กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เห็ดหลินจือ (Lingzhi mushroom)

ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณ เมนูสุขภาพจากเห็ดหลินจือ และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เห็ดหลินจือ (Lingzhi mushroom)

เห็ดหลินจือ (Lingzhi mushroom, Reishi mushroom) เป็นสมุนไพรจีนที่ใช้เพื่อรักษาทางการแพทย์มานานกว่า 4,000 ปี ลักษณะของดอกเห็ดหรือหมวกเห็ด จะเป็นรูปทรงครึ่งวงกลมหรือรูปไต มีความมันเงาเหมือนเคลือบน้ำมันไว้ เห็ดหลินจือที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดคือสายพันธุ์สีแดง หรือเห็ดหลินจือแดง หรือกาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum) สรรพคุณของหลากหลายของเห็ดชนิดนี้ คนจีนจึงเชื่อว่าการกินเห็ดหลินจือทำให้อายุยืนยาว

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ 100 กรัม มีพลังงาน 22 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สรรพคุณของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือมีประโยชน์หลายประการ เช่น

  • ปกป้องตับจากสารพิษ ในเห็ดหลินจือมีสารโพลีแซกคาไรด์และสารไตรเทอร์พีนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลาย และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคตับอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จากการทดลองให้กลุ่มผู้ป่วยโรครูมาตอยด์รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือ พบว่าเห็ดชนิดนี้มีสรรพคุณลดอาการปวดของผู้ป่วยได้โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ อีกด้วย
  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานแล้ว หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงจนเป็นอันตราย
  • ใช้แก้พิษจากการทำคีโม การรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือจะช่วยลดอาการข้างเคียงจากการทำคีโม โดยเฉพาะอาการเจ็บปวดบาดแผล เพราะมีสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ติดเชื้อ HIV นอกจากกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้เป็นปกติแล้ว เห็ดชนิดนี้ยังยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส HIV ทำให้ผู้ติดเชื้อมีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย และอายุยืนขึ้น
  • ชะลอความแก่ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระจะไปกำจัดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำช่วยชะลอความแก่ได้
  • ลดระดับไขมันในเลือด จึงลดความเสี่ยงโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • เสริมสมรรถภาพทางเพศ จากการทดลองให้ผู้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศดื่มน้ำต้มเห็ดหลินจือติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริง

การรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดได้ผลดีขึ้น เนื่องจากเห็ดหลินจือมีสารกลุ่มโพลีแซกคาไรด์ (Polysaccharides) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกได้ดี รวมถึงมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญและลุกลามของเซลล์มะเร็งอีกด้วย การใช้สารสกัดเห็ดหลินจือร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันจึงให้ผลดี โดยพบว่าช่วยให้การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีดีขึ้นถึง 1.27 เท่า อย่างไรก็ตาม หากใช้เดี่ยวๆ จะรักษามะเร็งไม่ได้ผลเท่าที่ควร

ขนาดและวิธีรับประทานเห็ดหลินจือ

ในการใช้เพื่อรักษาโรคทั่วไป จะใช้เห็ดหลินจือแห้งประมาณวันละ 3-6 กรัมต่อวัน หรือเป็นสารสกัด 0.5–2 กรัมต่อวัน หากใช้บำรุงร่างกาย จะใช้เห็ดหลินจือแห้งประมาณวันละไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน หรือเป็นสารสกัด 0.01–0.2 กรัมต่อวัน โดยเห็ดหลินจือสกัดทั้งในรูปแบบยาน้ำและแคปซูลจะมีประโยชน์และสารสำคัญครบถ้วนมากกว่าเห็ดหลินจือต้มหรือที่นำไปดองเหล้า

อาการข้างเคียงจากการรับประทานเห็ดหลินจือ

การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือคู่กับวิตามินซีทำให้เพิ่มการดูดซึม ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย มีแผลร้อนใน แนะนำให้ดื่มน้ำปริมาณมากๆ อีกทั้งการรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือเกิน 4-6 เดือนก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้ง วิงเวียนได้ จึงควรรับประทานเพียง 4 เดือนแล้วหยุดยา 1 เดือน ค่อยเริ่มรับประทานใหม่

เมนูสุขภาพจากเห็ดหลินจือ

มีเมนูหลากหลาย ดังนี้

  1. ข้าวต้มเห็ดหลินจือ ทำโดยต้มน้ำในหม้อให้เดือด ใส่เห็ดหลินจือลงไปต้มประมาณ 30 นาที กรองเอาเฉพาะน้ำพักไว้ก่อน ตำรากผักชี กระเทียม พริกไทย ผสมกับหมูสับและซอสหอยนางรม ปั้นให้เป็นก้อน นำน้ำเห็ดที่ทำไว้ไปต้มจนเดือด ใส่เห็ดหอม หมูสับ เมื่อทุกอย่างสุกให้ใส่ข้าวลงไป คนจนเข้ากัน ตักใส่ชาม แต่งหน้าด้วยผักชี พริกไทยป่น กระเทียมเจียว

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  2. เห็ดหลินจือทรงเครื่อง เริ่มจากหั่นกระเทียม คื่นช่าย เต้าหู้ไข่ และเห็ดหลินจือเตรียมไว้ นำน้ำมันใส่กระทะขึ้นตั้งไฟกลาง ทอดเต้าหู้ไข่ให้สุกทั้งสองด้าน แล้วตักขึ้นพักไว้ ผัดกระเทียม หมูสับ ตามด้วยเห็ดหลินจือ เติมซีอิ๊วขาว น้ำเปล่า น้ำมันหอย และเต้าหู้ไข่ทอดลงไป ผัดให้เข้ากัน ปรุงรสตามชอบ ตักใส่จาน แต่งหน้าด้วยคื่นช่ายพร้อมรับประทาน

  3. น้ำเห็ดหลินจือ นำเห็ดหลินจืออบแห้งมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ พอเห็นว่าเริ่มนิ่ม ให้นำใส่หม้อต้มกับน้ำจนเดือด ลดไฟลงแล้วต้มต่อประมาณ 20 นาทีจึงปิดไฟ กรองด้วยผ้าขาวเอาเฉพาะน้ำมาดื่มเท่านั้น

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้เห็ดหลินจือ

สำหรับการรับประทาน มีข้อควรระวังดังนี้

  • หากมีอาการคัน เวียนศีรษะ ปวดหัว เลือดกำเดาไหล ภายหลังจากรับประทานเห็ดชนิดนี้เข้าไป หมายถึงคุณอาจแพ้เห็ดชนิด ให้หยุดรับประทานทันที

  • ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด เพราะเห็ดหลินจืออาจเพิ่มความเสี่ยง ทำให้เลือดหยุดไหลยาก

  • ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ควรงดรับประทาน เนื่องจากสารบางอย่างจะไปขัดขวางการทำงานของยา ทำให้ประสิทธิภาพของตัวยาด้อยลงไป

  • เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติช่วยลดระดับความดันโลหิต ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันต่ำจึงควรงดรับประทานเห็ดหลินจือ

  • สตรีมีครรภ์และให้สตรีที่ให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ถาม-ตอบ (http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5954), 24 สิงหาคม 2555
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ถาม-ตอบ (http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6299), 11 พฤศจิกายน 2558
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, GANODERMATACEAE Ganoderma lucidum (Fr.) Karst. (http://www.medplant.mahidol.ac.th/pharm/botanic.asp?bc=0856&kw=%E0%CB%E7%B4%CB%C5%D4%B9%A8%D7%CD*)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป