กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การวินิจฉัยและการรักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การวินิจฉัยและการรักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

การวินิจฉัยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขจะขึ้นอยู่กับประวัติทางการแพทย์ ประวัติครอบครัว และการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาแบ่งเป็นหลัก ๆ สองทาง คือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตร่วมกับการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ

การวินิจฉัยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

ไม่มีการตรวจหรือการทดสอบใดที่สามารถทำให้วินิจฉัยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขได้ภายในครั้งเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับอาการประวัติทางการแพทย์ และประวัติครอบครัว การตรวจร่างกายและผลการตรวจเพิ่มเติมของคุณ

แพทย์ประจำตัวของคุณสามารถวินิจฉัยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขได้ด้วยตนเองแต่อาจส่งต่อตัวคุณให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยาหากไม่มั่นใจในผลการตรวจเพื่อวินิจฉัย

มีเกณฑ์หลัก ๆ สี่ข้อที่แพทย์ประจำตัวคุณหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณจะต้องคำนึงถึงเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย สิ่งเหล่านี้คือ:

  • แรงกระตุ้นอย่างรุนแรงที่ทำให้คุณต้องขยับขาโดยปกติจะมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการเหน็บ คัน หรือแสบร้อน
  • อาการของคุณเกิดขึ้นหรือค่อย ๆ แย่ลงเมื่อคุณกำลังพักผ่อนหรือไม่ได้ขยับตัว
  • อาการของคุณดีขึ้นโดยการขยับขาหรือถูขา
  • อาการของคุณแย่ลงในตอนเย็นหรือตอนกลางคืน

การประเมินอาการสำหรับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

แพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณจะซักถามคุณเกี่ยวกับรูปแบบของอาการเพื่อช่วยในการประเมินความรุนแรงของโรคนี้ ตัวอย่างเช่นพวกเขาอาจถามคุณว่า:

  • คุณมีอาการบ่อยแค่ไหน
  • คุณรู้สึกว่าอาการรุนแรงแค่ไหน
  • อาการของคุณกระทบชีวิตของคุณมากหรือไม่
  • อาการของคุณทำให้คุณภาพการนอนหลับแย่ลง หรือตื่นระหว่างคืน หรือทำให้เหนื่อยอ่อนระหว่างวันหรือไม่

การจดบันทึกการนอนหลับในทุก ๆ วัน อาจช่วยให้แพทย์ของคุณประเมินอาการของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณสามารถใช้สมุดไดอารี่เพื่อบันทึกนิสัยการนอนหลับประจำวันของคุณ เช่น จดเวลาที่คุณไปที่เตียงนอน จดเวลาว่าคุณหลับไปนานแค่ไหน กี่ครั้งที่คุณตื่นขึ้นในช่วงกลางคืน และจำนวนช่วงของความเหนื่อยล้าในระหว่างวัน

อาการที่ไม่รุนแรงของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขมักจะได้รับการรักษาโดยการแนะนำให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น มีวินัยในการนอนหลับ และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ในช่วงตอนเย็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าอาการของคุณรุนแรงขึ้นคุณอาจต้องใช้ยาเพื่อควบคุมอาการดังกล่าว

การตรวจเลือด

แพทย์ประจำตัวของคุณอาจส่งคุณไปตรวจเลือดเพื่อยืนยันหรือตัดสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ของอาการขาอยู่ไม่สุข ตัวอย่างเช่น คุณอาจได้รับการตรวจเลือดเพื่อตัดภาวะผิดปกติ เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน และปัญหาการทำงานของไตชนิดต่าง ๆ ออกไป

เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการหาระดับของธาตุเหล็กในเลือดของคุณ เนื่องจากระดับธาตุเหล็กที่ต่ำอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขชนิดทุติยภูมิได้ ซึ่งภาวะระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำสามารถรักษาได้ด้วยธาตุเหล็กเสริมชนิดรับประทาน

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test)

หากคุณมีอาการขาอยู่ไม่สุขและการนอนหลับของคุณถูกรบกวนอย่างมาก การตรวจสุขภาพการนอนหลับ เช่น การตรวจโดยตรึงแขนขาไว้นั้นอาจเป็นสิ่งที่ถูกแนะนำให้ทำ การตรวจนี้เป็นการนอนหลับบนเตียงเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องขยับขาด้วยตนเอง ขณะที่เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของขาที่ไม่สามารถควบคุมได้

ในบางครั้งอาจแนะนำให้ทำการแปลผลการตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ร่วมด้วยซึ่งคือการตรวจที่วัดอัตราการหายใจ คลื่นสมอง และการเต้นของหัวใจตลอดการนอนหลับในช่วงเวลากลางคืน ผลลัพธ์ของการแปรผลดังกล่าวจะยืนยันได้ว่าคุณมีการเคลื่อนไหวของแขนขาเป็นระยะ ๆ ระหว่างนอนหลับ (periodic limb movements in sleep: PLMS) หรือไม่

การรักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขซึ่งไม่ได้สัมพันธ์กับภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ สามารถรักษาได้โดยมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ถ้าอาการรุนแรงขึ้นอาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขที่เกิดจากภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ มักจะสามารถรักษาได้โดยการรักษาสาเหตุดังกล่าวนั้นโดยตรง ตัวอย่างเช่น โรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กสามารถรักษาได้โดยการได้รับธาตุเหล็กเสริม

หากโรคนี้เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ก็มักจะหายได้ด้วยตัวเองภายในสี่สัปดาห์หลังจากการคลอดบุตร

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจำนวนหนึ่งอาจเพียงพอที่จะบรรเทาอาการขาอยู่ไม่สุข ซึ่งวิธีเหล่านี้ได้แก่ :

  • หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นในช่วงเย็น เช่น คาเฟอีน ยาสูบ และแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใกล้เวลานอน
  • ฝึกฝนนิสัยการนอนที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เข้านอนและตื่นขึ้นในเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่หลับในระหว่างวัน ใช้เวลาผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนเข้านอน และหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนใกล้เวลานอน
  • หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้เกิดอาการหรือทำให้อาการแย่ลง - อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณคิดว่ายาที่คุณใช้อยู่เป็นสาเหตุของอาการของคุณให้นัดหมายเพื่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อทำการปรับยาดังกล่าว

ในช่วงที่เกิดอาการขากระตุกหรือขาขยับโดยไม่ได้ตั้งใจ วิธีต่อไปนี้อาจช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้:

  • นวดขา
  • อาบน้ำอุ่นในตอนเย็น
  • ประคบอุ่นหรือประคบเย็นที่กล้ามเนื้อขา
  • ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์
  • การออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย เช่น การเล่นโยคะหรือไทชิ
  • เดินและยืดกล้ามเนื้อ

การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

ยากลุ่มกระตุ้นสารโดปามีน (Dopamine agonist)

คุณอาจได้รับยากลุ่มกระตุ้นสารโดปามีน หากคุณพบอาการขยับของขาหรือกระตุกบ่อย ๆ ยาดังกล่าวจะทำงานโดยการเพิ่มระดับโดปามีนในร่างกายซึ่งมักมีระดับต่ำในผู้ป่วยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

ยากลุ่มกระตุ้นสารโดปามีนที่อาจใช้ ได้แก่:

  • ยา ropinirole
  • ยา pramipexole
  • ยา rotigotine ชนิดแปะผิวหนัง

ยาเหล่านี้อาจมีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้คุณรู้สึกง่วงนอน ดังนั้นคุณควรระมัดระวังเรื่องการขับขี่หรือต้องใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรหลังจากรับประทานยา ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ ได้แก่ อาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ และอาการปวดหัว

หากคุณรู้สึกคลื่นไส้ขณะได้รับยากลุ่มกระตุ้นสารโดปามีน คุณอาจได้รับยาอื่นร่วมด้วยเพื่อช่วยในการรักษาเช่น ยากลุ่มแก้คลื่นไส้อาเจียน (antiemetics)

ความผิดปกติในการควบคุมแรงกระตุ้น (Impulse Control Disorder: ICD) เป็นผลข้างเคียงหนึ่งที่พบได้ของยากลุ่มนี้ แต่มีความถี่ค่อนข้างต่ำ

ผู้ป่วยที่เป็นภาวะความผิดปกติในการควบคุมแรงกระตุ้นจะไม่สามารถต้านทานแรงกระตุ้นให้ทำสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่น ตัวอย่างเช่น อาจทำให้เกิดการติดสุรา ติดยา ติดพนัน ติดการช็อปปิ้ง หรือแม้แต่เรื่องเพศซึ่งทำให้กลายเป็นคนติดเซ็กส์

อย่างไรก็ตามแรงกระตุ้นที่เพิ่มขึ้นด้วยภาวะดังกล่าวนั้นจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อการรักษาด้วยตัวยากลุ่มกระตุ้นสารโดปามีนนั้นสิ้นสุดลง

ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดที่มีสารเสพติดชนิดอ่อน เช่น ยา codeine หรือยา tramadol อาจถูกสั่งโดยแพทย์เพื่อลดอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับอาการขาอยู่ไม่สุข

นอกจากนี้ยา gabapentin และ pregabalin ยังได้รับการสั่งในบางครั้งเช่นกันเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของโรคดังกล่าว ผลข้างเคียงของยาเหล่านี้ ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และเกิดอาการปวดหัว

วิธีช่วยในการนอนหลับ

ถ้าอาการขาอยู่ไม่สุขนั้นรบกวนการนอนหลับของคุณ แพทย์อาจสั่งให้ใช้ยากลุ่มหนึ่งในระยะสั้น ๆ เพื่อช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

ยาประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ยานอนหลับ เช่น ยา temazepam และยา loprazolam ยานอนหลับนั้นมักแนะนำเฉพาะสำหรับการทานในระยะสั้นเท่านั้นซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะทานติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์

คุณอาจพบว่าคุณยังรู้สึกง่วงนอนหรือเหงาซึมในช่วงตอนเช้าหลังจากคืนที่รับประทานยาได้

ยา levodopa

ยา levodopa อาจใช้ในกรณีที่คุณมีอาการอยู่ไม่สุขเป็นครั้งคราวเท่านั้น เนื่องจากหากทานยา levodopa ติดต่อกันทุกวันจะทำให้มีความเสี่ยงสูงที่อาการจะแย่ลงแทน

Levodopa มีในรูปแบบทั้งยาเม็ดหรือเป็นยาน้ำและคุณควรทานยานี้เมื่อคุณรู้สึกว่ากำลังจะเกิดอาการขาขยับ หรือขากระตุกเท่านั้น

ตัวยาจะทำให้คุณรู้สึกง่วงนอนในทันที ดังนั้นคุณจึงไม่ควรขับรถหรือใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรใด ๆ หลังจากทานยาดังกล่าว

ที่มา : https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/restless-legs-syndrome#treatment


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Restless Legs Syndrome (RLS): Causes, Symptoms, Diagnosis. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9497-restless-legs-syndrome)
Restless legs syndrome - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/restless-legs-syndrome/treatment/)
Differential Diagnosis and Treatment of Restless Legs Syndrome: A Literature Review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6235628/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป