กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความเสี่ยงต่อสุขภาพ 5 ประการ ที่คนอ้วนลงพุงมีโอกาสเป็น

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเสี่ยงต่อสุขภาพ 5 ประการ ที่คนอ้วนลงพุงมีโอกาสเป็น

จากข้อมูลของ สสส.แจงให้เห็นว่าคนไทยในปี 2557 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบทศวรรษ เมื่อเทียบกับอีก 10 ประเทศในเอเชีย ผู้หญิงขึ้นแท่นมาเป็นอันดับ 1 ส่วนผู้ชายก็ไม่เบามาเป็นอันดับ 4 และพบว่าคนกรุงเทพอ้วนกว่าคนในต่างจังหวัดมาก เมื่อดูจากข้อมูลนี้จึงพบว่าความอ้วนได้ย่างกรายเข้ามาเป็นภัยใกล้ตัวสำหรับทุกคนแล้ว

แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าผู้ที่อ้วนลงพุงมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าคนอ้วนและผู้ที่มีน้ำหนักปกติถึง 2.1 เท่าเลยทีเดียว และยังมีอีกสารพัดโรคที่มาพร้อมกันอีกด้วย ได้แก่...

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่

เพราะไขมันส่วนเกินไปทำให้อัตราการหายใจลดลง และเมื่อเป็นแบบนี้ไปนานๆทางเดินหายใจจะแคบ ก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังและโรคหอบหืดตามมาในที่สุด ซึ่งจะสังเกตได้ว่าคนอ้วนมักจะนอนกรณและมักจะหายใจดังอีกด้วย นั่นเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการทำงานของปอดที่ผิดปกตินั่นเอง

2. การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ

คนอ้วนลงพุงที่มีอัตราส่วนของเอวต่อความสูงทุกๆ 0.1 ซม.จะเกิดความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดตีบและแข็งตัว อันจะทำให้เป็นโรคหัวใจตามมาอีกด้วย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตสูงมากทีเดียว ซึ่งก็อันตรายไม่น้อยเลย

3. เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

เนื่องจากมีไขมันในช่องท้องที่มากขึ้น และไขมันนี้มีการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เป็นผลกระทบกับระบบเผาผลาญในร่างกายและทำให้ร่างกายรับสัญญาณอินซูลินซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติจึงทำให้เกิดโรคเบาหวานได้นั่นเอง ซึ่งโรคเบาหวานนั้นเมื่อเป็นแล้วจะรักษาให้หายได้ยากมาก ทางที่ดีพยายามลดพุง ลดน้ำหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงโรคเบาหวานกันดีกว่า

4. ระดับคอเลสเตอรอลสูง

สำหรับไขมันที่เผาผลาญแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีคือไขมันที่อยู่บริเวณขาหรือก้น ส่วนไขมันที่อยู่บริเวณหน้าท้องของคนอ้วนลงพุง จะมีระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และอินซูลินสูงกว่าไขมันที่เผาผลาญจากบริเวณขาหรือก้นมาก อีกทั้งยังเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิสระส่งผลให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL และยังทำให้ระดับของไขมันดีหรือคอเลสเตอรอล HDL ลดลง จึงทำให้การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติและทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและเกิดภาวะหัวใจวายอีกด้วย

5. เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

ผู้ที่อ้วนลงพุงไขมันจะไปอุดตันในเส้นเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนขึ้นไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่สะดวก สมองจึงขาดออกซิเจนมากขึ้นเรื่อยๆและเกิดภาวะ เซลล์ตายและเซลล์สมองน้อยกว่าคนปกติทั่วไป จึงทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ตามมาในที่สุด ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ ควรรีบลดน้ำหนักโดยด่วน

อ้วนลงพุงเสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ 2.1 เท่า!

[caption id="" align="aligncenter" width="680"]

สสส. ลดพุง ลดโรค[/caption]

เมื่อรู้ถึงพิษภัยของการอ้วนลงพุงแล้ว ทางที่ดีจึงควรหาวิธีการลดความอ้วนโดยเร็ว ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่ และเน้นอาหารไขมันต่ำก็จะสามารถช่วยได้ พร้อมกันนี้ก็หาเวลาออกกำลังกายให้ได้วันละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เป็นประจำ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดไขมันรอบเอวให้ดูเล็กลงได้แล้ว


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health risks of obesity. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000348.htm)
Health Risks. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/obesity-prevention-source/obesity-consequences/health-effects/)
The Health Effects of Overweight and Obesity. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/healthyweight/effects/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป