ผื่นราบ คือบริเวณผิวหนังที่มีสีแตกต่างจากพื้นที่โดยรอบ แต่ไม่ทำให้เกิดการนูนหรือหนาขึ้นของผิวหนังแต่อย่างใด มักจะมีความกว้างน้อยกว่า 1 เซนติเมตร หากมีขนาดมากกว่า 1 เซนติเมตรจะเรียกว่าปื้น (Patches)
ผื่นราบสามารถเกิดขึ้นกับผิวหนังส่วนใดก็ได้ แต่มักจะปรากฏบนแผ่นหลัง หน้าอก แขน และใบหน้ามากที่สุด ผื่นราบมีทั้งสีด่างขาว (Hypopigmented) ที่มีสีสว่างกว่าผิวหนังปกติ และสีด่างดำ (Hyperpigmented) มีสีคล้ำกว่า โดยปานขนาดเล็กที่มีตั้งแต่กำเนิดก็นับว่าเป็นผื่นราบชนิดหนึ่งเช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผื่นคัน (Rash) ก็จัดว่าเป็นผื่นราบได้ หากทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสี โดยผื่นราบรูปแบบนี้อาจเกิดมาจากการติดเชื้อหรือโรคอื่นๆ ส่วนภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคด่างขาว (Vitiligo) ก็ทำให้เกิดผื่นราบได้เช่นกัน
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบผื่นราบที่มีอยู่เกิดการอักเสบ มีอาการคัน หรือมีความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง (Dermatological Condition)
สาเหตุการเกิดผื่นราบ
ผื่นราบเกิดจากหลายภาวะที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของผิวหนังจนทำให้เกิดการเปลี่ยนสี โดยภาวะที่มักจะทำให้มีผื่นราบเกิดขึ้น ได้แก่ โรคด่างขาว และการสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเล็ต
การรักษาผื่นราบ
เมื่อแพทย์พบสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นราบแล้ว ก็อาจเริ่มจากการรักษาสาเหตุนั้นๆ ก่อน แม้ว่าการรักษาบางวิธีจะไม่สามารถทำให้ผื่นราบหายไป แต่วิธีเหล่านั้นก็สามารถป้องกันไม่ให้ผื่นราบมีมากขึ้นหรือขยายวงกว้างกว่าเดิม โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การรักษาโรคด่างขาว ผื่นราบที่เกิดจากโรคด่างขาวเป็นผื่นที่รักษาได้ยาก และการรักษาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะต้นๆ วิธีการรักษาผื่นราบจากโรคด่างขาว ได้แก่
- การบำบัดด้วยแสง (Light Therapy)
- การทายาสเตียรอยด์ภายนอก (Topical Steroids)
- การผ่าตัด
- การแต่งหน้าปกปิดรอยผื่น (ไม่ใช่วิธีรักษาทางการแพทย์)
- การรักษาปาน แม้ผื่นราบเป็นปาน (Birthmark) ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ก็มีการรักษาบางอย่างที่สามารถลดรอยปานลงได้ เช่น การใช้เลเซอร์ ยา หรือการผ่าตัด
- การรักษามะเร็งผิวหนัง มะเร็งผิวหนังอาจแสดงอาการแรกออกมาในรูปของผื่นราบ หากสังเกตว่าตนเองมีผื่นราบใหม่ที่คล้ายกับรอยปาน หรือหากว่าปานที่มีใหญ่ขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงจากเดิม ควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากมะเร็งผิวหนัง
เป็นด่างขาวอยากหายทำยังไงดีคะ