วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)

ทำความรู้จักวิตามินละลายในไขมัน ประกอบไปด้วยวิตามินอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)

หลายคนรู้จักวิตามินชนิดละลายในน้ำเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นวิตามินที่หลายคนนิยมกินเป็นอาหารเสริม เช่น อาหารเสริมวิตามินซี แต่ก็ยังสงสัยวิตามินอีกชนิดที่ละลายในไขมัน ว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร และมีวิตามินตัวไหนบ้าง? คุณสามารถทำความรู้จักกับวิตามินละลายในไขมันได้ในบทความนี้

วิตามินละลายในไขมันคืออะไร?

วิตามินชนิดละลายในไขมัน จะไม่สามารถละลายในน้ำได้ แต่ต้องอาศัยไขมันในการเปลี่ยนรูป เพื่อให้ผนังลำไส้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินชนิดละลายในไขมันจะไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ ดังนั้นหากเรารับวิตามินกลุ่มนี้มากไป และไม่มีไขมันมากพอที่จะละลายวิตามินเหล่านี้ไปใช้ วิตามินเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย และเป็นพิษได้ในระยะยาว

วิตามินละลายในไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

วิตามินละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค เป็นวิตามินที่ทนต่อความร้อนได้ดี และต้องอาศัยอาหารประเภทไขมันในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งวิตามินแต่ละตัวจะมีประโยชน์แตกต่างกันออกไป ดังนี้

วิตามินเอ

วิตามินเอ หรือเรตินอล (Retinol) เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนที่อยู่ที่จุดรับแสงเรตินาในดวงตา ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเยื่อบุตา และ กระจกตา ช่วยในการมองเห็น

แหล่งที่พบวิตามินเอ และแคโรทีนอยด์

วิตามินดี

วิตามินดี หรือแคลซิเฟอรอล (Calciferol) มีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis

นอกจากนี้ วิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสำคัญต่างๆ ในร่างกาย  เช่น ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone) ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin hormone) ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน

แหล่งที่พบวิตามินดี

  • ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดีได้จากแสงแดดในช่วงเช้า โดยแสงอัลตราไวโอเลตในแสงแดด จะกระทบกับสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7-dehydrocholesterol) ที่ใต้ผิวหนัง แล้วเปลี่ยนเป็นวิตามินดี 
  • วิตามินดี ยังพบได้ในอาหารจำพวก น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ปลาทู ปลาแซลมอน

วิตามินอี

วิตามินอี หรือโทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด ป้องกันการอักเสบในร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ

แหล่งที่พบวิตามินอี

  • วิตามินอี พบได้ใน ไข่ ผักผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืช น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน

วิตามินเค

วิตามินเค หรือฟิลโลควิโนน (Phylloquinone) มีหน้าที่สร้างโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในเด็กที่วิตามินเคต่ำจะมีอาการเลือดออกผิดปกติให้เห็นได้บ่อยๆ เลือดจะออกง่าย เลือดไหลแล้วหยุดช้า

แหล่งที่พบวิตามินเค

  • แหล่งอาหารที่พบวิตามินเค เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก เนย นมสด เนื้อสัตว์ คะน้า ข้าวโพด กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ลูกแพร์ กล้วย ราสเบอร์รี่ และผักใบสีเขียว

เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้ไขมันในการดูดซึมวิตามินประเภทนี้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Megan Ware, Health benefits and sources of vitamin K (https://www.medicalnewstoday.com/articles/219867.php)
Zawn Villines, Ten benefits of vitamin E oil (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318168.php)
Clarke MW, Vitamin E in human health and disease.( https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18712629)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป