มะรุม (Moringa, Drumstick pods) | HonestDocs

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
มะรุม (Moringa, Drumstick pods) | HonestDocs

มะรุม เป็นพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งใบและฝัก ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงทั้งคู่ และยังช่วยในการบรรเทารักษาอาการของโรคบางชนิดได้อีกด้วย มะรุมสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักมะรุม

มะรุม (Moringa, Drumstick pods) เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย สามารถนำมารับประทาน และใช้เป็นยาได้ทุกส่วน เนื่องจากมะรุมอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินนานาชนิด ใบมะรุมเป็นใบเล็ก มีลักษณะมนกลม รสชาติหวาน ส่วนฝักมะรุม เป็นฝักยาว มีเปลือกสีเขียว มีรสชาติหวานเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

สรรพคุณของมะรุม

มะรุมมีสรรพคุณดีๆ ต่อร่างกาย ดังนี้

  1. ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ อาการบวมน้ำส่วนมากเกิดจากการสะสมของโซเดียมในเลือด ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม การรับประทานมะรุมเป็นประจำจึงช่วยบรรเทาอาการนี้ เพราะมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ซึ่งโพแทสเซียมจะช่วยเข้าไปลดโซเดียมในเลือดให้เป็นปกติ นอกจากลดอาการบวมน้ำแล้ว ยังลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
  2. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น มะรุมมีไฟเบอร์สูง และมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ จึงช่วยส่งเสริมให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น การรับประทานมะรุมเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคท้องผูก โรคริดสีดวง และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  3. ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง จากการทดลองในหนูทดลอง พบว่าในมะรุมมีสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ สารไนอาซิไมซิน ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็ง การรับประทานมะรุม จึงสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้
  4. ช่วยลดอาการหอบหืด จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชวิทยาของอินเดียในปี 2551 พบว่า การใช้ผงเมล็ดมะรุม 3 กรัมเป็นเวลา 3 สัปดาห์ช่วยรักษาอาการหอบหืดในผู้ใหญ่ และยังช่วยฟื้นฟูสุขภาพปอดให้ดีขึ้นด้วย
  5. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง มักเกิดจากการขาดธาตุเหล็กเป็นหลัก ซึ่งมะรุมก็มีธาตุเหล็ก และมีวิตามินซีสูง การรับประทานมะรุมเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากวิตามินซีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
  6. ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา จากงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Microbiology ในปี พ.ศ. 2560 ได้อ้างถึงการใช้โปรตีนบริสุทธิ์ในเมล็ดมะรุมเป็นสารต้านเชื้อรา Candida เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ Candida ได้
  7. บรรเทาอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ในมะรุม มีสารต่าง ๆ จำพวกฟลาโวนอยด์ และฟีนอลที่ช่วยลดอาการอักเสบ และการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร

แนวทางการใช้มะรุมเพื่อสุขภาพ

มะรุมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ดังนี้

  1. ขับสารพิษในร่างกาย นำใบสดมาล้างให้สะอาด แล้วบดให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยแล้วนำไปคั้นในผ้าขาวบาง นำมาใช้ดื่มเป็นประจำ
  2. ใช้เป็นยาขับลม เปลือกของต้นมะรุม เมื่อนำมาตากให้แห้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำเดือด สามารถนำมาใช้ดื่มเป็นยาขับลมได้ และยังช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้อีกด้วย
  3. บรรเทาอาการปวด นำเปลือกมะรุมมาสับให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นทำเป็นลูกประคบร้อน แล้วนำมาประคบบริเวณที่เกิดอาการปวด
  4. บรรเทาอาการไอ เมล็ดมะรุมสีขาวในฝักแก่ สามารถนำมาเคี้ยว เพื่อบรรเทาอาการไอได้ โดยจะทำให้รู้สึกชุ่มคอ และยังช่วยแก้อาการเจ็บคอได้

ไอเดียการกินมะรุมเพื่อสุขภาพ

มะรุม สามารถนำมาประกอบอาหารไทยได้มากมาย เช่น

  1. ยำมะรุม นำเมล็ดอ่อนมะรุมมาลวกในหม้อน้ำเดือด พอสุกให้นำขึ้นมาแช่น้ำเย็น และนำมาพักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นทำน้ำยำโดยใส่ ซีอิ้วขาว น้ำมะนาว น้ำเชื่อม และพริกขี้หนูหั่นละเอียด ผสมให้เข้ากัน ตามด้วยเมล็ดมะรุมที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำยำ ใส่เห็ดฟางลวกสุก และหอมแดงลงไป เคล้าให้เข้ากัน
  2. แกงดอกแคใบมะรุม ลวกวุ้นเส้นในหม้อน้ำต้มเดือดเมื่อเส้นสุกตักใส่ถ้วยพักไว้ จากนั้นต้มน้ำในหม้อโดยใช้ไฟกลาง เมื่อน้ำเดือดใส่มะเขือพวง ใบมะรุม เห็ดหูหนู เห็นฟาง มะเขือเปราะ และดอกแค เมื่อผักสุกแล้วให้ใส่พริกขี้หนูและเกลือ คนให้เข้ากัน รอจนน้ำเดือดอีกครั้งให้ใส่ผักหวาน ใบพญายอ ใบชะพลูและใบกะเพรา คนให้ทั่ว ปรุงรสตามต้องการ

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase (G6PD deficiency) ไม่ควรรับประทานถั่วฝักยาวโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงได้
  • การรับประทานมะรุมในปริมาณมาก อาจส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นผื่นคัน ท้องเสีย หากพบอาการเหล่านี้ ให้หยุดรับประทานมะรุม และรีบไปพบแพทย์ทันที
  • มะรุม จัดเป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน สตรีมีครรภ์จึงควรงดรับประทานมะรุม เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร
  • การรับประทานมะรุมในรูปแบบแคปซูล หรือรับประทานในรูปแบบยา อาจทำให้ค่าเอนไซม์ของตับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ

ที่มาของข้อมูล

Bethany Cadman, What makes moringa good for you? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319916.php), 4 November 2017

Healthcare Asia Daily News, Top 8 health benefits of drumsticks (http://www.healthcareasia.org/2014/top-8-health-benefits-of-drumsticks/), 17 July 2014

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Meenakshi Chaudhary, 8 Health benefits of drumsticks (https://www.onlymyhealth.com/health-slideshow/eight-health-benefits-of-drumsticks-1435313065.html), 28 June 2015

United States Department of Agriculture, Basic Report: 11620, Drumstick pods, raw (https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/11620)

WebMD, MORINGA (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1242/moringa)

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มะรุม พืชที่ทุกคนอยากรู้ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/8/มะรุม-พืชที่ทุกคนอยากรู้/)

ดร.ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, มากินมะรุมกันเถอะ (https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/upload/เดือนตุลาคม%20อ.ดร.pdf) 7 ตุลาคม 2552

รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ, มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง (https://www.doctor.or.th/article/detail/1245), 1 มิถุนายน 2550

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร, เผย 5 สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง ที่คุณคาดไม่ถึง (http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/news_detail.php?cat=G&id=185) 31 กรกฎาคม 2557

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, “มะรุม” พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” (https://www.thaihealth.or.th/Content/5614-“มะรุม”%20พืชสมุนไพร%20แต่ไม่ใช่%20“ยาวิเศษ”.html), 28 พฤษภาคม 2552


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Phytochemicals of Moringa oleifera: a review of their nutritional, therapeutic and industrial significance. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5033775/)
Moringa: Benefits, side effects, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319916)
Moringa: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1242/moringa)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป