เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็ก จะมีอาการตอบสนองอย่างไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ธาตุเหล็ก เป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายของเรา เพราะมีหน้าที่ในการรักษาระดับพลังงานและช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง เราได้ธาตุเหล็กเหล่านี้มาจากอาหารชนิดต่างๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายลดลงต่ำ การผลิตเม็ดเลือดแดงจะเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากและร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียมาก รวมไปถึงการมีลักษณะอาการไม่ที่ปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเราด้วย

[caption id="" align="alignnone" width="700"] ความต้องการธาตุเหล็กใน 1 วัน[/caption]

อาการขาดธาตุเหล็ก มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีโอกาสสูญเสียธาตุเหล็กในปริมาณมากเมื่อเป็นประจำเดือน และนี่คือคำอธิบายที่ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้เกี่ยวกับอาการแปลกเหล่านี้...

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. อยากทานสิ่งสกปรก

หนึ่งในอาการของการขาดธาตุเหล็กในร่างกายก็คือ ความรู้สึกอยากทานสิ่งสกปรก เช่น ดิน ทราย โคลน สีทาบ้านที่ลอกจากฝาผนัง หรือแม้แต่น้ำยาล้างทำความสะอาดต่างๆ ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการทางจิตที่นอกจากจะแปลกมากแล้วยังอันตรายมากอีกด้วย เพราะผู้ที่มีอาการดังกล่าวเนื่องจากการขาดธาตุเหล็กมักเป็นเด็กเสียส่วนมาก และมักจะไม่ยอมรับว่าตนกำลังเสพติดกับสิ่งที่ทานไม่ได้เหล่านี้อยู่ ผู้ปกครองและคนใกล้ชิดจึงควรช่วยกันสังเกตพฤติกรรมของคนในครอบครัว

2. อยากทานน้ำแข็ง

อาการแปลกอีกอย่างก็คือ การอยากทานน้ำแข็ง อาการนี้พบได้มากในผู้ป่วยที่ขาดธาตุเหล็กขั้นรุนแรง เหล่าแพทย์และนักวิจัยยังไม่สามารถหาความเกี่ยวข้องหรือคำอธิบายที่ชัดเจนได้ในกรณีนี้ แต่มีการสันนิษฐานว่าความเย็นจากน้ำแข็งนั้นเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้แก่ผู้ที่รู้สึกอ่อนเพลียจากการขาดธาตุเหล็ก หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการลิ้นบวม และอาการปากแห้ง อาการนี้ถึงจะแปลก แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด

3. ลิ้นบวม

ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กมักมีอาการลิ้นบวมแอบแฝงอยู่ด้วย อาการลิ้นบวมนี้มักทำให้ตุ่มรับรสทั้งหลายขยายตัวจนเบียดกันแน่น ซึ่งทำให้ลิ้นมีผิวสัมผัวที่เนียนเรียบผิดปกติ อาการนี้มักทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาในการเคี้ยวอาหารหรือแม้กระทั่งพูดคุยทั่วไป

4. ริมฝีปากแห้ง

อาการปากแห้งที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กนั้นไม่เหมือนกับการที่ริมฝีปากแห้งจากอากาศหนาวหรือจากการเลียริมฝีปาก เพราะอาการที่พบค่อนข้างรุนแรงกว่า ผู้ป่วยบางคนมักมีริมฝีปากที่แห้งจนแตกและมีเลือดออก หรือบางคนก็เป็นปากนกกระจอกที่มุมปาก ทำให้รับประทานอาหารหรือพูดคุยด้วยความยากลำบาก อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนเรามักมองข้าม และกลับรักษาแค่อาการริมฝีปากแห้งเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเราต้องแก้ที่ต้นเหตุ ก็คือการขาดธาตุเหล็กนั่นเอง

5. เล็บมือ เล็บเท้า เป็นแอ่ง

เล็บเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบของร่างกายที่บ่งบอกถึงสุขภาพภายในได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการขาดธาตุเหล็ก ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กมักมีลักษณะของเล็บที่เป็นแอ่งคล้ายช้อนทานข้าว (มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Spoon nails) ซึ่งยังไม่มีการสรุปที่แน่นอนว่าทำไมการขาดธาตุเหล็กในร่างกายถึงทำให้เล็บกลายเป็นแอ่งได้ อีกทั้งอาการเล็บเป็นแอ่งนี้ยังบ่งบอกถึงความผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายได้อีกด้วย แพทย์จึงแนะนำให้มีการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนที่จะด่วนสรุป

6. ขาชาบ่อยๆ

อาการขาชาในที่นี่ไม่ได้หมายถึงอาการชาแบบไร้ความรู้สึก แต่เป็นอาการเหน็บชาที่ทำให้รู้สึกเจ็บและคันยิบๆไปทั่วขา ระดับความรุนแรงนั้นคล้ายกับผู้ที่เป็นโรคขาไม่อยู่สุข (Restless Legs Syndrome) ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความยากลำบาก แม้ผลการวิจัยจะมีข้อสรุปออกมาว่าการขาดธาตุเหล็กนั้นทำให้เกิดอาการขาชาได้จริง แพทย์ก็ยังแน่ใจถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง 2 ปัจจัยดังกล่าวเสียทีเดียว

อาการต่างๆเหล่านี้ทั้งแปลก ทั้งสร้างความลำบากต่อชีวิตประจำวันได้ หากพบว่าตนเองกำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้อยู่ ควรหันมารับประทานอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูง เช่น ตับไก่ ผักโขม นมถั่วเหลือง และถั่วงอก แต่ถ้ายังไม่หาย การปรึกษาแพทย์น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Iron Deficiency Symptoms, Causes, and Prevention. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/iron-deficiency-signs-and-symptoms-2507719)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)