โรคระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่พบบ่อย

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 16 นาที
โรคระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่พบบ่อย

ช่องคลอดอักเสบ

ช่องคลอดอักเสบมาจากหลายสาเหตุ และมักจะมีอาการแสดงร่วมกัน คือมีตกขาวที่ผิดไปจากปกติ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงช่องคลอดอักเสบโดยละเอียดจึงขออธิบายถึงเรื่องตกขาวก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตกขาวคืออะไร สำคัญอย่างไร?

ในทางการแพทย์เราจะเรียกของเหลวที่ไม่ใช่เลือดที่ถูกขับออกมาจากผนังเยื่อบุช่องคลอดว่า “ตกขาว” ตกขาวถูกผลิตโดยต่อมที่ปากมดลูกเป็นส่วนใหญ่และถูกขับออกมาเพื่อหล่อลื่นช่องคลอดให้ชุ่มชื่น ของเหลวที่ขับออกมาตามปกติจะมีลักษณะต่างๆ ขึ้นกับอิทธิพลของฮอร์โมนที่หลั่งออกมา ณ ขณะนั้นเช่น ถ้าเป็นช่วงที่ร่างกายมีเอสโตรเจนสูง ตกขาวจะมีลักษณะใส ไม่เหนียว แต่ถ้าเป็นระยะที่ร่างกายมีโปรเจสเตอรโรนสูง ตกขาวจะมีลักษณะขาวขุ่นและข้นจับเป็นก้อนเหนียวคล้ายตะกอนนมและมีฤทธิ์เป็นด่างอยู่บริเวณปากมดลูกและปากช่องคลอด ตกขาวนอกจากจะช่วยหล่อลื่นช่องคลอดแล้ว ยังมีคุณสมบัติฆ่าแบคทีเรียและป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่มดลูก

ตกขาวที่เกิดตามปกติในระหว่างรอบเดือนหรือระหว่างตั้งครรภ์จะไม่มีกลิ่นไม่คัน แต่ถ้ามีพยาธิสภาพบางอย่างเกิดขึ้นภายในช่องคลอดจนทำให้เกิดการอักเสบ จะทำให้ผนังเยื่อบุช่องคลอดขับของเหลว หรือตกขาวที่มีลักษณะผิดไปจากปกติ เช่น มีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นและมีอาการคันบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอด เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบ

มีการติดเชื้อ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอดที่พบบ่อย เช่น 

  • พยาธิช่องคลอดทริโคโมแนส เชื้อราแคนดิด้า เชื้อหนองใน เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ
  • ปากมดลูกอักเสบและเป็นแผล
  • มีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด
  • เกิดแผลที่ปากช่องคลอดและปากมดลูก
  • เนื้องงอกและมะเร็งของช่องคลอด
  • ตกขาวจากภาวะหมดประจำเดือน

ในจำนวนสาเหตุข้างต้นที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อโรคที่พบบ่อยได้แก่การติดเชื้อรา

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราแคนดิด้า

แคนดิด้า อัลบิลแคน เป็นเชื้อราซึ่งปกติอาศัยอยู่บริเวณช่องคลอดอยู่แล้วโดยไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด แต่บางสภาวะ เช่น ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะบ่อยๆ หรือเป็นเวลานานโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง หรือใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน หรือการสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาล้างช่องคลอดเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้เป็นการทำลายแบคทีเรียชนิดดีต่างๆ ที่เป็นภูมิคุ้มกันบริเวณช่องคลอด ทำให้เชื้อราแคนดิด้าที่อยู่บริเวณนั้นอยู่แล้วตามธรรมชาติเจริญเติบโตจนทำให้ช่องคลอดอักเสบได้ นอกจากนั้นการตั้งครรภ์ก็มีผลเปลี่ยนแปลงสภาพภายในช่องคลอดทำให้เชื้อราแคนดิด้าเจริญงอกงามจนก่อโรคได้เช่นกัน

ในจำนวนสาเกตุหลายประการที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราพบว่าส่วนใหญ่มาจากการสวนล้างด้วยน้ำยาล้างช่องคลอดประจำ ซึ่งการใช้น้ำยาล้างช่องคลอดบ่อยๆ นั้น นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังอาจทำให้เกิดผลเสียด้วย เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วในช่องคลอดจะมีแบคทีเรียชนิดดีอาศัยอยู่ แบคทีเรียเหล่านี้เปรียบเสมือนทหารป้องกันช่องลอดจากเชื้อก่อโรคอื่นๆ ถ้าสวนล้างช่องคลอดประจำแม้ว่าอาจทำให้รู้สึกสบาย แต่จะดีในระยะแรกเท่านั้นเมื่อใช้ต่อเนื่องไปนานๆ จะทำให้แบคทีเรียชนิดดีเหล่านี้ถูกทำลายไปทำให้เชื้อโรคอื่นที่เป็นโทษเข้าแทรกแซงทันที โดยเฉพาะเชื้อราแคนดิด้า ปกติการทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดแต่เพียงภายนอกก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากสภาพที่เป็นกรดอ่อนๆ ของช่องคลอดก็เป็นการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ อยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องล้างด้วยน้ำยาล้างช่องคลอดแต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการแสดงจากช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราแคนดิด้า
  1. ผู้ป่วยจะมีตกขาวมากกว่าปกติ ตกขาวมีลักษณะข้นขาว คล้ายแป้งเปียก หรือตะกอนนมแต่ไม่มีกลิ่นผิดปกติ
  2. มีอาการคันรอบปากช่องคลอด บางคนอาจมีผื่นแดงรอบปากช่องคลอด หรือบริเวณขาหนีบ
การรักษาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราแคนดิด้า

ใช้ยาเหน็บช่องคลอดที่มีตัวยาฆ่าเชื้อราตัวใดตัวหนึ่ง ได้แก่

  •  โคไตรมาโซล ตัวอย่างชื่อการค้า เช่น คาเนสเทน (Canesten) ชนิด 100 มก. ต่อเม็ด เหน็บช่องคลอด ครั้งละ 2 เม็ด ก่อนนอน ติดต่อหัน 3 คืน หรือครั้งละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 6 คืน หรือชนิด 500 มก. ต่อเม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนครั้งเดียว
  •  ไมโคมาโซล ตัวอย่างชื่อการค้า คือ ไกโน ดาคทาริน (Gyno-daktarin) ชนิด 400 มก. ต่อเม็ด เหน็บช่องคลอดครั้งละ 1 เม็ดติดต่อกัน 3 คืน
  •  อีโคนาโซล ชื่อการค้า คือ ไกโน พีวาริล (Gyno-pevaryl) ชนิด 150 มก. ต่อเม็ด เหน็บช่องคลอดครั้งละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 3 คืน
  •  ไอโซโคนาโซล ชื่อการค้า คือ ไกโน ทราโวเจน (Gyno- travogen) เหน็บช่องคลอดครั้งละ 2 เม็ด ติดต่อกัน 3 เดือน

นอกจากใช้ยาเหน็บแล้วอาจให้รับประทานยาฆ่าเชื้อราร่วมด้วย โดยเฉพาะในรายที่เป็นซ้ำบ่อยๆ ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานที่นำมาใช้ในกรณีนี้ ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • คิโตโคนาโซล รับประทานครั้งละ 200 มก. วันละ 2 ครั้งหลังอาหาร เช้า- เย็น ประมาณ 7-10 วัน กรณีที่ใช้คโตโคนาโซล ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 14 วัน เพราะอาจจะทำให้การทำงานของตับผิดปกติและห้ามใช้กับหญิงระยะตั้งครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร
  • ไอทราโคนาโซล ขนาดเม็ดละ 100 มก. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า – เย็น เป็นเวลา 1 วัน
  • ฟลูโคนาโซล รับประทานครั้งละ 150 มก. ครั้งเดียว

กรณีผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบหรือการทำงานของตับผิดปกติควรใช้ฟลูโคนาโชล หรือไอทราโคนาโซลจะดีกว่าคีโตโคนาโซลเนื่องจากมีผลเสียต่อตับน้อยกว่าคีโตโคนาโซล

ช่องคลอดอักเสบจากพยาธิช่องคลอดทริโคโมแนส

พยาธิช่องคลอดทริโคโมแนสเป็นโปรโตซัวชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กมาก พยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ภายในช่องคลอดและต่อมใกล้ท่อปัสสาวะ ติดต่อกันโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้

อาการแสดงจากพยาธิช่องคลอดทริโคโมแนส
  1. ผู้ป่วยจะมีตกขาวมาก ตกขาวมีลักษณะเป็นน้ำ เป็นฟอง ออกเป็นสีเหลืองหรือเขียวมีกลิ่นเหม็น
  2. ผู้ป่วยมีอาการคันอย่างมาก และคันลึกเข้าไปในช่องคลอด ถ้าเป็นมากจะปวดแสบในช่องคลอด
  3. เวลาปัสสาวะจะแสบ ขัด บริเวณปากช่องคลอดและปากมดลูกจะเป็นจุดหรือผื่นแดงๆ

โรคนี้จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมือหญิงที่มีพยาธิช่องคลอดนี้มีเพศสัมพันธ์กับชายโดยที่ได้รับเชื้อพยาธิช่องคลอดทริโคโมแนสมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่จะเป็นพาหะของโรคแทน

การรักษาจากพยาธิช่องคลอดทริโคโมแนส
  1. ให้ยารับประทาน ชื่อ เมโทรนิดาโซล 200 มก. ขนาดยาที่ให้มี 3 แบบ สามารถเลือกแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้

แบบที่ 1 รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร 7-10 วัน วิธีนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากยามากนัก แต่ต้องรับประทานหลายวันไม่สะดวก โอกาสที่ผู้ป่วยจะปฏิบัติตามน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แบบที่ 2 ให้ครั้งละ 4 เม็ด หลักอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 2 วัน วิธีนี้มีข้อดี คือ ใช้เวลาสั้นเพียง 2 วัน แต่ยาจะทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้อาเจียนมาก วิธีแก้ไขคืออาจให้ดอมเพอริโดน ป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน ล่วงหน้าครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นจึงให้เมโทรนิดาโซล

แบบที่ 3 ให้ครั้งเดียว 10 เม็ด วิธีนี้เหมาะกับหญิงที่อยู่ในระยะให้นมบุตรโดยให้รับประทานครั้งเดียว และงดให้นมบุตร 24 ชั่วโมงหลังรับประทานยา เพื่อรอจนยาถูกขับออกจาร่างกายหมดแล้วจึงค่อยให้นมบุตรต่อและควรรับประทานดอมเพอริโดนล่วงหน้าครึ่งชั่วโมงเพื่อป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียนจากเมโทรนิดาโซล

สิ่งที่ควรระวังจากพยาธิช่องคลอดทริโคโมแนส 

คือ ห้ามให้เมโทรนิดาโซลในหญิงขณะตั้งครรภ์ กรณีหญิงตั้งครรภ์แล้วเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากพยาธิทริโคโมแนสแนะนำให้ใช้ยายเหน็บช่องคลอดที่มีตัวยาไอไอโอโดไฮดรอกซิคควินแทนหรือเลือกให้ยารับประทานชื่อ ทินิดาโซล โดยให้ครั้งเดียว 2 กรัม (ห้ามให้กับหญิงขณะตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก)

ช่องคลอดอักเสบจากพยาธิทริโคโมแนสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรักษาฝ่ายชายด้วยโดยให้รับประทานยาเช่นเดียวกับฝ่ายหญิง

ช่องคลอดอักเสบจาการติดเชื้อหนองใน

หนองในเกิดจากแบคทีเรียแกรมลบชื่อไนซีเรีย โกโนโรอี ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดหนองในในชายแล้วยงทำให้เกิดหนองใน ในหญิงได้เช่นกัน และกรณีที่หญิงได้รับเชื้อหนองใน จะมีอาการของช่องคลอดอักเสบ ดังนี้

อาการแสดง
  1. ผู้ป่วยจะมีตกขาวลักษณะเป็นหนองข้น สีเหลือง มีกลิ่นคาว และมีปริมาณมากออกมาทางช่องคลอดและปัสสาวะ บางรายอาจมีอาการแสบร้อนในช่องคลอด แต่ไม่ค้น
  2. ปัสสาวะแสบ ขัด บางรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะไม่ออก เนื่องจากมีการอักเสบมาก
  3. ปวดบริเวณช่องคลอด หรือปวดท้องน้อย อาจมีอาการไข้ร่วมด้วย อาการมักจะเรื้อรังเป็นๆ หายๆให้ยาปฏิชีวนะเอชิโธรมัยชิน 1 กรัม ครั้งเดียว

ช่องคลอดอักเสบจาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

ช่องคลอดอักเสบสามารถเกิดการอักเสบจากแบคทีเรียอื่นไม่ใช่เชื้อหนองในได้เช่นกัน เช่น สเตร็ปโตคอกคัส สแต็ปฟิโลคอกคัส อี.โคไล และฮีโมฟิลลัส วาจินาลิส เป็นต้น

อาการแสดงจาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ
  1. โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง อาจคันช่องคลอดเล็กน้อยหรือไม่คันเลย
  2. ผู้ป่วยจะมีตกขาวลักษณะข้น มีสีเขียวเหลือง มีกลิ่นเหม็น
  3. อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปากมดลูกอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ ถ่ายปัสสาวะแสบและขัด หรือบางคนไม่มีอาการแสดงเลย อาการดังกล่าวข้างต้น บางทีแสดงออกเพียง 1-.3 วัน แล้วก็หายไปทำให้ผู้ป่วยคิดว่าหายแล้ว ไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง อาการจึงมักเป็นๆ หายๆเรื้อรัง
การักษาจาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

ความให้ร่วมกันทั้งยารับประทนและยาเหน็บช่องคลอด

  1. ให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
  •  เตต้าชัยคลิน ครั้งละ 250 มก. วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 14-21 วัน หรือ ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 7-14 วัน
  •  อิริโธรมัยชิน วิธีรับประทานเหมือนเตต้าชัยคลิน
  •  ด้อกชิชัยคลิน ครั้งละ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า  – เย็น ติดต่อกัน 7-14 วัน
  1. ให้ยาเหน็บไกนีคอน (Gynecon) หรือยาเหน็บช่องคลอดชนิดอื่นที่เป็นสูตรให้เคียงโดยเหน็บครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้งติดต่อกันประมาณ 10 วัน หรือนานจนกว่าจะหาย

สาเหตุของช่องคลอดอักเสบ นาอกจากจะมาจากการติดเชื้อโรคแล้ว ในหญิงวัยหมดประจำเดือนยังอาจมาจากการลดน้อยลงของเอสโตรเจนอีกด้วย

ช่องคลอดอักเสบจากภาวะหมดประจำเดือน

หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงจะมีผลให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อบางลง และเกิดการหลุดออกมา ตลอดจนช่องคลอดเกิดการอักเสบอีกด้วย

อาการแสดงช่องคลอดอักเสบจากภาวะหมดประจำเดือน
  1. ผู้ป่วยจะมีตกขาวออกมาจำนวนมาก ตกขาวมีสีขาวคล้ายตกขาวปกติหรืออาจเป็นเมือกอาจมีเลือดนออกมาด้วยเนื่องจากการหลุดลอกของผนังเยื่อบุชองคลอดและมีแผลเกิดขึ้น
  2. บางรายมีอาการปวดแสบปวดร้อนในช่องคลอดและปากช่องคลอด คันบ้างเล็กน้อยผนังช่องคลอดเป็นจุดแดงและเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
การรักษาช่องคลอดอักเสบจากภาวะหมดประจำเดือน
  1. ใช้เอสโตเจนชินดครีมทาบริเวณปากช่องคอลดและภายในช่องคลอด วันละ 2 ครั้ง นาน 7-10 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณเอสโตรเจนและป้องกันเลือกออกที่ผนังที่เยื่อบุช่องคลอด
  2. รับประทานเอสโตรเจนเสริม
  3. ถ้ามีอาการคันให้ทาด้วยยาทาสเตรียรอยด์ชนิดอ่อน วันละ 2 ครั้ง นานประมาณ 2 สัปดาห์จนกว่าอาการจะดีขึ้น

การซักอาการเพื่อหาสาเหตุของช่องคลอดอักเสบ

จะเห็นว่าอาการของช่องคลอดอักเสบไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดดังกล่าวข้างต้น ผนังเยื่อบุช่องคลอดจะขับเมือกหรือตกขาวออกมามาก และมีลักษณะผิดไปจากปกติ เราสามารถใช้ลักษณะของตกขาวเป็นตัวบ่งชี้ถึงสาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องได้ โดยซักถามข้อมูลของตกขาว ดังนี้

  •  สี                   
  •  ปริมาณ
  •  ลักษณะ           
  •  กลิ่น

ตารางสรุปลักษณะของตกขาวที่ผิดปกติจากสาเหตุต่างๆ

สี ลักษณะ ปริมาณ กลิ่น สาเหตุ
ใส เป็นเมือก +ถึง++ ไม่มีกลิ่น อยู่ในระยะมีไข่ตก
ไม่คัน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนปริมาณสูงเกินไป
เครียด
ใสถึงขาวขุ่น เป็นน้ำ +ถึง++ อาจมีกลิ่นน้ำกรด ปากมดลูกอักเสบ
ไม่คัน ติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ
สีชมพูจางๆ เป็นน้ำ +ถึง++ ไม่มีกลิ่น รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีปริมาณเอสโตรเจนต่ำไป
สีเขียวปนเหลือง เป็นฟอง +ถึง++ มีกลิ่นเหม็น ติดเชื้อพยาธิช่องคลอดทริโคโมแนส
คันมาก
สีน้ำตาล เป็นน้ำ +ถึง++ มีกลิ่นอับ ช่องคลอดอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ มากมดลูกตีบตัน เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
ไม่คัน เป็นผลหลังจากได้รับรังสีรักษา
สีเทา เป็นน้ำไม่เหนอะหนะ +ถึง++ กลิ่นเหม็นเน่า มีแผลในช่องคลอด
มีเลือดปน ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อหนองใน
ปากมดลูกอักเสบจากการใช้ผ้าอนามัยชนิดสอดช่องคลอด
เนื้องอกในช่องคลอด ปากมดลูกเยื่อบุโพรงมดลูกหรือท่อนำไข่
สีขาวข้น เกาะเป็นแผ่นเป็นมูกข้นคล้ายตะกอน +ถึง++ กลิ่นเหม็นอับ ติดเชื้อรา
นม คัน
สีเหลือง มูกข้นคล้ายหนองไม่คัน +ถึง++ มีกลิ่นคาว ติดเชื้อหนองใน

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือนเป็นอาการปวดท้องน้อยหรือบริเวณอุ้งเชิงกรานก่อนหรือขณะมีประจำเดือนอาการปวดประจำเดือนมี 2 ประเภท คือ

1. ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ หรือปวดปกติ

อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้ มักเป็นกับหญิงสาวที่ยังไม่มีบุตร เป็นการปวดจากการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกขณะมีประจำเดือนตามปกติโดยไม่มีอาการผิดปกติของมดลูกและรังไข่แต่อย่างใด ลักษณะอาการ คือ ปวดบิดเป็นพักๆ อาจปวดร้าวไปที่เอว สันหลัง สะโพกหรือต้นขาก็ได้บางครั้งอาจปวดมากจนกระทั่งหน้ามืดเป็นลม

สาเหตุปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ หรือปวดปกติ

เชื่อว่ามาจากร่างกายหลั่งสารพรอสตาแกลนดินส์ชื่อ PGF2 สารนี้ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัว เกิดอาการปวดท้องน้อยบีบรัดเป็นระยะๆ นอกจากนั้นยังอาจมาจากปากมดลูกตีบตัน ทำให้เกิดการคั่งของเลือดประจำเดือนและมดลูกพยายามบีบรัดตัวเพื่อขับเลือดประจำเดือนออกมาพบว่าในหญิงที่อายุมากขึ้นหรือเคยคลอดบุตรมาแล้ว อาการปวดจะลดลงหรือหายไปเนื่องจากขณะตั้งครรภ์ เส้นประสาทรับความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการปวดประจำเดือนจะถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้หลังจากคลอดบุตรแล้ว อาการปวดจะลดลงหรือหายไป

การรักษาปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ หรือปวดปกติ

  1. กรณีขวดปกติทั่วไปไม่มากอาจใช้พาราเซตามอล 500 มก. ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือยาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น ฮัยออสซีน หรือไดไซโคลมีน ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง
  2. กรณีปวดมาก สามารถให้ยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

    2.1. ใช้เอนเซดตัวใดตัวหนึ่ง ขณะเมื่อเริ่มมีอาการ ตัวอย่าง เอนเซดที่นิยมนำมาใช้ลดอาการปวดประจำเดือน ได้แก่ ไอบูโปรเฟ่น ครั้งละ 400 มก. วันละ 4 ครั้ง หรือทุก 4 ชั่วโมง นาโปรเซ่น ครั้งแรก 500 มก. ต่อไปครั้งละ 250 มก. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังอาหารทันที กรดมีฟีนามิก ครั้งแรก 500 มก. ต่อไปครั้งละ 250 มก. ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่อาจอนุโลมให้ใช้ครั้งละ 500 ทุก 4-6 ชั่วโมง ตามที่มีในรูปแบบการค้า เช่น พอนสแตน (Ponstan) เอนเซดตัวนี้นอกจากมีประสิทธิภาพในการระงับปวดประจำเดือนได้ดีแล้วยังช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนให้น้อยลง ทำให้ลดการสูญเสียเลือดในแต่ละเดือน ถ้ามีอาการปวดทุกครั้งที่มีประจำเดือนสามารถรับประทานเอนเซดตัวใดตัวหนึ่งดังกล่าวข้างต้นล่วงหน้าเพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ โดยรับประทานล่วงหน้า 2 วัน และรับประทานต่อเนื่องจนถึงหลังมีประจำเดือนอีก 2 วัน แนะนำให้ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณหน้าท้องร่วมด้วยขณะมีอาการ

    2.2. รักษาด้วยฮอร์โมน กรณีปวดมากเป็นประจำทุกเดือน อาจพิจารณาให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมตอนเดียว รับประทานเช่นเดียวกับรับประทานเมื่อการคุมกำเนิดประมาณ 4 – 6 เดือน แล้วลองหยุดยา ถ้ายังมีอาการปวดอยู่อีกให้เริ่มรับประทานใหม่เป็นระยะๆ ถ้าหยุดยาแล้วไม่มีอาการปวดอีกก็หยุดรับประทานได้ กลไกของยาเม็ดคุมกำเนิดในการรักษาอาการปวดประจำเดือน คือ ทำให้ไม่มีการสร้างไข่อ่อน ไม่มีการเจริญเติบโตของไข่อ่อน และป้องกันการตกไข่ ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะฝ่อลีบ และไม่สามารถสร้างพรอสตาแกลนดิน PGF2ได้ (พรอสตาแกลนดิน PGF2 สร้างขึ้นที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นสารเคมีที่ทำให้มดลูกบีบเกร็ง) ผลดีในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดรักษาอาการปวดประจำเดือน คือ เลือดประจำเดือนจะลดลงในแต่ละเดือนและมาตรงเวลาสม่ำเสมอ

  3. การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้เป็นอาการปวดผิดปกติ ปวดอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ไม่เคยมีอาการปวดมากแบบนี้มาก่อน ลักษณะมักจะปวดแบบหน่วงๆ ตื้อๆ และอาจเกิดร่วมกับเลือดประจำเดือนที่ออกมาเป็น จำนวนมาก อาจมีอาการปวดมากช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนหรืออาจปวดล่วงหน้าก่อนมีประจำเดือนเพียง 1 – 2 ชั่วโมงก็ได้ อาการปวดประจำเดือนต่อเนื่องตลอดช่วงที่มีประจำเดือนจนประจำเดือนหมดไปแล้ว 2 – 3 วัน การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิหรือปวดผิดปกติมีแม้แต่ในหญิงที่มีบุตรแล้ว หรืออายุมากก็ยังปวดได้ซึ่งต่างจากแบบปฐมภูมิที่มักจะปวดเฉพาะหญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรืออายุน้อย ปวดล่วงหน้าก่อนมีประจำเดือนเพียง 1 วันและอาการปวดจะลดลงหรือหายไปเมื่อมีประจำเดือนแล้ว สาเหตุของการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิมีหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากมีเนื้องอกบริเวณมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกนอกผิดที่ มดลูกย้อยไปด้านหลังมาก หรือปีกมดลูกอักเสบเรื้อรังมาก กรณีสงสัยควรแนะนำผู้ป่วยให้ไปพบแพทย์

ตารางสรุปความแตกต่างของการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ

การปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ
อายุ มักพบในวัยรุ่นหรือระยะแรกของวัยเจริญพันธุ์ มักพบในอายุที่มากกว่า 35 ปี
อาการปวดครั้งแรก เริ่มปวดหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก เริ่มปวดหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกมาแล้วหลายปี
6-12 เดือน
ลักษณะที่ปวด ปวดบีบรัดเป็นระยะๆ ที่เหนือหัวเหน่า และกุ้งเชิงกราน อาจปวดร้าวไปที่เอว หลังและต้นขาด้านหน้า ปวดตื้อๆ หน่วงๆ ตลอดเวลาเหมือนมีเลือดคั่งอยู่หรืออาจไม่แน่นอนแล้วแต่พยาธิสภาพ
ระยะเวลาที่ปวด ร่วมปวดก่อนมีประจำเดือน 12 – 24 ชั่วโมง และอาการปวดจะหายไป เมื่อประจำเดือนมาแล้ว 1-2 วัน เริ่มปวดก่อนมีประจำเดือน 1 – 2 ชั่วโมงแต่บางรายอาจปวดล่วงหน้าก่อนมีประจำเดือน 1 – 2 สัปดาห์ อาการปวดจะยังคงมีอยู่ตลอดช่วงที่มีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องแม้ว่าประจำเดือนจะหมดไปแล้ว 2-3 วัน
อาการอื่นที่ อาจพบอาการคลื่นไส้ ท้องเดิน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่ค่อยพบอาการรวมอื่นๆ
อาจพบได้
พยาธิสภาพ ไม่พบพยาธิสภาพที่ผิดปกติ พบพยาธิสภาพตามสาเหตุของโรค
การวินิจฉัย ใช้การซักประวัติเป็นสิ่งสำคัญและพิจารณาโดยการแยกโรคอื่นๆ ออกไป ตรวจภายใน หรือตรวจเพิ่มเติมซึ่งจะพบรอยโรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวด
การรักษา ใช้คำปรึกษาแนะนำ และรักษาโดยใช้ยาเป็นหลัก รักษาตามสาเหตุ

ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก

เป็นที่ทราบแล้วว่าผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบเดือนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นแล้ว แต่หากไม่มีการฝังตัวเกิดขึ้น ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุด ลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนทุกรอบเดือน โดยลักษณะของประจำเดือนปกติที่เกิดในแต่ละรอบเดือน คือ

  1. ระยะเวลาที่มีเลือดออกเฉลี่ยประมาณ 4-6 วัน ถ้านานกว่า 7-10 วันถือว่าผิดปกติ
  2. ปริมาณเลือดที่ออกในแต่ละรอบเดือนประมาณ 30 – 80 มล. และถ้ามากกว่า 80 มล. ถือว่าผิดปกติ
  3. ระยะห่างระหว่างรอบเดือนปกติโดยทั่วไปประมาณ 24 – 35 วัน

ในบางกรณีจะมีเลือดประจำเดือนผิดปกติไปจากนี้ และเราจะจัดว่าเป็นภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกก็ต่อเมื่อมีความผิดปกติของเลือดประจำเดือนใน 3 ลักษณะคือ

  1. เลือดออกจำนวนมาก ออกนานหลายวันผิดปกติ แต่งออกตรงตามรอบระดู
  2. เลือดออกไม่ตรงตามรอบระดู ออกไม่สม่ำเสมอ มีเลือดออกกระปริดกระปรอยโดย ไม่มีรอบ ไม่มีจังหวะ
  3. เลือดออกผิดปกติในระหว่างรอบระดูหนึ่งถึงรอบระดูถัดไป

เลือดออกผิดปกติทั้ง 3 ลักษณะ อาจเกิดเพียงลักษณะเดียวหรือทั้ง 3 ลักษณะร่วมกันก็ได้

สาเหตุของความผิดปกติดังกล่าวมาจากหลายประการ ทั้งจากโรคทางนรีเวช เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกและแท้ง มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ที่มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติ เป็นต้น

กรณีที่มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่พบพยาธิสภาพที่ผิดปกติของอวัยวะเลยเราจะเรียกอีกอย่างว่าดียูบี

อย่างไรก็ตาม หญิงที่มีความผิดปกติของเลือดประจำเดือน คือ มีเลือดประจำเดือนออกมาเป็น จำนวนมากมาปรึกษาร้านยา ผู้เขียนเห็นว่าเราควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบสูตินรีแพทย์จะดีที่สุดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้นมากกว่าการพยายามให้การรักษาโดยวิธีใดๆ การที่เรารู้อาการเบื้องต้นคร่าวๆ ก็เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการแนะนำส่งต่อแพทย์ ในที่นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเสนอแต่เฉพาะภาวะดียูบี เพื่อให้พวกเราสามารถแนะนำส่งต่อได้เท่านั้น

ดียูบีหรือเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก

ดียูบีเป็นภาวะที่มีประจำเดือนออกมาผิดปกติจากโพรงมดลูกโดยไม่พบพยาธิสภาพเนื้องอกมะเร็ง หรือการอักเสบติดเชื้อหรืออื่นๆ แต่อย่างใด แต่เป็นผลจากเยื่อบุโพรงมดลูกตอบสนองต่อความไม่สมดุลของปริมาณเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรนในร่างกาย ทำให้เลือดออกมาผิดปกติที่เยื่อบุโพรงมดลูก โดยระยะเวลามีการเลือดออกจะนานกว่า 7 วัน และมีปริมาณเลือดออกมากจนอาจเกิดภาวะซีด เพลีย

สาเหตุดียูบีหรือเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก

เกิดจากการที่มดลูกหรือรังไข่ทำงานผิดปกติซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่

เกิดความไม่สมดุลของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยอาจมาจากรังไข่ที่มีการตกไข่ที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่มีการตกไข่

เกิดจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนน้อย

สาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ทราบแน่ชัด

ช่วงเวลาที่พบดียูบีมีได้ทั้งช่วงเริ่มแรกที่มีประจำเดือนใหม่ๆ และช่วงก่อนหมดประจำเดือนซึ่งดียูบีระยะนี้มักเป็นดียูบีที่ไม่มีการตกไข่ แต่เกิดจากต่อมที่สร้างฮอร์โมนเพศทำงานไม่สมดุลกันและอีกช่วงที่พบภาวะดียูบี คือ ช่วงที่ผ่านวัยรุ่นไปแล้วและเข้าสู่วัยเปลี่ยนแปลงก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งจัดเป็นภาวะดียูบีที่ยังมีการตกไข่

อาการแสดงดียูบีหรือเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก

ผู้ป่วยจะมีเลือดประจำเดือนออกมาเป็นจำนวนมากจนอาจเกิดภาวะซีดและอ่อนเพลียหรือเลือดออกกะปริดกะปรอยนานหลายสัปดาห์ โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย บางคนอาจมีประวัติประจำเดือนขาดหายไปนำมาก่อน 2-3 เดือน

การรักษาดียูบีหรือเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก

โดยทั่วไปแบบแผนคร่าวๆ เมื่อแพทย์พบอาการเลือดออกผิดปกติจากเยื่อบุโพรงมดลูก คือ การทำให้เลือดหยุดไหลก่อน อาจโดยการให้เอนเซดตามตารางที่แสดง หรือการใช้ฮอร์โมนหรือแม้แต่การขูดมดลูกและป้องกันไม่ให้เลือดออกซ้ำ หากวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล ก็จะพิจารณาตัดมดลูก

สำหรับร้านยาอาจแก้ไขอาการเลือดออกมากเฉพาะหน้าไปก่อนเพื่อป้องกันผู้ป่วยเสียเลือดมากจนช็อก หลังจากนั้นควรแนะนำผู้ป่วยให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและแยกจากโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่แน่ชัด โดยแพทย์จะทำการตรวจเนื้อเยื่อของมดลูกและถุงน้ำของรังไข่หรือตดวัดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกว่าไม่หนาผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของโรคได้ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ กรณีพบผู้ที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจและไปพบแพทย์ เราอาจแก้ไขเบื้องต้นโดยการทำให้เลือดประจำเดือนหยุดไหลหรือลดน้อยลง โดยการให้ยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  1. เอนเซด เอนเซดจะทำให้พรอสตาแกลนดินชนิดไอทู (PGI2) และสารเคมีทำที่ทำให้การขยายตัวของหลอดเลือดลดลง ธรอนโบเซน (TXA2) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัวลดจำนวนลงเช่นกัน ผลโดยรวมคือจะทำให้ปริมาณเลือดประจำเดือนลดลง (กลไกการออกฤทธิ์ของเอนเซดติดตามได้ในหนังสือคู่มือร้านยาเล่ม 2 โรคและงานระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ) ควรรับประทานเอนเซดตั้งแต่วันแรกที่มีเลือดออกและใช้ต่อเนื่องประมาณ 4-5 วัน
  1. ให้ฮอร์โมน 19-นอร์เทสโทสเตอร์โรน วันละ 5-10 มก. เป็น เวลาประมาณ 10 วัน สำหรับกลุ่มคนที่เป็นดียูบีและต้องการคุมกำเนิดด้วย ให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีปริมาณเอสโตรเจน 0.02 มก. ต่อเม็ด รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 5 – 7 วัน ซึ่งจะทำให้เลือดหยุดไหลภายใน 12 – 24 ชั่วโมง แต่ควรระวังในบางรายที่เมื่อหยุดรับประทานยา อาจมีเลือดออกเป็นจำนวนมากและปวดท้องมากประมาณ 2 – 4 วัน ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียเลือดมากจนมีภาวะซีด ให้เสริมด้วยธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง

ตารางการใช้เอนเซดเพื่อรักษาดียูบี

ชนิดของเอนเซด ขนาดที่ใช้ อาการข้างเคียงที่อาจพบได้
กรดมีฟีนามิก ครั้งละ 500 มก. ทุก 6-8 ซม. หลังอาหารทันที 3-5 วัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ผื่นขึ้นตามตัว
นาโปรเซ่น ครั้งแรก 500 มก. ต่อไป ครั้งละ 250 มก. ทุก 8-10 ซม. หลังอาหารทันที 3-5 วัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
ไอบูโปรเฟ่น ครั้งละ 400 มก. ทุก 4-6 ซม. หลังอาหารทันที 3-5 วัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เวียนศีรษะ

ปีกมดลูกและมดลูกอักเสบ

ปีกมดลูกอักเสบหมายถึง การติดเชื้อจนเกิดการอักเสบของปีกมดลูกและเนื้อเยื่อโดยรอบอุ้งเชิงกราน

มดลูกอักเสบหมายถึง การติดเชื้อจนเกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก

สาเหตุปีกมดลูกและมดลูกอักเสบ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านช่องคลอดเข้าไปทางปากมดลูกและเข้าไปในมดลูกทำให้มดลูกอักเสบและลุกลามต่อไปที่ปีกมดลูกจนปีกมดลูกอักเสบ

แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อหนองใน

อาการแสดงของปีกมดลูกอักเสบปีกมดลูกและมดลูกอักเสบ

กรณีเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บที่ท้องน้อยอย่างแรง มักเป็น ทั้งข้างซ้ายและข้างขวาพร้อมกัน แต่ก็อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยยังอาจมีอาการขัดเบา ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ปวดหลัง ปวดเอวข้างที่มีการอักเสบร่วมด้วย

กรณีเรื้อรัง ผู้ป่วยจะปวดหน่วงที่ท้องน้อย อาการจะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง อาจมีไข้ต่ำหรือไม่มีไข้ ปวดหลัง และเอวข้างที่มีการอักเสบ

อาการแสดงของมดลูกอักเสบปีกมดลูกและมดลูกอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดและ และกดเจ็บบริเวณกลางท้องน้อยอย่างรุนแรง มีตกขาวเป็นหนองข้นจำนวนมากและมีกลิ่นคาว

การรักษาปีกมดลูกและมดลูกอักเสบ

ถ้าปวดไม่มากและผู้ป่วยแข็งแรงดี สุขภาพทั่วไปดี ให้รักษาด้วยการให้ยาแก้ปวดลดไข้และยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซิซิลลิน 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หรือเตตร้าชัยคลิน ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 10 วัน หรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ พร้อมกับแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษาที่ต่อเนื่อง และจริงจัง

หมายเหตุปีกมดลูกและมดลูกอักเสบ

โรคนี้อาจแสดงอาการภายหลังการมีประจำเดือนโดยมีอาการไข้หลังมีประจำเดือน ซึ่งชาวบ้านจะเรียกอาการไข้หลังมีประจำเดือนว่า “ไข้ทับระดู” แต่ถ้ามีประจำเดือนหลังไข้จะเรียกว่า “ระดูทับไข้” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาการไข้ทับระดูหรือระดูทับไข้นั้นมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไทฟอยด์ เป็นต้น ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะที่มีสาเหตุจากปีกมดลูกหรือมดลูกอักเสบแต่เพียงอย่างเดียว

เอนโดเมทริโอซิสหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เอนโดเมทริโอซิส เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปจะเดินอยู่ตามอวัยวะต่างๆ นอกโพรงมดลูกในหญิงบางรายเกิดความผิดปกติที่เยื่อบุนี้ โดยมีเศษของเยื่อบุโพรงมดลูกบางส่วนงอกผิดตำแหน่ง เช่น ไปงอกอยู่บนผนังกล้ามเนื้อมดลูก ท่อนำไข่ หรืออยู่ในรังไข่ ท่อรังไข่ บริเวณช่องคลอด และในทุกเดือนเศษของเยื่อบุผิวของมดลูกที่งอกผิดตำแหน่งเหล่านี้จะมีเลือดออกเช่นเดียวกับส่วนที่อยู่บริเวณผิวด้านในของมดลูก

สาเหตุเอนโดเมทริโอซิสหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

สาเหตุส่วนหนึ่ง เชื่อว่ามาจากความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

อาการแสดงเอนโดเมทริโอซิสหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่กรณีที่มีอาการ อาการสำคัญ คือ ปวดประจำเดือนเรื้อรังและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มีบุตรยาก เจ็บในช่องคลอดลึกๆ ขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง รอบประจำเดือนผิดปกติ เช่น มีประจำเดือนออกมาและนานโดย เฉพาะร่วมกับมีอาการปวดท้องน้อย

กรณีที่เกิดเอนโดเมทริโอซิสที่กระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เจ็บบริเวณหัวเหน่าช่วงที่มีประจำเดือนร่วมกับประวัติอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะและถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด

กรณีเกิดเอนโดเมทริโอซิสที่ผนังลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บที่ทวารหนักและอั้นอุจจาระไม่ค่อยได้ ร่วมกับบางครั้งถ่ายอุจจาระเป็นเลือดในช่วงที่มีประจำเดือน

อาการสำคัญ 3 ประการที่มักพบ คือ

  1. การมีบุตรยาก
  2. มีประจำเดือนออกมากและนานหลายวัน
  3. ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงขณะมีประจำเดือน บางรายคลำพบก้อนในท้อง

การรักษาเอนโดเมทริโอซิสหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

อาจให้เอนเซดเพื่อรักษาอาการปวดท้องเฉพาะหน้า และแนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์

เนื้องอกของมดลูก

เนื้องอกของมดลูก เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง เกิดได้ตามบริเวณต่างๆ เช่น อยู่ในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกหรืออยู่ที่ผนังด้านในหรือด้านนอกของมดลูกก็ได้ พบบ่อยในหญิงที่ยังไม่มีบุตร หรือ อายุระหว่าง 30 – 40 ปี

อาการแสดงเนื้องอกของมดลูก

ถ้าเนื้องอกนั้นมีขนาดก้อนเล็ก อาจไม่มีอาการผิดปกติอะไร แต่ถ้าก้อนมีขนาดโตมักมีเลือดออกมากขณะมีประจำเดือนหรือช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่ระยะที่มีประจำเดือน ปริมาณเลือดจะมากจนอ่อนเพลีย ซีด เหนื่อยง่าย เป็นต้น

การรักษาเนื้องอกของมดลูก

หากสงสัยควรแนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Female Reproductive System (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/female-repro.html)
Common Reproductive Health Concerns for Women. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/reproductivehealth/womensrh/healthconcerns.html)
Most Common Female Reproductive Problems. WebMD. (https://www.webmd.com/women/ss/slideshow-women-reproductive-problems)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง Female Reproductive System
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง Female Reproductive System

รู้จักการทำงานของระบบในร่างกายที่มีความซับซ้อน และมีความสำคัญต่อชีวิตผู้หญิงทุกคน

อ่านเพิ่ม