โรคมะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงอีกชนิดที่พบบ่อย มักพบในผู้ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว
ใครหลายคนมักเข้าใจผิดว่า มะเร็งมดลูกและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคเดียวกัน จริงๆ แล้วเป็นคนละส่วนกัน โดยในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับมะเร็งมดลูก
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุของมะเร็งมดลูก
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดมะเร็งมดลูก แต่ส่วนมากแล้ว โรคมะเร็งมักเกิดจากการกลายพันธุ์ของโครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA) ในเซลล์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน
ทำให้เซลล์เจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนแบบควบคุมไม่ได้จนเกิดเป็นก้อนเนื้องอกขึ้น (Tumour)
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า การที่ร่างกายมีฮอร์โมนไม่สมดุล เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของการเป็นมะเร็งมดลูก โดยเฉพาะถ้ามีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเลือดสูง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้หญิงที่มีปัจจัยต่อไปนี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกสูงขึ้น
- อายุมากกว่า 50 ปี
- มีภาวะอ้วน
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- ได้รับฮอร์โมนบำบัดชนิดที่เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดเดียวหลังหมดประจำเดือน
- ภาวะมีบุตรยาก
- การใช้ยา Tamoxifen (Soltamox) ที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งรังไข่
- ประจำเดือนมาเร็ว (ก่อนอายุ 12 ปี) และประจำเดือนหมดช้ากว่าปกติ (หลังอายุ 50 ปี)
- ไม่เคยตั้งครรภ์
- มีการเจริญผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกหนากว่าปกติ
- เคยได้รับการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน
- เป็นโรคเบาหวาน
- มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome: PCOS)
อาการของมะเร็งมดลูก
อาการที่พบบ่อยของมะเร็งมดลูกในระยะเริ่มต้นคือ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน โดยอาจเริ่มจากเลือดออกปริมาณเล็กน้อยร่วมกับตกขาว และจะเริ่มมีปริมาณมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
หากมะเร็งมดลูกเกิดขึ้นในผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจพบอาการเลือดออกผิดปกติได้จากการมีเลือดประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่ได้มีประจำเดือน
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอกจากนี้ยังอาจพบอาการอื่นๆ ได้ เช่น ตกขาวผิดปกติโดยไม่มีเลือดออก อาการปวดเชิงกราน ก้อนในบริเวณเชิงกราน หรือน้ำหนักลดผิดปกติ
อาการของมะเร็งมดลูกในระยะลุกลาม
กรณีที่มะเร็งมดลูกเข้าสู่ระยะลุกลาม อาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดหลัง
- ปวดขา
- ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
- เบื่ออาหาร
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่าย
- คลื่นไส้
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์
หากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วแต่มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือยังมีประจำเดือนอยู่แต่พบการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมีเลือดออกระหว่างรอบประจำเดือน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
นอกจากมะเร็งมดลูก อาการเลือดออกอาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ เช่น
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) พบเนื้อเยื่อที่เหมือนกับเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญที่บริเวณอื่นนอกมดลูก
- เนื้องอกไฟบรอยด์ (Fibroids) เป็นเนื้องอกที่เจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูก แต่ไม่ใช่มะเร็ง
- ติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Polyps in the Womb Lining)
- มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)
การวินิจฉัยมะเร็งมดลูก
แพทย์จะตรวจร่างกายบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ ช่องคลอด มดลูก รังไข่ และกระเพาะปัสสาวะ พร้อมกับสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เป็น
จากนั้นอาจมีการส่งตัวต่อไปพบแพทย์สูตินรีเวช เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound: TVU) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ตรวจขนาดเล็ก เรียกว่า "หัวตรวจอัลตราซาวด์ (Probe)" สอดเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อให้ได้ภาพของเนื้อเยื่อภายในมดลูก
- การตรวจชิ้นเนื้อ (Biospy) หากผลจากการตรวจอัลตราซาวด์พบเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว แพทย์จะนำตัวอย่างชิ้นเนื้อจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่า "มีเซลล์มะเร็งหรือไม่"
- การตรวจเลือด เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยวินิจฉัยมะเร็งมดลูกได้ เพราะก้อนเนื้องอกมะเร็งบางชนิดสามารถหลั่งสารเคมีบางอย่างเข้ามาในเลือด เรียกว่า "สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumour Markers)"
หากได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งมดลูก แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินระยะของโรคมะเร็ง เช่น ขนาดของก้อนมะเร็ง หรือตรวจการแพร่กระจายของมะเร็ง เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วย
การตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินระยะของโรค
- การเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) เพื่อดูว่า มะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอดหรือไม่
- การสแกนภาพถ่ายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสแกนภาพถ่ายของเนื้อเยื่อภายในร่างกายเพื่อดูว่า มะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่
- การสแกนด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerised Tomography: CT Scan) การใช้รังสีเอกซ์ช่วยสแกนภาพของเนื้อเยื่อภายในร่างกายเพื่อดูว่า มะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่
การรักษามะเร็งมดลูก
วิธีการรักษามะเร็งมดลูกหลักๆ คือ การผ่าตัดเอามดลูกออก (Hysterectomy) รวมถึงรังไข่และท่อนำไข่ โดยการผ่าหน้าท้องเพื่อนำมดลูกออก หรือใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Hysterectomy)
การผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้น แพทย์จะผ่าเปิดเป็นรอยแผลขนาดเล็ก และใช้กล้องชนิดพิเศษ (Laparoscope) รวมถึงเครื่องมือในการผ่าตัดสอดเข้าไปผ่านรอยแผลขนาดเล็กนั้น และผ่านำมดลูกออกจากร่างกายผ่านทางช่องคลอดได้ โดยมีแผลเป็นเพียงเล็กน้อย
หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งมดลูกระยะที่ 2 หรือ 3 อาจต้องทำการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมด (Total Hysterectomy)
ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบใดก็อาจมีการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดต่อภายหลังจากการผ่าตัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกาย ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งมดลูกระยะลุกลาม แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนมะเร็งออกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Debulking Surgery) ซึ่งวิธีนี้ไม่ได้ทำให้มะเร็งหายขาด แต่อาจช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยได้บ้าง โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม
การติดตามหลังการรักษา
The National Comprehensive Cancer Network (NCCN) แนะนำให้ตรวจติดตามทุกๆ 3-6 เดือน ในช่วง 2-3 ปีแรกหลังสิ้นสุดการรักษา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ
หลังจากนั้นให้ห่างขึ้นเป็นทุกๆ 6-12 เดือนในช่วง 2 ปีถัดไป
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดท้องน้อย ไอ หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงนัดหมาย
หรือหากยังไม่สะดวกในการเดินทางไปพบแพทย์แต่มีความกังวลใจสูง ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เกี่ยวกับมะเร็งนรีเวชแล้ว นอกจากคำแนะนำเบื้องต้นจากแพทย์จะช่วยให้คลายความกังวลได้แล้ว แพทย์ยังสามารถแนะนำประเภทการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมต่อไปได้
โรคมะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจดูน่ากลัว แต่มีข้อดีคือ มีอาการเตือนที่สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ฉีดวัคซีน ป้องกันมะเร็งมดลูกไป 1เข็ม สามารถ กินยาคุมได้ไหม หรืออาจมีเพศสัมพันได้ไหม?