กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หน้าท้องยื่น ลงพุง เกิดจากอะไร ลดอย่างไร?

ทำไมถึงมีพุง? ไขมันหน้าท้องและขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นเกิดจากอะไร แล้วจะรักษาอย่างไรเพื่อเรียกความมั่นใจกลับมา หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 8 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หน้าท้องยื่น ลงพุง เกิดจากอะไร ลดอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไขมันหน้าท้องมีด้วยกันหลักๆ สองประเภท คือไขมันที่เกิดจากอวัยวะภายในและไขมันหน้าท้องที่เกิดจากการสะสมไขมันไว้ที่ชั้นใต้ผิวหนัง
  • การที่มีหน้าท้องยื่น มีพุง อาจเกิดได้จากไขมันสะสมหน้าท้องหรือปัจจัยด้านสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น ความเครียด หมดประจำเดือน ภูมิแพ้อาหารแฝง เป็นต้น
  • หากมีไขมันสะสมในร่างกายเกินความจำเป็น อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน เป็นต้น
  • การลดไขมันหน้าท้องทำได้โดยเลือกกินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น หลีกเลี่ยงของมัน หวาน ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น รวมถึงอาจปรึกษาแพทย์เพื่อสลายไขมันด้วยการดูดไขมันหรือผ่าตัด
  • ดูแพ็กเกจสลายไขมันได้ที่นี่

ไขมันหน้าท้อง เป็นหนึ่งในส่วนที่ทำให้ขาดความมั่นใจได้มากที่สุด เพราะสามารถสังเกตเห็นได้ไม่ว่าจะใส่ชุดแบบไหน นอกจากจะเสียภาพลักษณ์แล้วยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย ดังนั้นหากคุณเริ่มมีไขมันหน้าท้อง ควรเริ่มหาข้อมูลเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ไขมันหน้าท้องคืออะไร?

ไขมันหน้าท้อง (Belly fat) คือไขมันสะสมที่นูนออกมาอยู่บริเวณหน้าท้อง บางคนอาจนูนเป็นก้อนในขณะที่บางคนอาจนูนออกมาส่วนล่างของหน้าท้อง ซึ่งทำให้เสียความมั่นใจเป็นอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไขมันหน้าท้องมีด้วยกันหลักๆ สองประเภท คือ

  • ไขมันหน้าท้องที่เกิดจากอวัยวะภายใน คือไขมันที่อาจสะสมรอบๆ อวัยวะภายในของเรา
  • ไขมันหน้าท้องจากใต้ผิวหนัง คือไขมันหน้าท้องที่มาสะสมบริเวณใต้ผิวหนังหน้าท้อง จนนูนขึ้นมาสังเกตเห็นได้

แม้ทั้ง 2 ประเภทจะมีผลเสียต่อร่างกายเหมือนกัน แต่ไขมันหน้าท้องที่เกิดจากอวัยวะภายในอาจมีอันตรายมากกว่า 

นอกจากนี้การที่ขนาดของหน้าท้องใหญ่ขึ้น อาจไม่ได้มีผลมาจากไขมันสะสมเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องได้ด้วยเช่นกัน

ไขมันหน้าท้องและหน้าท้องใหญ่ขึ้นเกิดจากอะไร?

ไขมันหน้าท้อง หรือขนาดของหน้าท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจทำให้มีรูปทรงแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ท้องป่องจากกินเยอะเกินไป (Bloating) คือ การที่กินอาหารย่อยยากหรือกินอาหารที่มีแก๊สเยอะเกินไป สมองจะสั่งการให้ช่วงท้องขยายมากขึ้นเพื่อรองรับปริมาณอาหารและแก๊ส จนสังเกตเห็นว่าดูใหญ่ขึ้นมา แต่ขนาดท้องนี้จะขยายใหญ่ในระยะสั้นเท่านั้น

  • ไขมันหน้าท้องจากความเครียด (Adrenal stress fat) เมื่อร่างกายหรือจิตใจเผชิญกับความเครียด วิตกกังวล กลไกของร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอดรีนาลีน (Adrenaline) ออกมาให้พร้อมสำหรับการจัดการกับปัญหา แต่หลังจากนั้นไม่นานสมองจะทำให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้นเพื่อหาพลังงานทดแทน หากไม่มีการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวมากพอ อาหารที่กินเพิ่มเข้าไปอาจมีความสัมพันธ์กับขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้น

  • หน้าท้องป่องหลังการตั้งครรภ์ (Post-pregnancy belly) ผู้หญิงที่คลอดลูกแล้วอาจมีขนาดหน้าท้องที่เปลี่ยนไป โดยเกิดจากการกักเก็บของเหลวในร่างกายหลังคลอด รวมถึงกล้ามเนื้อที่ขยายขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของมดลูก

  • หน้าท้องใหญ่หลังหมดประจำเดือน (Menopausal hormonal belly bulge) ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะเริ่มมีน้ำหนักตัวโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และระดับอินซูลิน (Insulin) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • ลงพุงเพราะเบียร์ (Beer belly) แม้จะยังไม่มีการยืนยันความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างไขมันหน้าท้องที่เพิ่มขึ้นกับเบียร์ แต่ฮ็อบส์ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการหมักเบียร์ มีสารประกอบของไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens) ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในพืช และอาจมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงการกักเก็บไขมันหน้าท้องได้

  • ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food intolerance) ซึ่งแตกต่างกับอาการแพ้อาหารทั่วไป ภูมิแพ้อาหารแฝงเป็นความไวต่ออาหารบางชนิด ทำให้ไม่สามารถย่อยอาหารชนิดนั้นได้เต็มที่ ส่งผลให้เกิดแก๊สจนท้องป่อง ปวดท้อง หรือท้องเสียได้

  • ไขมันหน้าท้องจากน้ำหนัก (Common weight gain) คือหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นจากการกินอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายเผาผลาญ (อ้วนโดยธรรมชาติ) บางคนอาจกระจายไขมันไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในขณะที่บางคนก็มีโอกาสจะสะสมไขมันไว้ที่หน้าท้อง ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับความเครียดด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าไขมันหน้าท้องและขนาดของหน้าท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นควรสำรวจพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของตนเองก่อนที่จะทำการลดขนาดหน้าท้อง เพื่อจะได้ไม่กระทบกับสุขภาพร่างกายโดยรวม

ไขมันหน้าท้องส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร? 

ไขมันสะสมในร่างกาย ไม่ว่าจะบริเวณหน้าท้องหรือบริเวณไหน ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ทั้งสิ้น โดยอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคร้าย ดังต่อไปนี้

  • โรคหัวใจ (Heart disease) ไขมันที่กินเข้าไปในร่างกายอาจเข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดได้น้อยลง รวมถึงปริมาณคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดอาจมีส่วนทำให้เลือดหนืดขึ้นหัวใจจึงต้องทำงานหนัก ในกรณีรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  • โรคความดัน (High blood pressure) อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อปริมาณไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดเยอะขึ้น หัวใจจึงต้องใช้แรงบีบเลือดมากขึ้นเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายหากเกิดกับผู้สูงอายุที่หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น

  • โรคเบาหวาน (Diabetes) โดยปกติตับจะสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เพื่อนำช่วยในการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ประโยชน์กับกล้ามเนื้อ แต่หากหวานเยอะ หรือดื่มแอลกอฮอล์เยอะไปจนไขมันพอกตับ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

  • โรคหอบหืด (Asthma) นอกจากไขมันจะสามารถอุดตันตามหลอดเลือดได้แล้ว ยังสามารถแทรกเข้าไปอุดตันตามปอดได้อีกด้วย ทำให้ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป อาจประสบปัญหาหอบหืดและระบบทางเดินหายใจได้

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงโรคอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและปัจจัยอื่นๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล เช่น มะเร็งเต้านม โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น

วิธีลดไขมันหน้าท้อง

การลดไขมันหน้าท้องหรือขนาดหน้าท้อง สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • เลือกอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกของทอด ของหวาน หรือการกินคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากเกินไปและใช้ไม่หมด เปลี่ยนมาเป็นอาหารที่มีผักผลไม้มากขึ้น นอกจากจะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังสามารถย่อยได้ง่ายกว่าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และไขมันอีกด้วย

  • หาทางเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ปัญหาลงพุง ไขมันสะสมหน้าท้องมักเกิดขึ้นง่ายกับคนที่ทำงานนั่งกับที่ ไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ทำให้พลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปใช้ไม่หมด ดังนั้นควรลองหาทางเพิ่มการเคลื่อนไหวในกิจวัตร เช่น ใช้บันไดแทนลิฟท์ เดินไปทำงานแทนนั่งวินมอเตอร์ไซค์ กินร้านอาหารที่ต้องเดินไกลขึ้น เป็นต้น


  • ผ่อนคลายจากความเครียด อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าความเครียดมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวที่มากขึ้น อาจหางานอดิเรกหรือวิธีการบริหารสุขภาพจิตเพื่อลดความเครียดและฮอร์โมนคอร์ติซอลลง

  • จำกัดแอลกอฮอล์ หลายคนติดนิสัยดื่มแอลกอฮอล์เป็นชีวิตประจำวัน จนทำให้เกิดไขมันสะสมหน้าท้อง ดังนั้นอาจเริ่มด้วยการจำกัดปริมาณให้น้อยลง ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เพื่อแก้ปัญหาไขมันหน้าท้องได้เช่นกัน

  • นอนอย่างมีคุณภาพ การนอนหลับในเวลากลางคืนเป็นช่วงที่ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำร้ายจากอาหารที่กินเข้าไปด้วย ดังนั้นควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

  • ศัลยกรรมหน้าท้อง หากบางคนมีปัจจัยที่ไม่สามารถหน้าท้องลงได้จากวิธีทั่วไป อาจปรึกษาแพทย์เพื่อสลายไขมันด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น สลายไขมันด้วยความเย็น เลเซอร์ไขมัน ดูดไขมัน เป็นต้น

ดูแพ็กเกจสลายไขมัน เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MedicalNewsToday, How do you lose belly fat?, (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323309), 5 January 2020.
Daniel Bubnis M.S., What’s Causing My Belly Bulge, and How Do I Treat It?, (https://www.healthline.com/health/belly-bulge#types), 4 June 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป