กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Skin Lesion (รอยโรคบนผิวหนัง)

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

รอยโรคบนผิวหนัง คือบริเวณผิวที่มีความผิดปกติจากผิวหนังบริเวณอื่นๆ สามารุแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. รอยโรคผิวหนังปฐมภูมิ (Primary Skin Lesions) ภาวะผิวหนังผิดปกติที่มีตั้งแต่เกิดและจะเป็นไปตลอดชีวิต เช่น ปาน ไฝ ผื่น สิว ผื่นราบ ตุ่มนูน
  2. รอยโรคผิวหนังทุติยภูมิ (Secondary Skin Lesions) เป็นผลมาจากความระคายเคืองหรือจากรอยโรคผิวหนังแบบปฐมภูมิที่ถูกรบกวน เช่น การเกาปานจนเลือดออกและทำให้เกิดรอยโรคขึ้น เป็นต้น สะเก็ดแห้ง แผลเยื่อบุ แผลเป็น ก็จัดอยู่ในประเภทของรอยโรคผิวหนังทุติยภูมิ

สาเหตุของรอยโรคบนผิวหนัง

สาเหตุทั่วไปของการเกิดรอยโรคบนผิวหนัง คือการติดเชื้อ เช่น หูด หรือเริ่ม ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อที่เกิดกับทั่วร่างกาย เช่น อีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด ก็ทำให้เกิดรอยโรคขึ้นทั่วร่างกายได้เช่นกัน ส่วน MRSA กับโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ต่างก็เป็นภาวะติดเชื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรอยโรคที่ผิวหนังและยังเป็นอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างภาวะที่ทำให้มีรอยโรคบนผิวหนัง ได้แก่

  • สิว (Acne) มักเกิดขึ้นบนใบหน้า ลำคอ หัวไหล่ หน้าอก และแผ่นหลังส่วนบน ตุ่มสิวที่เกิดขึ้นบนผิวอาจเป็นได้ทั้งหัวดำ หัวขาว สิวกระ หรือสิวซิสต์ อาจทิ้งแผลเป็นหรือทำให้ผิวหนังที่เป็นสีคล้ำขึ้นได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา
  • เริมที่ปาก (Cold Sore) มักพบตุ่มหนองสีแดงและอาการปวดใกล้กับปากและริมฝีปาก บริเวณที่เป็นอาจมีอาการแสบร้อนก่อนที่จะมีแผลขึ้นมา อาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับแผลคือ มีไข้อ่อนๆ ปวดเมื่อยร่างกาย และต่อมน้ำเหลืองโต
  • เริม (Herpes Simplex) เกิดจากเชื้อไวรัส HSV-1 (ส่วนไวรัส HSV-2 จะทำให้เกิดรอยโรคที่ช่องปากกับอวัยวะเพศ) เกิดตุ่มหนองพร้อมอาการปวดทั้งแบบเดี่ยวหรือเป็นชุด โดยที่มีของเหลวเหลืองใสไหลออกมา และจากนั้นจะแห้งกลายเป็นสะเก็ด
  • โรคแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) มักมีขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร หรือประมาณก้อนยางลบ โรคนี้จะทำให้เกิดปื้นผิวหนังแตกสะเก็ดหนาๆ มักเกิดกับบริเวณที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์มาก เช่น มือ แขน ใบหน้า หนังศีรษะ และคอ
  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Allergic Eczema) ทำให้ผิวหนังแดง ตกสะเก็ด คล้ายกับแผลไหม้ มักเกิดขึ้นบนต้นแขนกับมือ บางครั้งอาจพบตุ่มหนองที่มีน้ำหนองไหลออกมาร่วมอยู่ด้วย
  • โรคพุพอง (Impetigo) มักพบในทารกและเด็ก ภาวะนี้มักจะปรากฏขึ้นรอบปาก คาง และจมูก
  • ผื่นแพ้จากการสัมผัส (Contact Dermatitis) จะเกิดผื่นขึ้นหลายชั่วโมง หรือเป็นวันๆ หลังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ผื่นจะมีขอบที่เห็นได้ชัดเจน และปรากฏบนตำแหน่งผิวที่สัมผัสกับสารก่อความระคายเคือง
  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) ภาวะนี้จะทำให้เกิดสะเก็ดปื้นสีเงินบนผิวหนังอย่างเด่นชัด มักเกิดบนหนังศีรษะ คิ้ว เข่า และแผ่นหลังส่วนล่าง อาจมีอาการคันหรือไม่มีอาการเลยก็ได้
  • โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีตุ่มหนองสีแดงเกิดขึ้นทั่วร่างกาย มักจะมีไข้ ปวดเมื่อยร่างกาย เจ็บคอร่วมอยู่ด้วย เมื่อเวลาผ่านไปตุ่มหนองจะแห้งและตกสะเก็ดทั้งตัว
  • โรคงูสวัด (Shingles) เกิดผื่นที่มีอาการแสบร้อนและคัน แม้จะไม่มีตุ่มหนองเกิดขึ้นก็ตาม แต่หากมีตุ่มหนองจะแตกออกได้ง่ายมาก ผื่นจะปรากฏออกมาเป็นเส้นตรงขนานกัน ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่หน้าท้อง แต่ก็อาจพบที่ตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้ รวมไปถึงใบหน้าด้วย
  • ซีสต์ไขมันผิวหนัง (Sebaceous Cyst) มักเกิดขึ้นบนใบหน้า ลำคอ หรือหน้าท้อง หากก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดการกดทับและเจ็บปวดขึ้นได้
  • การติดเชื้อ MRSA เป็นการติดเชื้อที่เกิดจาก Staphylococcus หรือแบคทีเรียที่มีความดื้อต่อยาปฏิชีวนะ เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลหรือรอยถลอกที่ผิวหนัง ลักษณะแผลจะเหมือนถูกแมงมุมกัด โดยจะมีอาการเจ็บปวด เกิดตุ่มแดงและอาจมีหนองไหลออกมาด้วย นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน
  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) เกิดจากเชื้อราหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือรอยกรีดที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบวมแดงและเจ็บปวด ซึ่งอาจน้ำหนองไหลออกมาและลุกลามได้เร็วมากอีกด้วย อาจพบอาการไข้ หนาวสั่น ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อร้ายแรง นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน
  • หิด (Scabies) ทำให้เกิดผื่นคันรุนแรงทั้งแบบตุ่มเล็ก ตุ่มหนอง หรือสะเก็ด บางครั้งอาจพบอาการผิวหนังเห่อเป็นลายเส้นสีขาวหรือสีเดียวกับผิวหนัง
  • ฝี (Boils) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราของต่อมไขมัน สามารถเกิดกับส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ใบหน้า ลำคอ รักแร้ และบั้นท้าย ลักษณะของฝีคือมีตุ่มเห่อสีแดงและปวดมาก โดยอาจมีจุดตรงกลางตุ่มเป็นสีขาวหรือเหลือง เมื่อตุ่มแตกจะมีหนองไหลออกมา
  • ตุ่มน้ำใส (Bullae) เป็นตุ่มที่มีของเหลวใสคล้ายน้ำ มักมีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเซนติเมตรขึ้นไป สามารถเกิดจากโรคผื่นแพ้จากการสัมผัส และภาวะผิวหนังอื่นๆ หากน้ำหนองเริ่มมีสีขุ่นจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ
  • ตุ่มหนอง (Blister) เป็นตุ่มที่มีของเหลวใสอยู่ภายใน อาจมีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรหรือใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรก็ได้ สามารถเกิดขึ้นทั้งแบบเดี่ยวหรือกลุ่ม เกิดขึ้นกับส่วนใดของร่างกายก็ได้
  • ตุ่มนูน (Nodule) เป็นตุ่มที่เกิดจากการนูนขนาดเล็กถึงปานกลาง อาจมีของเหลวอยู่ข้างในหรือไม่มีก็ได้ มักมีความกว้างมากกว่าสิว อาจดูแน่นหรือเนียนกว่าตุ่มหนองทั่วไป
  • ผื่น (Rash) มีสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นหลายอย่าง ตั้งแต่ถูกแมลงกัดต่อย ภูมิแพ้ ผลข้างเคียงจากยา การติดเชื้อราหรือแบคทีเรียที่ผิว โรคติดเชื้อ หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หากเกิดผื่นรุนแรง โดยเฉพาะที่เกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น มีไข้ วิงเวียน อาเจียน หรือหายใจลำบาก อาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน
  • ลมพิษ (Hives) มีผื่นผิวหนังที่เห่อและคันหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาจมีอาการปวดอ่อนๆ พร้อมกับผิวแดงและอุ่นเมื่อสัมผัส
  • คีลอยด์ (Keloids) บริเวณผิวหนังที่เป็นคีลอยด์อาจมีก้อนแข็งพร้อมอาการปวดหรือคัน บริเวณที่เป็นอาจมีสีเดียวกับผิว สีชมพู หรือแดงก็ได้
  • หูด (Wart) เกิดจากไวรัส Human Papillomavirus (HPV) หลายประเภท พบได้บนผิวหนังหรือชั้นเยื่อเมือก อาจเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ หรือหลายก้อนก็ได้

การวินิจฉัยรอยโรคที่ผิวหนัง

ในการวินิจฉัยรอยโรคที่ผิวหนัง แพทย์จะเริ่มจากการตรวจร่างกายทั้งหมด ซึ่งอาจมีทั้งการสังเกตรอยโรคและสอบถามอาการ ส่วนการยืนยันผลวินิจฉัยจะต้องมีการเก็บตัวอย่างผิวหนัง เจาะชิ้นเนื้อ หรือใช้ก้านสำลีเก็บตัวอย่างจากรอยโรคไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ

การรักษารอยโรคที่ผิวหนัง

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของรอยโรค โดยแพทย์จะพิจารณาทั้งชนิดของรอยโรค ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และการรักษาครั้งที่ผ่าน ๆ มาร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยา การรักษาขั้นแรกมักจะเป็นการใช้ยาทาภายนอกเพื่อรักษาการอักเสบและป้องกันผิวหนังที่เป็นโรค หากรอยโรคเป็นผลมาจากการติดเชื้อทั่วทั้งร่างกาย เช่น อีสุกอีใสหรืองูสวัด ก็อาจได้รับยาชนิดรับประทานมาใช้บรรเทาอาการของโรคแทน
  • การผ่าตัด หากรอยโรคมีการติดเชื้อ แพทย์จะเจาะดูดของเสียที่อยู่ภายในออก ส่วนไฝที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะเรื่อยๆ ก็อาจต้องผ่าออกจะดีที่สุด

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พญ.สิริพรรณ สังข์มาลา, หลักสำคัญในการตรวจทางผิวหนัง Four cardinal features (https://meded.psu.ac.th/binla/class05/388_573/intro_to_dematology/index3.html)
dermnetnz, Skin lesions, tumours and cancers (https://dermnetnz.org/topics/skin-lesions-tumours-and-cancers/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)