December 19, 2019 21:47
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โรคขาอยู่ไม่สุขหรือ Restless leg syndrome นั้นในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็คาดว่าอาจมีความสัมพันธ์กับการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวของขาที่ผิดปกติ รวมถึงอาจสัมพันธ์กับการมีธาตุเหล็กต่ำครับ และถ้าหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อนก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
การรักษานั้นจะประกอบด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริมสำหรับคนที่มีปัญหาธาตุเหล็กต่ำ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเพราะจะทำให้อาการเป็นมากขึ้น และการใช่ยาเพื่อลดความไวของเส้นประสาทและใช้ยาเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีการคลายตัวมากขึ้นครับ
โรคขาอยู่ไม่สุขนั้นเป็นโรคเรื้อรังที่อาจมีอาการคงอยู่ได้ไปตลอดชีวิต แต่การรักษาด้วยานั้นก็มีได้ตั้งแต่การรักษาในระยะสั้นๆเพียง 3 เดือน - 1 ปี ไปจนถึงการรักษาด้วยการใช้ยาไปตลอดชีวิต ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความถี่ของการเกิดอาการครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แบบนี้ต้องตรวจเลือดดูว่าขาดธาตุเหล็กด้วยรึไม่ค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
แนะนำให้ตรวจเลือดดูธาตุเหล็กด้วยครับ และถ้าหากธาตุเหล็กในเลือดต่ำก็ควรรับประทานยาธาตุเหล็กเสริมควบคู่ไปกับการรับประทานยาอื่นๆที่ใช้อยู่ด้วย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอนนี้เป็นโรคขาอยู่ไม่สุข ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร และจะรักษาหายได้มั้ยค่ะต้องใช้เวลารักษานานเท่าไหร่ค่ะ ตอนนี้กินยาโรคพากินสันและยานอนหลับอยู่ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)