากกว่าน้ำหนักที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานเกินร้อยละ  20  ของน้ำหนักมาตรฐานหรือมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่  25  กิโลกรัมต่อตาราง เมตรขึ้นไป  (พัทธนันท์,  2555)

สาเหตุของโรคอ้วน

ปัจจุบันวิกฤตการณ์โรคอ้วนเริ่มเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  โดย สาเหตุส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากนิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง  ขาดการออกกำลังกาย  นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น  ๆ  ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน  ดังต่อไปนี้

1. สาเหตุทางพันธุกรรม

จากการศึกษาพบว่า  ถ้าพ่อและแม่อ้วน  ลูกมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ  80  และถ้าพ่อ หรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน  โอกาสที่ลูกจะอ้วนลดลงเหลือร้อยละ  40  แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่ผอม  ลูกมี โอกาสอ้วนเพียงร้อยละ  14  เท่านั้น  (ชื่นฤทัย  และคณะ,  2554)  นอกจากนี้ยังพบว่า  ฝาแฝดที่เกิด จากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสที่จะเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนตามกันมากกว่าฝาแฝดที่เกิดจากไข่ คนละใบ  (Stunkard,  Foch  and  Hrubec,  1986)

2. สาเหตุจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมารูปร่างของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า  ๆ  และเริ่ม อ้วนขึ้นเป็นลำดับ  เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตลอดเวลา  รับประทานอาหารประเภทแป้ง  น้ำตาล  ไขมันเพิ่มมากขึ้น  จากข้อมูลการสำรวจภาวะ อาหารและโภชนาการของประเทศไทย  พบว่า  ในช่วง  50  ปีที่ผ่านมา  (พ.ศ.  2503-2546)  คนไทยได้ รับพลังงานจากการกินไขมันและโปรตีนเพิ่มขึ้น  โดยโปรตีนจะเพิ่มขึ้นอย่าง  ๆ  ช้า  ๆ  ในขณะที่ไขมัน เพิ่มมากขึ้นถึง  3  เท่าตัว  ดังแสดงในรูปที่  6.2  และจากผลการสำรวจของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุขในรอบ  5-6  ปีที่ผ่านมา  คนไทยเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น  36%  ในเพศชาย  และ  47%  ในเพศหญิง  โดยช่วงวัยทำงานอายุระหว่าง  20-29  ปีมีอัตราเพิ่มของโรคอ้วนมากที่สุด  (สำนักงาน สำรวจสุขภาพประชาชนไทย,  2554)

  • สาเหตุจากความผิดปกติของสมองส่วนไฮโพทาลามัส สมองส่วนไฮโพทาลามัส  (hypothalamus)  เป็นสมองที่มีหน้าที่ควบคุมความรู้สึก อยากอาหาร  (eating  center)  ที่เกิดขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานของร่างกาย  เมื่อเกิดความ ผิดปกติ  หรือเกิดความไม่สมดุลระหว่างความรู้สึกอิ่ม  ซึ่งมีศูนย์ควบคุม  (satiety  center)  หรือ ความรู้สึกพอใจในอาหารที่บริโภคกับความอยากอาหารหรือความหิว  ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า  “กินจุ”  หรือ  “บูลิเมีย”  (bulemea)  ซึ่งศูนย์ควบคุมความรู้สึกอยากอาหารจะมีความผิดปกติขึ้นได้  เนื่องจากความเคยชินในการบริโภคอาหารจำนวนมาก  จึงเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการกระตุ้นของ ร่างกายที่เกิดขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ  หรือเกิดจากความตั้งใจหรือบังคับจากสมองส่วนนอก  เช่น  เด็ก ที่ถูกมารดาบ่นในเรื่องการบริโภคอาหารไม่หมด  จึงเป็นเหตุให้เด็กหลีกเลี่ยงการถูกมารดาบ่นด้วยการบริโภคอาหารจนอิ่ม  และเกิดเป็นความเคยชิน  (พัทธนันท์,  2555)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รูปที่  6.2  แนวโน้มสารอาหารที่คนไทยได้รับเฉลี่ยในแต่ละวันโดยดูจากร้อยละของพลังงานที่ได้รับจากอาหารแต่ละประเภท

ที่มา  :  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย,  2554

1. สาเหตุจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ

โรคอ้วนที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของต่อมไร้ท่อ  ทำให้การผลิตฮอร์โมน บางชนิดผิดปกติ  เช่น  Cushing’s  Syndrome  โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของ สเตียรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย  จนทำให้อ้วนบริเวณใบหน้า  ลำตัว  ต้นคอด้านหลัง  แต่แขนจะเล็ก และไม่มีแรง  การรักษาจะต้องรักษาที่ต้นเหตุ  คือ  ต้องรักษาฮอร์โมนที่มีความผิดปกติจึงสามารถ รักษาโรคอ้วนชนิดนี้ได้  (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ,  2548)

2.    สาเหตุจากการขาดการออกกำลังกาย

จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป  ประกอบกับการขาดการออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนได้  จากข้อมูลสถิติพบว่า คนไทยเกือบ  43  ล้านคน  เสี่ยงต่อภาวะเจ็บป่วยสูง  เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย  ซึ่งสอดคล้อง กับผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี  2554  ในกลุ่มคนไทยอายุ  11  ปีขึ้นไป  จำนวน  57.7   ล้านคน  พบว่ามีการออกกำลังกาย  เล่นกีฬา  เพียง  15.1  ล้านคน  หรือคิดเป็นร้อยละ  26  ของ ประชากรทั้งหมด  (ไทยรัฐออนไลน์,  2556)

ประเภทของโรคอ้วน

โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง  เกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณไขมันในร่างกาย  (body  fat)  มากกว่าปกติจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ  นอกจากนี้การกระจายตัวของไขมันภายในร่างกาย  (body  fat  distribution)  ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีต่อสุขภาพลักษณะการกระจายตัวของไขมันใน ร่างกายที่มีผลร้ายต่อสุขภาพแบ่งได้  2  ประเภทใหญ่  ๆ  คือ

  • แบบลูกแอปเปิล  (apple  shape  หรือ  android  obesity)
  • อ้วนแบบลูกแพร์  (pear  shape  หรือ  gynoid  obesity)

ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือผู้ที่อ้วนที่มีการกระจายตัวของไขมันในร่างกายในรูปร่าง ทรงแอปเปิล  หรือที่เรียกว่า  การอ้วนแบบแอนดรอยด์  (android  obesity)  ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกาย มีการสะสมไขมันอยู่มากตามบริเวณหน้าท้อง  (abdominal  fat  distribution)  หรือที่เรียกว่า  “อ้วนลงพุง”  มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  ดังแสดงในรูปที่  6.3  โดยไขมันจะสะสมบริเวณศีรษะ  คอ  และส่วนบนของลำตัว  เมื่อมีความอ้วนเพิ่มมากขึ้นในระยะต่อมาไขมันจะสะสมบริเวณช่องหน้า ท้องเพิ่มมากขึ้นในที่สุด  ซึ่งการมีไขมันสะสมในช่องท้องจะมีผลทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูง ขึ้น  ซึ่งขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย  ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  โรคเบาหวานด้วย  (Insel,  2012)

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน  หรือผู้ที่อ้วนที่มีการกาะจายตัวของไขมันในร่างกายในรูปร่าง ทรงลูกแพร่  (pear  shape)  หรือกัยนอยด์  (gynoid  obesity)  เป็นภาวะที่พบมากในเพศหญิง (female  type)  ที่มีไขมันการกระจายตัวภายในร่างกายบริเวณส่วนล่างของท้อง  โดยกระจายอยู่รอบ สะโพก  บั้นท้าย  น่องและต้นขา  ทำให้ร่างกายของผู้หญิงมีรูปร่างแบบลูกแพร์  ดังแสดงในภาพที่  6.3  การอ้วนแบบลูกแพร์หรือกัยนอยด์จะเกิดโรคน้อยกว่าความอ้วนแบบแอปเปิลหรือแอนดรอยด์

รูปที่  6.3  การกระจายไขมันในร่างกายที่แตกต่าง  (a)  อ้วนแบบลูกแอปเปิล  (b)  อ้วนแบบลูกแพร์

ที่มา  :  DeBruyne,  Pinna,  and  Whitney,  2012


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป