กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข หรือ RLS นี้เกิดกับประชากรชาวอเมริกามากถึง 10%
โรคขาอยู่ไม่สุข (มักเรียกว่า RLS) เป็นความผิดปกติที่คนที่เป็นโรคนี้ต้องขยับขาบ่อยๆเพื่อบรรเทาอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับขา อาการนี้ยังเรียกได้อีกชื่อคือ Willis-Ekbom disease จะเกิดขึ้นเมื่อเรากำลังพักขาหรือไม่ได้ขยับไปไหน และจะรู้สึกรุนแรงขึ้นในตอนเย็นและตอนกลางคืน บางทีก็เป็นอุปสรรคต่อการนอนและการทำกิจวัตรประจำวัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
คนที่มีอาการ RLS จะรู้สึกไม่สบายขาเมื่อต้องนั่งหรือนอน ความรู้สึกที่เกิดจากอาการ RLS ได้แก่:
- รู้สึกเหมือนต้องคลาน
- รู้สึกเสียวที่ขา
- แสบร้อน
- เจ็บหรือสั่น
- ร้อนที่ขา
- รู้สึกตึง
อาการเหล่านี้อาจจะเกิดที่บริเวณอื่นๆนอกเหนือจากขาด้วย เช่น ที่แขนและหัว และอาการจะลดความรุนแรงลงเมื่อมีการเคลื่อนไหว คุณสามารถจดจำลักษณะอาการขาอยู่ไม่สุขนี้ได้ด้วยการจำสิ่งสำคัญ 4 อย่างที่เกี่ยวกับอาการ ได้แก่:
- เป็นอาการนี้ต้องได้ขยับขาบ่อยๆ
- อาการสั่นเมื่อพักขา (อาการจะแย่ลงในช่วงที่อยู่เฉยๆ)
- อาการจะดีขึ้นเมื่อทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
- ต้องเคลื่อนไหวขามากขึ้นในตอนเย็นและกลางคืน
คนที่มีอาการขาอยู่ไม่สุขมากกว่า 80% จะมีอาการหนึ่งที่เรียกว่า โรคภาวะขากระตุกขณะหลับ ซึ่งขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองจะชักกระตุกตลอดคืน ข้อมูลจากสถาบันโรคทางประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
ความชุกของอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
อาการขาอยู่ไม่สุขส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกาที่เป็นผู้ใหญ่มากถึง 10% และต่อเด็ก 4% เลยทีเดียว ข้อมูลจาก NLM Genetics Home Reference ยังไม่มีความชัดเจนจากข้อมูลที่ว่าอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นเกิดขึ้นกับคนทั่วโลกหรือไม่ จากการศึกษาวารสาร Sleep Medicine ปี 2011 พบว่าอัตราการเกิดอาการขาอยู่ไม่สุขในผู้ใหญ่อยู่ที่ 4 - 29% ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.5% จากประเทศในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก แต่จากการศึกษาวารสาร Sleep Medicine Reviews พบว่าอาการขาอยู่ไม่สุขจะเกิดกับผู้ใหญ่ในประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียประมาณ 5 - 8.8% บทความในวารสารยังกล่าวอีกว่า อย่างน้อยครึ่งของคนเหล่านี้ก็ไม่ได้มีอาการขาอยู่ไม่สุขหรือมีอาการนี้พร้อมๆกับอาการทางประสาทบ่อยนัก งานวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า อาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) จะเกิดกับผู้หญิงและผู้ชายประมาณสองครั้ง และจะเกิดบ่อยยิ่งขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งพบอย่างน้อยในอเมริกาเหนือและยุโรป
อะไรคือสาเหตุของอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
โรคขาอยู่ไม่สุขจัดเป็นอาการปฐมภูมิและทุติยภูมิ สาเหตุที่ทำให้เป็นอาการขาอยู่ไม่สุขแบบปฐมภูมินั้นยังไม่เป็นที่ทราบได้ แต่ความผิดปกตินี้มีแนวโน้มที่จะเกิดกับคนในครอบครัว ซึ่งถูกมองว่าสาเหตุนี้เป็นเรื่องของพันธุกรรมนั่นเอง งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า อาการขาอยู่ไม่สุขจะเกี่ยวกับความผิดปกติในการผลิตโดพามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้สมองควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของอาการขาอยู่ไม่สุขและการมีธาตุเหล็กน้อย (เช่นคนเป็นโรคโลหิตจาง) ซึ่งเหล่านี้ก็มีส่วนกับการผลิตโดพามีนและยังปรากฏพบความเกี่ยวข้องของอาการขาอยู่ไม่สุขกับความผิดปกติของ basal ganglia circuits ในสมองซึ่งจะนำโดพามีนไปใช้ด้วย ในทางตรงข้าม อาการขาอยู่ไม่สุขแบบทุติยภูมิจะเกี่ยวข้องกับโรคหรืออาการอื่นๆ ได้แก่:
- โรคไตเรื้อรังและไตวาย
- โรคเบาหวาน
- ปลายประสาทอักเสบ (ความผิดปกติของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกชนิดหนึ่ง)
- โรคข้อรูมาตอยด์
- โรคปลอกประสาทอักเสบ
อาการขาอยู่ไม่สุขแบบทุติยภูมิบางครั้งก็เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางตัว เช่นยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการดังต่อไปนี้:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- คลื่นไส้
- ซึมเศร้าและมีความผิดปกติทางจิตอื่นๆ
- หัวใจมีปัญหา
- ความดันโลหิตสูง
- หนาวและเป็นภูมิแพ้
แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และนิโคตินสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุขได้ด้วย
กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขและการตั้งครรภ์
เป็นปกติที่หญิงมีครรภ์จะมีอาการขาอยู่ไม่สุข โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้าย ข้อมูลจาก Restless Legs Syndrome Foundation กล่าวว่า อาการ RLS จะเกิดกับหญิงมีครรภ์ในประเทศตะวันตกประมาณ 20% บางครั้งการตรวจอาการขาอยู่ไม่สุขในหญิงท้องก็เป็นเรื่องยากเพราะอาการจะคล้ายๆกับขาเป็นตะคริวขณะหลับ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ อาการขาอยู่ไม่สุขจะดีขึ้นหรือหายไปหลังจากคลอดลูกแม้ว่าโดยปกติแล้วอาการนี้จะเกิดกับหญิงตั้งครรภ์แค่ชั่วคราว แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้หญิงเป็นอาการนี้อย่างเรื้อรังได้เช่นกัน
การรักษาอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
อาการขาอยู่ไม่สุขมักจะรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการใช้ยา
อาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) จะทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกไม่สบายหรือขัดที่ขาขณะพักผ่อน ความรู้สึกดังกล่าวมักจะเป็นอาการปวดขา แสบร้อนหรือรู้สึกตึง คนที่มีอาการนั้นต้องขยับหรือนวดขาเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งอาการจะทวีความรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน หากไม่ได้รับการรักษา อาการขาอยู่ไม่สุขจะลดเวลาและคุณภาพในการนอน จนสุดท้ายก็ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจดจ่อ/มีสมาธิ การทำกิจวัตรประจำวัน และศักยภาพในการเรียนรู้ คนที่มีอาการบางคนจะมีอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ไม่มีการรักษาใดจะรักษาอาการขาอยู่ไม่สุขได้ แต่ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นกับคุณ การเปลี่ยนวิถีชีวิตและการใช้ยาจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตกับอาการเหล่านี้ได้ดีขึ้น เป้าหมายของการรักษาอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) คือเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการ ปรับให้การนอนหลับดีขึ้น และรักษาโรคหรืออาการประจำตัวที่ถูกกระตุ้นหรือแย่ลงเพราะอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และยาสามัญประจำบ้าน
ถ้าคุณมีอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) อ่อนๆ ลองเปลี่ยนวิถีชีวิตคุณดู เพราะมันอาจช่วยบรรเทาได้
คุณสามารถป้องกันอาการขาอยู่ไม่สุขได้โดย:
- หลีกเลี่ยง (หรือจำกัดปริมาณ) คาเฟอีน บุหรี่และนิโคติน เพราะสิ่งเหล่านี้มักจะเป็นตัวกระตุ้นอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
- ได้รับธาตุเหล็กจากการกินอาหารหรืออาหารเสริมอย่างเพียงพอ (การศึกษาบางส่วนแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างการขาดธาตุเหล็กกับอาการขาอยู่ไม่สุข)
- ตรวจสอบยาที่ใช้กับแพทย์ประจำตัวและคุณอาจต้องเปลี่ยนตัวยาที่อาจไปกระตุ้นอาการขาอยู่ไม่สุข
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- เวลาที่คุณต้องนั่งนานๆ คุณอาจลองทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจไปจากอาการ (เช่น พูดคุยกับผู้อื่น เย็บปักถักร้อย หรือเล่นวีดิโอเกมส์)
กิจกรรมอื่นๆที่ช่วยบรรเทาอาการขาอยู่ไม่สุข ได้แก่:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- อาบน้ำร้อนหรือน้ำเย็น
- ใช้ถุงร้อนหรือแผ่นเย็น
- เดินหรือยืด
- นวดขา
- ทำสิ่งที่ท้าทายจิตใจตัวเอง
เพื่อช่วยให้คุณนอนหลับตลอดคืน การปรับเปลี่ยนนิสัยการนอนที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ นั่นคือคุณต้อง:
- ทำให้ที่นอนของคุณเย็น เงียบ และมืด
- หากิจกรรมที่ท้าทายสมองหรือหรือกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจก่อนเข้านอน เช่น ปริศนาอักษรไขว้
- เอาอุปกรณ์ต่างๆที่จะรบกวนการนอนของคุณออกจากห้องนอน เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์
- ปรับกิจวัตรการนอน (เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน)
- ใช้การฝึกหายใจหรือเทคนิคอื่นๆที่ช่วยให้ผ่อนคลายในเวลากลางคืน
ยารักษาอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
หากอาการคุณอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง การเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจไม่พอที่จะบรรเทาอาการได้ คุณอาจต้องใช้ยารักษาอาการ
องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติยาที่ใช้รักษาอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) ในระดับปานกลางถึงรุนแรงอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
- Horizant (gabapentin enacarbil) ยาต้านอาการชักและบรรเทาปวด
- Mirapex (pramipexole) จะกระตุ้นการทำงานของโดพามีนซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
- Requip (ropinirole hydrochloride) เป็นยาที่ให้ผลคล้ายกับยา Mirapex และมักจะใช้เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน
- Neupro (rotigotine) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผ่นแปะ
เช่น เดียวกับยาอื่นๆ ยาเหล่านี้ก็อาจมีผลข้างเคียงได้ ที่พบบ่อยที่สุดเห็นจะเป็นยาออกฤทธิ์กดประสาท คลื่นไส้และวิงเวียนศีรษะ มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนและนอนหลับไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ ยาMirapex และ Requip ยังอาจทำให้เกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Behavior)ได้
นอกจากยาที่กล่าวมาข้างตนแล้ว แพทย์อาจสั่งจ่ายยาอื่นๆให้คุณ เช่น:
- ยาอื่นๆที่มีโดพามีนผสม เช่น levodopa
- ยาต้านอาการชักอื่นๆ เช่น carbamazepine (Tegretol, Carbatrol, Equetro) หรือ valproate
- ยาแก้ปวดชนิดโอปิออยด์ (Opioids) เช่น codeine, propoxyphene หรือ oxycodone
- ยารักษาอาการวิตกกังวลอย่างยาBenzodiazepines (sedatives) เช่น Ambien (zolpidem), Lunesta (eszopiclone) หรือ Sonata (zaleplon)
สวัสดีครับ ผมขอคำปรึกษาทีคับ อาการที่เป็นอยุ่ตอนนี้ คล้ายๆโรคขาอยู่ไม่สุข อาการคือ ขาอยู่ดีๆก็กระตุก ช่วงน่อง ถึงเท้า บางครั้ง ก็เกรงเล็กน้อย ถึงปานกลาง เป็นบ่อยมากคับ แทบทุกวัน เป็นมาหลายปีแล้ว ส่วนมากอาการจะเริ่มเป็นตอนที่เริ่มจะนอนหลับ แต่ถ้านอนเล่นหรือนอนทำอะไร ก้ปกติคับ แต่พอจะนอนหลับ ก็เริ่...